## กระทู้นี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของเจ้าของกระทู้เท่านั้น ##
เราเป็นหนึ่งคนที่เป็นแฟนสายโลหิต อ่านฉบับนิยายของคุณโสภาคไม่ต่ำกว่า 5 รอบ แถมทันดูสายโลหิต สมัยที่ฉายครั้งแรก (คงไม่ต้องถามอายุนะ T-T) แต่ตอนนั้นด้วยความที่ยังเด็ก จึงให้ความสนใจเพียงแต่ คู่ของขุนไกร-ดาวเรือง ตัวหลักของเรื่องเท่านั้น ในโอกาสที่ช่อง 7 นำสายโลหิตกลับมาฉายอีกครั้ง ถึงจะจำเป็นต้องตัดเนื้อหาบางส่วนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และระยะเวลาในการฉาย เราจึงไม่พลาดที่จะติดตามชม โดยหวังว่าคู่ของขุนไกร-ดาวเรือง จะทำให้เรา "ฟิน" อีกครั้ง
แต่นอกจากความฟินในความน่ารัก และความหล่อของพระนาง แล้ว ในครั้งนี้ด้วยความที่เราโตขึ้นมากๆๆๆ ทำให้เราเริ่มดูแบบวิเคราะห์ เรากลับพบว่า ตัวละครอื่นๆ ถือได้ว่ามีบทบาทในการดำเนินเรื่องเป็นอย่างมาก และให้ข้อคิดได้เป็นอย่างยิ่งถึง การครองเรือน และ การเป็นทหารและการเป็นเมียทหาร
1. แนวคิดการปกครองเรือน
ย่านิ่ม - คุณหญิงศรีนวล - แม่ปริก = บ่าวไพรใน 3 บ้าน
3 ครอบครัวนี้ ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของผลลัพท์ในการปกครองเรือน ซึ่งจะดูได้จากพฤติกรรมของคนในบ้าน และบ่าวไพร่
บ้านย่านิ่ม = การปกครองคนด้วยความรัก คือ ดูแลแบบลูก-หลาน อาศัยความเข้าใจเป็นหลักในการครองเรือน ใส่ใจดูแลยามเจ็บไข้ เป็นหลักชัยของบ้านในทุกเรื่อง แข็งแกร่งแต่ไม่ดุดัน มีความเลื่อมล้ำในชนชั้นน้อย
พฤติกรรมเหล่านี้ของผู้ปกครองเรือนทำให้คนในบ้าน ตลอดจนบ่าวไพร่ อยู่อย่างมีความสุข มีความปรองดอง แม้จะในยามลำบาก ก็ยังคงแบ่งปันกันไป บ่าวไพร่เกิดความภักดี ยอมตายแทนนายได้ ไม่ทอดทิ้งแม้ยามลำบาก (อยู่ดี)
แม้ตัวนายจะเสียไป แต่ความดีของนายท่านก็ยังคงอยู่ในใจตลอดไป (นรชาติติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตย์ทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา)
การอบรมลูกหลาน - การอบรมแบบครอบครัวใหญ่ (อยุ่ด้วยกันหลายรุ่น) เป็นแนวทางในการสั่งสอนของคนไทยในสมัยอดีต โดยให้ผัอาวุโสที่สุดเป็นผู้สั่งสอน ไม่ตามใจมากนัก แต่ก็ไม่ได้ขัดใจทุกอย่าง พยายามให้ความรู้เพื่อให้เด็กเพื่อให้พัฒนาตนเอง จุดนี้ถือเป็นจุดแข็งของย่านิ่ม เพราะมีประสบการณ์มาก และมีอำนาจในการทำได้ในทางปฏิบัติ เพราะเมียคุณพระเสีย จึงไม่เกิดความขัดแย้งแบบแม่ผัว-ลูกสะใภ้ (เราคิดว่า หากแม่ดาวเรืองไม่เสียไป ย่านิ่มอาจจะไม่มีบทบาทในการอบรมดาวเรืองเท่านี้ เพราะจะปล่อยวางให้พ่อแม่เป็นคนอบรม)
