หลังจากที่ผมเคยตั้งกระทู้ "ตามหาเรือนพระอรรคกับคุณอุบล แห่งพิษสวาท ณ พระราชวังโบราณ" เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
http://ppantip.com/topic/35486938 และได้รับความสนใจและกำลังใจจากทุกคน ผมขอขอบคุณทุกคนมากนะครับ
แต่วันนี้เมื่อมี "สายโลหิต" เวอร์ชั่นช่อง ศรราม สุวนันท์ กลับมาฉายอีกรอบ ต่อม "อยุธยา" ของผมก็พลุ่งพล่านขึ้นมาอีกครั้ง
พยายามคิดอยู่ตลอดว่า เราจะตามรอย "สายโลหิต" ในครั้งนี้แบบไหนดี
แต่พอได้ดูละคร ตั้งแต่วันแรกๆ ที่ยายชดพาดาวเรือง "ชมตลาด" หรือขุนไกรพาดาวเรือง "เที่ยวรอบกรุง"
ก็มาทำให้คิดได้ว่า เออ แล้วปัจจุบัน "ย่านตลาด" พวกนั้น มันยังมีอยู่ในปัจจุบันหรือไม่
และ เรือนของดาวเรืองควรอยู่ตรงไหน เรือนขุนไกรควรอยู่บริเวณใด และเรือนหมื่นทิพควรตั้งตรงจุดใด (ถ้าทุกอย่างเป็นความจริง)
อย่างที่ผมบอกนะครับ "ผมไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ ผมไม่ใช่นักโบราณคดี" แต่ผมชอบประวัติศาสตร์ ชอบละคร
การตามรอยของผมจึงเป็นการตามรอยโดยใช้ "คำพูดจากละครสายโลหิต"
เป็นแกนหลักในการคิด เชื่อมโยง และจินตนาการ บนพื้นฐานของคำว่า "น่าจะ" "ควรจะ" "คาดว่า" (ในความคิดของผม) ครับ
และสันนิษฐานให้ใกล้เคียงกับประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และข้อมูลทางโบราณทางโบราณคดี ให้มากที่สุด
หากผิดพลาดประการใด ก็ให้เป็นการชี้แนะ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันนะครับ ขอบพระคุณมากนะครับ
การตามรอยครั้งนี้ จึงออกจะยากสักหน่อย เพราะไม่มีคำพูดใดในละคร ระบุอย่างชัดเจนว่า เรือนของใครอยู่ตรงไหน
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาจากแผนที่เก่า ควบคู่ไปกับแผนที่ปัจจุบัน เอกสารอ้างอิงมากมาย ในการตามรอยครั้งนี้
ซึ่งการตามรอยครั้งนี้ ผมต้องขอขอบคุณ แผนที่โบราณที่อ.วรนัย ทำไว้ใน Blog ของอาจารย์นะครับ
http://oknation.nationtv.tv/blog/voranai เพราะถ้าไม่ได้แผนที่ฉบับนี้และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ "ตลาด" โบราณอยุธยา
ผมคงไม่สามารถไม่ตามรอยสายโลหิตในครั้งนี้ได้ครับ
ซึ่งจากแผนที่ จะเห็นว่า ตลาดภายในกำแพงพระนคร ตั้งอยู่ภายในแนวกำแพงพระนคร จากหลักฐานคำให้การขุนหลวงวัดประดู่
บันทึกไว้ว่า “ในกำแพงพระนครนั้น มีตลาดหกสิบเอดตลาด ” ตลาดเหล่านี้มักเรียกตาม "ย่าน" ที่อยู่เรียกว่า "ป่า"
ซึ่งได้ชื่อตามประเภทสินค้าที่ขาย เช่นตลาดป่าตะกั่ว อยู่ย่านป่าตะกั่ว ขายเครื่องตะกั่ว ตลาดป่าขนม อยู่ย่านป่าขนม ขายขนม
ผมไม่เคยนึกมาก่อน ว่าอยุธยาจะมีตลาดเยอะขนาดนี้ ความสนุกของผมจึงเริ่มขึ้น คว้ากล้อง ขับรถไปอยุธยาทันที
พร้อมกับนำแผนที่อยุธยาฉบับปัจจุบันไปเที่ยบด้วย
จากฉากแรกๆ ของสายโลหิตที่ยายชดพาคุณหนุดาวเรือง "ชมตลาด"
คุณหนูดาวเรือง นางก็ร่ำๆที่จะไปซิ้อกำไลที่ "สะพานชีกุน"
สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยามีคลองเป็นจำนวนมาก ถนนที่ต้องตัดผ่านคลองต้องทำสะพานข้าม
