บทความจาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
โดย ทวิตตี้ Twitter @tistoo
“ป๊อปคัลเจอร์” หรือวัฒนธรรมสมัยนิยมมวลรวม ที่ด้านหนึ่งอาจไปสะกิดใจ “คนบางกลุ่ม” เล่นยั่วล้อกับกระแสวัฒนธรรมป๊อปๆ …
ข้างต้นที่ว่ามาทำให้เราอาจไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมในบางวัฒนธรรมจึงมีคนไม่ชอบการ์ตูน “โดเรมอน” การ์ตูนยอดฮิตระดับโลก
…ฟังดูระคนงงงวยเมื่อเรื่องราวของเจ้าหุ่นยนต์แมวไร้หูตัวป้อมสีฟ้ากลายเป็นวิวาทะขัดแย้งในกระแสป๊อปคัลเจอร์กับบางประเทศ
ด้วยข้อหา…การ์ตูนชุดเรื่องนี้กำลังจะสร้างพฤติกรรมเลียนแบบไม่ดีให้กับเยาวชน!!
ที่มาที่ไปของเรื่องนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่กรกฎาคมที่ผ่านมา เมื่อมีนักกิจกรรม-นักเคลื่อนไหวทางสังคม สายอนุรักษ์ที่ชื่อ Ashish Chaturvedi ยื่นหนังสือไปยังหลายองค์กรของอินเดียตั้งแต่รัฐบาลกลาง ไปจนถึงหน่วยงานด้านเซ็นเซอร์ รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ 2 แห่ง เรียกร้องให้หยุดฉายการ์ตูนโดเรมอนทางทีวี
โดยข้อเรียกร้องนี้ ยกตัวอย่างว่า ตัวละครหลักในเรื่อง “โนบิตะ” เด็กชายใส่แว่นที่โดเรมอนคอยช่วยเหลือ เป็นตัวอย่างของ “เด็กขี้เกียจ” และล้มเหลว ขาดแรงจูงใจในชีวิต!!
ชีวิตของโนบิตะ คือรอคอยความช่วยเหลือจากโดเรมอนแต่เพียงถ่ายเดียว
นักกิจกรรมด้านสังคมของอินเดียที่ค้านการ์ตูนเรื่องนี้ บอกว่า เยาวชนของอินเดียกำลังจะทำตามเด็กอย่างโนบิตะ นั่นคือไม่ยอมทำการบ้าน และพูดจากับพ่อแม่และครูไม่สุภาพ ไปจนถึงท่าทีของโนบิตะ ที่มีต่อเพื่อนหญิงร่วมห้องอย่างชิซูกะในเชิงชู้สาวมากเกิน…
นักกิจกรรมอินเดียรายนี้ กล่าวอ้างว่ามีผู้ปกครองยืนยันว่าลูกๆ มีพฤติกรรมแย่ลงหลังจากดูโดเรมอน
“เด็กๆ กำลังรับพลังลบจากการ์ตูนเรื่องนี้และมีผลอย่างน้อยสองเรื่องคือ หนึ่งเด็กๆ ไม่อยู่กับโลกความจริง แต่เข้าไปอยู่ในโลกแฟนตาซีมากไป และสอง แทนที่เด็กจะได้เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาที่ถูกต้อง กลับไปหวังพึ่งแก็ดเจ็ตในกระเป๋าวิเศษของโดเรมอน” ข้อกล่าวหาระบุ
ความดราม่าของเรื่องนี้ดำเนินมาถึงเดือนสิงหาคม ที่นักกิจกรรมรายนี้ยังเดินหน้าส่งจดหมายต่อไปยังนักการเมืองฝ่ายค้านในปากีสถาน ซึ่งก็รับลูกจะร่วมมือแบนการ์ตูนโดเรมอนเช่นกัน เพราะเห็นพ้องต้องกันว่า ดูโดเรมอนแล้วเด็กๆ ไม่รู้จักแก้ปัญหาด้วยตัวเอง!?!
ไปจนถึงเรื่องราวระหว่างโนบิตะและชิซูกะ เพื่อนร่วมชั้นเรียนที่ขัดต่อวัฒนธรรมแบบอินเดียและปากีสถาน
แต่หลักใหญ่ใจความโฟกัสไปที่ปัญหา “กระเป๋าวิเศษ” ที่มองกันว่าเป็นต้นตอของเรื่อง
อันที่จริง การ์ตูนชุดนี้ฉายในอินเดียและปากีสถานมาแล้วราว 10 ปี และเป็นที่นิยม ดังนั้น การแบนการ์ตูนชุดนี้จึงไม่ใช่เรื่องทำได้ง่ายๆ และย่อมถูกวิจารณ์และต่อต้านแน่นอน
สถานการณ์ตอนนี้ โดเรมอนจึงได้ฉายอยู่ แต่ก็มีคนรังเกียจการ์ตูนเรื่องนี้…
เป็นตัวอย่างในหลายวัฒนธรรม
เมื่อป๊อปคัลเจอร์ไม่ป๊อปสำหรับทุกคน
ข่าวจาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1480395446
"ป๊อปคัลเจอร์" ไม่ป๊อปสำหรับทุกคน กระแสแอนตี้ "โดเรมอน"ก็มีนะ !?!
บทความจาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
โดย ทวิตตี้ Twitter @tistoo
“ป๊อปคัลเจอร์” หรือวัฒนธรรมสมัยนิยมมวลรวม ที่ด้านหนึ่งอาจไปสะกิดใจ “คนบางกลุ่ม” เล่นยั่วล้อกับกระแสวัฒนธรรมป๊อปๆ …
ข้างต้นที่ว่ามาทำให้เราอาจไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมในบางวัฒนธรรมจึงมีคนไม่ชอบการ์ตูน “โดเรมอน” การ์ตูนยอดฮิตระดับโลก
…ฟังดูระคนงงงวยเมื่อเรื่องราวของเจ้าหุ่นยนต์แมวไร้หูตัวป้อมสีฟ้ากลายเป็นวิวาทะขัดแย้งในกระแสป๊อปคัลเจอร์กับบางประเทศ
ด้วยข้อหา…การ์ตูนชุดเรื่องนี้กำลังจะสร้างพฤติกรรมเลียนแบบไม่ดีให้กับเยาวชน!!
ที่มาที่ไปของเรื่องนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่กรกฎาคมที่ผ่านมา เมื่อมีนักกิจกรรม-นักเคลื่อนไหวทางสังคม สายอนุรักษ์ที่ชื่อ Ashish Chaturvedi ยื่นหนังสือไปยังหลายองค์กรของอินเดียตั้งแต่รัฐบาลกลาง ไปจนถึงหน่วยงานด้านเซ็นเซอร์ รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ 2 แห่ง เรียกร้องให้หยุดฉายการ์ตูนโดเรมอนทางทีวี
โดยข้อเรียกร้องนี้ ยกตัวอย่างว่า ตัวละครหลักในเรื่อง “โนบิตะ” เด็กชายใส่แว่นที่โดเรมอนคอยช่วยเหลือ เป็นตัวอย่างของ “เด็กขี้เกียจ” และล้มเหลว ขาดแรงจูงใจในชีวิต!!
ชีวิตของโนบิตะ คือรอคอยความช่วยเหลือจากโดเรมอนแต่เพียงถ่ายเดียว
นักกิจกรรมด้านสังคมของอินเดียที่ค้านการ์ตูนเรื่องนี้ บอกว่า เยาวชนของอินเดียกำลังจะทำตามเด็กอย่างโนบิตะ นั่นคือไม่ยอมทำการบ้าน และพูดจากับพ่อแม่และครูไม่สุภาพ ไปจนถึงท่าทีของโนบิตะ ที่มีต่อเพื่อนหญิงร่วมห้องอย่างชิซูกะในเชิงชู้สาวมากเกิน…
นักกิจกรรมอินเดียรายนี้ กล่าวอ้างว่ามีผู้ปกครองยืนยันว่าลูกๆ มีพฤติกรรมแย่ลงหลังจากดูโดเรมอน
“เด็กๆ กำลังรับพลังลบจากการ์ตูนเรื่องนี้และมีผลอย่างน้อยสองเรื่องคือ หนึ่งเด็กๆ ไม่อยู่กับโลกความจริง แต่เข้าไปอยู่ในโลกแฟนตาซีมากไป และสอง แทนที่เด็กจะได้เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาที่ถูกต้อง กลับไปหวังพึ่งแก็ดเจ็ตในกระเป๋าวิเศษของโดเรมอน” ข้อกล่าวหาระบุ
ความดราม่าของเรื่องนี้ดำเนินมาถึงเดือนสิงหาคม ที่นักกิจกรรมรายนี้ยังเดินหน้าส่งจดหมายต่อไปยังนักการเมืองฝ่ายค้านในปากีสถาน ซึ่งก็รับลูกจะร่วมมือแบนการ์ตูนโดเรมอนเช่นกัน เพราะเห็นพ้องต้องกันว่า ดูโดเรมอนแล้วเด็กๆ ไม่รู้จักแก้ปัญหาด้วยตัวเอง!?!
ไปจนถึงเรื่องราวระหว่างโนบิตะและชิซูกะ เพื่อนร่วมชั้นเรียนที่ขัดต่อวัฒนธรรมแบบอินเดียและปากีสถาน
แต่หลักใหญ่ใจความโฟกัสไปที่ปัญหา “กระเป๋าวิเศษ” ที่มองกันว่าเป็นต้นตอของเรื่อง
อันที่จริง การ์ตูนชุดนี้ฉายในอินเดียและปากีสถานมาแล้วราว 10 ปี และเป็นที่นิยม ดังนั้น การแบนการ์ตูนชุดนี้จึงไม่ใช่เรื่องทำได้ง่ายๆ และย่อมถูกวิจารณ์และต่อต้านแน่นอน
สถานการณ์ตอนนี้ โดเรมอนจึงได้ฉายอยู่ แต่ก็มีคนรังเกียจการ์ตูนเรื่องนี้…
เป็นตัวอย่างในหลายวัฒนธรรม
เมื่อป๊อปคัลเจอร์ไม่ป๊อปสำหรับทุกคน
ข่าวจาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1480395446