4) การสัมภาษณ์
หลังจากที่กระทู้ก่อนเล่าถึงการสอบข้อเขียนไป กระทู้นี้มาดูการสอบสัมภาษณ์กันบ้างดีกว่า สำหรับเด็กป.ตรีจบใหม่อย่างผม พอพูดถึงสอบข้อเขียนความรู้สึกมันยังธรรมดาๆ เพราะเพิ่งผ่านมันมาสดๆจาก ป. ตรี แต่พอเป็นการสอบสัมภาษณ์มันเป็นอะไรที่มืดแปดด้านจริงๆ กระทู้นี้ผมหวังว่าจะเป็นแสงสว่าง?ให้กับรุ่นน้องที่ไม่รู้จะเริ่มยังไงกับการสัมภาษณ์นะครับ
หลังจากที่ปลื้มปริ่มเมื่อรู้ว่าผ่านข้อเขียนได้ไม่นาน ด่านถัดไปก็คือการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งจะมีเวลาเตรียมตัวเองประมาณ 1 อาทิตย์หลังจากรู้ว่าติดข้อเขียน กรรมการสอบสัมภาษณ์จะเป็นคนญี่ปุ่นทั้งหมด แต่ไม่ต้องตกใจไปเราสามารถเลือกใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาญี่ปุ่นในการตอบคำถามก็ได้ วันและเวลาเข้าสัมภาษณ์ของแต่ละคนจะถูกกำหนดเป็นคิวไว้อย่างชัดเจน ระยะเวลาในการสัมภาษณ์ตามกำหนดการแล้วจะคนละประมาณ 15 นาที แต่เอาจริงๆบางคนก็แทบไม่โดนถามอะไรเลย ไม่ถึง 10 นาทีก็เสร็จแล้ว ในขณะที่บางคนก็หายเข้าไปนานมากเกือบ 30 นาทีก็มี (เข้าไปทำอะไรกันละเนี่ย) ก่อนสอบสัมภาษณ์อย่างน้อยๆ เราควรเอาใบสมัครที่ถ่ายเอกสารเก็บไว้และ Study plan ของเรามาอ่านให้ละเอียดทุกตัวอักขระ เพราะคำถามหลักๆจะมาจาก 2 อย่างนี้แหละ สำหรับวิธีการเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์นั้นไม่มีสูตรตายตัวครับ บางคนอาจจะซ้อมกับเพื่อน ซ้อมกับกระจก หรือจะพึมพำคนเดียวก็ได้ อย่างตอนผมซ้อมพูดก็จะใช้วิธีฝึกพูดหน้ากระจกกับพึมพำคนเดียว นั่งๆอยู่ไม่มีอะไรทำหรือเวลาอาบน้ำว่างๆก็ลองสมมติคำถามขึ้นมาในใจแล้วลองตอบออกมา ถ้ากลัวนึกคำถามไม่ออกให้ลอง list คำถามที่เป็นไปได้ทั้งหมดลงกระดาษก่อน (อาจจะให้เพื่อนช่วยตั้ง, คิดเอง หรือ หาข้อมูลจากรีวิวปีก่อนๆก็ได้) จากนั้นให้ตัดกระดาษเป็นฉลากแผ่นเล็กๆเอาใส่กล่อง ว่างๆก็ลองสุ่มจับคำถามขึ้นมาแล้วลองหัดพูดตอบออกมา จขกท.ใช้วิธีนี้มาตลอดตั้งแต่ตอนเรียนปี 4 แต่ระวังคนที่บ้านเข้าใจผิดล่ะว่าเราแอบติดต่อกับพลังงานบางอย่าง.... (เป็นภาษาอังกฤษด้วยนะเอ่อออ!)
สำหรับ Letter of Acceptance จาก อ. ที่ญี่ปุ่นถ้าเราได้ทำการติดต่อ อ. ที่โน่นไปแล้ว และเขาตกลงที่จะรับเราเรียบร้อย อาจจะลองขอให้เขาส่ง Letter of Acceptance มาก็ได้ เผื่อเอาไว้ให้กรรมการดู (+สร้างความอุ่นใจ) ซึ่งจะทำให้เห็นถึงความกระตือรือร้นของเรา แต่ถ้าเกิดขอไม่ได้ก็ไม่ต้องเครียดครับเพราะคนส่วนใหญ่ก็จะยังไม่ได้เหมือนกัน (ปกติถ้าเพิ่งรู้จักเค้าจะไม่ค่อยทำให้) ตอน จขกท. จะสอบสัมภาษณ์ก็ลองขอ LOA จาก อ. ที่ญี่ปุ่นไปเหมือนกัน โชคดีที่ อ. ที่โน่นเค้าตกลงออกให้เราก็เลยมีไว้อวดกรรมการตอนสัมภาษณ์