ถ้าเป็นสายใหญ่สะพานข้ามคลองจะเป็นสถานอิฐหรือหิน ในย่านตลาดชีกุน
ซึ่งเป็นย่านการค้า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า “ตลาดเสาชิงช้าชีกุน” มีพวกแขกนั่งร้านขายกำไลมือ
กำไลเท้า ปิ่นปักผม แหวนหัวมะกล่ำ แหวนหัวแก้ว ลูกปัด เครื่องประดับประดา
สะพานชีกุนตั้งอยู่ในเขตตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปัจจุบันเหลือซาก อยู่ตรงสี่แยกถนนชีกุน ตรงโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยครับ
วันต่อมายายชดกับตาทัพก็พาคุณดาวเรืองไป "ชมตลาด"อีกครั้ง
คราวนี้ชมตลาดเสียจนเหนื่อยแทนคุณหนูดาวเรือง
ไม่ว่าจะเป็น ป่าตอง ป่าโทน ป่าขนม ป่าฝูก ป่ายา ป่าผ้าเขียว ตลาดหน้าคุก ป่ามะพร้าว
หากเทียบกับแผนที่จุดสีชึมพูซึ่งเป็นจุดแต่ละตลาดแล้ว ไกลกันพอสมควร
ฉากนี้ยายชดมาพาดาวเรืองมาดูความครึกครึ้นของตลาด เริ่มตลาด "ป่าตอง"
ปัจจุบัน "ชุมชนป่าตอง" ยังมีอยู่นะครับ อยู่แถวปลายถนนศรีสรรเพชญ์ ข้างโรงพยาบาลอยุธยาครับ
ซึ่งบริเวณ "ชุมชนป่าตอง" ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอยุธยาปัจจุบัน
มีวัดที่สำคัญคือ วัดบรมพุทธาราม ซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระเพทราชากษัตริย์อยุธยาองค์ที่ 28 แห่งราชวงค์บ้านพลูหลวง
โปรดให้สร้างขึ้นในบริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถาน(บ้าน)เดิม
วัดนี้เคยเป็นพระอารามหลวงครั้งกรุงศรีอยุธยา และพระอุโบสถ วิหารการเปรียญ
มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบแปลกประหลาดกว่าวัดอื่น จึงเรียกกันเป็นสามัญว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ”
ซึ่งถ้าหากหันหน้าเข้าซากพระอุโบสถ ไปทางซ้ายเราจะเห็นซากสะพานอิฐ และคูน้ำเล็กๆ
แต่ไม่มีสิ่งใดระบุว่าชื่อสะพานอะไร เมื่อมองออกไปที่อีกฝั่งน้ำเห็นซากโบราณสถานใกล้กัน
จึงเดินไปดูด้วยความสงสัย จึงพบว่า เป็น "วัดสิงหาราม"
วัดสิงหารามนี้ไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกติดกับคลองฉะไกรน้อย ตรงข้ามกับวัดบรมพุทธาราม
ถ้ามองไปเห็นวัดบรมพุทธารามอยู่ฝั่งตรงกันข้าม และทำให้ผมรู้แล้วว่า
คูน้ำเล็กๆนี้ เมื่อก่อนเป็นคลองชื่อ "คลองฉะไกรน้อย" ครับ
ต่อมายายชดพาคุณหนูดาวเรืองไปป่ามะพร้าว ซึ่งขายมะพร้าวห้าวปลอกเปลือก มะพร้าวอ่อน มะพร้าวเผา
แต่ปัจจุบัน เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สุวรรณภูมิ (ศูนย์วาสุกรี) ครับ
ต่อมาเป็น "ป่าโทน" อยู่ถนนย่านป่าโทน มีร้านขายทับ โทน เรไร ปี่แก้ว จ้องหน่อง เพลี้ย
ขลุ่ย หีบไม้อุโลก ไม้ตะแบก ไม้ขนุนใส่ผ้า และขายช้างม้ากระดาษ อู่ เปล ศาลพระภูมิ
เจว็ดเขียนเทวรูป เสื่อลำแพน ปลาตะเพียนใบลาน จิงโจ้
ปัจจุบัน เป็นถนนและที่อยู่อาศัยครับ
ต่อมายายชด ก็คุณหนูดาวเรืองไป "ตลาดตะแลงแกง" หรือ "ตลาดหน้าคุก" อยู่ย่านตะแลงแกง มีร้านขายของสดเช้า – เย็น
