กลายเป็นละครในตำนานไปแล้ว สำหรับ นาคี ที่เพิ่งลาจอช่อง 3 ไปเมื่อวานนี้ ซึ่งคนดูหลายคนต่างปรบมือให้งานละเอียดของ อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง และชื่นชมในการแสดงของ แต้ว-ณฐพร เตมีรักษ์ ที่เว้าสำเนียงอีสานได้อย่างคล่องแคล่ว แถมเพลงประกอบก็ยังไพเราะถูกใจจนติดชาร์ตเพลงนานหลายสัปดาห์
ทำสำคัญงานภาพเอ็ฟเฟ็กต์ในเรื่อง ยังสร้างปรากฎการณ์อันน่าตื่นตะลึง ด้วยความสวยงาม สมจริง และดูอลังการ จนหลายคนยกให้เป็นมาตรฐานที่ดีเยี่ยมของการทำซีจีในบ้านเรา
งานนี้ มติชนออนไลน์ จึงขอพามาพูดคุยกับ เต้ย – ชาลิต ไกรเลิศมงคล เจ้าของบริษัท FatcatVFX ผู้อยู่เบื้องหลังภาพวิชวลสุดตระการเหล่านั้น
“ตอนพี่อ๊อฟติดต่อมา พี่เขาก็เล่าเรื่องคร่าวๆ ว่าเรื่องราวประมาณไหน แล้วพี่อ๊อฟเขาอยากได้ความเหมือนจริง ตอนนั้นก็รู้สึกหนักใจ” เขา เล่าถึงความรู้สึกแรกหลังได้รับมอบหมายงาน
โดยความยากของเรื่องนี้อยู่ที่ ‘ความสมจริง’ “เพราะอะไรที่เหมือนจริง รายละเอียดเยอะ”
ดังนั้นเขาและทีมงานจึงต้องทำรีเสิร์ช ว่าลักษณะเกล็ดงูต้องเป็นแบบไหน การเลื้อยของงูต้องเป็นอย่างไร แล้วค่อยสเก็ตภาพไปให้ผู้กำกับดูว่าได้ดังที่ใจต้องการหรือยัง
“หลักๆ พี่อ๊อฟจะมีไกด์มาว่าอยากได้แบบไหน หรือว่าทางเรามีไอเดียอะไรก็มานำเสนอ เราก็จะดูสารคดีจากงูจริง พวกงูใหญ่อย่างอนาคอนดาการเลื้อยมันก็ต่างจากงูเล็กๆ อย่างงูร่างเล็ก ของ ‘ฉัตรสุดา’ บริวารของแต้ว เขาก็จะมีสองร่างคือร่างงูเล็กกับงูร่างใหญ่ไว้ต่อสู้ อันนั้นเราก็ดูจากงูเขียวจริงๆ ว่าลักษณะการเลื้อยเขาเป็นยังไง การชูคอ การฉก เป็นแบบไหน เพราะงูเขาก็มีแอ๊คติ้งของมัน ก็ส่งสเก็ตภาพให้แกดู ทีมงานทำกันหลายคน 15 คน กว่าจะได้ช็อตนึง”
“ตรวจแก้หลายรอบมากครับ เพื่อให้เนียนที่สุด ช่วงที่ปล่อยทีเซอร์ตอนนั้นยังไม่ค่อยเนียน ก็มีคนบอกว่ายังไม่เนียนนะ พอพี่อ๊อฟเห็นกระแสว่าไม่เนียนก็แก้เลย” ชาลิต เล่า
ซึ่งงูตัวที่ยากที่สุดเขายกให้ ‘เจ้าแม่ร่างพญานาค’ เพราะ “รายละเอียดเยอะ หาเรฟเฟอเรนซ์ไม่ได้ เพราะมาจากจินตนาการของผู้กำกับ ที่หาได้ก็เป็นรูปปั้นผนังโบสถ์ เราก็ต้องจินตนการเอา”
ส่วนฉากที่หินและโหดที่สุด “จะเป็นฉากที่ต้องมีน้ำมาเกี่ยวข้อง เช่นพญานาคโผล่จากน้ำ คลื่นมาซัดแพ อะไรพวกนี้ เพราะจะใช้เวลานาน รายละเอียดเยอะ”