มีรุ่นพี่แนะนำผมก่อนสอบว่า บางครั้งเราอาจจะเข้าใจผิดกันว่าถ้าตอบคำถามได้เร็ว ถามปุ๊บตอบปั๊บ แกรมม่าเป๊ะ สำเนียงดีเวอร์ จะได้คะแนนจากกรรมการเยอะ...แต่จริงๆแล้ว ต่อให้ตอบเร็วฉะฉาน แกรมม่าถูกเหมือนเจ้าของภาษามาเอง แต่ตอบไม่ตรงคำถาม ให้เหตุผลไม่ดีก็ไม่มีประโยชน์อะไร สู้ค่อยๆนึกคำตอบออกมาให้ดีแล้วค่อยตอบออกมาจะดีกว่า อาจจะตอบช้าบ้าง สำเนียงไทยๆบ้าง ผิดแกรมม่านิดๆหน่อยๆ แต่เหตุผลเข้าท่าก็พอแล้ว กรรมการเค้าเข้าใจครับว่าเราไม่ใช่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถามปุ๊บจะตอบได้ปั๊บ อาจลองใช้คำพูดประเภท “That’s a good question.” ช่วยซื้อเวลาไปก่อนหรือจะพูดตรงๆออกมาก็ได้ถ้าต้องใช้เวลาคิดจริงๆ เช่น “Let me think about that for a while.” จะดูเป็นมืออาชีพกว่าการนึกแล้วมองบนทำเสียง อืมมมมมมม อ่า... เอออออ ออกมา (แต่สารภาพว่า จขกท. ก็มีหลุดเสียง อืมมมม อ่า... ตอนนึกออกมาบ้างเหมือนกัน) กรณีที่กรรมการถามถึง Protocol หรือขั้นตอนการทำอะไรบางอย่างเช่น “ลองเล่าลำดับแผนการทำวิจัยของคุณมาสิ”ให้เรานึกที่ละขั้นแล้วค่อยๆตอบออกมาเช่น First, I’ve planned to ... Then,...ว่าไปทีละขั้นจะทำให้เราไม่หลง
พอถึงวันจริงให้เราไปรอก่อนเวลานัดประมาณ 15-30 นาทีเผื่อคนข้างหน้าเราสละสิทธิ์หรือสัมภาษณ์เสร็จเร็วกว่าตารางที่กำหนด อย่างของผมได้คิวสัมภาษณ์ช่วงบ่ายสามผมก็ไปรอตั้งแต่บ่ายสองครึ่ง พอไปถึงหน้าห้องสัมภาษณ์ก็พบผู้สมัครคนอื่นมารอก่อนเรียบร้อยแล้ว แต่ละคนดูเป๊ะสมบูรณ์แบบมากๆ ใส่สูท มี portfolio พร้อมกำลังนั่งท่องสคริปกันอย่างจริงจัง (ในขณะที่ผมสูทก็ไม่มี portfolio ก็ไม่มี หน้ามึนๆเข้าไป55) แต่ละคนก็สอบภาษาญี่ปุ่นได้ N3-N4 กันแล้ว .......ในขณะที่ผมมีสกิลเดียวคืออ่านฮิรางานะ555
ก่อนถึงคิวที่เราจะเข้าไปสัมภาษณ์ จนท.จะเรียกเราไปกักตัวเงียบๆคนเดียวในห้องข้างๆ เพื่อให้เราสงบจิตสงบใจก่อนและเพื่อให้เราเตรียมสคริปแนะนำตัว ซึ่งเราจะต้องแนะนำตัวเองให้กรรมการฟังก่อนเริ่มการสัมภาษณ์ประมาณ 2-3 นาที โดยต้องครอบคลุม 4 หัวข้อตามนี้
1) Self-introduction
2) Objective/goal during studying in Japan
3) Study plan
4) Plan after coming back to Thailand
จขกท. โชคดีที่รู้เรื่องนี้มาก่อนจากการถามรุ่นพี่ปีก่อนๆ จึงเตรียมเขียนสคริปแนะนำตัวไปก่อนเรียบร้อยแล้ว ตอนอยู่ในห้องเตรียมตัวเลยแค่นั่งตั้งสติ นึกสคริปที่เตรียมมาเงียบๆ สคริปแนะนำตัวนี้บางคนก็คิดสดเอาตอนนั้นเลยแต่ถ้าเตรียมได้ก็เตรียมไปเถอะครับ ถึงเวลานั้นจริงๆมันจะตื่นเต้นมากๆ พยายามอัดข้อมูลที่อยากให้กรรมการรู้ไว้ในช่วงแนะนำตัวให้มากที่สุด หากแนะนำตัวดีๆ ชัดเจน กรรมการก็จะมีข้อสงสัยน้อยลงและน่าจะสร้างความประทับใจได้ในระดับนึง
ไม่ช้าเมื่อผู้สมัครก่อนหน้าสัมภาษณ์เสร็จ จนท.ก็จะเดินมาพาเราไปยังห้องสัมภาษณ์ ก่อนเข้าห้องให้เคาะประตูดังๆก่อน 2 ที แล้วจึงค่อยๆเปิดประตูเข้าไป กรรมการในห้องจะมีทั้งหมด 3 ท่านโดนหนึ่งในนั้นจะเป็นท่านเลขาฑูตซึ่งดูใจดีที่สุดในนั้นและอีก 2 ท่านเป็นคุณลุงซึ่งดูมีอายุพอสมควร (คุณตา?) โดยกรรมการแต่ละคนจะมี Study plan และสำเนาใบสมัครของเราคนละชุดในมือ.... หลังจากนั่งเก้าอี้และสวัสดีกรรมการเรียบร้อยแล้ว กรรมการก็จะจับเวลาให้เราเริ่มแนะนำตัว ทันทีที่พูดจบกรรมการก็เริ่มยิงคำถามแรกใส่ผมทันที
