เมื่อเมืองแพร่ไม่ใช่แค่ทางผ่านอีกต่อไป นักท่องเที่ยวที่ชอบความเรียบง่าย slow life หรือสไตล์ Hipster ก็มาเที่ยวเมืองแพร่มากขึ้น แต่จ.แพร่ไม่ได้มีดีแค่ในอ.เมือง เท่านั้น วันนี้ขอเป็นเจ้าบ้าน จากลูกหลานคนเมืองลองพาเที่ยวอีกหนึ่งเมืองเก่า ตามรอยที่มาคำว่า "เมืองแพร่แห่ระเบิด" ชื่นชมศิลปะวัฒนธรรมล้านนาที่คนในท้องถิ่นช่วยกันหวงแหนรักษาให้คนรุ่นต่อไป ที่อำเภอลอง จ.แพร่
การจะเดินทางมาเมืองลองวิธีที่ง่ายและคลาสสิคที่สุดก็คือการนั่งรถไฟมาลงที่สถานีบ้านปิน แนะนำให้นั่งขบวน 51 ที่ออกจากกรุงเทพตอน 4 ทุ่ม และจะมาถึงเมืองลองประมาณ 8 โมงเช้า นอนหลับยาวๆ พอเริ่มเช้าเลยจากสถานีเด่นชัยมา ก็จะเริ่มผ่านขุนเขาป่าไม้ มีแม่น้ำยมไหลผ่านเกาะแก่ง ช่วงหน้าน้ำหลากแม่น้ำยิ่งเชี่ยวกรากเป็นแก่งหลวงให้เที่ยวแบบผจญภัยล่องแก่งกัน แต่สำหรับปลายฝนต้นหนาวช่วงเดือนตุลาคม เราจะเห็นสายหมอกตอนเช้า กับทุ่งนาเขียวขจีที่กำลังตั้งท้องเตรียมออกรวงสลับกับป่าเขาและสวนผลไม้ การได้ยื่นหน้าออกมารับบรรยากาศเย็นสดชื่นตรงหน้าต่างรถไฟเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ฉันทำทุกครั้งที่กลับบ้านด้วยรถไฟ
ชื่นชมธรรมชาติข้างทางเพลินๆ เราก็จะถึงสถานีรถไฟบ้านปิน สถานีรถไฟที่มีสถาปัตยกรรมแบบเฟรมเฮาส์ สไตล์บาวาเรียนของเยอรมันที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 สถานีรถไฟบ้านปินจึงเป็นอีกหนึ่ง check point ที่นักท่องเที่ยวชอบมาถ่ายรูปกัน
กลับบ้านครั้งนี้เพื่อมาทำบุญใหญ่ "ตานก๋วยสลาก" หรือประเพณีสลากภัตรของชาวล้านนาที่ยังรักษาสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน และขอเป็นเจ้าบ้านพาคนกรุงเที่ยวเมืองเล็กๆ ที่จะทำให้คุณหลงรักแล้วอยากกลับมาอีก
เริ่มต้นที่แรกเลยก็ต้องไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ที่ชาวเมืองลองเคารพศรัทธา "พระธาตุศรีดอนคำ" ที่วัดศรีดอนคำหรือวัดห้วยอ้อ
พระธาตุศรีดอนคำบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ก่อสร้างเมื่อครั้งที่พระนางจามเทวีเสด็จจากเมืองละโว้ล่องลำน้ำมาเพื่อจะขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย จ.ลำพูน แต่แทนที่จะตามลำน้ำปิงขึ้นไปกลับมาทางแยกขึ้นตามลำน้ำยมหลงมาขึ้นบกที่บ้านปากลอง จากการที่พระนางจามเทวีทรงตรัสว่า "ลองขึ้นไปก่อนเถอะ" คำว่า "ลอง" ที่พระนางจามเทวีทรงตรัสขึ้นมานั้นจึงถูกนำมาเรียกชื่อเมืองใหม่ว่า "เมืองลอง" จึงเป็นที่มาของเมืองลองมาจนถึงปัจจุบัน พระนางจามเทวีจึงเป็นอีกหนึ่งที่คนเมืองลองเคารพศรัทธา มีอนุสาวรีย์ให้กราบไหว้บูชา