คุณหญิงศรีนวล = การปกครองคนด้วยอำนาจ คือ ดูแลแบบนาย-บ่าว ยังคงนิยมในค่าความป็นคนแต่ไม่นิยมในความภักดี ไม่ได้เฆี่ยนตี แต่ใช้อำนาจ อาญา ดุด่า และมีความเลื่อมล้ำในชนชั้นในระดับปานกลาง
พฤติกรรมเหล่านี้ของผู้ปกครองเรือนทำให้คนในบ้านขาดความอบอุ่นในบางช่วง บ่าวไพร่มีความอึดอัดใจ ไม่กล้าเสนอแนะ ขาดความเข็มแข็ง อยู่ด้วยหน้าที่มากกว่าด้วยน้ำใจ (อยู่ได้)
การอบรมลูกหลาน - การอบรมแบบครอบครัวเดี่ยว (ครอบครัวเดียว) กรณีที่เมียพึ่งผัวทุกอย่าง แบ่งชัดเจน พ่อ-ลูกชาย // แม่-ลูกสาว จุดนี้ทำให้เห็นได้ชัดว่า ลูกชาย กับแม่ จะไม่สนิทกันเท่า ลูกสาว กับ แม่ (จะเห็นได้จากการที่แม่เยื้อนตาย คุญหญิงก็อยู่ไม่ได้) เป็นทั้งจุดดีและจุดด้อย คือ ลูกชายจะเข้มแข็งแบบพ่อแต่ขาดความอ่อนโยน ขณะที่ลูกสาวจะอ่อนต่อโลก และเห็นว่าการมีสามีคือจุดมุ่งหมายในชีวิต
แม่ปริก = การปกครองคนด้วยเงินตรา คือ ดูแลแบบเจ้าของ-สิ่งของ ไม่นิยมในค่าความเป็นคน ตึคนเป็นสิ่งของสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ ผู้เป็นเจ้าของมีอำนาจเหนือสิ่งของ มีความเลื่อมล้ำในชนชั้นในระดับสูง
พฤติกรรมเหล่านี้ของผู้ปกครองเรือนทำให้คนในบ้านกลายเป็นคนที่ไม่รู้จักถึงความรัก รู้จักเพียงตนเอง บ่าวไพร่ไม่มีความภักดี (ทนอยู่) อาศัยอยู่ด้วยหน้าที่และเงินตรา (เราเชื่อว่าตอนกรุงแตก จะไม่มีบ่าวไพร่คนใดอยู่กับแม่ปริก)
การอบรมลูกหลาน - การอบรมแบบการทดแทนความรัก หากมองในแง่ของแม่ปริกแล้ว ถือได้ว่าน่าสงสารเป็นที่สุด เพราะพ่อหมื่นทิพมีความเจ้าชู้ หลายเมีย ส่งผลให้เมียแต่ง (แม่ปริก) ขาดความรัก จึงยึดลูกเป็นที่พิง ตามใจมากเกินไปจนเสียคน ด้วยความที่กลัวลูกจะไม่รัก แล้วตนจะไร้ซึ่งตัวตน
แม่ปริกเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของการแสดงให้เห็นว่า การที่ครอบครัวไม่ซื้อสัตย์จะไม่ส่งผลต่อคู่สมรสเท่านั้น แต่ยังมาถึงลูกหลานที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
2. การเป็นทหารและการเป็นเมียทหาร
คู่หลวงเทพ-ลำดวน
สำหรับเราแล้ว คิดว่า คู่หลวงเทพ-ลำดวน สื่อให้เห็นถึงการเป็นทหารและการเป็นเมียทหาร ได้ดีกว่า คู่พระ-นางอืก
