+++แผ่นดินเมียนมาร์ปัจจุบัน เคยมีชนชาติใดครอบครองบ้าง? มาดูกันครับ+++


ร่างในส่วนที่คาบกินในประเทศเมียนมาร์ปัจจุบัน ไม่รวมส่วนของประเทศเพื่อนบ้าน
+
ประเทศเมียนมาร์ในอดีต มีชนชาติอยู่ 4 ชนชาติที่เคยปกครองแผ่นดินเมียนมาร์ ได้แก่ ฉาน (ရွမ္း) มอญ (မြန္) ยะไข่ (ရခိုင္) และ พม่า (ဗမာ) โดยก่อนหน้านั้น บริเวณทางตอนกลางถึงตอนบนของเมียนมาร์ปัจจุบัน เป็นของชนชาติบายู (ပ်ဴ) มาก่อน และชนชาติบายูนี้ ก็ถือว่าอาจจะเป็นชนชาติบรรพบุรุษของพม่าและยะไข่ เนื่องจากว่าชนชาติบายู เป็นชนชาติที่พูดภาษาตระกูล Sino-Tibetan ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับภาษาพม่าและภาษายะไข่ แต่อิทธิพลของภาษาสันสกฤตและบาลีมีอยู่พอสมควร สิ่งที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับตัวอักษรของบายู คือ อักษรบายู ที่น่าจะเป็นต้นกำเนิดของอักษรมอญและพม่าเอง โดยอักษรบายู เป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรพราหมีและปัลลาวะ ซึ่งเป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาสันสกฤตและบาลีในแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า หากอักษรมอญไม่ได้พัฒนามาจากอักษรปัลลาวะโดยตรง ก็แปลว่า อักษรมอญได้รับอิทธิพลจากอักษรบายู ซึ่งเป็นชนชาติบรรพบุรุษของพม่า
+
หากอ้างอิงตามหลักฐานจากพงศาวดารพม่า กล่าวได้ว่า พม่า คือชนชาติที่แตกหน่อออกมาจากชนชาติบายู เนื่องด้วยว่า พระเจ้าสมุทรราช (သမုဒၵရာဇ္) ซึ่งตามตำนานคือผู้ก่อตั้งอาณาจักรพุกาม เป็นพระราชนัดดาของกษัตริย์องค์สุดท้ายของศรีเกษตร ซึ่งหมายความว่า พม่านั้น คือลูกหลานของชนชาติบายู และกลายมาเป็นผู้กลืนกินชนชาติบายูในภายหลังในสมัยของพระเจ้าอโนรธา (အေနာ္ရထာ) ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า แท้จริงแล้ว บายู ก็คือ พม่า นั้นเอง
+
มอญ ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า เป็นขอมกลุ่มหนึ่ง ที่เชื่อกันว่ารับพระพุทธศาสนามาก่อนใครในสุวรรณภูมิ และมีวัฒนธรรมประเพณีโบราณเก่าแก่มานาน มอญนั้นเป็นเจ้าของอาณาจักรต่างๆ เช่น อาณาจักรท่าตอน อาณาจักรทวารวดี อาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักรศรีโคธปุระ และ อาณาจักรหงสาวดี ซึ่งไม่มีการแน่ใจชัดเจนว่า มอญ แยกตัวจากขอม เมื่อใด แต่ทั้ง มอญ,ขอม และ จาม ถือว่าเป็นชนพื้นเมืองของแหลมสุวรรณภูมิ ก็เป็นได้ โดยมอญ มีพื้นที่อยู่ทางทิศตะวันตก ขอม อยู่ทางกลาง และ จาม อยู่ทางตะวันออก โดยพื้นที่ดั้งเดิมของมอญ คาดว่า น่าจะเป็นบริเวณทางภาคกลางของไทยในปัจจุบัน มากกว่า จะเป็นทางตะวันตกของเมียนมาร์ เนื่องจากพบวัฒนธรรมมอญโบราณในเขตประเทศไทย,ลาว และกัมพูชา มากกว่า และ เก่าแก่กว่า จากทางเมียนมาร์ และมีความเป็นไปได้ว่า มอญ มิใช่ กลุ่มที่ปักหลักอยู่ทางภาคใต้ของเมียนมาร์ในปัจจุบันมาแต่ดั้งเดิม อย่างแน่นอน