ซึ่ง “เรื่องนาคี ยากกว่าที่เคยทำมา เพราะมีปริมาณกับรายละเอียดมากที่สุดถ้าเทียบกับละครไทย ผู้กำกับอยากได้อะไรเราก็พยายามทำให้ได้ใกล้เคียงที่สุด เช่นพญานาค อารมณ์ต่างๆ ของงู เราจะทำยังไงให้งูดูเศร้า ซึ่งตรงนี้ยาก” คนทำอธิบาย
“จริงๆ นาคีถ่ายมาประมาณปีนึง เราก็เริ่มทำงานตั้งแต่ตอนยังไม่เปิดกล้อง เริ่มจากสเก็ตดีไซน์ จนถึงการตกแต่ง ในระหว่างออนก็ปรับแต่งไปเรื่อยๆ รวมแล้วปีกว่า”
“ต้องไปออกกองด้วย อย่างซีนไหนที่ซับซ้อน มีพยาญานาคออก เราต้องออกกองด้วย ต้องไปดูว่ามุมกล้องประมาณไหน แต่ถ้าเป็นโจทย์ที่เคยถ่ายมาแล้ว ทางโปรดักชั่นก็ไม่ต้องให้เราไป” ชาลิต เล่าถึงวิธีการทำงาน
ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายนั้น เขาว่า “อย่างที่พี่อ๊อฟเคยพูดไว้นะครับ เห็นงูออกเมื่อไรก็เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อนั้น (หัวเราะ) ก็เป็นเงินจำนวนหนึ่ง ถือว่าเยอะว่าสำหรับละคร เราก็ตีจากบท ว่าต้องมีกี่ตอน เแล้วก็ตั้งงบประมาณหลวมๆ ให้ผู้จัดไปแพลน แต่ก็ไม่ได้สูงมาก ตามข้อจำกัดละครไทย”
ถึงอย่างนั้นทีมงานทุกคนก็ทุ่มเทให้กับผลงานชิ้นนี้เต็มที่ ส่วนผลงานชิ้นต่อไป เป็นเรื่อง “เตียงนางไม้” ของ อาร์ท – พลังธรรม กล่อมทองสุข ทางช่อง 3 ซึ่งเขาว่า “ก็จะทำเต็มที่ทุกงาน พัฒนาต่อไป และยินดีรับทุกคำติชมครับ”
แม้จะมีผลงานต่อเนื่อง แต่ในฐานะคนทำซีจี ชาลิต ยังบอกด้วยว่า “ปัญหาที่เจอ หลักๆ คือ บุคคลกรขาดแคลน ข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ เวลา ถ้ามีการพัฒนาตรงนี้ขึ้นก็จะดีขึ้น”
เพราะ “อนาคต ซีจีบ้านเรากำลังพัฒนา ถ้าคนในประเทศยอมรับมากขึ้น ก็ทำให้นายทุน ผู้จัด อยากลงทุน เพื่อให้ศิลปินสร้างผลงาน เกิดการแข่งขัน จากการยอมรับในระดับประทเศ กลายเป็น ระดับเอเชีย อนาคตก็อาจขายเป็นระดับโลก ในปัจจุบัน คนไทยเก่งๆ ไปฮอลลีวูดก็เยอะ หรือบางคนก็เอางานจากเอาท์ซอร์สมาทำ เพียงแต่คอนเท้นต์ของไทยจริงๆ ยังน้อย ถ้าเกิดคนดูยอมรับ สนับสนุนคอนเท้นต์ของไทย อย่างละครนาคี มันก็เกิดกระแส คนอยากทำ นายทุนอยากลงทุน”
ซึ่งเขาแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจว่า หากอยากทำงานด้านนี้ ควรเริ่มจากความชอบวาดการ์ตูน ชอบดูหนังแนวที่ใช้ซีจี ส่วนถ้าเรียนก็เลือกคณะที่มีวิชาวิชวลเอ็ฟเฟ็กหรืออนิเมชั่น ซึ่งปัจจุบันมีหลายสถาบันการศึกษาที่เปิดสอน