หลวงเทพ คือ ตัวอย่างของการเป็นทหารที่ดี คือ ภักดีต่อนาย และการถือน้ำยิ่งชีพ แม้จะมีฝีมือแต่ไม่มุทะลุ พยายามทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุด ใช้สตินำอารมณ์ เข้าใจสถานการณ์ จะเห็นได้จากกรณีแม่เยื้อน แม้หลวงเทพจะไม่ชอบหมื่นทิพเหมือนพ่อไกร แต่ในเมื่อไม่อาจทำสิ่งใดได้ก็คงยังทำหน้าที่พี่ชายให้ดีแต่สุด แม้ยามน้องเสีย ก็ยังคงมีสติพอจะไม่ฆ่าหรือทำร้ายหมื่นทิพ เพราะรู้ว่าน้องเป็นคนเลือกทางนี้เอง ในกรณีกรุงแตก หลวงเทพ เลือกจะติดตามไปพิทักษ์ขุนหลวงหาวัด โดยที่รู้ดีว่าจะต้องพบความยากลำบากในภายหลัง (เราคิดว่าการที่หลวงเทพเป็นคนเข้าใจโลก ถือเป้นข้อดีมากๆๆๆๆ เพราะถ้าเปลี่ยนกันเป็นขุนไกรโดนกวาดต้อนไป คงไม่แคร้วโดนพม่าฆ่าทิ้งแน่นอน)
ลำดวน คือ ตัวอย่างของการเป็นเมียทหารที่ดี คือ เข้าใจในหน้าที่ของสามี เลือกที่จะเข้มแข้งมากกว่าการแสดงความอ่อนแอ เคารพการตัดสินใจของสามี แม้ว่าตนจะไม่ได้เห็นชอบด้วยเท่าไรนัก ยิ่งภายหลังการกวาดต้อน เราคิดว่าลำดวนจะต้องมีบทบาทอย่างมากในการประคับประคองครอบครัว คือ หลวงเทพคงไม่สามารถแสดงตนได้ว่าเป็นทหาร อย่างดีที่สุดคงเป็นได้แค่ครูฝึกดาบ ลำดวนจึงต้องแสดงตัวว่าเป็นครูฝึกรำ ฝึกศัตรู เพื่อให้ครอบครัวสามารถอยู่รอดได้ (สืบทอดทายาทต่อมาในญาติกา)
ปล. เพิ่มเติมเรื่องการเรื่องดูแลคะ
วิพากษ์ตัวละคร "สายโลหิต"
เราเป็นหนึ่งคนที่เป็นแฟนสายโลหิต อ่านฉบับนิยายของคุณโสภาคไม่ต่ำกว่า 5 รอบ แถมทันดูสายโลหิต สมัยที่ฉายครั้งแรก (คงไม่ต้องถามอายุนะ T-T) แต่ตอนนั้นด้วยความที่ยังเด็ก จึงให้ความสนใจเพียงแต่ คู่ของขุนไกร-ดาวเรือง ตัวหลักของเรื่องเท่านั้น ในโอกาสที่ช่อง 7 นำสายโลหิตกลับมาฉายอีกครั้ง ถึงจะจำเป็นต้องตัดเนื้อหาบางส่วนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และระยะเวลาในการฉาย เราจึงไม่พลาดที่จะติดตามชม โดยหวังว่าคู่ของขุนไกร-ดาวเรือง จะทำให้เรา "ฟิน" อีกครั้ง
แต่นอกจากความฟินในความน่ารัก และความหล่อของพระนาง แล้ว ในครั้งนี้ด้วยความที่เราโตขึ้นมากๆๆๆ ทำให้เราเริ่มดูแบบวิเคราะห์ เรากลับพบว่า ตัวละครอื่นๆ ถือได้ว่ามีบทบาทในการดำเนินเรื่องเป็นอย่างมาก และให้ข้อคิดได้เป็นอย่างยิ่งถึง การครองเรือน และ การเป็นทหารและการเป็นเมียทหาร
1. แนวคิดการปกครองเรือน
ย่านิ่ม - คุณหญิงศรีนวล - แม่ปริก = บ่าวไพรใน 3 บ้าน
3 ครอบครัวนี้ ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของผลลัพท์ในการปกครองเรือน ซึ่งจะดูได้จากพฤติกรรมของคนในบ้าน และบ่าวไพร่
