สภาพัฒน์ เผยไตรมาส 3 คนว่างงานทรงตัว 3.6 แสนคน เงินเดือนเอกชนขยับแค่ 0.2% พบเบี้ยวหนี้บัตรเครดิตเกิน 3 เดือน พุ่ง 16.9% ส่วนผู้มีรายได้น้อยรับสวัสดิการรัฐ ส่วนใหญ่เป็นหนี้นอกระบบวงเงิน 1 แสน อึ้ง! พันกว่าคน หนี้เกินตัว 3 ล้าน...
เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ภาวะสังคมไทยในไตรมาส 3/59 การว่างงานยังคงทรงตัว โดยมีผู้ว่างงาน 362,513 คน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 0.94% เทียบกับ 0.92% ในไตรมาส 3/58 โดยทั้งผู้ที่เคยและที่ไม่เคยทำงานมาก่อนมีการว่างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.2% และ 3.4% ตามลำดับ สอดคล้องกับจำนวนผู้ที่ขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานที่เพิ่มขึ้น 21.2% ส่วนจำนวนผู้ว่างงานแฝงลดลงถึง 20.3% จากจำนวนผู้รอฤดูกาลลดลงมาก 28.4% และผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์ และต้องการทำงานเพิ่มลดลง 6% โดยผู้ที่ทำงานต่ำระดับก็ลดลงเช่นกันโดยลดลงถึง 13.4%
ส่วนด้านรายได้พบว่า ค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนที่ยังไม่รวมค่าล่วงเวลาและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นของภาคเอกชน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 0.4% เมื่อหักเงินเฟ้อ 0.3% ทำให้ค่าจ้างเงินเดือนแท้จริงที่ยังไม่รวมค่าล่วงเวลาและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 0.2%
ในส่วนหนี้สินครัวเรือน พบว่ามีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวชะลอลงเหลือ 5.2% ส่วนความสามารถในการชำระหนี้มีแนวโน้มลดลง จากการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ต่อสินเชื่อรวม ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 2.60% ในไตรมาส 2/59 เป็น 2.73% ในไตรมาสนี้ รวมทั้งลูกหนี้ที่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 1 เดือน แต่ไม่ถึง 3 เดือน เพิ่มขึ้นจาก 3.20% ในไตรมาส 2/59 มาอยู่ที่ 3.26% ในไตรมาสนี้
ขณะที่การผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนขึ้นไปของสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับมีมูลค่า 11,538 ล้านบาท ลดลง 31.1% และคิดเป็นสัดส่วน 3.5% ของยอดสินเชื่อคงค้าง สำหรับการผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนขึ้นไปของสินเชื่อบัตรเครดิตมีมูลค่า 11,859 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.9% และคิดเป็นสัดส่วน 3.7% ของยอดสินเชื่อคงค้าง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากช่วงก่อนหน้ามีธนาคารบางแห่งไม่จัดชั้นให้ลูกหนี้ด้อยคุณภาพเป็นเอ็นพีแอล แต่หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไปตรวจสอบและดำเนินการอย่างเข้มงวดทำให้เอ็นพีแอลในกลุ่มดังกล่าวสูงขึ้น
เมื่อพิจารณาการก่อหนี้ของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยอาศัยข้อมูลเบื้องต้นของโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเปิดให้ลงทะเบียนระหว่างวันที่ 15 ก.ค.-15 ส.ค. 2559 พบว่า มีผู้ที่รายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี และมีอายุเกิน 18 ปี มาลงทะเบียนทั้งสิ้น 8,321,775 คน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ผู้รับจ้างทั่วไป และผู้ว่างงาน
ทั้งนี้ ผู้ที่มาลงทะเบียนทุกคนล้วนเป็นหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบส่วนใหญ่เป็นหนี้ในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท แต่หากเป็น การกู้ในวงเงินตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป จะมีสัดส่วนของการกู้นอกระบบสูงกว่าในระบบมาก สะท้อนถึงการไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินปกติได้เนื่องจากมีรายได้ไม่แน่นอนหรือไม่มีเอกสารรายได้ประกอบการขอสินเชื่อ มีผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบวงเงินเกิน 100,000 บาท จำนวน 903,619 คน หรือคิดเป็น 10.9% ของผู้ที่มาลงทะเบียนทั้งหมด
นอกจากนี้มี 14,484 คน ที่กู้เงินนอกระบบ วงเงินเกิน 1 ล้านบาท มี 1,009 คน ที่กู้เงินนอกระบบวงเงินเกิน 3 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นการสร้างหนี้ที่เกินตัวและต้องแบกรับภาระการผ่อนชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนดมาก ทำให้มีความเสี่ยงต่อความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตและอาจส่งผลกระทบในด้านอื่นๆ ตามมา ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ จึงต้องมีการบริหารจัดการทั้งด้านเจ้าหนี้และลูกหนี้ควบคู่กันไป.