ภายในวัดศรีดอนคำก็จะมีพิพิธภัณฑ์พระเจ้าพร้าโต้และพระเจ้าไม้พันองค์ให้แวะเยี่ยมชม
ออกจากพิพิธภัณฑ์ก็จะมีหอไตร สถาปัตยกรรมล้านนา ที่เป็นแหล่งรวบรวมตำนาน พระพุทธรูปเก่าแก่ ตลอดจนคัมภีร์ต่างๆ
และที่ขาดไม่ได้คือต้องมาดูระฆังลูกระเบิด ที่มาที่ไปของคำว่า "เมืองแพร่แห่ระเบิด" ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการที่มีการทิ้งระเบิดทางรถไฟ แต่ระเบิดมันไม่ระเบิด มีชาวบ้านไปเจอเข้าจึงนำเข้ามาถวายวัด ตลอดเส้นทางที่จะมาถึงวัดก็มีชาวบ้านมาช่วยกัน ร้องเพลงแห่แหนเข้ามาถวายวัด ก็เลยเป็นคำที่คนแพร่จะต้องถูกล้อเลียนเรื่อยมา และดัดแปลงเรื่องราวให้ขำขันเข้าใจผิด ว่าคนแพร่โง่เง่าเอาระเบิดมาแห่จนโดนระเบิดตาย สมัยวัยรุ่นเวลาที่ถูกล้อเลียนแบบนี้จะรู้สึกหงุดหงิดไม่ชอบใจ แต่ไม่รู้จะไปเถียงเขายังไง จนเมื่อได้รับรู้ประวัติศาสตร์เรื่องราวจริงๆ กลับทำให้เราภูมิใจในภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน ที่เอาระเบิดที่ด้านมาเอาดินปืนออกแล้วทำให้เป็นระฆัง และเป็นระฆังที่เสียงใสดังกังวาล มีโอกาสมาเมืองลองต้องมาตีระฆังให้ดังระเบิดกันนะคะ
ปัจจุบันระฆังระเบิดในอ.ลอง มีอยู่ทั้งหมด 3 ลูก ที่วัดศรีดอนคำแห่งนี้ ที่วัดดงลานและวัดนาตุ้ม ออกจากวัดศรีดอนคำ เราไปตามรอย เมืองแพร่แห่ระเบิดกันต่อที่ ร้านกาแฟแห่ระเบิด ใกล้ๆ กับสถานีรถไฟบ้านปิน
ร้านกาแฟที่ไม่ใช่แค่มีกาแฟอร่อย ยังมีเรื่องเล่า เมืองแพร่แห่ระเบิด ร่องรอยเมืองโบราณ ที่พี่เจ้าของร้านภูมิใจและเต็มใจเล่าให้เราฟัง
ใครชอบงานศิลป์ ก็มีผลงานศิลปะให้เสพคู่กับกาแฟ แถมบรรยากาศร้านก็น่านั่ง ต้นไม้ร่มรื่นนั่งจิบชากาแฟเพลินๆ ไปค่ะ
ออกจากร้านกาแฟ เราไปต่อกันที่พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ ใครเคยดูละครเรื่องรอยไหม มาตามรอยละครหาดูเสื้อผ้าที่เจ้านางน้อยใส่ได้ที่นี่
เจ้าของที่นี่คือ อ.โกมล พานิชพันธ์ บุคคลสำคัญของเมืองลอง ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการผ้าโบราณมานาน เป็นที่ปรึกษาเรื่องการแต่งกายแบบล้านนาให้กับละครหลายเรื่อง เรื่องที่เด่นๆ ก็คือ รอยไหม และเรื่องล่าสุด นาคี อาจารย์ชอบและสะสมผ้าตีนจกเก่าที่ขอบูชามาจากแม่อุ้ยไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดู เข้ามาในพิพิธภัณฑ์ ก็จะได้เห็นผ้าทอสวยๆใครชอบผ้าทอต้องมาที่นี่เลยค่ะ หากโชคดีเจออาจารย์ ท่านจะพาเดินชมและเล่าเรื่องราวด้วยตัวท่านเองเลย