บ้านย่านิ่ม = การปกครองคนด้วยความรัก คือ ดูแลแบบลูก-หลาน อาศัยความเข้าใจเป็นหลักในการครองเรือน ใส่ใจดูแลยามเจ็บไข้ เป็นหลักชัยของบ้านในทุกเรื่อง แข็งแกร่งแต่ไม่ดุดัน มีความเลื่อมล้ำในชนชั้นน้อย
พฤติกรรมเหล่านี้ของผู้ปกครองเรือนทำให้คนในบ้าน ตลอดจนบ่าวไพร่ อยู่อย่างมีความสุข มีความปรองดอง แม้จะในยามลำบาก ก็ยังคงแบ่งปันกันไป บ่าวไพร่เกิดความภักดี ยอมตายแทนนายได้ ไม่ทอดทิ้งแม้ยามลำบาก (อยู่ดี)
แม้ตัวนายจะเสียไป แต่ความดีของนายท่านก็ยังคงอยู่ในใจตลอดไป (นรชาติติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตย์ทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา)
การอบรมลูกหลาน - การอบรมแบบครอบครัวใหญ่ (อยุ่ด้วยกันหลายรุ่น) เป็นแนวทางในการสั่งสอนของคนไทยในสมัยอดีต โดยให้ผัอาวุโสที่สุดเป็นผู้สั่งสอน ไม่ตามใจมากนัก แต่ก็ไม่ได้ขัดใจทุกอย่าง พยายามให้ความรู้เพื่อให้เด็กเพื่อให้พัฒนาตนเอง จุดนี้ถือเป็นจุดแข็งของย่านิ่ม เพราะมีประสบการณ์มาก และมีอำนาจในการทำได้ในทางปฏิบัติ เพราะเมียคุณพระเสีย จึงไม่เกิดความขัดแย้งแบบแม่ผัว-ลูกสะใภ้ (เราคิดว่า หากแม่ดาวเรืองไม่เสียไป ย่านิ่มอาจจะไม่มีบทบาทในการอบรมดาวเรืองเท่านี้ เพราะจะปล่อยวางให้พ่อแม่เป็นคนอบรม)
คุณหญิงศรีนวล = การปกครองคนด้วยอำนาจ คือ ดูแลแบบนาย-บ่าว ยังคงนิยมในค่าความป็นคนแต่ไม่นิยมในความภักดี ไม่ได้เฆี่ยนตี แต่ใช้อำนาจ อาญา ดุด่า และมีความเลื่อมล้ำในชนชั้นในระดับปานกลาง
พฤติกรรมเหล่านี้ของผู้ปกครองเรือนทำให้คนในบ้านขาดความอบอุ่นในบางช่วง บ่าวไพร่มีความอึดอัดใจ ไม่กล้าเสนอแนะ ขาดความเข็มแข็ง อยู่ด้วยหน้าที่มากกว่าด้วยน้ำใจ (อยู่ได้)
การอบรมลูกหลาน - การอบรมแบบครอบครัวเดี่ยว (ครอบครัวเดียว) กรณีที่เมียพึ่งผัวทุกอย่าง แบ่งชัดเจน พ่อ-ลูกชาย // แม่-ลูกสาว จุดนี้ทำให้เห็นได้ชัดว่า ลูกชาย กับแม่ จะไม่สนิทกันเท่า ลูกสาว กับ แม่ (จะเห็นได้จากการที่แม่เยื้อนตาย คุญหญิงก็อยู่ไม่ได้) เป็นทั้งจุดดีและจุดด้อย คือ ลูกชายจะเข้มแข็งแบบพ่อแต่ขาดความอ่อนโยน ขณะที่ลูกสาวจะอ่อนต่อโลก และเห็นว่าการมีสามีคือจุดมุ่งหมายในชีวิต
แม่ปริก = การปกครองคนด้วยเงินตรา คือ ดูแลแบบเจ้าของ-สิ่งของ ไม่นิยมในค่าความเป็นคน ตึคนเป็นสิ่งของสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ ผู้เป็นเจ้าของมีอำนาจเหนือสิ่งของ มีความเลื่อมล้ำในชนชั้นในระดับสูง