คำถามที่1) ผมอ่าน Study plan ของคุณแล้วล่ะ ทำไมคุณถึงสนใจทำงานทางด้าน pure sci ล่ะ แทนที่คุณจะไปทำงานที่เป็นพวกวิทยาศาสตร์ประยุกค์ เดี๋ยวนี้ใครเค้าก็ชอบวิทยาศาสตร์ประยุกค์มากกว่ากันทั้งนั้น คำถามแรกยิงมาจากกรรมการอาวุโสทางขวามือผม ซึ่งพูดออกมาด้วยสีหน้านิ่งๆ น้ำเสียงเนิบๆ (นี่จะเอาให้ตายกันตั้งแต่ข้อแรกเลยหรอ TT)
คำตอบ --> จุดประสงค์ที่แท้จริงของ pure sci นั้นคือการวางรากฐานองค์ความรู้ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับเอาไว้ให้ applied sci สร้างสรรค์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไปครับ ถ้าเปรียบโลกของวิทยาศาตร์เป็นละครสักเรื่อง pure sci เปรียบเหมือนคนทำงานเบื้องหลัง ที่น้อยคนที่จะได้สัมผัสและนักวิจัยทางด้าน applied sci หรืออาชีพอื่นที่เอาองค์ความรู้พื้นฐานไปใช้เปรียบเหมือนนักแสดง ซึ่งมีความใกล้ชิดกับผู้คนมากกว่าคนส่วนมากเวลาดูละครสักเรื่องจึงจำได้ว่าใครเป็นนักแสดงนำ ใครเล่นเป็นพระเอก แต่คงจะไม่มีใครรู้ใช่มั้ยครับว่าหนังเรื่องนี้ใช้คนเตรียมฉากกี่คน ใครเป็นคนออกแบบเสื้อผ้าตัวละคร จึงไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่จะมองข้ามสิ่งที่ตัวเองไม่ได้สัมผัสไปเหมือนกับการมองข้ามบทบาทของ pure sci นี่แหละครับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันไม่สำคัญนะครับ
ถ้าไม่มี pure sci คอยค้นหาองค์ความรู้ใหม่ๆ การวิจัยทางด้าน applied sci ก็คงจะเดินหน้าต่อไปไม่ได้เพราะขาดวัตถุดิบที่จะเอาไปใช้ต่อยอด อย่างใครจะรู้ล่ะครับว่าจากการศึกษาการเรืองแสงของแมงกระพรุนน้ำลึกที่ดูไม่น่าจะมีความสำคัญอะไร จะทำให้เรารู้จักกับ green fluorescent protein ที่ปฎิรูปการศึกษาชีววิทยาเชิงโมเลกุลสมัยใหม่ ทำให้เรารู้ว่าโปรตีนอะไรทำงานตรงส่วนไหนบ้าง ผมคิดว่าการศึกษา pure sci เองก็สำคัญไม่ได้แพ้การทำงานด้าน applied sci เลยครับ (องค์ลงมากตอนนั้น อินครับอิน) หลังจากตอบเสร็จกรรมการก็เงียบไปครู่นึงแล้วจึงเริ่มถามต่อ
คำถามที่2) คุณอยากทำงานวิจัยในหอยใช้มั้ย ทำไมถึงสนใจหอยล่ะ
คำตอบ --> ตอนเด็กๆผมโตมากับทะเล พ่อกับแม่ผมชอบทะเลมากครับเราไปทะเลกันเดือนละ 3-4 ครั้ง ว่างๆผมก็ชอบเดินเก็บเปลือกหอยริมหาด ผมเริ่มสะสมเปลือกหอยมาตั้งแต่เด็ก ทำให้ผมผูกพันธ์กับสัตว์กลุ่มนี้เป็นพิเศษ พอโตมาผมก็เลยอยากศึกษาสัตว์กลุ่มนี้ให้ลึกซึ้ง หอยเป็นสัตว์ที่มีความหลากหลายสูงแต่ยังไม่ค่อยมีคนศึกษาจริงๆจังๆเท่าไหร่ ยังมีอะไรให้ศึกษาอีกมากครับ แล้วก็ผมว่าหอยก็น่ารักดีนะครับ55
คำถามที่3) คุณตั้งใจจะศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเปลือกใช่มั้ย ไหนลองยกตัวอย่างยีนที่เกี่ยวข้องมา 2 ยีนสิ (ผมนี่สะดุ้งเลยครับพอฟังคำถามนี้จบ555 นึกว่ากำลังสอบ defense thesis แต่ว่าอันนี้ไม่มีปัญหาครับ ตัวผมพอจะรู้จักยีนอะไรพวกนี้มาบ้างก็เลยตอบได้สบาย)
