คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
แจ้งตาย แจ้งได้ตามนี้ครับ
1.เขต/อำเภอที่ตาย
2.เขต/อำเภอที่ผู้ตายมีชื่อในทะเบียนบ้าน(กรณีนี้ต้องมีการสอบพยานด้วย)
3.เขต/อำเภอที่จัดการศพ เช่น เผา ฝัง(มีสอบพยานตามข้อ 2)
รายละเอียดตามนี้
การแจ้งการตายตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
เพื่อประโยชน์และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน กำหนดให้ประชาชนสามารถแจ้งการตายของคนตายต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่อื่นก็ได้
เช่น คนตายในท้องที่สำนักทะเบียนอำเภอเมืองชุมพรแต่ญาติผู้ตายได้ย้ายศพไปทำบุญ ในท้องที่สำนักทะเบียนอำเภอหลังสวน ญาติจะไปแจ้งการตาย(ออกมรณบัตร)ที่สำนักทะเบียนอำเภอหลังสวนก็ได้
ศึกษาข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
การแจ้งการตายของคนที่ตายในท้องที่สำนักทะเบียนอื่น
กฎหมาย
พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๒๑ เมื่อมีคนตายให้แจ้งการตายดังต่อไปนี้
(๑) คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตาย...
(๒) คนตายนอกบ้าน ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพ...
มาตรา ๒๑ วรรคสี่ ให้นำความในวรรคสามของมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับกับการแจ้งตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม
(ความตามมาตรา ๑๘ วรรคสาม “ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน การแจ้งตามวรรคหนึ่งจะแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่อื่นก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง”)
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งการเกิดหรือการตายต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่อื่น พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒ ในกรณีผู้มีหน้าที่แจ้งการตายตามมาตรา ๒๑ (๑) หรือ (๒) ยังมิได้แจ้ง การตาย แต่มีการย้ายศพไปอยู่ต่างท้องที่สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่มีการตายหรือพบศพ เจ้าบ้านของบ้านที่มีการตาย บุคคลที่ไปกับผู้ตายขณะตาย ผู้พบศพ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว แล้วแต่กรณี จะแจ้งการตายต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ณ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่ศพอยู่ หรือท้องที่ที่มีการจัดการศพโดยการเผา ฝัง หรือทำลายก็ได้
การแจ้งการตายตามวรรคหนึ่ง ผู้แจ้งต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือรับรองการตายของผู้ตายซึ่งออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่บุคคลนั้นตาย และพยานบุคคลไม่น้อยกว่าสองคนซึ่งสามารถยืนยันตัวบุคคลของผู้ตายได้
ในกรณีไม่มีหนังสือรับรองการตาย ผู้แจ้งการตายอาจใช้ผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์ เช่น การตรวจสารพันธุกรรม ที่ตรวจพิสูจน์จากหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือใช้เป็นหลักฐานประกอบ การแจ้งแทนได้
ขั้นตอนการปฏิบัติ
๐ ผู้มีหน้าที่แจ้งการตาย ได้แก่ เจ้าบ้านของบ้านที่มีการตาย บุคคลที่ไปกับผู้ตายขณะตาย ผู้พบศพ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว
๐ ระยะเวลาแจ้งการตาย
(๑) คนตายในบ้าน ต้องแจ้งภายใน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพแล้วแต่กรณี
(๒) คนตายนอกบ้าน ต้องแจ้งภายใน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ เว้นแต่กรณีท้องที่ ที่การคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียนกลางสามารถขยายเวลาการแจ้งตายได้แต่ต้องไม่เกิน ๗ วัน นับแต่เวลาตายหรือพบศพ
๐ สำนักทะเบียนที่แจ้งการตาย ได้แก่ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งที่ศพอยู่หรือที่มีการจัดการศพโดยการเก็บ ฝัง เผา หรือทำลาย
ขั้นตอนการแจ้ง
๑. ผู้แจ้งแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ได้แก่
(๑) บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง
(๒) บัตรประจำตัวของคนตาย (ถ้ามี)
(๓) สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อคนตาย (ถ้ามี)
