คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 15
จะไปนำเชลยไทยที่ถูกกวาดต้อนไปพม่ากลับมาก็ต้องยกทัพไปตีเมืองพม่า ซึ่งกำลังของไทยในสมัยธนบุรีไม่อยู่ในสภาวะที่ทำได้ครับ เนื่องจากก็ต้องทำสงครามรับศึกพม่าต่อเนื่องมาโดยตลอด ทำให้ภาวะเศรษฐกิจค่อนข้างฝืดเคืองอยู่หลายปีและมีปัญหาในเรื่องปากท้องของราษฎร การจะเกณฑ์กองทัพขนาดใหญ่เพื่อทำสงครามข้ามภูมิภาคน่าจะทำได้ยาก เพียงแต่ใช้ป้องกันตนเองก็นับว่าเต็มที่แล้ว
ทางไทยเองก็หันไปขยายอำนาจในแถบล้านช้าง ล้านนา เหมือนกับเพื่อจะใช้เป็นฐานสำหรับตีเมืองพม่าในอนาคต แต่ก็ไม่มีโอกาสทำในสมัยธนบุรีเพราะปลายรัชกาลก็เกิดจลาจลในกัมพูชา ต้องไปแก้ปัญหาทางนั้นก่อน และหลังจากนั้นไม่นานก็เปลี่ยนราชวงศ์ เกิดกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งก็ต้องรับศึกใหญ่จากพม่าอีกสองครั้งคือสงครามเก้าทัพกับสงครามท่าดินแดงครับ
ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เคยมีความคิดที่จะไปตีพม่าถึงเมืองอมรปุระอันเป็นราชธานีเพื่อกวาดต้อนเชลยไทยที่อยู่พม่ากลับมา พอเจ้าเมืองทวายกบฏมาเข้ากับไทยก็เลยเห็นโอกาสที่จะยกไปตีพม่า แต่เส้นทางที่จะยกไปเมืองทวายต้องข้ามเขามีความทุรกันดารมาก การขนเสบียงก็ทำได้ลำบาก จนรัชกาลที่ ๑ ทรงมีรับสั่งว่า "ไม่รู้ว่าทางเดินยากถึงเพียงนี้ พาลูกหลานมาได้ความลำบากหนักหนา"
ต่อมามีเหตุคือเจ้าเมืองทวายกลับใจไปเข้ากับพม่าอีกหันมาตลบหลังไทย สุดท้ายก็ต้องทิ้งเมืองทวายถอยกลับมากรุง การยกทัพไปถึงเมืองพม่าก็เป็นอันล้มเหลวไปด้วยประการฉะนี้
จริงๆ รัชกาลที่ ๑ ทรงตั้งพระทัยอย่างยิ่งที่จะไปเอาเชลยไทยที่อยู่เมืองพม่าคืนมา เห็นได้จากตอนที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระอนุชาธิราชเสด็จไปทอดพระเนตรเมืองทวาย ทรงเห็นว่ายากจะรักษาได้ และไม่ทรงไว้วางพระทัยตัวพระยาทวาย เลยส่งหนังสือกราบทูลรัชกาลที่ ๑ จะขอรื้อเมืองทวายแล้วเทครัวเมืองทวายกลับไปกรุง ทำให้รัชกาลที่ ๑ ทรงขัดเคืองมาก รับสั่งให้มีหนังสือตอบขึ้นไปว่า
"อ้ายพม่ายกมาตีกรุงได้ชาวกรุงแลพี่นอ้งขึ้นไปไว้ แต่ที่เมืองทวายเมืองเดียวดอกฤา เมืองอังวะแลเมืองอื่น ๆ ไทยชาวกรุงไม่มีฤา ไม่ชว่ยเจ็บแค้นขึ้งโกรธบ้างเลย ได้เมืองทวายไว้จะได้เป็นเมืองภักผู้คนไว้เสบียงอาหารเป็นกำลังทำศึกต่อไป ห้ามอย่าให้รื้อกำแพงเมืองแลกวาดครอบครัว ให้รักษาเมืองรวังเหตุการให้มั่นคงให้ดี"
แต่สุดท้ายก็ตีไม่ได้ดังที่กล่าวไปแล้วครับ