นอกจากพิพิธภัณฑ์ผ้าแล้ว อ.โกมล ยังใช้ร้านถ่ายรูปเก่าของพ่อมาทำเป็นพิพิธภัณฑ์ร้านถ่ายรูปฉลองศิลป์ ที่เก็บรวบรวมรูปเก่า วีถีชีวิต บุคคลสำคัญ จากฟิล์มขาวดำที่ตกทอดมาถึงท่าน แล้วนำไปอัดรูปใหม่มาให้พวกเราได้ดูกัน
และที่ประทับใจที่สุดก็คงจะเป็นภาพถ่ายในหลวง ร.๙ ของเราเมื่อครั้นเสด็จเยือนเมืองแพร่ ที่คุณฉลอง พ่อของอ.โกมล ซึ่งเป็นช่างภาพในสมัยนั้นได้มีโอกาสไปเก็บภาพความทรงจำมาให้พวกเราคนรุ่นหลังได้ดู
โชคดีได้มาเจออ.โกมลที่ห้องภาพฉลองศิลป์ ท่านก็ช่วยเล่าเรื่องที่มาที่ไปของพิพิธภัณฑ์นี้ให้ฟัง
พิพิธภัณฑ์นี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น จึงยังไม่ได้เปิดให้เข้าดูได้ทุกวัน หากสนใจจะเข้าชมติดต่อได้ที่พิพิธภัณ์โกมลผ้าโบราณนะคะ
แดดร่มลมตก เราขอพาไปต่ออีกหนึ่งวัดสำคัญของคนเมืองลอง นั่นก็คือ วัดสะแล่ง หรือวัดป่าคันธธรรมาราม จะพาขึ้นดอยไปไหว้พระเจ้าองค์หลวงบนดอยโป่งมื่น เห็นองค์ท่านอยู่บนดอยลิบๆ
วัดสะแล่ง เดิมเป็นวัดร้างตั้งแต่พุทธกาล ครูบาสมจิตท่านเป็นคนมาบูรณะตั้งแต่ปี 2506 จนเป็นวัดสำคัญของชาวเมืองลองมาจนถึงปัจจุบัน
สะแล่ง มาจาก "ดอกสะแล่ง" ดอกไม้ที่ชาวเมืองนำมาถวายพระพุทธองค์เมื่อครั้งพุทธกาล
ที่วัดนี้มีสถาปัตยกรรมแบบล้านนามากมาย ทั้งพระธาตุ อุโบสถ หอระฆัง
สลุงหลวง - มณฑปที่ประดิษฐานพระแก้วจันทรวิทูร
นี่แค่บางส่วนเท่านั้น ภายในวัดสะแล่งยังมีจุดให้เยี่ยมชมอีกมาก แบ่งเป็นเขตพุทธาวาสเก่าและใหม่ ที่วัดสะแล่งจะมีงานประเพณีสรงน้ำพระและดำหัวครูบาสมจิตรเป็นประจำทุกปีในวันที่ 17 เมษายน ปีไหนที่ได้กลับบ้านสงกรานต์และหยุดยาวถึงวันที่ 17 เม.ย.ก็จะต้องไปให้ได้ เพราะผูกพันไปช่วยงาน ทำบุญกับพ่อมาตั้งแต่เด็ก ออกจากตัววัดเราก็จะขึ้นดอยไปไหว้พระเจ้าองค์หลวง เลาะถนนขึ้นดอยไปทางด้านหลังของวัด
หลวงพ่อพระพุทธวัฒโนภาสโลกนาถมหาศากยมุนี (พระเจ้าองค์หลวง)
ขึ้นมาถึงพระอาทิตย์ก็ตกพอดี บนยอดดอยโป่งหมื่น ยังมีพุทธสถานอีกหลายจุด เช่น พระธาตุช้างล้อมที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท วิหารโถง และกำลังจะสร้างพระธาตุอินแขวนจำลองไว้บนยอดเขานี้ด้วย ตรงจุดที่พระเจ้าองค์หลวงที่มีบันไดนาคยาวๆ นี้จะใช้เป็นที่จัดประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ หลังวันออกพรรษาทุกปี
และตรงจุดนี้เราก็จะเห็นวิวเมืองลองแบบพาโนรามาเลย
และขอลาทริปวันนี้ด้วยวิวเมืองลองยามท้องฟ้าอัสดง แล้วเดี่ยวพาไปเที่ยวต่อ เพราะเมืองลองยังมีที่เที่ยวให้คุณได้ไปสัมผัสอีกมาก แล้วไปหลงฮัก "เมืองลอง" ด้วยกันหนาเจ้า...
