วันนี้ได้มีโอกาสบทความที่ดีมากๆของ ผศ.ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา ที่เขียนเกี่ยวกับละครนาคี
อ่านแล้วทำให้รู้เลยว่าคุณกอล์ฟคนเขียนบท หาข้อมูลเยอะและเขียนเชื่อมโยงเป็นบทละครได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์มากๆ
ยาวหน่อยนะคะแต่ถ้าชอบอ่านเรื่องแบบนี้รับรองความรู้เพียบ...
เกริ่นนิดนึงก่อนว่า ผศ.ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา เป็นนักวิจารณ์รางวัล ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณและอดีตนายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยฯ
ปัจจุบันเป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ม.หอการค้าไทย เป็นนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในเรื่องของทัศนคติทางภาษาและวรรณกรรม
มาดูที่อ่านเขียนถึงนาคีกันค่ะน่าสนใจมากๆเราเอามาจากที่อาจารย์แชร์ในเฟซบุ๊คของอาจารย์เองตามลิงค์นี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.facebook.com/notes/%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%A8-%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B5-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5-%E0%B9%91-%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%A8-%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/1318386698244788
ความเชื่อทางคติชนกับแนวคิดทางพุทธศาสนาใน "นาคี" ตอนที ๑ ธเนศ เวศร์ภาดา เขียน
(บทความนี้ยาวมาก ต้องแบ่งเป็นสองตอน มุมานะเขียนมาก ฝากอ่านกันนะครับ กดไลค์กดแชร์ได้ตามอัธยาศัย)
"นาคี" อวสานไปแล้วเมื่อค่ำวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๙ ด้วยฉากเจ้าแม่นาคีบันดาลโทสะที่ถ่ายทำตัดต่อภาพและเสียงประกอบอย่างอลังการงานสร้าง
ละครเรื่องนี้ดังขนาดเผยแพร่ในยูทูปของจีน ใช้ชื่อว่า 《三面娜迦》三面 คือสามหน้า ในที่นี้น่าจะหมายถึงสามเศียร 娜迦 ถอดเสียง "นาคี" ตรงตัว แปลความว่า พญานาคีสามเศียร สงสัยว่าทำไมทางยูทูปจีนต้องเพิ่ม 三面 หรือสามเศียรเข้ามาด้วย จีนไม่มีพญานาค มีแต่มังกร ใส่คำขยาย "สามเศียร" เข้ามาเพื่อแยกพญานาคไทยกับมังกรจีนหรือ หรือว่าเขาคิดว่าพญานาคของไทยมี ๓ เศียร สืบค้นดู พญานาคมีหลายตระกูล มีตั้งแต่ ๑ เศียร ๓ เศียร ๕ เศียร ถึง ๗ เศียร และที่น่าสนใจ พญานาค ๓ เศียรเป็นพญานาคตัวเมีย พูดน้อย มีเสียงหวานไพเราะ แต่เข้มด้วยพลัง ไม่แน่ใจว่าคนแปลชื่อละครเขารู้ตำนานเกี่ยวกับนาคไทยหรือไม่ แต่เผอิญมีข้อมูลตรงกัน ข้อนี้เดาความดู
เรื่องนาคีเคยสร้างเป็นภาพยนตร์เมื่อปี ๒๕๒๒ และเป็นละครโทรทัศน์ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีช่อง ๓ เมื่อปี ๒๕๓๑ ไม่คุ้นละครนาคีเวอร์ชั่นปี๒๕๓๑ เลย
แต่ละครนาคี เวอร์ชั่นปี ๒๕๕๙ นี้ประสบความสำเร็จอย่างดี ทุกองค์ประกอบของละครเกาะเกี่ยวเสริมส่งกันอย่างมีพลัง ทั้งนี้ต้องยกเครดิตให้ผู้กำกับคือพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง และผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกกระบวนการตั้งแต่ภาพ เสียง เทคนิค CG (computer-generated) เพลงประกอบ และเสื้อผ้าหน้าผม ตลอดจนนักแสดง โดยเฉพาะนางเอกที่ทำให้เราเชื่อว่าเธอเป็นเจ้าแม่นาคีที่บูชาความรัก อดทนอดกลั้น ขณะเดียวกันก็ดุร้าย นอกจากนี้ ต้องให้เครดิตมากๆแก่คนเขียนบท คือสรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ ซึ่งเรียนทางด้านคติชนวิทยามาโดยตรงจากสำนักเทวาลัย จุฬาลงกรณ์
ลักษณะเด่นของละครเรื่องนี้คือการนำเอาความเชื่อทางคติชนมากมาย ทั้งจากตำนานพื้นถิ่น ชาดก และความเชื่อเหนือธรรมชาติมาประชุมกันและผนวกด้วยแนวคิดทางพุทธศาสนาเพื่อประกอบสร้างเป็นละครแนวลึกลับและโรแมนซ์ที่โดดเด่นเรื่องหนึ่งส่งท้ายปี ๒๕๕๙
ชำแหละ "นาคี" กับความเชื่อทางคติชนกับแนวคิดทางพุทธศาสนา
อ่านแล้วทำให้รู้เลยว่าคุณกอล์ฟคนเขียนบท หาข้อมูลเยอะและเขียนเชื่อมโยงเป็นบทละครได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์มากๆ
ยาวหน่อยนะคะแต่ถ้าชอบอ่านเรื่องแบบนี้รับรองความรู้เพียบ...