ทางไทยเองก็หันไปขยายอำนาจในแถบล้านช้าง ล้านนา เหมือนกับเพื่อจะใช้เป็นฐานสำหรับตีเมืองพม่าในอนาคต แต่ก็ไม่มีโอกาสทำในสมัยธนบุรีเพราะปลายรัชกาลก็เกิดจลาจลในกัมพูชา ต้องไปแก้ปัญหาทางนั้นก่อน และหลังจากนั้นไม่นานก็เปลี่ยนราชวงศ์ เกิดกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งก็ต้องรับศึกใหญ่จากพม่าอีกสองครั้งคือสงครามเก้าทัพกับสงครามท่าดินแดงครับ
ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เคยมีความคิดที่จะไปตีพม่าถึงเมืองอมรปุระอันเป็นราชธานีเพื่อกวาดต้อนเชลยไทยที่อยู่พม่ากลับมา พอเจ้าเมืองทวายกบฏมาเข้ากับไทยก็เลยเห็นโอกาสที่จะยกไปตีพม่า แต่เส้นทางที่จะยกไปเมืองทวายต้องข้ามเขามีความทุรกันดารมาก การขนเสบียงก็ทำได้ลำบาก จนรัชกาลที่ ๑ ทรงมีรับสั่งว่า "ไม่รู้ว่าทางเดินยากถึงเพียงนี้ พาลูกหลานมาได้ความลำบากหนักหนา"
ต่อมามีเหตุคือเจ้าเมืองทวายกลับใจไปเข้ากับพม่าอีกหันมาตลบหลังไทย สุดท้ายก็ต้องทิ้งเมืองทวายถอยกลับมากรุง การยกทัพไปถึงเมืองพม่าก็เป็นอันล้มเหลวไปด้วยประการฉะนี้
จริงๆ รัชกาลที่ ๑ ทรงตั้งพระทัยอย่างยิ่งที่จะไปเอาเชลยไทยที่อยู่เมืองพม่าคืนมา เห็นได้จากตอนที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระอนุชาธิราชเสด็จไปทอดพระเนตรเมืองทวาย ทรงเห็นว่ายากจะรักษาได้ และไม่ทรงไว้วางพระทัยตัวพระยาทวาย เลยส่งหนังสือกราบทูลรัชกาลที่ ๑ จะขอรื้อเมืองทวายแล้วเทครัวเมืองทวายกลับไปกรุง ทำให้รัชกาลที่ ๑ ทรงขัดเคืองมาก รับสั่งให้มีหนังสือตอบขึ้นไปว่า
"อ้ายพม่ายกมาตีกรุงได้ชาวกรุงแลพี่นอ้งขึ้นไปไว้ แต่ที่เมืองทวายเมืองเดียวดอกฤา เมืองอังวะแลเมืองอื่น ๆ ไทยชาวกรุงไม่มีฤา ไม่ชว่ยเจ็บแค้นขึ้งโกรธบ้างเลย ได้เมืองทวายไว้จะได้เป็นเมืองภักผู้คนไว้เสบียงอาหารเป็นกำลังทำศึกต่อไป ห้ามอย่าให้รื้อกำแพงเมืองแลกวาดครอบครัว ให้รักษาเมืองรวังเหตุการให้มั่นคงให้ดี"
แต่สุดท้ายก็ตีไม่ได้ดังที่กล่าวไปแล้วครับ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมพระเจ้าตากกู้เอกราชได้แล้ว ไม่ไปรับเอาเชลยคนไทยที่ถูกต้อนให้ไปพม่ากลับมา
จากความเข้าใจเองว่าการที่พระเจ้าตากกู้เอกราชได้นั่นคือสามารถขับไล่พวกพม่าให้ออกจากประเทศไทยไปแต่ส่วนที่ถูกต้อนให้ไปกรุงอังวะ ถ้าเราจะไปเชลยคนไทยกลับมาเราคงต้องยกทัพไปถึงพม่าซึ่งกำลังเราตอนนั้นไม่น่าจะพอใช่มั้ยคับ
ใครทราบประวัติศาสต์รบกวนชี้แนะด้วยคับ