ปัจจุบัน น่าจะอยู่บริเวณสี่แยกตะแลงแกงจุดจัดระหว่างถนนศรีสรรเพชญ์และถนนป่าโทน
ในสมัยอยุธยานักโทษจะถูกนำไปประหารชีวิตที่สี่แยก “ตะแลงแกง” ภายหลังจึงใช้เรียกที่สำหรับประหารนักโทษว่า “ ตะแลงแกง ”
ตรงบริเวณนั้นก็จะมีศาลหลักเมือง และศาลพระกาฬ ครับ
ในสมัยอยุธยา เคยเป็นจุดที่มีผู้คนอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น มีตลาดขายของชำและของสดทั้งเช้า-เย็น
ได้แก่ ตลาดหน้าคุก ตลาดหน้าศาลพระกาฬ ด้วยเหตุนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงมักใช้บริเวณนี้เป็นที่ประหารชีวิตและเสียบหัวนักโทษประจาน
ในคดีล้มล้างราชบัลลังก์ เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้ที่คิดจะทำการใหญ่ ต่อไป
ต่อมาคือ "ป่าถ่าน" ขายผลไม้ต่าง ๆ เช่น ส้ม กล้วย ของสวนในและสวนต่าง ๆ เป็นสะพานอิฐสร้างไว้สำหรับข้ามคลองประตูข้าวเปลือก
ต่อมายายชดก็พาคุณหนูดาวเรืองไปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นป่าช่างเงิน ป่าผ้าเขียว ป่าทอง ป่าพัด ป่าฝูก ป่าถ่าน
ปัจจุบัน จากการค้นหาด้วย wigipedia ของกรมศิลปากร
แหล่งโบราณสถานที่ถูกระบุว่า คือ ป่าช่างเงิน ป่าผ้าเขียว อยู่บริเวณเดียวกับที่ตั้ง วัดหลวง ครับ
ทั้งหมดรวมอยู่ตรงบริเวณที่อยู่ด้านข้างฝั่งขวามือศาลากลางหลังเก่า (ถ้าหันหน้าเข้าศูนย์ท่องเที่ยว) ปัจจุบันเป็นศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวครับ
แหล่งโบราณสถานย่านป่าทอง ป่าพัด ป่าฝูก ปัจจุบันอยู่บริเวณเดียวกับ โรงเรียนจิระศาสตร์ ครับ
มีต่อภาค "ขุนไกรพาดาวเรืองชมกรุง" นะครับ
ตามรอยสายโลหิต...ชมตลาด ตามหาเรือนดาวเรือง เรือนขุนไกร เรือนหมื่นทิพ
http://ppantip.com/topic/35486938 และได้รับความสนใจและกำลังใจจากทุกคน ผมขอขอบคุณทุกคนมากนะครับ
แต่วันนี้เมื่อมี "สายโลหิต" เวอร์ชั่นช่อง ศรราม สุวนันท์ กลับมาฉายอีกรอบ ต่อม "อยุธยา" ของผมก็พลุ่งพล่านขึ้นมาอีกครั้ง
พยายามคิดอยู่ตลอดว่า เราจะตามรอย "สายโลหิต" ในครั้งนี้แบบไหนดี
แต่พอได้ดูละคร ตั้งแต่วันแรกๆ ที่ยายชดพาดาวเรือง "ชมตลาด" หรือขุนไกรพาดาวเรือง "เที่ยวรอบกรุง"
ก็มาทำให้คิดได้ว่า เออ แล้วปัจจุบัน "ย่านตลาด" พวกนั้น มันยังมีอยู่ในปัจจุบันหรือไม่
และ เรือนของดาวเรืองควรอยู่ตรงไหน เรือนขุนไกรควรอยู่บริเวณใด และเรือนหมื่นทิพควรตั้งตรงจุดใด (ถ้าทุกอย่างเป็นความจริง)
อย่างที่ผมบอกนะครับ "ผมไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ ผมไม่ใช่นักโบราณคดี" แต่ผมชอบประวัติศาสตร์ ชอบละคร
การตามรอยของผมจึงเป็นการตามรอยโดยใช้ "คำพูดจากละครสายโลหิต"
เป็นแกนหลักในการคิด เชื่อมโยง และจินตนาการ บนพื้นฐานของคำว่า "น่าจะ" "ควรจะ" "คาดว่า" (ในความคิดของผม) ครับ
และสันนิษฐานให้ใกล้เคียงกับประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และข้อมูลทางโบราณทางโบราณคดี ให้มากที่สุด
หากผิดพลาดประการใด ก็ให้เป็นการชี้แนะ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันนะครับ ขอบพระคุณมากนะครับ