(๔) หนังสือรับรองการตายตามแบบ ท.ร.๔/๑ ของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่คนตายเข้ารับการรักษาก่อนตาย หรือผลการตรวจ ดีเอ็นเอ ที่สามารถบ่งบอกตัวบุคคลของคนตาย อย่างใดอย่างหนึ่ง
(๕) พยานหลักฐานอื่น (ถ้ามี) เช่น รูปถ่ายงานศพของคนตาย เป็นต้น
(๖) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถให้การรับรองตัวคนตายได้ จำนวน ๒ คน
๒. นายทะเบียน
(๑) ตรวจสอบความถูกต้องหลักฐานของผู้แจ้ง
(๒) ตรวจสอบรายการบุคคลของคนตายในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
(๓) เปรียบเทียบปรับ (กรณีการแจ้งการตายภายใน ๑ ปีนับแต่วันถัดจากวันที่ตาย)
(๔) สอบสวนผู้แจ้งให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุการตาย สาเหตุที่ไม่แจ้งการตายที่สำนักทะเบียนท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพ ประวัติและภูมิลำเนาของคนตาย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้แจ้งกับคนตาย การจัดการศพ และสถานที่จัดการศพ
(๕) สอบสวนพยานบุคคลให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติและภูมิลำเนาของคนตาย รวมถึงบิดามารดาของคนตาย
(๖) ออกมรณบัตร ท.ร.๔ ตามหลักฐานของผู้แจ้งและผลการสอบสวนของนายทะเบียน
(๗) ถ้าคนตายมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียนที่แจ้งการตาย ให้ นายทะเบียนจำหน่ายรายการบุคคลของคนตายในทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร แต่ถ้าคนตายมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียนอื่น ให้นายทะเบียนส่งมรณบัตร ตอนที่ ๒ ไปยังสำนักทะเบียนที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการจำหน่ายรายการบุคคล
(๘) มอบมรณบัตร ตอนที่ ๑ และหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง
1.เขต/อำเภอที่ตาย
2.เขต/อำเภอที่ผู้ตายมีชื่อในทะเบียนบ้าน(กรณีนี้ต้องมีการสอบพยานด้วย)
3.เขต/อำเภอที่จัดการศพ เช่น เผา ฝัง(มีสอบพยานตามข้อ 2)
รายละเอียดตามนี้
การแจ้งการตายตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
เพื่อประโยชน์และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน กำหนดให้ประชาชนสามารถแจ้งการตายของคนตายต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่อื่นก็ได้
เช่น คนตายในท้องที่สำนักทะเบียนอำเภอเมืองชุมพรแต่ญาติผู้ตายได้ย้ายศพไปทำบุญ ในท้องที่สำนักทะเบียนอำเภอหลังสวน ญาติจะไปแจ้งการตาย(ออกมรณบัตร)ที่สำนักทะเบียนอำเภอหลังสวนก็ได้
ศึกษาข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
การแจ้งการตายของคนที่ตายในท้องที่สำนักทะเบียนอื่น
กฎหมาย
พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๒๑ เมื่อมีคนตายให้แจ้งการตายดังต่อไปนี้
(๑) คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตาย...
(๒) คนตายนอกบ้าน ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพ...
มาตรา ๒๑ วรรคสี่ ให้นำความในวรรคสามของมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับกับการแจ้งตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม
(ความตามมาตรา ๑๘ วรรคสาม “ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน การแจ้งตามวรรคหนึ่งจะแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่อื่นก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง”)
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งการเกิดหรือการตายต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่อื่น พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒ ในกรณีผู้มีหน้าที่แจ้งการตายตามมาตรา ๒๑ (๑) หรือ (๒) ยังมิได้แจ้ง การตาย แต่มีการย้ายศพไปอยู่ต่างท้องที่สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่มีการตายหรือพบศพ เจ้าบ้านของบ้านที่มีการตาย บุคคลที่ไปกับผู้ตายขณะตาย ผู้พบศพ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว แล้วแต่กรณี จะแจ้งการตายต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ณ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่ศพอยู่ หรือท้องที่ที่มีการจัดการศพโดยการเผา ฝัง หรือทำลายก็ได้
