นับตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ที่ทางช่อง 7 ได้เผยแพร่ละครพีเรียดอิงประวัติศาสตร์
"สายโลหิต" "สายโลหิตเวอร์ชั่น 2538" ก็เป็นที่กล่าวถึงอยู่ไม่น้อย
จนมาถึงวันนี้ ที่ 1 ธันวาคม 2559 เป็นตอนอวสานของละครแล้ว
หากจำไม่ผิดหรือจำผิดประการ จขกท ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ละครเรื่องนี้ได้รับรางวัลอยู่ 2 เวที ได้แก่
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 10 ประจำปี 2538
ผู้กำกับละครดีเด่น (สยาม สังวริบุตร)
เพลงนำละครดีเด่น (สุทธิพงษ์ วัฒนจัง)
ดนตรีประกอบละครดีเด่น
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 15 ประจำปี พ.ศ. 2538
ละครยอดเยี่ยมประจำปี
ผู้กำกับการแสดงดีเด่น (สยาม สังวริบุตร)
ผู้กำกับรายการดีเด่น (สยาม สังวริบุตร)
ผู้เขียนบทละครดีเด่น (ศัลยา)
เพลงนำละครดีเด่น (สุทธิพงษ์ วัฒนจัง)
ฉากละครดีเด่น (อ.สุวรรณ วังสุขจิต)
จัดเครื่องแต่งกายดีเด่น
แม้ว่าตอนนั้นนักแสดงนำหรือนักแสดงสมทบจะไม่ได้รับรางวัลเลย
แต่วันนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า รางวัลที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เพียง ถ้วย โล่ห์ หรือวัตถุนิยมที่เป็นกำลังใจให้แก่นักแสดงเพียงเท่านั้น
นักแสดงเกือบทุกตัวละครถูกกล่าวถึงไม่ว่าจะเป็น ขุนไกรหรือหลวงไกรสรเดช ดาวเรือง หลวงเทพ ลำดวน คุณย่านิ่ม พระสุวรรณราชา
ขุนทิพย์หรือไอ้ด้วง แม่หญิงเยื้อน พันสิงห์ แม่ปริก พี่เยื้อน คุณหญิงศรีนวล หลวงเสนาสุรภาค พระยารัตนาธิเบศร์ พระยาพลเทพ
หรือแม้แต่บ่าวไพร่ในเรือนก็ถูกกล่าวถึงอยู่ไม่ใช่น้อย ยายชด แม่อิ่ม นังอ้น ไอ้มิ่ง ไอ้มา ไอ้อิน นังนาก นังพวง
อีกทั้งยังยกบุคคลสำคัญที่สู้รบและเสียสละเพื่อประเทศชาติมากล่าวถึง ทำให้หลาย ๆ คน ถึงกลับต้องกลับไปค้นคว้าประวัติศาสตร์กันเลยทีเดียว
นักแสดงเกือบทุกคนสามารถสื่ออารมณ์และแสดงสมจริงราวกับหลุดมาจากในหนังสือเลยก็ว่าได้
ณ เวลานี้ รางวัลอะไรก็ไม่สำคัญ นอกจากเห็นคนรุ่นหลังหันกลับไปสนใจประวัติศาสตร์ชาติไทยกันมากขึ้น
ทำไมบรรพบุรุษถึงร่ำสอนให้รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เพราะกว่าเราจะมีแผ่นดินอยู่ กว่าไทยจะเป็นไทจนถึงทุกวันนี้
บรรพบุรุษต้องอดทน เสียสละ แค่ไหน วันนี้หลาย ๆ คนได้รับรู้ แม้ไม่ทั้งหมด แต่ก็ยังดีบรรพบุรุษคงดีใจที่คนรุ่นหลังไม่ลืมบุญคุณ....
รางวัลสำหรับละครรีรันเมื่อ 21 ปีที่แล้ว "สายโลหิต"
"สายโลหิต" "สายโลหิตเวอร์ชั่น 2538" ก็เป็นที่กล่าวถึงอยู่ไม่น้อย
จนมาถึงวันนี้ ที่ 1 ธันวาคม 2559 เป็นตอนอวสานของละครแล้ว
หากจำไม่ผิดหรือจำผิดประการ จขกท ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ละครเรื่องนี้ได้รับรางวัลอยู่ 2 เวที ได้แก่
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 10 ประจำปี 2538
ผู้กำกับละครดีเด่น (สยาม สังวริบุตร)
เพลงนำละครดีเด่น (สุทธิพงษ์ วัฒนจัง)
ดนตรีประกอบละครดีเด่น
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 15 ประจำปี พ.ศ. 2538
ละครยอดเยี่ยมประจำปี
ผู้กำกับการแสดงดีเด่น (สยาม สังวริบุตร)
ผู้กำกับรายการดีเด่น (สยาม สังวริบุตร)
ผู้เขียนบทละครดีเด่น (ศัลยา)
เพลงนำละครดีเด่น (สุทธิพงษ์ วัฒนจัง)
ฉากละครดีเด่น (อ.สุวรรณ วังสุขจิต)
จัดเครื่องแต่งกายดีเด่น
แม้ว่าตอนนั้นนักแสดงนำหรือนักแสดงสมทบจะไม่ได้รับรางวัลเลย
แต่วันนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า รางวัลที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เพียง ถ้วย โล่ห์ หรือวัตถุนิยมที่เป็นกำลังใจให้แก่นักแสดงเพียงเท่านั้น
นักแสดงเกือบทุกตัวละครถูกกล่าวถึงไม่ว่าจะเป็น ขุนไกรหรือหลวงไกรสรเดช ดาวเรือง หลวงเทพ ลำดวน คุณย่านิ่ม พระสุวรรณราชา
ขุนทิพย์หรือไอ้ด้วง แม่หญิงเยื้อน พันสิงห์ แม่ปริก พี่เยื้อน คุณหญิงศรีนวล หลวงเสนาสุรภาค พระยารัตนาธิเบศร์ พระยาพลเทพ
หรือแม้แต่บ่าวไพร่ในเรือนก็ถูกกล่าวถึงอยู่ไม่ใช่น้อย ยายชด แม่อิ่ม นังอ้น ไอ้มิ่ง ไอ้มา ไอ้อิน นังนาก นังพวง
อีกทั้งยังยกบุคคลสำคัญที่สู้รบและเสียสละเพื่อประเทศชาติมากล่าวถึง ทำให้หลาย ๆ คน ถึงกลับต้องกลับไปค้นคว้าประวัติศาสตร์กันเลยทีเดียว
นักแสดงเกือบทุกคนสามารถสื่ออารมณ์และแสดงสมจริงราวกับหลุดมาจากในหนังสือเลยก็ว่าได้
ณ เวลานี้ รางวัลอะไรก็ไม่สำคัญ นอกจากเห็นคนรุ่นหลังหันกลับไปสนใจประวัติศาสตร์ชาติไทยกันมากขึ้น
ทำไมบรรพบุรุษถึงร่ำสอนให้รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เพราะกว่าเราจะมีแผ่นดินอยู่ กว่าไทยจะเป็นไทจนถึงทุกวันนี้
บรรพบุรุษต้องอดทน เสียสละ แค่ไหน วันนี้หลาย ๆ คนได้รับรู้ แม้ไม่ทั้งหมด แต่ก็ยังดีบรรพบุรุษคงดีใจที่คนรุ่นหลังไม่ลืมบุญคุณ....