[CR] ลองมาแอ่ว แล้วจะฮัก "ลอง"
การจะเดินทางมาเมืองลองวิธีที่ง่ายและคลาสสิคที่สุดก็คือการนั่งรถไฟมาลงที่สถานีบ้านปิน แนะนำให้นั่งขบวน 51 ที่ออกจากกรุงเทพตอน 4 ทุ่ม และจะมาถึงเมืองลองประมาณ 8 โมงเช้า นอนหลับยาวๆ พอเริ่มเช้าเลยจากสถานีเด่นชัยมา ก็จะเริ่มผ่านขุนเขาป่าไม้ มีแม่น้ำยมไหลผ่านเกาะแก่ง ช่วงหน้าน้ำหลากแม่น้ำยิ่งเชี่ยวกรากเป็นแก่งหลวงให้เที่ยวแบบผจญภัยล่องแก่งกัน แต่สำหรับปลายฝนต้นหนาวช่วงเดือนตุลาคม เราจะเห็นสายหมอกตอนเช้า กับทุ่งนาเขียวขจีที่กำลังตั้งท้องเตรียมออกรวงสลับกับป่าเขาและสวนผลไม้ การได้ยื่นหน้าออกมารับบรรยากาศเย็นสดชื่นตรงหน้าต่างรถไฟเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ฉันทำทุกครั้งที่กลับบ้านด้วยรถไฟ
ชื่นชมธรรมชาติข้างทางเพลินๆ เราก็จะถึงสถานีรถไฟบ้านปิน สถานีรถไฟที่มีสถาปัตยกรรมแบบเฟรมเฮาส์ สไตล์บาวาเรียนของเยอรมันที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 สถานีรถไฟบ้านปินจึงเป็นอีกหนึ่ง check point ที่นักท่องเที่ยวชอบมาถ่ายรูปกัน
กลับบ้านครั้งนี้เพื่อมาทำบุญใหญ่ "ตานก๋วยสลาก" หรือประเพณีสลากภัตรของชาวล้านนาที่ยังรักษาสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน และขอเป็นเจ้าบ้านพาคนกรุงเที่ยวเมืองเล็กๆ ที่จะทำให้คุณหลงรักแล้วอยากกลับมาอีก
เริ่มต้นที่แรกเลยก็ต้องไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ที่ชาวเมืองลองเคารพศรัทธา "พระธาตุศรีดอนคำ" ที่วัดศรีดอนคำหรือวัดห้วยอ้อ
พระธาตุศรีดอนคำบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ก่อสร้างเมื่อครั้งที่พระนางจามเทวีเสด็จจากเมืองละโว้ล่องลำน้ำมาเพื่อจะขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย จ.ลำพูน แต่แทนที่จะตามลำน้ำปิงขึ้นไปกลับมาทางแยกขึ้นตามลำน้ำยมหลงมาขึ้นบกที่บ้านปากลอง จากการที่พระนางจามเทวีทรงตรัสว่า "ลองขึ้นไปก่อนเถอะ" คำว่า "ลอง" ที่พระนางจามเทวีทรงตรัสขึ้นมานั้นจึงถูกนำมาเรียกชื่อเมืองใหม่ว่า "เมืองลอง" จึงเป็นที่มาของเมืองลองมาจนถึงปัจจุบัน พระนางจามเทวีจึงเป็นอีกหนึ่งที่คนเมืองลองเคารพศรัทธา มีอนุสาวรีย์ให้กราบไหว้บูชา
ภายในวัดศรีดอนคำก็จะมีพิพิธภัณฑ์พระเจ้าพร้าโต้และพระเจ้าไม้พันองค์ให้แวะเยี่ยมชม
ออกจากพิพิธภัณฑ์ก็จะมีหอไตร สถาปัตยกรรมล้านนา ที่เป็นแหล่งรวบรวมตำนาน พระพุทธรูปเก่าแก่ ตลอดจนคัมภีร์ต่างๆ