การแจ้งการตายตามวรรคหนึ่ง ผู้แจ้งต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือรับรองการตายของผู้ตายซึ่งออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่บุคคลนั้นตาย และพยานบุคคลไม่น้อยกว่าสองคนซึ่งสามารถยืนยันตัวบุคคลของผู้ตายได้
ในกรณีไม่มีหนังสือรับรองการตาย ผู้แจ้งการตายอาจใช้ผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์ เช่น การตรวจสารพันธุกรรม ที่ตรวจพิสูจน์จากหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือใช้เป็นหลักฐานประกอบ การแจ้งแทนได้
ขั้นตอนการปฏิบัติ
๐ ผู้มีหน้าที่แจ้งการตาย ได้แก่ เจ้าบ้านของบ้านที่มีการตาย บุคคลที่ไปกับผู้ตายขณะตาย ผู้พบศพ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว
๐ ระยะเวลาแจ้งการตาย
(๑) คนตายในบ้าน ต้องแจ้งภายใน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพแล้วแต่กรณี
(๒) คนตายนอกบ้าน ต้องแจ้งภายใน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ เว้นแต่กรณีท้องที่ ที่การคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียนกลางสามารถขยายเวลาการแจ้งตายได้แต่ต้องไม่เกิน ๗ วัน นับแต่เวลาตายหรือพบศพ
๐ สำนักทะเบียนที่แจ้งการตาย ได้แก่ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งที่ศพอยู่หรือที่มีการจัดการศพโดยการเก็บ ฝัง เผา หรือทำลาย
ขั้นตอนการแจ้ง
๑. ผู้แจ้งแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ได้แก่
(๑) บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง
(๒) บัตรประจำตัวของคนตาย (ถ้ามี)
(๓) สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อคนตาย (ถ้ามี)
(๔) หนังสือรับรองการตายตามแบบ ท.ร.๔/๑ ของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่คนตายเข้ารับการรักษาก่อนตาย หรือผลการตรวจ ดีเอ็นเอ ที่สามารถบ่งบอกตัวบุคคลของคนตาย อย่างใดอย่างหนึ่ง
(๕) พยานหลักฐานอื่น (ถ้ามี) เช่น รูปถ่ายงานศพของคนตาย เป็นต้น
(๖) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถให้การรับรองตัวคนตายได้ จำนวน ๒ คน
๒. นายทะเบียน
(๑) ตรวจสอบความถูกต้องหลักฐานของผู้แจ้ง
(๒) ตรวจสอบรายการบุคคลของคนตายในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
(๓) เปรียบเทียบปรับ (กรณีการแจ้งการตายภายใน ๑ ปีนับแต่วันถัดจากวันที่ตาย)
(๔) สอบสวนผู้แจ้งให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุการตาย สาเหตุที่ไม่แจ้งการตายที่สำนักทะเบียนท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพ ประวัติและภูมิลำเนาของคนตาย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้แจ้งกับคนตาย การจัดการศพ และสถานที่จัดการศพ
(๕) สอบสวนพยานบุคคลให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติและภูมิลำเนาของคนตาย รวมถึงบิดามารดาของคนตาย
(๖) ออกมรณบัตร ท.ร.๔ ตามหลักฐานของผู้แจ้งและผลการสอบสวนของนายทะเบียน
(๗) ถ้าคนตายมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียนที่แจ้งการตาย ให้ นายทะเบียนจำหน่ายรายการบุคคลของคนตายในทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร แต่ถ้าคนตายมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียนอื่น ให้นายทะเบียนส่งมรณบัตร ตอนที่ ๒ ไปยังสำนักทะเบียนที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการจำหน่ายรายการบุคคล
(๘) มอบมรณบัตร ตอนที่ ๑ และหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง
แสดงความคิดเห็น
ขอมรณบัตร จากสำนักงานเขตได้ทุกเขต หรือ ไม่ ?
ปอเต็กตึ้ง นำส่ง นิติเวช รพ ตำรวจ
หลังตรวจพิสูจน์เสร็จ ได้รับผลตรวจแล้ว
ญาติต้องกลับไปแจ้ง สำนักงานเขต เพื่อขอใบมรณบัตร
ได้ใบมรณบัตรแล้ว จึงจะขอรับศพไปบำเพ็ญการกุศล
ปัญหา การขอใบมรณบัตร จะต้องมีใบแจ้งผลจาก นิติเวช เสียก่อน
อยากทราบว่า
กรณีแจ้งตาย เพื่อขอรับใบมรณบัตร จำเป็นต้องแจ้งที่ สนง.เขตไหน ?
แจ้งที่สนง. เขต ได้ทุกแห่ง ทั่วประเทศหรือไม่ ?
ขอบคุณ ครับ