http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000120092
เอเอฟพี - ค่าใช้จ่ายในการจัดการปัญหานิวเคลียร์รั่วไหลที่ฟูกูชิมะเมื่อปี 2011 อาจพุ่งทะยานไปถึง 180,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6.4 ล้านล้านบาท) ซึ่งสะท้อนถึงภาระค่าใช้จ่ายมหาศาลที่รัฐบาลญี่ปุ่นต้องแบกรับเพื่อยุติวิกฤตนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ที่สุดของโลก ถัดจากเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิดเมื่อ 30 ปีก่อน
วันนี้ (1 ธ.ค.) สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคได้เผยแพร่ข้อมูลจากแหล่งข่าวในรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 20 ล้านล้านเยน หรือมากกว่านั้น ในการจัดการวิกฤตฟูกูชิมะ โดยตัวเลขนี้รวมเงินชดเชย ค่าปลดพนักงาน และค่าใช้จ่ายในการกำจัดรังสีปนเปื้อน
ตัวเลขที่เอ็นเอชเครายงานเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากที่เคยมีการประเมินกันไว้เพียง 11 ล้านล้านเยน เมื่อ 3 ปีก่อน
เจ้าหน้าที่กระทรวงเศรษฐกิจ พาณิชย์ และอุตสาหกรรมซึ่งกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์ ยังปฏิเสธที่จะยืนยันรายงานชิ้นนี้ แต่ยอมรับว่ารัฐบาลกำลังประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมดอยู่ ขณะที่ทีมผู้เชี่ยวชาญก็กำลังหารือว่าจะดึงบริษัท โตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ โค (TEPCO) ซึ่งเป็นผู้บริหารโรงไฟฟ้า และองค์กรอื่นๆ เข้ามาร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายได้อย่างไรบ้าง
“การหารือคงจะดำเนินไปจนถึงปีหน้า” เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวเผย
แผ่นดินไหวใต้ทะเลขนาด 9.0 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ปี 2011 ได้ก่อคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ซัดถล่มพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายไม่ต่ำกว่า 18,500 คน และยังทำให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 3 หน่วยที่โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะเกิดการหลอมละลาย
เหตุการณ์นี้ถือเป็นภัยพิบัติร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นในยุคหลังสงคราม และยังเป็นวิกฤตนิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุดของโลก ถัดจากเหตุโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลระเบิดเมื่อปี 1986
ค่าใช้จ่ายในการปิดโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะซึ่งทางเท็ปโกจะต้องรับผิดชอบเอง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าจากตัวเลข 8 ล้านล้านเยนที่เคยประเมินไว้เบื้องต้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการปลดพนักงานและเงินชดเชยอื่นๆ ก็คาดว่าจะพุ่งขึ้นอีกหลายล้านล้านเยนเช่นกัน เอ็นเอชเคระบุ
เท็ปโก ต้องแบกรับภารกิจสำคัญในการเคลื่อนย้ายแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วออกจากเตาปฏิกรณ์ที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดอาจใช้เวลาดำเนินการนานถึง 40 ปี
เท็ปโก ยังต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ชาวบ้านใกล้โรงไฟฟ้าที่ต้องละทิ้งบ้านเรือน โดยรัฐบาลจะช่วยอุดหนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนในการกำจัดรังสี และสร้างสถานที่กักเก็บซากปรักหักพังที่ปนเปื้อนรังสี
ญี่ปุ่นกระอัก! ค่าใช้จ่ายในการกำจัดรังสี “ฟูกูชิมะ” พุ่ง 2 เท่า แตะ 6.4 ล้านล้านบาท!
เอเอฟพี - ค่าใช้จ่ายในการจัดการปัญหานิวเคลียร์รั่วไหลที่ฟูกูชิมะเมื่อปี 2011 อาจพุ่งทะยานไปถึง 180,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6.4 ล้านล้านบาท) ซึ่งสะท้อนถึงภาระค่าใช้จ่ายมหาศาลที่รัฐบาลญี่ปุ่นต้องแบกรับเพื่อยุติวิกฤตนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ที่สุดของโลก ถัดจากเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิดเมื่อ 30 ปีก่อน
วันนี้ (1 ธ.ค.) สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคได้เผยแพร่ข้อมูลจากแหล่งข่าวในรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 20 ล้านล้านเยน หรือมากกว่านั้น ในการจัดการวิกฤตฟูกูชิมะ โดยตัวเลขนี้รวมเงินชดเชย ค่าปลดพนักงาน และค่าใช้จ่ายในการกำจัดรังสีปนเปื้อน
ตัวเลขที่เอ็นเอชเครายงานเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากที่เคยมีการประเมินกันไว้เพียง 11 ล้านล้านเยน เมื่อ 3 ปีก่อน
เจ้าหน้าที่กระทรวงเศรษฐกิจ พาณิชย์ และอุตสาหกรรมซึ่งกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์ ยังปฏิเสธที่จะยืนยันรายงานชิ้นนี้ แต่ยอมรับว่ารัฐบาลกำลังประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมดอยู่ ขณะที่ทีมผู้เชี่ยวชาญก็กำลังหารือว่าจะดึงบริษัท โตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ โค (TEPCO) ซึ่งเป็นผู้บริหารโรงไฟฟ้า และองค์กรอื่นๆ เข้ามาร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายได้อย่างไรบ้าง
“การหารือคงจะดำเนินไปจนถึงปีหน้า” เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวเผย
แผ่นดินไหวใต้ทะเลขนาด 9.0 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ปี 2011 ได้ก่อคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ซัดถล่มพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายไม่ต่ำกว่า 18,500 คน และยังทำให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 3 หน่วยที่โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะเกิดการหลอมละลาย
เหตุการณ์นี้ถือเป็นภัยพิบัติร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นในยุคหลังสงคราม และยังเป็นวิกฤตนิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุดของโลก ถัดจากเหตุโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลระเบิดเมื่อปี 1986
ค่าใช้จ่ายในการปิดโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะซึ่งทางเท็ปโกจะต้องรับผิดชอบเอง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าจากตัวเลข 8 ล้านล้านเยนที่เคยประเมินไว้เบื้องต้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการปลดพนักงานและเงินชดเชยอื่นๆ ก็คาดว่าจะพุ่งขึ้นอีกหลายล้านล้านเยนเช่นกัน เอ็นเอชเคระบุ
เท็ปโก ต้องแบกรับภารกิจสำคัญในการเคลื่อนย้ายแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วออกจากเตาปฏิกรณ์ที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดอาจใช้เวลาดำเนินการนานถึง 40 ปี
เท็ปโก ยังต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ชาวบ้านใกล้โรงไฟฟ้าที่ต้องละทิ้งบ้านเรือน โดยรัฐบาลจะช่วยอุดหนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนในการกำจัดรังสี และสร้างสถานที่กักเก็บซากปรักหักพังที่ปนเปื้อนรังสี