หลังจากนั้นกรรมการก็เปลี่ยนไปถามเรื่องอื่นบ้าง โดยคราวนี้ท่านเลขาฑูตเป็นคนถามครับ ซึ่งคำถามดูง่ายกว่าคุณลุงคนแรกเยอะเลย
คำถามที่4) ในใบสมัครของคุณ คุณเขียนว่าเคยไปฝึกงานที่ญี่ปุ่นมาด้วยใช่มั้ย คุณไปทำอะไรมาบ้างล่ะ
คำตอบ --> ครับผมเคยได้รับทุนไปฝึกงานที่ โทได (the University of Tokyo) เป็นเวลา 3 เดือนครับ งานของผมในตอนนั้นคือไปช่วย อ. ที่โน่นทำวิจัยเกี่ยวกับ systematics ของผีเสื้อแล้วก็ได้มีโอกาสทำงานในพิพิธภัณฑ์ บางครั้งก็มีออกไปจับผีเสื้อตามที่ต่างๆด้วย
คำถามที่5) แล้วชีวิตความเป็นอยู่ตอนนั้นล่ะเป็นยังไง การใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นมันค่อนข้างจะต่างจากที่ไทยนะมีอะไรเป็นอุปสรรคบ้างมั้ย
คำตอบ --> ช่วงเวลา 3 เดือนที่ผมได้ไปฝึกงานที่ญี่ปุ่นเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขมากๆครั้งหนึ่งในชีวิตผมเลยครับ โดยพื้นฐานแล้วคนญี่ปุ่นเป็นคนรักธรรมชาติ ผมจึงเข้ากับคนญี่ปุ่นในแลปได้ไวเพราะเราชอบอะไรเหมือนๆกันคุยกันสนุกเลยครับ นอกจากนั้นผมเป็นคนที่สนใจวัฒนธรรมญี่ปุ่นมาตั้งแต่เด็กๆพอได้มาอยู่จริงๆเลยยิ่งหลงรัก.......... สำหรับการไปใช้ชีวิตในต่างประเทศมันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องเจอความแตกต่างในด้านการใช้ชีวิตและวัฒนธรรม แต่ความแตกต่างระหว่างไทยกับญี่ปุ่นไม่ได้สร้างอุปสรรคอะไรให้กับผมเลยครับ ผมกลับมองว่าความแตกต่างเป็นเรื่องที่น่าเรียนรู้และเป็นสเน่ห์ของการใช้ชีวิตในต่างประเทศ มันทำให้ผมได้เห็นอะไรใหม่ๆและเรียนรู้ที่จะอยู่กับคนอื่นที่ต่างจากเรา
คำถามที่6) คุณได้ดูที่เรียนที่ไหนไว้บ้างแล้วหรือยัง
คำตอบ --> ผมดูที่ Tsukuba University ไว้ครับ เพราะที่นี่มี อ. ที่ทำวิจัยหัวข้อที่ผมสนใจอยู่ แล้วก็ Tsukuba เองก็ได้ชื่อว่าเป็นเมืองวิทยาศาสตร์ มีศูนย์วิจัยตั้งอยู่เยอะผมคิดว่าการทำวิจัยที่นี่จึงน่าจะทำให้ผมได้เรียนรู้อะไรดีๆอีกมาก เสร็จแล้วผมก็ยื่น LOA ให้กรรมการดู (ซึ่งสุดท้ายกรรมการก็วางไว้เฉยๆแล้วถามต่อ 55)
คำถามที่7) หลังกลับมาเมืองไทยแล้วคุณอยากทำอะไรบ้าง
คำตอบ --> อยากเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยครับ เหตุผลง่ายๆเลยคือผมชอบสอนหนังสือ ชอบทำวิจัยผมว่ามันท้าทายดี แล้วอีกอย่างประเทศไทยยังขาดอาจารย์สายธรรมชาติวิทยารุ่นใหม่ค่อนข้างเยอะ ขณะที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สูง ทรัพยากรธรรมชาติของไทยยังรอคนที่จะมาศึกษาอีกมาก
คำถามที่ 8) ถ้าคุณได้ทุนนี้ไปเรียนที่ญี่ปุ่นอีกรอบ คุณยังจะไปมั้ย
คำตอบ --> แน่นอน ไปสิครับ! ผมตั้งใจมากๆเลยที่จะได้ไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น นี่เป็นความปรารถนาสูงสุดในชีวิตผมเลย
