วิธีทำให้ ตัวหนังสือหรืออักษรบนแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดไม่เลือน ใช้ได้ทนนานมากๆ

กระทู้คำถาม
พอดีไปอ่านเจอมาก็เลยมาแนะนำต่อเผื่อมีประโยชน์กับใครหลายๆคนครับ
วิธีเตรียมอุปกรณ์  ด้วยเงินประมาณ 20 บาท  ซึ่งปัญหานี้รับรองว่าร้านเกมส์ทุกร้านทั่วไทยต้องเจอ  นั่นคือตัวอักษรบนคีย์บอร์ดเลือนลาง  หรือหายสาบสูญไปอันเนื่องมาจากการเล่นเกมส์  โดยเฉพาะตัว W-A-S-D และตัวอื่นๆ บริเวณรอบๆ บางครั้งจะพิมพ์ข้อความต้องไปชำเลืองดูที่คึย์บอร์ดอันอื่นเพื่อหาตัวอักษรที่ต้องการ รวมไปถึงลูกศร 4 ปุ่มด้านขวามือจากการเล่นเกมส์ Audition  โธ่เอ๊ย..มาบ่นอะไรยืดยาวน่ารำคาญเข้าเรื่องดีกว่าครับ
         ตัวอย่างที่ร้านทุกร้านต้องเจอ คือตัวอักษรหายจนจำไม่ได้ว่ามันคือตัวอะไร แม้จะใช้สติกเกอร์ตัวอักษรมาแปะก็ยังทนไม่ไหว
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม  คือ  1.แปรงปัดฝุ่น     2.น้ำยาเคลือบเล็บแบบใสหรือน้ำยาทาเล็บชนิดใสที่สาวน้อย สาวใหญ่ใช้กันทั่วไป  ขวดละประมาณ 20 บาท

ขั้นตอนต่อไปคือ   1.ใช้แปรงปัดฝุ่นที่คีย์บอร์ดออกแล้วใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำหมาดๆ เช็ดตัวอักษรตรงที่เราจะทำไม่ให้มีคราบนิ้วมือหรือฝุ่นละออง
         2.ใช้น้ำยาเคลือบเล็บทาลงไปบนตัวอักษรให้ทั่วแล้วทิ้งไว้สักพัก รอให้แห้งแล้วทาทับอีกที  ทำอย่างนี้สัก 3 ครั้งก็พอ   เสร็จแล้วทิ้งไว้ 1 คืนยิ่งดี
         3.แนะนำให้ทาปุ่มหลักๆ ที่ใช้งานหนัก  Q-W-E-R  A-S-D-F  Z-X-C-V  Ctrl  Alt ลูกศร บน-ล่าง-ซ้าย-ขวา    ด้านขวามือ  และปุ่มตัวเลขด้านขวา
ต้องมีเทคนิคนิดหน่อยคือ    ถ้าไม่อยากทำซ้ำกันหลายครั้ง  ก็ให้ใช้ที่ทาน้ำยาเคลือบเล็บจุ่มน้ำยาชุ่มๆ จนเกือบหยดแล้วทาลงไปบนตัวอักษรแล้วละเลงน้ำยาให้ทั่ว  เมื่อทั่วแล้วรอให้แห้ง  แต่ห้ามเด็ดขาดคือช่วงที่น้ำยากำลังจะแห้งห้ามไปเขี่ยหรือโดน หรือทำอะไรเพราะเวลาแห้งแล้วจะเป็นรอยไม่สม่ำเสมอและไม่สวยงาม หรือถ้าเพื่อนสมาชิกท่านใดคิดว่าตัวเองเจ๋งจริงก็ใช้แฟนของท่านทำแทนก็ได้  เพราะผู้หญิงน่าจะถนัดอยู่แล้วกับการทาเล็บ  เสร็จแล้วทิ้งไว้ 1 คืนยิ่งดี
จะเห็นว่าหลังจากที่ทาน้ำยาทิ้งไว้แห้งสนิทแล้ว  ตัวอักษรจะเป็นเงามันๆ เวลาสัมผัสจะเหมือนกับมีพลาสติกหรือฟิล์มใสๆ  เคลือบแข็งอยู่  สังเกตุตัวอักษรที่ทาน้ำยากับไม่ทาจะเห็นความแตกต่างกันชัดเจน ต่อไปก็ไม่ต้องกลัวว่าตัวหนังสือหรืออักษรบนคีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์ของท่านจะลบหรือเลือนจากการใช้งาน
ใช้จนลืมหรือจนคีย์บอร์ดพังตัวอักษรยังอยู่เหมือนเดิม ขอบคุณครับผม 10 ธันวาคม 2559
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่