JJNY : เศรษฐกิจดี๊ดี....ค่าจ้างขยับแค่จิ๊บๆ สวนทางคนเบี้ยวหนี้รูดปื๊ด เกิน 3 เดือน พุ่ง 16.9%
เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ภาวะสังคมไทยในไตรมาส 3/59 การว่างงานยังคงทรงตัว โดยมีผู้ว่างงาน 362,513 คน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 0.94% เทียบกับ 0.92% ในไตรมาส 3/58 โดยทั้งผู้ที่เคยและที่ไม่เคยทำงานมาก่อนมีการว่างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.2% และ 3.4% ตามลำดับ สอดคล้องกับจำนวนผู้ที่ขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานที่เพิ่มขึ้น 21.2% ส่วนจำนวนผู้ว่างงานแฝงลดลงถึง 20.3% จากจำนวนผู้รอฤดูกาลลดลงมาก 28.4% และผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์ และต้องการทำงานเพิ่มลดลง 6% โดยผู้ที่ทำงานต่ำระดับก็ลดลงเช่นกันโดยลดลงถึง 13.4%
ส่วนด้านรายได้พบว่า ค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนที่ยังไม่รวมค่าล่วงเวลาและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นของภาคเอกชน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 0.4% เมื่อหักเงินเฟ้อ 0.3% ทำให้ค่าจ้างเงินเดือนแท้จริงที่ยังไม่รวมค่าล่วงเวลาและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 0.2%
ในส่วนหนี้สินครัวเรือน พบว่ามีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวชะลอลงเหลือ 5.2% ส่วนความสามารถในการชำระหนี้มีแนวโน้มลดลง จากการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ต่อสินเชื่อรวม ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 2.60% ในไตรมาส 2/59 เป็น 2.73% ในไตรมาสนี้ รวมทั้งลูกหนี้ที่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 1 เดือน แต่ไม่ถึง 3 เดือน เพิ่มขึ้นจาก 3.20% ในไตรมาส 2/59 มาอยู่ที่ 3.26% ในไตรมาสนี้
ขณะที่การผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนขึ้นไปของสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับมีมูลค่า 11,538 ล้านบาท ลดลง 31.1% และคิดเป็นสัดส่วน 3.5% ของยอดสินเชื่อคงค้าง สำหรับการผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนขึ้นไปของสินเชื่อบัตรเครดิตมีมูลค่า 11,859 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.9% และคิดเป็นสัดส่วน 3.7% ของยอดสินเชื่อคงค้าง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากช่วงก่อนหน้ามีธนาคารบางแห่งไม่จัดชั้นให้ลูกหนี้ด้อยคุณภาพเป็นเอ็นพีแอล แต่หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไปตรวจสอบและดำเนินการอย่างเข้มงวดทำให้เอ็นพีแอลในกลุ่มดังกล่าวสูงขึ้น
เมื่อพิจารณาการก่อหนี้ของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยอาศัยข้อมูลเบื้องต้นของโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเปิดให้ลงทะเบียนระหว่างวันที่ 15 ก.ค.-15 ส.ค. 2559 พบว่า มีผู้ที่รายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี และมีอายุเกิน 18 ปี มาลงทะเบียนทั้งสิ้น 8,321,775 คน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ผู้รับจ้างทั่วไป และผู้ว่างงาน
ทั้งนี้ ผู้ที่มาลงทะเบียนทุกคนล้วนเป็นหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบส่วนใหญ่เป็นหนี้ในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท แต่หากเป็น การกู้ในวงเงินตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป จะมีสัดส่วนของการกู้นอกระบบสูงกว่าในระบบมาก สะท้อนถึงการไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินปกติได้เนื่องจากมีรายได้ไม่แน่นอนหรือไม่มีเอกสารรายได้ประกอบการขอสินเชื่อ มีผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบวงเงินเกิน 100,000 บาท จำนวน 903,619 คน หรือคิดเป็น 10.9% ของผู้ที่มาลงทะเบียนทั้งหมด
นอกจากนี้มี 14,484 คน ที่กู้เงินนอกระบบ วงเงินเกิน 1 ล้านบาท มี 1,009 คน ที่กู้เงินนอกระบบวงเงินเกิน 3 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นการสร้างหนี้ที่เกินตัวและต้องแบกรับภาระการผ่อนชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนดมาก ทำให้มีความเสี่ยงต่อความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตและอาจส่งผลกระทบในด้านอื่นๆ ตามมา ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ จึงต้องมีการบริหารจัดการทั้งด้านเจ้าหนี้และลูกหนี้ควบคู่กันไป.