เปิดงบการเงินสื่อสิ่งพิมพ์ใหญ่ (1)
(แก้ไขเพิ่มเติมนะครับ)
สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย (SMM) และสยามสปอร์ตซินดิเคต (SPORT)
- เติบโตขึ้นมาจากการนำเสนอข่าวฟุตบอลและกีฬา ผ่านหนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวันและต่อมาก็แตกหัวเป็น สตาร์ซอกเกอร์ สปอร์ตพูล และอื่นๆ
- เปิดหนังสือพิมพ์ที่ลงนิยายจีน และตีพิมพ์นิยายจีนแปลอย่างต่อเนื่อง นับว่าเป็นเจ้ายุทธภพนิยายจีน มีนักแปลนิยายจีนชั้นนำ เช่น น.นพรัตน์ อยู่ด้วย
- ตีพิมพ์การ์ตูนและนิตยสารอื่นๆ มาตั้งแต่ยังเป็นสยามสปอร์ตพับลิชชิ่ง และได้แยกเป็นสองบริษัทเข้าตลาด คือ SPORT และ SMM
- ต่อมาได้รับความร่วมมือจากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ต่อยอดสื่อกีฬาทั้งวิทยุ และการถ่ายทอดสดกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทย
- เปิดช่องทีวีดาวเทียมของตัวเอง ส่งสื่อมวลชนไปประจำและรายงานข่าวกีฬาต่างประเทศ โดยเฉพาะฟุตบอลพรีเมียร์ลีก เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มสร้างกระแสฟุตบอลต่างประเทศในไทย
- รับงานอีเวนท์และออแกไนซ์กิจกรรมที่เกี่ยวกับกีฬาทั้งของภาครัฐและเอกชน
- ไม่ได้ร่วมวงกับกิจการทีวีดิจิตอล
- เริ่มขาดทุนตั้งแต่ปี 2557 และขาดทุนสะสมมาเรื่อยๆ
- หลังจากวรวีร์ มะกูดี พ้นจากนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยและสยามอินเตอร์ฯ ไม่ได้รับงานจากสมาคมฟุตบอล รายได้ก็ลดลงอย่างชัดเจน
- ปี 2559 สามไตรมาส SMM ขาดทุนมากถึง 79 ล้านบาท ส่วน SPORT ยิ่งหนักกว่า ขาดทุนถึง 208 ล้านบาท
- การขาดทุนมาจากรายได้รวมที่ลดลง เมื่อเทียบกับปี 2555 ที่เป็นปีที่ได้กำไรสูงสุด ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง
- ตัวเลขที่น่าสนใจของการขาดทุน (ส่วนของ SMM) ได้แก่
1. เงินสดและทรัพย์สินที่เทียบเท่าเงินสด เหลือเพียง 1 ล้านบาท ในขณะที่มีวงเงินเบิกเกินบัญชี (OD) และหนี้ระยะสั้นถึง 473 ล้านบาท
2. ลูกหนี้การค้าที่ยังรอเก็บ 330 ล้านบาท แต่ก็มีเจ้าหนี้การค้ารอจ่ายอยู่อีกถึง 110 ล้านบาท เท่ากับว่ายังต้องรอเก็บเงินเพื่อจ่ายหนี้
3. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน/สิทธิการเช่า ซึ่งหมายถึงสิทธิต่างๆ และค่าลิขสิทธิ์ด้วย มีค่าเพียง 30 ล้านบาท
4. สินค้าคงค้าง เหลือสต็อก มีมากถึง 513.9 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มที่จะต้องขายเลหลังลดราคา ซึ่งเท่ากับว่าเป็นสินทรัพย์ที่จะเสื่อมค่าลงต่อไป
- ในส่วนตัวเลขของ SPORT ถือว่าแย่กว่ามาก โดยเฉพาะยอดหนี้ระยะสั้นและกระแสเงินสด
- แม้ว่าตัวเลขขาดทุนจะไม่มากนัก ในสเกลของธุรกิจเมื่อเทียบกับรายอื่น แต่สยามฯ ขาดพันธมิตรและบริษัทที่จะเข้ามาสนับสนุนอย่างชัดเจน อีกทั้งสาขาสื่อกีฬา ยังไม่ทันต่อเหตุการณ์และสื่อใหม่
- สยามฯ ไม่มีช่องทางขายในทางสื่อใหม่เท่าใดนัก ส่วนของ e-book ก็ไม่เป็นที่รู้จัก ส่วนการขายผ่านเว็บไซต์ก็ดูเงียบๆ
- จุดที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือกระแสเงินสดที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับหนี้ระยะสั้นที่ดอกเบี้ยสูง
- การปิดแม็กกาซีนและปิดหัวสนพ. ไปหลายหัว ไม่ได้ลดค่าใช้จ่ายมากอย่างที่คิด
- ทางออกคือการเพิ่มทุน หรือการเร่งระดมขายสินค้าคงค้างในคลัง โดยเน้นการผลิตหนังสือใหม่ที่ขายได้และขายดีจริง มากกว่าที่จะออกหนังสือมากหลายหัว หลายไลน์ แบบช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา
http://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=SMM&ssoPageId=4&language=th&country=TH
Cr.ให้ท่าน
https://www.facebook.com/terasphere/posts/10153931665791809