และที่ขาดไม่ได้คือต้องมาดูระฆังลูกระเบิด ที่มาที่ไปของคำว่า "เมืองแพร่แห่ระเบิด" ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการที่มีการทิ้งระเบิดทางรถไฟ แต่ระเบิดมันไม่ระเบิด มีชาวบ้านไปเจอเข้าจึงนำเข้ามาถวายวัด ตลอดเส้นทางที่จะมาถึงวัดก็มีชาวบ้านมาช่วยกัน ร้องเพลงแห่แหนเข้ามาถวายวัด ก็เลยเป็นคำที่คนแพร่จะต้องถูกล้อเลียนเรื่อยมา และดัดแปลงเรื่องราวให้ขำขันเข้าใจผิด ว่าคนแพร่โง่เง่าเอาระเบิดมาแห่จนโดนระเบิดตาย สมัยวัยรุ่นเวลาที่ถูกล้อเลียนแบบนี้จะรู้สึกหงุดหงิดไม่ชอบใจ แต่ไม่รู้จะไปเถียงเขายังไง จนเมื่อได้รับรู้ประวัติศาสตร์เรื่องราวจริงๆ กลับทำให้เราภูมิใจในภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน ที่เอาระเบิดที่ด้านมาเอาดินปืนออกแล้วทำให้เป็นระฆัง และเป็นระฆังที่เสียงใสดังกังวาล มีโอกาสมาเมืองลองต้องมาตีระฆังให้ดังระเบิดกันนะคะ
ปัจจุบันระฆังระเบิดในอ.ลอง มีอยู่ทั้งหมด 3 ลูก ที่วัดศรีดอนคำแห่งนี้ ที่วัดดงลานและวัดนาตุ้ม ออกจากวัดศรีดอนคำ เราไปตามรอย เมืองแพร่แห่ระเบิดกันต่อที่ ร้านกาแฟแห่ระเบิด ใกล้ๆ กับสถานีรถไฟบ้านปิน
ร้านกาแฟที่ไม่ใช่แค่มีกาแฟอร่อย ยังมีเรื่องเล่า เมืองแพร่แห่ระเบิด ร่องรอยเมืองโบราณ ที่พี่เจ้าของร้านภูมิใจและเต็มใจเล่าให้เราฟัง
ใครชอบงานศิลป์ ก็มีผลงานศิลปะให้เสพคู่กับกาแฟ แถมบรรยากาศร้านก็น่านั่ง ต้นไม้ร่มรื่นนั่งจิบชากาแฟเพลินๆ ไปค่ะ
ออกจากร้านกาแฟ เราไปต่อกันที่พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ ใครเคยดูละครเรื่องรอยไหม มาตามรอยละครหาดูเสื้อผ้าที่เจ้านางน้อยใส่ได้ที่นี่
เจ้าของที่นี่คือ อ.โกมล พานิชพันธ์ บุคคลสำคัญของเมืองลอง ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการผ้าโบราณมานาน เป็นที่ปรึกษาเรื่องการแต่งกายแบบล้านนาให้กับละครหลายเรื่อง เรื่องที่เด่นๆ ก็คือ รอยไหม และเรื่องล่าสุด นาคี อาจารย์ชอบและสะสมผ้าตีนจกเก่าที่ขอบูชามาจากแม่อุ้ยไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดู เข้ามาในพิพิธภัณฑ์ ก็จะได้เห็นผ้าทอสวยๆใครชอบผ้าทอต้องมาที่นี่เลยค่ะ หากโชคดีเจออาจารย์ ท่านจะพาเดินชมและเล่าเรื่องราวด้วยตัวท่านเองเลย
นอกจากพิพิธภัณฑ์ผ้าแล้ว อ.โกมล ยังใช้ร้านถ่ายรูปเก่าของพ่อมาทำเป็นพิพิธภัณฑ์ร้านถ่ายรูปฉลองศิลป์ ที่เก็บรวบรวมรูปเก่า วีถีชีวิต บุคคลสำคัญ จากฟิล์มขาวดำที่ตกทอดมาถึงท่าน แล้วนำไปอัดรูปใหม่มาให้พวกเราได้ดูกัน
