การฟังเพลงจากเทปคาสเซ็ทในญี่ปุ่นหวนกลับมาได้รับความนิยมจากบรรดาแฟนคลับ ที่หลงใหลในวันวานอันแสนสุข ที่ถึงเสียงเพลงแม้ไม่แจ่มชัดเหมือนเพลงดิจิตอล แต่ก็เปี่ยมด้วยเสน่ห์
โลกดิจิตอลทุกวันนี้ที่ผู้คนส่วนใหญ่ฟังเพลงผ่านไฟล์ในโทรศัพท์มือถือหรือไอพอด ทำให้แม้แต่แผ่น CD ก็ยังขายยาก ไม่ต้องพูดถึง “เทปคาสเซ็ท” ที่เด็กรุ่นใหม่หลายคนอาจไม่รู้จักด้วยซ้ำ หากแต่ชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยยังคงหลงใหลในมนต์เสียงเพลงจากสื่อบันทึกเสียงรุ่นเก่าที่เติบโตมาพร้อมกับพวกเขา ก่อนที่จะถูกลืนหายไปเพราะเทคโนโลยีทันสมัย
ร้าน Waltz ในเขตนะกะเมกุโระของกรุงโตเกียว เปิดตัวขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว โดยจำหน่ายเทปคาสเซ็ทผลงานเพลงของนักร้องดังทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ รวมทั้งเครื่องเล่นเทปคาสเซ็ทแบบต่างๆด้วย
เทปเหล่านี้มาจากการสะสมของ “ทาโร ซุโนะดะ” เจ้าของร้านวัย 47 ปี และได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าทั้งกลุ่มวัยรุ่นและคนที่เกิดในช่วงทศวรรษ 1970 ซึ่งมีเทปคาสเซ็ทเป็นเพื่อนคลายเหงาและสร้างความบันเทิง
ญี่ปุ่นเริ่มบันทึกเสียงเพลงระบบดิจิตอลลงบนแผ่น CD ในช่วงทศวรรษ 1990 ทำให้เทปคาสเซ็ทค่อยๆสูญหายไปจากตลาด แต่ทุกวันนี้แฟนเพลงจำนวนหนึ่งยังคงตามหาเทปของนักร้องคนโปรด เช่น เทปชุด First Love ของฮิคารุ อุทะดะ มีราคาประมูลสูงถึง 10,000 เยน ส่วนเทปทั่วไปก็มีจำหน่ายในราคาราว 2,000 เยน
แฟนคลับผู้หลงใสในมนต์เสียงของเทปคาสเซ็ท ระบุว่า เสียงเพลงจากเทปถึงแม้ไม่ชัดใสเหมือนไฟล์ดิจิตอล แต่มีเสน่ห์บางอย่างที่ฟังสบายหู หรืออาจเรียกว่า Lo-fi ซึ่งตรงกันข้ามกับการบันทึกเสียงแบบดิจิตอลคมชัดสูง หรือ Hi-fi
ในญี่ปุ่นช่วงปี 1988 เทปคาสเซ็ทได้รับความนิยมสูงสุดจากวัยรุ่นที่ฟังเพลงผ่านเครื่องวอล์กแมน โดยมียอดผลิตเทปมากกว่า 76 ล้านตลับต่อปี แต่หลังจากเทปถูกแผ่น CD และไฟล์ดิจิตอลเข้ามาแทนที่ ทุกวันนี้มีการผลิตเทปเพลงแค่ปีละ 8 แสนตลับ ส่วนใหญ่เป็นเพลงลูกทุ่งหรือ “เอ็นกะ” ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่นิยมฟัง
บริษัทโตเกียว เดนคะ ซึ่งยังยืนหยัดผลิตเทปคาสเซ็ทอยู่ ระบุว่า เทปคาสเซ็ทกลายเป็น “ของตกยุค” ไปแล้ว ทุกวันนี้แม้แต่เครื่องเล่นเทปยังหายาก เพราะทุกวันหันไปฟังเพลงจากไฟล์ดิจิตอลกันหมด
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเมื่อวงดนตรีแนวอินดี้หันมาบันทึกเสียงในเทปคาสเซ็ทออกวางขาย เพราะมีต้นทุนต่ำกว่า เช่น หากผลิตเทปแค่ 100 ตลับจะมีต้นทุนเพียงแค่ 1 ใน 6 ของการผลิต CD
วงไอดอลสาว “เด็มพะกุมิ” ผลิตผลงานในรูปเทปคาสเซ็ทในปี 2014 และได้รับการตอบรับที่ดีพอสมควร หลังจากนั้นวงดนตรีอินดี้ต่างๆ ก็เริ่มบันทึกเสียงเพลงเป็นเทปคาสเซ็ทออกจำหน่ายบ้าง
คุณซุโนะดะ เจ้าของร้านขายเทป Waltz ระบุว่า “ทุกวันนี้เราสามารถฟังเพลงแบบสตรีมมิ่งเป็นร้อยเป็นพันเพลงได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกมาก แต่เพลงส่วนใหญ่ถูกฟังเพียงแค่ผ่านหูเท่านั้น ส่วนเทปคาสเซ็ทเป็นสื่อที่จับต้องได้ และเตือนให้เรานึกถึงคุณค่าที่แท้จริงของดนตรี”
ฟังเพลงของฮิคารุ อุทะดะ จากเทปคาสเซ็ท
ข่าวจาก : MGR Online
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000121524
แฟนเพลงญี่ปุ่นฟื้นชีพเทปคาสเซ็ท ย้อนฟังมนต์เสียงเพลงดังในอดีต