เพื่อมาเป็นส่วนหนึ่งในวงการวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์เมืองไทย
เปิดใจ ‘คนทำซีจี’ ผู้อยู่เบื้องหลัง ‘นาคี’ อันอลังการ เผยงานยาก ‘เจ้าแม่ร่างพญานาค’
ทำสำคัญงานภาพเอ็ฟเฟ็กต์ในเรื่อง ยังสร้างปรากฎการณ์อันน่าตื่นตะลึง ด้วยความสวยงาม สมจริง และดูอลังการ จนหลายคนยกให้เป็นมาตรฐานที่ดีเยี่ยมของการทำซีจีในบ้านเรา
งานนี้ มติชนออนไลน์ จึงขอพามาพูดคุยกับ เต้ย – ชาลิต ไกรเลิศมงคล เจ้าของบริษัท FatcatVFX ผู้อยู่เบื้องหลังภาพวิชวลสุดตระการเหล่านั้น
“ตอนพี่อ๊อฟติดต่อมา พี่เขาก็เล่าเรื่องคร่าวๆ ว่าเรื่องราวประมาณไหน แล้วพี่อ๊อฟเขาอยากได้ความเหมือนจริง ตอนนั้นก็รู้สึกหนักใจ” เขา เล่าถึงความรู้สึกแรกหลังได้รับมอบหมายงาน
โดยความยากของเรื่องนี้อยู่ที่ ‘ความสมจริง’ “เพราะอะไรที่เหมือนจริง รายละเอียดเยอะ”
ดังนั้นเขาและทีมงานจึงต้องทำรีเสิร์ช ว่าลักษณะเกล็ดงูต้องเป็นแบบไหน การเลื้อยของงูต้องเป็นอย่างไร แล้วค่อยสเก็ตภาพไปให้ผู้กำกับดูว่าได้ดังที่ใจต้องการหรือยัง
“หลักๆ พี่อ๊อฟจะมีไกด์มาว่าอยากได้แบบไหน หรือว่าทางเรามีไอเดียอะไรก็มานำเสนอ เราก็จะดูสารคดีจากงูจริง พวกงูใหญ่อย่างอนาคอนดาการเลื้อยมันก็ต่างจากงูเล็กๆ อย่างงูร่างเล็ก ของ ‘ฉัตรสุดา’ บริวารของแต้ว เขาก็จะมีสองร่างคือร่างงูเล็กกับงูร่างใหญ่ไว้ต่อสู้ อันนั้นเราก็ดูจากงูเขียวจริงๆ ว่าลักษณะการเลื้อยเขาเป็นยังไง การชูคอ การฉก เป็นแบบไหน เพราะงูเขาก็มีแอ๊คติ้งของมัน ก็ส่งสเก็ตภาพให้แกดู ทีมงานทำกันหลายคน 15 คน กว่าจะได้ช็อตนึง”
“ตรวจแก้หลายรอบมากครับ เพื่อให้เนียนที่สุด ช่วงที่ปล่อยทีเซอร์ตอนนั้นยังไม่ค่อยเนียน ก็มีคนบอกว่ายังไม่เนียนนะ พอพี่อ๊อฟเห็นกระแสว่าไม่เนียนก็แก้เลย” ชาลิต เล่า
ซึ่งงูตัวที่ยากที่สุดเขายกให้ ‘เจ้าแม่ร่างพญานาค’ เพราะ “รายละเอียดเยอะ หาเรฟเฟอเรนซ์ไม่ได้ เพราะมาจากจินตนาการของผู้กำกับ ที่หาได้ก็เป็นรูปปั้นผนังโบสถ์ เราก็ต้องจินตนการเอา”
ส่วนฉากที่หินและโหดที่สุด “จะเป็นฉากที่ต้องมีน้ำมาเกี่ยวข้อง เช่นพญานาคโผล่จากน้ำ คลื่นมาซัดแพ อะไรพวกนี้ เพราะจะใช้เวลานาน รายละเอียดเยอะ”
ซึ่ง “เรื่องนาคี ยากกว่าที่เคยทำมา เพราะมีปริมาณกับรายละเอียดมากที่สุดถ้าเทียบกับละครไทย ผู้กำกับอยากได้อะไรเราก็พยายามทำให้ได้ใกล้เคียงที่สุด เช่นพญานาค อารมณ์ต่างๆ ของงู เราจะทำยังไงให้งูดูเศร้า ซึ่งตรงนี้ยาก” คนทำอธิบาย