และที่ประทับใจที่สุดก็คงจะเป็นภาพถ่ายในหลวง ร.๙ ของเราเมื่อครั้นเสด็จเยือนเมืองแพร่ ที่คุณฉลอง พ่อของอ.โกมล ซึ่งเป็นช่างภาพในสมัยนั้นได้มีโอกาสไปเก็บภาพความทรงจำมาให้พวกเราคนรุ่นหลังได้ดู
โชคดีได้มาเจออ.โกมลที่ห้องภาพฉลองศิลป์ ท่านก็ช่วยเล่าเรื่องที่มาที่ไปของพิพิธภัณฑ์นี้ให้ฟัง
พิพิธภัณฑ์นี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น จึงยังไม่ได้เปิดให้เข้าดูได้ทุกวัน หากสนใจจะเข้าชมติดต่อได้ที่พิพิธภัณ์โกมลผ้าโบราณนะคะ
แดดร่มลมตก เราขอพาไปต่ออีกหนึ่งวัดสำคัญของคนเมืองลอง นั่นก็คือ วัดสะแล่ง หรือวัดป่าคันธธรรมาราม จะพาขึ้นดอยไปไหว้พระเจ้าองค์หลวงบนดอยโป่งมื่น เห็นองค์ท่านอยู่บนดอยลิบๆ
วัดสะแล่ง เดิมเป็นวัดร้างตั้งแต่พุทธกาล ครูบาสมจิตท่านเป็นคนมาบูรณะตั้งแต่ปี 2506 จนเป็นวัดสำคัญของชาวเมืองลองมาจนถึงปัจจุบัน
สะแล่ง มาจาก "ดอกสะแล่ง" ดอกไม้ที่ชาวเมืองนำมาถวายพระพุทธองค์เมื่อครั้งพุทธกาล
ที่วัดนี้มีสถาปัตยกรรมแบบล้านนามากมาย ทั้งพระธาตุ อุโบสถ หอระฆัง
สลุงหลวง - มณฑปที่ประดิษฐานพระแก้วจันทรวิทูร
นี่แค่บางส่วนเท่านั้น ภายในวัดสะแล่งยังมีจุดให้เยี่ยมชมอีกมาก แบ่งเป็นเขตพุทธาวาสเก่าและใหม่ ที่วัดสะแล่งจะมีงานประเพณีสรงน้ำพระและดำหัวครูบาสมจิตรเป็นประจำทุกปีในวันที่ 17 เมษายน ปีไหนที่ได้กลับบ้านสงกรานต์และหยุดยาวถึงวันที่ 17 เม.ย.ก็จะต้องไปให้ได้ เพราะผูกพันไปช่วยงาน ทำบุญกับพ่อมาตั้งแต่เด็ก ออกจากตัววัดเราก็จะขึ้นดอยไปไหว้พระเจ้าองค์หลวง เลาะถนนขึ้นดอยไปทางด้านหลังของวัด
หลวงพ่อพระพุทธวัฒโนภาสโลกนาถมหาศากยมุนี (พระเจ้าองค์หลวง)
ขึ้นมาถึงพระอาทิตย์ก็ตกพอดี บนยอดดอยโป่งหมื่น ยังมีพุทธสถานอีกหลายจุด เช่น พระธาตุช้างล้อมที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท วิหารโถง และกำลังจะสร้างพระธาตุอินแขวนจำลองไว้บนยอดเขานี้ด้วย ตรงจุดที่พระเจ้าองค์หลวงที่มีบันไดนาคยาวๆ นี้จะใช้เป็นที่จัดประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ หลังวันออกพรรษาทุกปี
และตรงจุดนี้เราก็จะเห็นวิวเมืองลองแบบพาโนรามาเลย
และขอลาทริปวันนี้ด้วยวิวเมืองลองยามท้องฟ้าอัสดง แล้วเดี่ยวพาไปเที่ยวต่อ เพราะเมืองลองยังมีที่เที่ยวให้คุณได้ไปสัมผัสอีกมาก แล้วไปหลงฮัก "เมืองลอง" ด้วยกันหนาเจ้า...
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น