การฟังเพลงจากเทปคาสเซ็ทในญี่ปุ่นหวนกลับมาได้รับความนิยมจากบรรดาแฟนคลับ ที่หลงใหลในวันวานอันแสนสุข ที่ถึงเสียงเพลงแม้ไม่แจ่มชัดเหมือนเพลงดิจิตอล แต่ก็เปี่ยมด้วยเสน่ห์
โลกดิจิตอลทุกวันนี้ที่ผู้คนส่วนใหญ่ฟังเพลงผ่านไฟล์ในโทรศัพท์มือถือหรือไอพอด ทำให้แม้แต่แผ่น CD ก็ยังขายยาก ไม่ต้องพูดถึง “เทปคาสเซ็ท” ที่เด็กรุ่นใหม่หลายคนอาจไม่รู้จักด้วยซ้ำ หากแต่ชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยยังคงหลงใหลในมนต์เสียงเพลงจากสื่อบันทึกเสียงรุ่นเก่าที่เติบโตมาพร้อมกับพวกเขา ก่อนที่จะถูกลืนหายไปเพราะเทคโนโลยีทันสมัย
ร้าน Waltz ในเขตนะกะเมกุโระของกรุงโตเกียว เปิดตัวขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว โดยจำหน่ายเทปคาสเซ็ทผลงานเพลงของนักร้องดังทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ รวมทั้งเครื่องเล่นเทปคาสเซ็ทแบบต่างๆด้วย
เทปเหล่านี้มาจากการสะสมของ “ทาโร ซุโนะดะ” เจ้าของร้านวัย 47 ปี และได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าทั้งกลุ่มวัยรุ่นและคนที่เกิดในช่วงทศวรรษ 1970 ซึ่งมีเทปคาสเซ็ทเป็นเพื่อนคลายเหงาและสร้างความบันเทิง
ญี่ปุ่นเริ่มบันทึกเสียงเพลงระบบดิจิตอลลงบนแผ่น CD ในช่วงทศวรรษ 1990 ทำให้เทปคาสเซ็ทค่อยๆสูญหายไปจากตลาด แต่ทุกวันนี้แฟนเพลงจำนวนหนึ่งยังคงตามหาเทปของนักร้องคนโปรด เช่น เทปชุด First Love ของฮิคารุ อุทะดะ มีราคาประมูลสูงถึง 10,000 เยน ส่วนเทปทั่วไปก็มีจำหน่ายในราคาราว 2,000 เยน
แฟนคลับผู้หลงใสในมนต์เสียงของเทปคาสเซ็ท ระบุว่า เสียงเพลงจากเทปถึงแม้ไม่ชัดใสเหมือนไฟล์ดิจิตอล แต่มีเสน่ห์บางอย่างที่ฟังสบายหู หรืออาจเรียกว่า Lo-fi ซึ่งตรงกันข้ามกับการบันทึกเสียงแบบดิจิตอลคมชัดสูง หรือ Hi-fi
ในญี่ปุ่นช่วงปี 1988 เทปคาสเซ็ทได้รับความนิยมสูงสุดจากวัยรุ่นที่ฟังเพลงผ่านเครื่องวอล์กแมน โดยมียอดผลิตเทปมากกว่า 76 ล้านตลับต่อปี แต่หลังจากเทปถูกแผ่น CD และไฟล์ดิจิตอลเข้ามาแทนที่ ทุกวันนี้มีการผลิตเทปเพลงแค่ปีละ 8 แสนตลับ ส่วนใหญ่เป็นเพลงลูกทุ่งหรือ “เอ็นกะ” ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่นิยมฟัง
บริษัทโตเกียว เดนคะ ซึ่งยังยืนหยัดผลิตเทปคาสเซ็ทอยู่ ระบุว่า เทปคาสเซ็ทกลายเป็น “ของตกยุค” ไปแล้ว ทุกวันนี้แม้แต่เครื่องเล่นเทปยังหายาก เพราะทุกวันหันไปฟังเพลงจากไฟล์ดิจิตอลกันหมด
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเมื่อวงดนตรีแนวอินดี้หันมาบันทึกเสียงในเทปคาสเซ็ทออกวางขาย เพราะมีต้นทุนต่ำกว่า เช่น หากผลิตเทปแค่ 100 ตลับจะมีต้นทุนเพียงแค่ 1 ใน 6 ของการผลิต CD
วงไอดอลสาว “เด็มพะกุมิ” ผลิตผลงานในรูปเทปคาสเซ็ทในปี 2014 และได้รับการตอบรับที่ดีพอสมควร หลังจากนั้นวงดนตรีอินดี้ต่างๆ ก็เริ่มบันทึกเสียงเพลงเป็นเทปคาสเซ็ทออกจำหน่ายบ้าง
คุณซุโนะดะ เจ้าของร้านขายเทป Waltz ระบุว่า “ทุกวันนี้เราสามารถฟังเพลงแบบสตรีมมิ่งเป็นร้อยเป็นพันเพลงได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกมาก แต่เพลงส่วนใหญ่ถูกฟังเพียงแค่ผ่านหูเท่านั้น ส่วนเทปคาสเซ็ทเป็นสื่อที่จับต้องได้ และเตือนให้เรานึกถึงคุณค่าที่แท้จริงของดนตรี”
เทปชุด First Loveของฮิคารุ อุทะดะ มีราคาประมูลสูงถึง 10,000 เยน
ข่าวจาก : MGR Online
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000121524