+
ฉาน ที่เชื่อกันว่า เป็นกลุ่มชาวไทจากหยุนนานอพยพนั้น เชื่อกันว่า อพยพมาอยู่ในประเทศเมียนมาร์ปัจจุบันเมื่อประมาณปลายยุคของอาณาจักรพุกาม (แต่ฉานอ้างตัวว่าตัวเองเป็นผู้สร้างอาณาจักรพุกามด้วยนะ) และอพยพลงมาหลังกลุ่มไทสยามและไทลาวหลายร้อยปี จึงกล่าวได้ว่า ฉาน ก็ไม่ใช่เจ้าของแผ่นดินแต่เดิม
+
ส่วนยะไข่ แท้จริงแล้วเป็นพม่ากลุ่มหนึ่งที่แยกออกจากมาจากพม่าลุ่มแม่น้ำอิยะวะดี ไปตั้งมั่นอยู่ทางชายฝั่งอ่าวเบงกอล กลายเป็นพวกยะไข่ มีความคุ้นเคยกับแขกเบงกอลตั้งแต่ยุคฮินดูจนกระทั่งยุคอิสลาม ยะไข่จึงมีความเป็นเบงกอลอยู่สูง และมีความผูกพันกับแขกอิสลามพอสมควร แต่ไม่ได้แปลว่า Rohingya จะมีสิทธิแต่อย่างใด เพราะแท้จริงแล้ว Rohingya เพิ่งเข้ามาหลังยุคอาณานิคมนี้เอง และภาษาพูดก็ยังแตกต่างกับชนเผ่าอื่นๆในเมียนมาร์ด้วย
+
การยึดครองของชนชาติพม่าต่อกลุ่มชนชาติอีก 3 กลุ่ม มีบันทึกไว้ว่า ยะไข่เสียเมืองอย่างเด็ดขาด ยุคพระเจ้าโบดอพญา แห่ง ราชวงศ์กองบอง ค.ศ. 1785 มอญเสียเมืองอย่างเด็ดขาด ยุคพระเจ้าอลองพญา แห่ง ราชวงศ์กองบอง ค.ศ. 1757 ส่วนฉานนั้น ไม่ได้อยู่ในฐานะอาณาจักรแต่แยกเป็นนครรัฐและตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าตั้งแต่ยุคราชวงศ์ตองงูเมื่อปี ค.ศ. 1563 ทุกๆชนเผ่า กลายเป็นพม่าไปเกือบหมด แต่ภายหลังเมื่ออังกฤษสามารถยึดยะไข่และพม่าส่วนล่างได้ จึงปลูกฝังความเป็นมอญและยะไข่กลับมาดั่งเดิม ส่วนเมื่อเสียเอกราชในปี ค.ศ. 1885 อังกฤษได้ประกาศให้หัวเมืองฉาน กลายเป็นรัฐอารักขา ทำนองเดียวกับ Pricely states ของอินเดีย และได้ปลูกฝังความเป็นฉานให้เช่นเดียวกัน ดังนั้น หลังจากการประกาศเอกราช 3 ชนเผ่า ที่เคยเป็นทาสอังกฤษและถูกอังกฤษปลูกฝังให้รักเผ่าพันธุ์จนเกินงามนั้น จึงคิดแข็งกระด้างอยู่ตลอดเวลา (ไม่นับรวมชนเผ่าอื่นๆ ที่ไม่มีประวัติศาสตร์แต่ยังอ้างสิทธิปกครองตัวเอง)
+
มอญ ฉาน และยะไข่ แม้ว่าในช่วงที่เสียเมืองจะถูกข่มเหงรังแกถูกเผาบ้านเผาเมืองไปนั้น แต่แท้จริงแล้ว ในสมัยก่อนเสียเอกราช กษัตริย์พม่า ได้ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี ไม่เคยมีการกระทำข่มเหงใดๆต่อชนเผ่าอื่น ศาสนาอื่นในอาณัติ แตกต่างกับยุคปัจจุบัน ที่ Tatmadaw จะปล้นไล่ฆ่าแม้แต่ชาวบ้านธรรมดา เพราะมีหลายสิ่งที่แตกต่างกันระหว่างอดีตและปัจจุบัน ซึ่ง เรา จะ นำ เสนอ ใน โอ กาส ถัด ไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่