หลังจากตอบคำถามข้อนี้เสร็จกรรมการก็มองหน้ากันไปมองหน้ากันมาแล้วก็พูดว่า “พวกเราไม่รู้จะถามอะไรคุณแล้ว วันนี้พอแค่นี้แล้วกัน ขอบคุณมากครับ” เป็นอันจบการสัมภาษณ์ของผมครับ ใช้เวลาแค่ 10 นาทีนิดๆเอง หลักๆเท่าที่ดูจากคำถามสัมภาษณ์แล้วผมว่ากรรมการเค้าต้องการดู 2 อย่างครับคือ ดูว่าเราเข้าใจ study plan ของเราเองมากแค่ไหนกับ ดูว่าเราต้องการไปญี่ปุ่นจริงๆมั้ย ถ้าปล่อยให้ไปแล้วเราจะเอาชีวิตรอดได้มั้ย .......ซึ่งถ้าเราตอบโจทย์ 2 อย่างนี้ได้ผมว่าไม่น่ามีปัญหาอะไรหรอกครับ พยายามทำให้เค้าเห็นว่าเรารักญี่ปุ่น พร้อมที่จะไปเรียนต่อจริงๆ
ปล. คำตอบที่เล่ามาเป็นแค่ความเห็นของผมนะ
=> กระทู้หน้า
https://ppantip.com/topic/36028381
รีวิวมหากาพย์การสมัครทุนรัฐบาลญี่ปุ่น (Monbukagakusho): การสอบสัมภาษณ์
หลังจากที่กระทู้ก่อนเล่าถึงการสอบข้อเขียนไป กระทู้นี้มาดูการสอบสัมภาษณ์กันบ้างดีกว่า สำหรับเด็กป.ตรีจบใหม่อย่างผม พอพูดถึงสอบข้อเขียนความรู้สึกมันยังธรรมดาๆ เพราะเพิ่งผ่านมันมาสดๆจาก ป. ตรี แต่พอเป็นการสอบสัมภาษณ์มันเป็นอะไรที่มืดแปดด้านจริงๆ กระทู้นี้ผมหวังว่าจะเป็นแสงสว่าง?ให้กับรุ่นน้องที่ไม่รู้จะเริ่มยังไงกับการสัมภาษณ์นะครับ
หลังจากที่ปลื้มปริ่มเมื่อรู้ว่าผ่านข้อเขียนได้ไม่นาน ด่านถัดไปก็คือการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งจะมีเวลาเตรียมตัวเองประมาณ 1 อาทิตย์หลังจากรู้ว่าติดข้อเขียน กรรมการสอบสัมภาษณ์จะเป็นคนญี่ปุ่นทั้งหมด แต่ไม่ต้องตกใจไปเราสามารถเลือกใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาญี่ปุ่นในการตอบคำถามก็ได้ วันและเวลาเข้าสัมภาษณ์ของแต่ละคนจะถูกกำหนดเป็นคิวไว้อย่างชัดเจน ระยะเวลาในการสัมภาษณ์ตามกำหนดการแล้วจะคนละประมาณ 15 นาที แต่เอาจริงๆบางคนก็แทบไม่โดนถามอะไรเลย ไม่ถึง 10 นาทีก็เสร็จแล้ว ในขณะที่บางคนก็หายเข้าไปนานมากเกือบ 30 นาทีก็มี (เข้าไปทำอะไรกันละเนี่ย) ก่อนสอบสัมภาษณ์อย่างน้อยๆ เราควรเอาใบสมัครที่ถ่ายเอกสารเก็บไว้และ Study plan ของเรามาอ่านให้ละเอียดทุกตัวอักขระ เพราะคำถามหลักๆจะมาจาก 2 อย่างนี้แหละ สำหรับวิธีการเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์นั้นไม่มีสูตรตายตัวครับ บางคนอาจจะซ้อมกับเพื่อน ซ้อมกับกระจก หรือจะพึมพำคนเดียวก็ได้ อย่างตอนผมซ้อมพูดก็จะใช้วิธีฝึกพูดหน้ากระจกกับพึมพำคนเดียว นั่งๆอยู่ไม่มีอะไรทำหรือเวลาอาบน้ำว่างๆก็ลองสมมติคำถามขึ้นมาในใจแล้วลองตอบออกมา ถ้ากลัวนึกคำถามไม่ออกให้ลอง list คำถามที่เป็นไปได้ทั้งหมดลงกระดาษก่อน (อาจจะให้เพื่อนช่วยตั้ง, คิดเอง หรือ หาข้อมูลจากรีวิวปีก่อนๆก็ได้) จากนั้นให้ตัดกระดาษเป็นฉลากแผ่นเล็กๆเอาใส่กล่อง ว่างๆก็ลองสุ่มจับคำถามขึ้นมาแล้วลองหัดพูดตอบออกมา จขกท.ใช้วิธีนี้มาตลอดตั้งแต่ตอนเรียนปี 4 แต่ระวังคนที่บ้านเข้าใจผิดล่ะว่าเราแอบติดต่อกับพลังงานบางอย่าง.... (เป็นภาษาอังกฤษด้วยนะเอ่อออ!)
