บรรษัทบริบาล (CSR) ต่างกับ บรรษัทภิบาล (CG) อย่างไร
การกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance - CG) หรือบรรษัทภิบาล มาจากคำว่า บรรษัท + อภิ (แปลว่า เฉพาะ ข้างหน้า ยิ่ง) + บาล (แปลว่า การปกครอง การรักษา) หมายถึง การกำกับดูแลกิจการให้เจริญรุดหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเงื่อนไขของความถูกต้องโปร่งใส การมีจริยธรรมที่ดี โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียในกิจการเป็นหลัก
.. ขณะที่ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ หรือบรรษัทบริบาล ซึ่งมาจากคำว่า บรรษัท + บริ (แปลว่า ทั้งหมด ออกไป โดยรอบ) + บาล หมายถึง การดูแลรักษาไม่เฉพาะในส่วนที่เป็นกิจการ แต่ยังแผ่ขยายกว้างออกไปครอบคลุมในส่วนที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดที่อยู่โดยรอบกิจการ ด้วยเงื่อนไขของความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะพลเมืองบรรษัท (Corporate Citizen) การมีคุณธรรม โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทั้งในและนอกกิจการอย่างเท่าเทียมกัน
บรรษัทบริบาล จึงเป็นกลไกการดำเนินงานในกิจการที่เชื่อมโยงสู่กระบวนการภายนอก ที่จัดให้มีขึ้นภายใต้จุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างประโยชน์แก่กิจการและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การสงเคราะห์ช่วยเหลือส่วนรวมตามกำลังและความสามารถของกิจการ อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของกิจการในระยะยาว
_______ ภาษาไทย แปลมา มันฟังดูยากเน้ออ สะกดต่างกันนิดเดียว ดันเป็นคนละความหมายเลย
คนไทยเลยบอกว่า ถ้ามันยุ่งยากนั้นอย่าทำมันซะเลย ให้พวกนักวิชาเกินมันทำไป
เรามุ่งแต่กำไรๆๆๆ ค้าขายแบบเอากำไรเป็นที่ตั้ง อะไรมีกฏหมายไม่ห้ามให้ทำก็ทำต่อให้ขัดศีลธรรมแต่ได้กำไร เราทำหมด
เรือง คุณธรรมกาารค้าไม่ต้องมาพูดถึง ผบห. จะซื้อหุ้นดัก จะขายหุ้นในบัญชีคนอื่นคือเรื่องปกติ
ไม่ทำก็ไม่รวยสิ... พวกโลกสวยหลบไป.. ที่นิประเทศไทย
ธรรมภิบาลกันแต่ปากทั้งนั้น ใครๆเค้าก็วัดความสำเร็จกันที่ความร่ำรวยใช่หรือไม่
นิตยสารก็จัดว่าใสุด ใครทรงอำนาจสุด
มันเคยมีจัดอันดันคนเสียสละเพื่อสังคมสูงสุดป่าวหว่า..