“จริงๆ นาคีถ่ายมาประมาณปีนึง เราก็เริ่มทำงานตั้งแต่ตอนยังไม่เปิดกล้อง เริ่มจากสเก็ตดีไซน์ จนถึงการตกแต่ง ในระหว่างออนก็ปรับแต่งไปเรื่อยๆ รวมแล้วปีกว่า”
“ต้องไปออกกองด้วย อย่างซีนไหนที่ซับซ้อน มีพยาญานาคออก เราต้องออกกองด้วย ต้องไปดูว่ามุมกล้องประมาณไหน แต่ถ้าเป็นโจทย์ที่เคยถ่ายมาแล้ว ทางโปรดักชั่นก็ไม่ต้องให้เราไป” ชาลิต เล่าถึงวิธีการทำงาน
ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายนั้น เขาว่า “อย่างที่พี่อ๊อฟเคยพูดไว้นะครับ เห็นงูออกเมื่อไรก็เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อนั้น (หัวเราะ) ก็เป็นเงินจำนวนหนึ่ง ถือว่าเยอะว่าสำหรับละคร เราก็ตีจากบท ว่าต้องมีกี่ตอน เแล้วก็ตั้งงบประมาณหลวมๆ ให้ผู้จัดไปแพลน แต่ก็ไม่ได้สูงมาก ตามข้อจำกัดละครไทย”
ถึงอย่างนั้นทีมงานทุกคนก็ทุ่มเทให้กับผลงานชิ้นนี้เต็มที่ ส่วนผลงานชิ้นต่อไป เป็นเรื่อง “เตียงนางไม้” ของ อาร์ท – พลังธรรม กล่อมทองสุข ทางช่อง 3 ซึ่งเขาว่า “ก็จะทำเต็มที่ทุกงาน พัฒนาต่อไป และยินดีรับทุกคำติชมครับ”
แม้จะมีผลงานต่อเนื่อง แต่ในฐานะคนทำซีจี ชาลิต ยังบอกด้วยว่า “ปัญหาที่เจอ หลักๆ คือ บุคคลกรขาดแคลน ข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ เวลา ถ้ามีการพัฒนาตรงนี้ขึ้นก็จะดีขึ้น”
เพราะ “อนาคต ซีจีบ้านเรากำลังพัฒนา ถ้าคนในประเทศยอมรับมากขึ้น ก็ทำให้นายทุน ผู้จัด อยากลงทุน เพื่อให้ศิลปินสร้างผลงาน เกิดการแข่งขัน จากการยอมรับในระดับประทเศ กลายเป็น ระดับเอเชีย อนาคตก็อาจขายเป็นระดับโลก ในปัจจุบัน คนไทยเก่งๆ ไปฮอลลีวูดก็เยอะ หรือบางคนก็เอางานจากเอาท์ซอร์สมาทำ เพียงแต่คอนเท้นต์ของไทยจริงๆ ยังน้อย ถ้าเกิดคนดูยอมรับ สนับสนุนคอนเท้นต์ของไทย อย่างละครนาคี มันก็เกิดกระแส คนอยากทำ นายทุนอยากลงทุน”
ซึ่งเขาแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจว่า หากอยากทำงานด้านนี้ ควรเริ่มจากความชอบวาดการ์ตูน ชอบดูหนังแนวที่ใช้ซีจี ส่วนถ้าเรียนก็เลือกคณะที่มีวิชาวิชวลเอ็ฟเฟ็กหรืออนิเมชั่น ซึ่งปัจจุบันมีหลายสถาบันการศึกษาที่เปิดสอน
เพื่อมาเป็นส่วนหนึ่งในวงการวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์เมืองไทย