สำหรับ Letter of Acceptance จาก อ. ที่ญี่ปุ่นถ้าเราได้ทำการติดต่อ อ. ที่โน่นไปแล้ว และเขาตกลงที่จะรับเราเรียบร้อย อาจจะลองขอให้เขาส่ง Letter of Acceptance มาก็ได้ เผื่อเอาไว้ให้กรรมการดู (+สร้างความอุ่นใจ) ซึ่งจะทำให้เห็นถึงความกระตือรือร้นของเรา แต่ถ้าเกิดขอไม่ได้ก็ไม่ต้องเครียดครับเพราะคนส่วนใหญ่ก็จะยังไม่ได้เหมือนกัน (ปกติถ้าเพิ่งรู้จักเค้าจะไม่ค่อยทำให้) ตอน จขกท. จะสอบสัมภาษณ์ก็ลองขอ LOA จาก อ. ที่ญี่ปุ่นไปเหมือนกัน โชคดีที่ อ. ที่โน่นเค้าตกลงออกให้เราก็เลยมีไว้อวดกรรมการตอนสัมภาษณ์
มีรุ่นพี่แนะนำผมก่อนสอบว่า บางครั้งเราอาจจะเข้าใจผิดกันว่าถ้าตอบคำถามได้เร็ว ถามปุ๊บตอบปั๊บ แกรมม่าเป๊ะ สำเนียงดีเวอร์ จะได้คะแนนจากกรรมการเยอะ...แต่จริงๆแล้ว ต่อให้ตอบเร็วฉะฉาน แกรมม่าถูกเหมือนเจ้าของภาษามาเอง แต่ตอบไม่ตรงคำถาม ให้เหตุผลไม่ดีก็ไม่มีประโยชน์อะไร สู้ค่อยๆนึกคำตอบออกมาให้ดีแล้วค่อยตอบออกมาจะดีกว่า อาจจะตอบช้าบ้าง สำเนียงไทยๆบ้าง ผิดแกรมม่านิดๆหน่อยๆ แต่เหตุผลเข้าท่าก็พอแล้ว กรรมการเค้าเข้าใจครับว่าเราไม่ใช่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถามปุ๊บจะตอบได้ปั๊บ อาจลองใช้คำพูดประเภท “That’s a good question.” ช่วยซื้อเวลาไปก่อนหรือจะพูดตรงๆออกมาก็ได้ถ้าต้องใช้เวลาคิดจริงๆ เช่น “Let me think about that for a while.” จะดูเป็นมืออาชีพกว่าการนึกแล้วมองบนทำเสียง อืมมมมมมม อ่า... เอออออ ออกมา (แต่สารภาพว่า จขกท. ก็มีหลุดเสียง อืมมมม อ่า... ตอนนึกออกมาบ้างเหมือนกัน) กรณีที่กรรมการถามถึง Protocol หรือขั้นตอนการทำอะไรบางอย่างเช่น “ลองเล่าลำดับแผนการทำวิจัยของคุณมาสิ”ให้เรานึกที่ละขั้นแล้วค่อยๆตอบออกมาเช่น First, I’ve planned to ... Then,...ว่าไปทีละขั้นจะทำให้เราไม่หลง
พอถึงวันจริงให้เราไปรอก่อนเวลานัดประมาณ 15-30 นาทีเผื่อคนข้างหน้าเราสละสิทธิ์หรือสัมภาษณ์เสร็จเร็วกว่าตารางที่กำหนด อย่างของผมได้คิวสัมภาษณ์ช่วงบ่ายสามผมก็ไปรอตั้งแต่บ่ายสองครึ่ง พอไปถึงหน้าห้องสัมภาษณ์ก็พบผู้สมัครคนอื่นมารอก่อนเรียบร้อยแล้ว แต่ละคนดูเป๊ะสมบูรณ์แบบมากๆ ใส่สูท มี portfolio พร้อมกำลังนั่งท่องสคริปกันอย่างจริงจัง (ในขณะที่ผมสูทก็ไม่มี portfolio ก็ไม่มี หน้ามึนๆเข้าไป55) แต่ละคนก็สอบภาษาญี่ปุ่นได้ N3-N4 กันแล้ว .......ในขณะที่ผมมีสกิลเดียวคืออ่านฮิรางานะ555
ก่อนถึงคิวที่เราจะเข้าไปสัมภาษณ์ จนท.จะเรียกเราไปกักตัวเงียบๆคนเดียวในห้องข้างๆ เพื่อให้เราสงบจิตสงบใจก่อนและเพื่อให้เราเตรียมสคริปแนะนำตัว ซึ่งเราจะต้องแนะนำตัวเองให้กรรมการฟังก่อนเริ่มการสัมภาษณ์ประมาณ 2-3 นาที โดยต้องครอบคลุม 4 หัวข้อตามนี้
1) Self-introduction
2) Objective/goal during studying in Japan
3) Study plan
4) Plan after coming back to Thailand
จขกท. โชคดีที่รู้เรื่องนี้มาก่อนจากการถามรุ่นพี่ปีก่อนๆ จึงเตรียมเขียนสคริปแนะนำตัวไปก่อนเรียบร้อยแล้ว ตอนอยู่ในห้องเตรียมตัวเลยแค่นั่งตั้งสติ นึกสคริปที่เตรียมมาเงียบๆ สคริปแนะนำตัวนี้บางคนก็คิดสดเอาตอนนั้นเลยแต่ถ้าเตรียมได้ก็เตรียมไปเถอะครับ ถึงเวลานั้นจริงๆมันจะตื่นเต้นมากๆ พยายามอัดข้อมูลที่อยากให้กรรมการรู้ไว้ในช่วงแนะนำตัวให้มากที่สุด หากแนะนำตัวดีๆ ชัดเจน กรรมการก็จะมีข้อสงสัยน้อยลงและน่าจะสร้างความประทับใจได้ในระดับนึง