ถ้าสังคมไทยยัง เป็นแบบนี้อยู่คิดว่า อนาคตต่อไปความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบของคนไทยจะยังมีหรือไม่
หรือว่าประเทศไทย เป็นประเทศพัฒนาแล้วววว พัฒนาแล้วได้แค่นัละ
_______________
ธรรมาภิบาล Good Governance
คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น
ธรรมาภิบาล เป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุเพราะ ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ อาทิ พนักงานต่างทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร ทำให้ผลประกอบการขององค์กรธุรกิจนั้นขยายตัว นอกจากนี้แล้วยังทำให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรนั้น ๆ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์กรที่โปร่งใส ย่อมได้รับความไว้วางใจในการร่วมทำธุรกิจ รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เป็นต้น
http://www.thaichamber.org/scripts/detail.asp?nNEWSID=1220
http://faq.thaicsr.com/2006/11/csr-cg.html?m=0
ธรรมาภิบาลคืออะไร CG คือ อะไร CG ต่างจาก CSR อย่างไร แล้วยังมี SE เพิ่มมาอีก สังคมไทยขาดตัวไหน หรือขาดมันทุกตัวเลย
การกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance - CG) หรือบรรษัทภิบาล มาจากคำว่า บรรษัท + อภิ (แปลว่า เฉพาะ ข้างหน้า ยิ่ง) + บาล (แปลว่า การปกครอง การรักษา) หมายถึง การกำกับดูแลกิจการให้เจริญรุดหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเงื่อนไขของความถูกต้องโปร่งใส การมีจริยธรรมที่ดี โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียในกิจการเป็นหลัก
.. ขณะที่ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ หรือบรรษัทบริบาล ซึ่งมาจากคำว่า บรรษัท + บริ (แปลว่า ทั้งหมด ออกไป โดยรอบ) + บาล หมายถึง การดูแลรักษาไม่เฉพาะในส่วนที่เป็นกิจการ แต่ยังแผ่ขยายกว้างออกไปครอบคลุมในส่วนที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดที่อยู่โดยรอบกิจการ ด้วยเงื่อนไขของความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะพลเมืองบรรษัท (Corporate Citizen) การมีคุณธรรม โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทั้งในและนอกกิจการอย่างเท่าเทียมกัน
บรรษัทบริบาล จึงเป็นกลไกการดำเนินงานในกิจการที่เชื่อมโยงสู่กระบวนการภายนอก ที่จัดให้มีขึ้นภายใต้จุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างประโยชน์แก่กิจการและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การสงเคราะห์ช่วยเหลือส่วนรวมตามกำลังและความสามารถของกิจการ อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของกิจการในระยะยาว
_______ ภาษาไทย แปลมา มันฟังดูยากเน้ออ สะกดต่างกันนิดเดียว ดันเป็นคนละความหมายเลย
คนไทยเลยบอกว่า ถ้ามันยุ่งยากนั้นอย่าทำมันซะเลย ให้พวกนักวิชาเกินมันทำไป
เรามุ่งแต่กำไรๆๆๆ ค้าขายแบบเอากำไรเป็นที่ตั้ง อะไรมีกฏหมายไม่ห้ามให้ทำก็ทำต่อให้ขัดศีลธรรมแต่ได้กำไร เราทำหมด
เรือง คุณธรรมกาารค้าไม่ต้องมาพูดถึง ผบห. จะซื้อหุ้นดัก จะขายหุ้นในบัญชีคนอื่นคือเรื่องปกติ
ไม่ทำก็ไม่รวยสิ... พวกโลกสวยหลบไป.. ที่นิประเทศไทย
ธรรมภิบาลกันแต่ปากทั้งนั้น ใครๆเค้าก็วัดความสำเร็จกันที่ความร่ำรวยใช่หรือไม่
นิตยสารก็จัดว่าใสุด ใครทรงอำนาจสุด
มันเคยมีจัดอันดันคนเสียสละเพื่อสังคมสูงสุดป่าวหว่า..
ถ้าสังคมไทยยัง เป็นแบบนี้อยู่คิดว่า อนาคตต่อไปความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบของคนไทยจะยังมีหรือไม่
หรือว่าประเทศไทย เป็นประเทศพัฒนาแล้วววว พัฒนาแล้วได้แค่นัละ
_______________
ธรรมาภิบาล Good Governance
คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น
ธรรมาภิบาล เป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุเพราะ ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ อาทิ พนักงานต่างทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร ทำให้ผลประกอบการขององค์กรธุรกิจนั้นขยายตัว นอกจากนี้แล้วยังทำให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรนั้น ๆ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์กรที่โปร่งใส ย่อมได้รับความไว้วางใจในการร่วมทำธุรกิจ รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เป็นต้น
http://www.thaichamber.org/scripts/detail.asp?nNEWSID=1220
http://faq.thaicsr.com/2006/11/csr-cg.html?m=0