ดูจากมุมมองทางงบการเงิน คิดว่าเครือสยามสปอร์ท ทีมบอลเมืองทอง จะไปรอดไหมครับ
(แก้ไขเพิ่มเติมนะครับ)
สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย (SMM) และสยามสปอร์ตซินดิเคต (SPORT)
- เติบโตขึ้นมาจากการนำเสนอข่าวฟุตบอลและกีฬา ผ่านหนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวันและต่อมาก็แตกหัวเป็น สตาร์ซอกเกอร์ สปอร์ตพูล และอื่นๆ
- เปิดหนังสือพิมพ์ที่ลงนิยายจีน และตีพิมพ์นิยายจีนแปลอย่างต่อเนื่อง นับว่าเป็นเจ้ายุทธภพนิยายจีน มีนักแปลนิยายจีนชั้นนำ เช่น น.นพรัตน์ อยู่ด้วย
- ตีพิมพ์การ์ตูนและนิตยสารอื่นๆ มาตั้งแต่ยังเป็นสยามสปอร์ตพับลิชชิ่ง และได้แยกเป็นสองบริษัทเข้าตลาด คือ SPORT และ SMM
- ต่อมาได้รับความร่วมมือจากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ต่อยอดสื่อกีฬาทั้งวิทยุ และการถ่ายทอดสดกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทย
- เปิดช่องทีวีดาวเทียมของตัวเอง ส่งสื่อมวลชนไปประจำและรายงานข่าวกีฬาต่างประเทศ โดยเฉพาะฟุตบอลพรีเมียร์ลีก เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มสร้างกระแสฟุตบอลต่างประเทศในไทย
- รับงานอีเวนท์และออแกไนซ์กิจกรรมที่เกี่ยวกับกีฬาทั้งของภาครัฐและเอกชน
- ไม่ได้ร่วมวงกับกิจการทีวีดิจิตอล
- เริ่มขาดทุนตั้งแต่ปี 2557 และขาดทุนสะสมมาเรื่อยๆ
- หลังจากวรวีร์ มะกูดี พ้นจากนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยและสยามอินเตอร์ฯ ไม่ได้รับงานจากสมาคมฟุตบอล รายได้ก็ลดลงอย่างชัดเจน
- ปี 2559 สามไตรมาส SMM ขาดทุนมากถึง 79 ล้านบาท ส่วน SPORT ยิ่งหนักกว่า ขาดทุนถึง 208 ล้านบาท
- การขาดทุนมาจากรายได้รวมที่ลดลง เมื่อเทียบกับปี 2555 ที่เป็นปีที่ได้กำไรสูงสุด ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง
- ตัวเลขที่น่าสนใจของการขาดทุน (ส่วนของ SMM) ได้แก่
1. เงินสดและทรัพย์สินที่เทียบเท่าเงินสด เหลือเพียง 1 ล้านบาท ในขณะที่มีวงเงินเบิกเกินบัญชี (OD) และหนี้ระยะสั้นถึง 473 ล้านบาท
2. ลูกหนี้การค้าที่ยังรอเก็บ 330 ล้านบาท แต่ก็มีเจ้าหนี้การค้ารอจ่ายอยู่อีกถึง 110 ล้านบาท เท่ากับว่ายังต้องรอเก็บเงินเพื่อจ่ายหนี้
3. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน/สิทธิการเช่า ซึ่งหมายถึงสิทธิต่างๆ และค่าลิขสิทธิ์ด้วย มีค่าเพียง 30 ล้านบาท
4. สินค้าคงค้าง เหลือสต็อก มีมากถึง 513.9 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มที่จะต้องขายเลหลังลดราคา ซึ่งเท่ากับว่าเป็นสินทรัพย์ที่จะเสื่อมค่าลงต่อไป
- ในส่วนตัวเลขของ SPORT ถือว่าแย่กว่ามาก โดยเฉพาะยอดหนี้ระยะสั้นและกระแสเงินสด
- แม้ว่าตัวเลขขาดทุนจะไม่มากนัก ในสเกลของธุรกิจเมื่อเทียบกับรายอื่น แต่สยามฯ ขาดพันธมิตรและบริษัทที่จะเข้ามาสนับสนุนอย่างชัดเจน อีกทั้งสาขาสื่อกีฬา ยังไม่ทันต่อเหตุการณ์และสื่อใหม่
- สยามฯ ไม่มีช่องทางขายในทางสื่อใหม่เท่าใดนัก ส่วนของ e-book ก็ไม่เป็นที่รู้จัก ส่วนการขายผ่านเว็บไซต์ก็ดูเงียบๆ
- จุดที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือกระแสเงินสดที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับหนี้ระยะสั้นที่ดอกเบี้ยสูง
- การปิดแม็กกาซีนและปิดหัวสนพ. ไปหลายหัว ไม่ได้ลดค่าใช้จ่ายมากอย่างที่คิด
- ทางออกคือการเพิ่มทุน หรือการเร่งระดมขายสินค้าคงค้างในคลัง โดยเน้นการผลิตหนังสือใหม่ที่ขายได้และขายดีจริง มากกว่าที่จะออกหนังสือมากหลายหัว หลายไลน์ แบบช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา
http://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=SMM&ssoPageId=4&language=th&country=TH
Cr.ให้ท่าน https://www.facebook.com/terasphere/posts/10153931665791809