ไม่ช้าเมื่อผู้สมัครก่อนหน้าสัมภาษณ์เสร็จ จนท.ก็จะเดินมาพาเราไปยังห้องสัมภาษณ์ ก่อนเข้าห้องให้เคาะประตูดังๆก่อน 2 ที แล้วจึงค่อยๆเปิดประตูเข้าไป กรรมการในห้องจะมีทั้งหมด 3 ท่านโดนหนึ่งในนั้นจะเป็นท่านเลขาฑูตซึ่งดูใจดีที่สุดในนั้นและอีก 2 ท่านเป็นคุณลุงซึ่งดูมีอายุพอสมควร (คุณตา?) โดยกรรมการแต่ละคนจะมี Study plan และสำเนาใบสมัครของเราคนละชุดในมือ.... หลังจากนั่งเก้าอี้และสวัสดีกรรมการเรียบร้อยแล้ว กรรมการก็จะจับเวลาให้เราเริ่มแนะนำตัว ทันทีที่พูดจบกรรมการก็เริ่มยิงคำถามแรกใส่ผมทันที
คำถามที่1) ผมอ่าน Study plan ของคุณแล้วล่ะ ทำไมคุณถึงสนใจทำงานทางด้าน pure sci ล่ะ แทนที่คุณจะไปทำงานที่เป็นพวกวิทยาศาสตร์ประยุกค์ เดี๋ยวนี้ใครเค้าก็ชอบวิทยาศาสตร์ประยุกค์มากกว่ากันทั้งนั้น คำถามแรกยิงมาจากกรรมการอาวุโสทางขวามือผม ซึ่งพูดออกมาด้วยสีหน้านิ่งๆ น้ำเสียงเนิบๆ (นี่จะเอาให้ตายกันตั้งแต่ข้อแรกเลยหรอ TT)
คำตอบ --> จุดประสงค์ที่แท้จริงของ pure sci นั้นคือการวางรากฐานองค์ความรู้ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับเอาไว้ให้ applied sci สร้างสรรค์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไปครับ ถ้าเปรียบโลกของวิทยาศาตร์เป็นละครสักเรื่อง pure sci เปรียบเหมือนคนทำงานเบื้องหลัง ที่น้อยคนที่จะได้สัมผัสและนักวิจัยทางด้าน applied sci หรืออาชีพอื่นที่เอาองค์ความรู้พื้นฐานไปใช้เปรียบเหมือนนักแสดง ซึ่งมีความใกล้ชิดกับผู้คนมากกว่าคนส่วนมากเวลาดูละครสักเรื่องจึงจำได้ว่าใครเป็นนักแสดงนำ ใครเล่นเป็นพระเอก แต่คงจะไม่มีใครรู้ใช่มั้ยครับว่าหนังเรื่องนี้ใช้คนเตรียมฉากกี่คน ใครเป็นคนออกแบบเสื้อผ้าตัวละคร จึงไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่จะมองข้ามสิ่งที่ตัวเองไม่ได้สัมผัสไปเหมือนกับการมองข้ามบทบาทของ pure sci นี่แหละครับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันไม่สำคัญนะครับ
ถ้าไม่มี pure sci คอยค้นหาองค์ความรู้ใหม่ๆ การวิจัยทางด้าน applied sci ก็คงจะเดินหน้าต่อไปไม่ได้เพราะขาดวัตถุดิบที่จะเอาไปใช้ต่อยอด อย่างใครจะรู้ล่ะครับว่าจากการศึกษาการเรืองแสงของแมงกระพรุนน้ำลึกที่ดูไม่น่าจะมีความสำคัญอะไร จะทำให้เรารู้จักกับ green fluorescent protein ที่ปฎิรูปการศึกษาชีววิทยาเชิงโมเลกุลสมัยใหม่ ทำให้เรารู้ว่าโปรตีนอะไรทำงานตรงส่วนไหนบ้าง ผมคิดว่าการศึกษา pure sci เองก็สำคัญไม่ได้แพ้การทำงานด้าน applied sci เลยครับ (องค์ลงมากตอนนั้น อินครับอิน) หลังจากตอบเสร็จกรรมการก็เงียบไปครู่นึงแล้วจึงเริ่มถามต่อ
คำถามที่2) คุณอยากทำงานวิจัยในหอยใช้มั้ย ทำไมถึงสนใจหอยล่ะ
คำตอบ --> ตอนเด็กๆผมโตมากับทะเล พ่อกับแม่ผมชอบทะเลมากครับเราไปทะเลกันเดือนละ 3-4 ครั้ง ว่างๆผมก็ชอบเดินเก็บเปลือกหอยริมหาด ผมเริ่มสะสมเปลือกหอยมาตั้งแต่เด็ก ทำให้ผมผูกพันธ์กับสัตว์กลุ่มนี้เป็นพิเศษ พอโตมาผมก็เลยอยากศึกษาสัตว์กลุ่มนี้ให้ลึกซึ้ง หอยเป็นสัตว์ที่มีความหลากหลายสูงแต่ยังไม่ค่อยมีคนศึกษาจริงๆจังๆเท่าไหร่ ยังมีอะไรให้ศึกษาอีกมากครับ แล้วก็ผมว่าหอยก็น่ารักดีนะครับ55
คำถามที่3) คุณตั้งใจจะศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเปลือกใช่มั้ย ไหนลองยกตัวอย่างยีนที่เกี่ยวข้องมา 2 ยีนสิ (ผมนี่สะดุ้งเลยครับพอฟังคำถามนี้จบ555 นึกว่ากำลังสอบ defense thesis แต่ว่าอันนี้ไม่มีปัญหาครับ ตัวผมพอจะรู้จักยีนอะไรพวกนี้มาบ้างก็เลยตอบได้สบาย)