เกริ่นนิดนึงก่อนว่า ผศ.ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา เป็นนักวิจารณ์รางวัล ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณและอดีตนายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยฯ
ปัจจุบันเป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ม.หอการค้าไทย เป็นนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในเรื่องของทัศนคติทางภาษาและวรรณกรรม
มาดูที่อ่านเขียนถึงนาคีกันค่ะน่าสนใจมากๆเราเอามาจากที่อาจารย์แชร์ในเฟซบุ๊คของอาจารย์เองตามลิงค์นี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความเชื่อทางคติชนกับแนวคิดทางพุทธศาสนาใน "นาคี" ตอนที ๑ ธเนศ เวศร์ภาดา เขียน
(บทความนี้ยาวมาก ต้องแบ่งเป็นสองตอน มุมานะเขียนมาก ฝากอ่านกันนะครับ กดไลค์กดแชร์ได้ตามอัธยาศัย)
"นาคี" อวสานไปแล้วเมื่อค่ำวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๙ ด้วยฉากเจ้าแม่นาคีบันดาลโทสะที่ถ่ายทำตัดต่อภาพและเสียงประกอบอย่างอลังการงานสร้าง
ละครเรื่องนี้ดังขนาดเผยแพร่ในยูทูปของจีน ใช้ชื่อว่า 《三面娜迦》三面 คือสามหน้า ในที่นี้น่าจะหมายถึงสามเศียร 娜迦 ถอดเสียง "นาคี" ตรงตัว แปลความว่า พญานาคีสามเศียร สงสัยว่าทำไมทางยูทูปจีนต้องเพิ่ม 三面 หรือสามเศียรเข้ามาด้วย จีนไม่มีพญานาค มีแต่มังกร ใส่คำขยาย "สามเศียร" เข้ามาเพื่อแยกพญานาคไทยกับมังกรจีนหรือ หรือว่าเขาคิดว่าพญานาคของไทยมี ๓ เศียร สืบค้นดู พญานาคมีหลายตระกูล มีตั้งแต่ ๑ เศียร ๓ เศียร ๕ เศียร ถึง ๗ เศียร และที่น่าสนใจ พญานาค ๓ เศียรเป็นพญานาคตัวเมีย พูดน้อย มีเสียงหวานไพเราะ แต่เข้มด้วยพลัง ไม่แน่ใจว่าคนแปลชื่อละครเขารู้ตำนานเกี่ยวกับนาคไทยหรือไม่ แต่เผอิญมีข้อมูลตรงกัน ข้อนี้เดาความดู
เรื่องนาคีเคยสร้างเป็นภาพยนตร์เมื่อปี ๒๕๒๒ และเป็นละครโทรทัศน์ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีช่อง ๓ เมื่อปี ๒๕๓๑ ไม่คุ้นละครนาคีเวอร์ชั่นปี๒๕๓๑ เลย
แต่ละครนาคี เวอร์ชั่นปี ๒๕๕๙ นี้ประสบความสำเร็จอย่างดี ทุกองค์ประกอบของละครเกาะเกี่ยวเสริมส่งกันอย่างมีพลัง ทั้งนี้ต้องยกเครดิตให้ผู้กำกับคือพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง และผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกกระบวนการตั้งแต่ภาพ เสียง เทคนิค CG (computer-generated) เพลงประกอบ และเสื้อผ้าหน้าผม ตลอดจนนักแสดง โดยเฉพาะนางเอกที่ทำให้เราเชื่อว่าเธอเป็นเจ้าแม่นาคีที่บูชาความรัก อดทนอดกลั้น ขณะเดียวกันก็ดุร้าย นอกจากนี้ ต้องให้เครดิตมากๆแก่คนเขียนบท คือสรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ ซึ่งเรียนทางด้านคติชนวิทยามาโดยตรงจากสำนักเทวาลัย จุฬาลงกรณ์
ลักษณะเด่นของละครเรื่องนี้คือการนำเอาความเชื่อทางคติชนมากมาย ทั้งจากตำนานพื้นถิ่น ชาดก และความเชื่อเหนือธรรมชาติมาประชุมกันและผนวกด้วยแนวคิดทางพุทธศาสนาเพื่อประกอบสร้างเป็นละครแนวลึกลับและโรแมนซ์ที่โดดเด่นเรื่องหนึ่งส่งท้ายปี ๒๕๕๙