พฤติกรรมเหล่านี้ของผู้ปกครองเรือนทำให้คนในบ้านกลายเป็นคนที่ไม่รู้จักถึงความรัก รู้จักเพียงตนเอง บ่าวไพร่ไม่มีความภักดี (ทนอยู่) อาศัยอยู่ด้วยหน้าที่และเงินตรา (เราเชื่อว่าตอนกรุงแตก จะไม่มีบ่าวไพร่คนใดอยู่กับแม่ปริก)
การอบรมลูกหลาน - การอบรมแบบการทดแทนความรัก หากมองในแง่ของแม่ปริกแล้ว ถือได้ว่าน่าสงสารเป็นที่สุด เพราะพ่อหมื่นทิพมีความเจ้าชู้ หลายเมีย ส่งผลให้เมียแต่ง (แม่ปริก) ขาดความรัก จึงยึดลูกเป็นที่พิง ตามใจมากเกินไปจนเสียคน ด้วยความที่กลัวลูกจะไม่รัก แล้วตนจะไร้ซึ่งตัวตน
แม่ปริกเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของการแสดงให้เห็นว่า การที่ครอบครัวไม่ซื้อสัตย์จะไม่ส่งผลต่อคู่สมรสเท่านั้น แต่ยังมาถึงลูกหลานที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
2. การเป็นทหารและการเป็นเมียทหาร
คู่หลวงเทพ-ลำดวน
สำหรับเราแล้ว คิดว่า คู่หลวงเทพ-ลำดวน สื่อให้เห็นถึงการเป็นทหารและการเป็นเมียทหาร ได้ดีกว่า คู่พระ-นางอืก
หลวงเทพ คือ ตัวอย่างของการเป็นทหารที่ดี คือ ภักดีต่อนาย และการถือน้ำยิ่งชีพ แม้จะมีฝีมือแต่ไม่มุทะลุ พยายามทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุด ใช้สตินำอารมณ์ เข้าใจสถานการณ์ จะเห็นได้จากกรณีแม่เยื้อน แม้หลวงเทพจะไม่ชอบหมื่นทิพเหมือนพ่อไกร แต่ในเมื่อไม่อาจทำสิ่งใดได้ก็คงยังทำหน้าที่พี่ชายให้ดีแต่สุด แม้ยามน้องเสีย ก็ยังคงมีสติพอจะไม่ฆ่าหรือทำร้ายหมื่นทิพ เพราะรู้ว่าน้องเป็นคนเลือกทางนี้เอง ในกรณีกรุงแตก หลวงเทพ เลือกจะติดตามไปพิทักษ์ขุนหลวงหาวัด โดยที่รู้ดีว่าจะต้องพบความยากลำบากในภายหลัง (เราคิดว่าการที่หลวงเทพเป็นคนเข้าใจโลก ถือเป้นข้อดีมากๆๆๆๆ เพราะถ้าเปลี่ยนกันเป็นขุนไกรโดนกวาดต้อนไป คงไม่แคร้วโดนพม่าฆ่าทิ้งแน่นอน)
ลำดวน คือ ตัวอย่างของการเป็นเมียทหารที่ดี คือ เข้าใจในหน้าที่ของสามี เลือกที่จะเข้มแข้งมากกว่าการแสดงความอ่อนแอ เคารพการตัดสินใจของสามี แม้ว่าตนจะไม่ได้เห็นชอบด้วยเท่าไรนัก ยิ่งภายหลังการกวาดต้อน เราคิดว่าลำดวนจะต้องมีบทบาทอย่างมากในการประคับประคองครอบครัว คือ หลวงเทพคงไม่สามารถแสดงตนได้ว่าเป็นทหาร อย่างดีที่สุดคงเป็นได้แค่ครูฝึกดาบ ลำดวนจึงต้องแสดงตัวว่าเป็นครูฝึกรำ ฝึกศัตรู เพื่อให้ครอบครัวสามารถอยู่รอดได้ (สืบทอดทายาทต่อมาในญาติกา)
ปล. เพิ่มเติมเรื่องการเรื่องดูแลคะ