หลังจากนั้นกรรมการก็เปลี่ยนไปถามเรื่องอื่นบ้าง โดยคราวนี้ท่านเลขาฑูตเป็นคนถามครับ ซึ่งคำถามดูง่ายกว่าคุณลุงคนแรกเยอะเลย
คำถามที่4) ในใบสมัครของคุณ คุณเขียนว่าเคยไปฝึกงานที่ญี่ปุ่นมาด้วยใช่มั้ย คุณไปทำอะไรมาบ้างล่ะ
คำตอบ --> ครับผมเคยได้รับทุนไปฝึกงานที่ โทได (the University of Tokyo) เป็นเวลา 3 เดือนครับ งานของผมในตอนนั้นคือไปช่วย อ. ที่โน่นทำวิจัยเกี่ยวกับ systematics ของผีเสื้อแล้วก็ได้มีโอกาสทำงานในพิพิธภัณฑ์ บางครั้งก็มีออกไปจับผีเสื้อตามที่ต่างๆด้วย
คำถามที่5) แล้วชีวิตความเป็นอยู่ตอนนั้นล่ะเป็นยังไง การใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นมันค่อนข้างจะต่างจากที่ไทยนะมีอะไรเป็นอุปสรรคบ้างมั้ย
คำตอบ --> ช่วงเวลา 3 เดือนที่ผมได้ไปฝึกงานที่ญี่ปุ่นเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขมากๆครั้งหนึ่งในชีวิตผมเลยครับ โดยพื้นฐานแล้วคนญี่ปุ่นเป็นคนรักธรรมชาติ ผมจึงเข้ากับคนญี่ปุ่นในแลปได้ไวเพราะเราชอบอะไรเหมือนๆกันคุยกันสนุกเลยครับ นอกจากนั้นผมเป็นคนที่สนใจวัฒนธรรมญี่ปุ่นมาตั้งแต่เด็กๆพอได้มาอยู่จริงๆเลยยิ่งหลงรัก.......... สำหรับการไปใช้ชีวิตในต่างประเทศมันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องเจอความแตกต่างในด้านการใช้ชีวิตและวัฒนธรรม แต่ความแตกต่างระหว่างไทยกับญี่ปุ่นไม่ได้สร้างอุปสรรคอะไรให้กับผมเลยครับ ผมกลับมองว่าความแตกต่างเป็นเรื่องที่น่าเรียนรู้และเป็นสเน่ห์ของการใช้ชีวิตในต่างประเทศ มันทำให้ผมได้เห็นอะไรใหม่ๆและเรียนรู้ที่จะอยู่กับคนอื่นที่ต่างจากเรา
คำถามที่6) คุณได้ดูที่เรียนที่ไหนไว้บ้างแล้วหรือยัง
คำตอบ --> ผมดูที่ Tsukuba University ไว้ครับ เพราะที่นี่มี อ. ที่ทำวิจัยหัวข้อที่ผมสนใจอยู่ แล้วก็ Tsukuba เองก็ได้ชื่อว่าเป็นเมืองวิทยาศาสตร์ มีศูนย์วิจัยตั้งอยู่เยอะผมคิดว่าการทำวิจัยที่นี่จึงน่าจะทำให้ผมได้เรียนรู้อะไรดีๆอีกมาก เสร็จแล้วผมก็ยื่น LOA ให้กรรมการดู (ซึ่งสุดท้ายกรรมการก็วางไว้เฉยๆแล้วถามต่อ 55)
คำถามที่7) หลังกลับมาเมืองไทยแล้วคุณอยากทำอะไรบ้าง
คำตอบ --> อยากเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยครับ เหตุผลง่ายๆเลยคือผมชอบสอนหนังสือ ชอบทำวิจัยผมว่ามันท้าทายดี แล้วอีกอย่างประเทศไทยยังขาดอาจารย์สายธรรมชาติวิทยารุ่นใหม่ค่อนข้างเยอะ ขณะที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สูง ทรัพยากรธรรมชาติของไทยยังรอคนที่จะมาศึกษาอีกมาก
คำถามที่ 8) ถ้าคุณได้ทุนนี้ไปเรียนที่ญี่ปุ่นอีกรอบ คุณยังจะไปมั้ย
คำตอบ --> แน่นอน ไปสิครับ! ผมตั้งใจมากๆเลยที่จะได้ไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น นี่เป็นความปรารถนาสูงสุดในชีวิตผมเลย
หลังจากตอบคำถามข้อนี้เสร็จกรรมการก็มองหน้ากันไปมองหน้ากันมาแล้วก็พูดว่า “พวกเราไม่รู้จะถามอะไรคุณแล้ว วันนี้พอแค่นี้แล้วกัน ขอบคุณมากครับ” เป็นอันจบการสัมภาษณ์ของผมครับ ใช้เวลาแค่ 10 นาทีนิดๆเอง หลักๆเท่าที่ดูจากคำถามสัมภาษณ์แล้วผมว่ากรรมการเค้าต้องการดู 2 อย่างครับคือ ดูว่าเราเข้าใจ study plan ของเราเองมากแค่ไหนกับ ดูว่าเราต้องการไปญี่ปุ่นจริงๆมั้ย ถ้าปล่อยให้ไปแล้วเราจะเอาชีวิตรอดได้มั้ย .......ซึ่งถ้าเราตอบโจทย์ 2 อย่างนี้ได้ผมว่าไม่น่ามีปัญหาอะไรหรอกครับ พยายามทำให้เค้าเห็นว่าเรารักญี่ปุ่น พร้อมที่จะไปเรียนต่อจริงๆ
ปล. คำตอบที่เล่ามาเป็นแค่ความเห็นของผมนะ
=> กระทู้หน้า https://ppantip.com/topic/36028381