การตามรอยครั้งนี้ จึงออกจะยากสักหน่อย เพราะไม่มีคำพูดใดในละคร ระบุอย่างชัดเจนว่า เรือนของใครอยู่ตรงไหน
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาจากแผนที่เก่า ควบคู่ไปกับแผนที่ปัจจุบัน เอกสารอ้างอิงมากมาย ในการตามรอยครั้งนี้
ซึ่งการตามรอยครั้งนี้ ผมต้องขอขอบคุณ แผนที่โบราณที่อ.วรนัย ทำไว้ใน Blog ของอาจารย์นะครับ
http://oknation.nationtv.tv/blog/voranai เพราะถ้าไม่ได้แผนที่ฉบับนี้และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ "ตลาด" โบราณอยุธยา
ผมคงไม่สามารถไม่ตามรอยสายโลหิตในครั้งนี้ได้ครับ
ซึ่งจากแผนที่ จะเห็นว่า ตลาดภายในกำแพงพระนคร ตั้งอยู่ภายในแนวกำแพงพระนคร จากหลักฐานคำให้การขุนหลวงวัดประดู่
บันทึกไว้ว่า “ในกำแพงพระนครนั้น มีตลาดหกสิบเอดตลาด ” ตลาดเหล่านี้มักเรียกตาม "ย่าน" ที่อยู่เรียกว่า "ป่า"
ซึ่งได้ชื่อตามประเภทสินค้าที่ขาย เช่นตลาดป่าตะกั่ว อยู่ย่านป่าตะกั่ว ขายเครื่องตะกั่ว ตลาดป่าขนม อยู่ย่านป่าขนม ขายขนม
ผมไม่เคยนึกมาก่อน ว่าอยุธยาจะมีตลาดเยอะขนาดนี้ ความสนุกของผมจึงเริ่มขึ้น คว้ากล้อง ขับรถไปอยุธยาทันที
พร้อมกับนำแผนที่อยุธยาฉบับปัจจุบันไปเที่ยบด้วย
จากฉากแรกๆ ของสายโลหิตที่ยายชดพาคุณหนุดาวเรือง "ชมตลาด"
คุณหนูดาวเรือง นางก็ร่ำๆที่จะไปซิ้อกำไลที่ "สะพานชีกุน"
สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยามีคลองเป็นจำนวนมาก ถนนที่ต้องตัดผ่านคลองต้องทำสะพานข้าม
ถ้าเป็นสายใหญ่สะพานข้ามคลองจะเป็นสถานอิฐหรือหิน ในย่านตลาดชีกุน
ซึ่งเป็นย่านการค้า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า “ตลาดเสาชิงช้าชีกุน” มีพวกแขกนั่งร้านขายกำไลมือ
กำไลเท้า ปิ่นปักผม แหวนหัวมะกล่ำ แหวนหัวแก้ว ลูกปัด เครื่องประดับประดา
สะพานชีกุนตั้งอยู่ในเขตตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปัจจุบันเหลือซาก อยู่ตรงสี่แยกถนนชีกุน ตรงโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยครับ
วันต่อมายายชดกับตาทัพก็พาคุณดาวเรืองไป "ชมตลาด"อีกครั้ง
คราวนี้ชมตลาดเสียจนเหนื่อยแทนคุณหนูดาวเรือง
ไม่ว่าจะเป็น ป่าตอง ป่าโทน ป่าขนม ป่าฝูก ป่ายา ป่าผ้าเขียว ตลาดหน้าคุก ป่ามะพร้าว
หากเทียบกับแผนที่จุดสีชึมพูซึ่งเป็นจุดแต่ละตลาดแล้ว ไกลกันพอสมควร
ฉากนี้ยายชดมาพาดาวเรืองมาดูความครึกครึ้นของตลาด เริ่มตลาด "ป่าตอง"
ปัจจุบัน "ชุมชนป่าตอง" ยังมีอยู่นะครับ อยู่แถวปลายถนนศรีสรรเพชญ์ ข้างโรงพยาบาลอยุธยาครับ
ซึ่งบริเวณ "ชุมชนป่าตอง" ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอยุธยาปัจจุบัน
มีวัดที่สำคัญคือ วัดบรมพุทธาราม ซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระเพทราชากษัตริย์อยุธยาองค์ที่ 28 แห่งราชวงค์บ้านพลูหลวง
โปรดให้สร้างขึ้นในบริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถาน(บ้าน)เดิม
วัดนี้เคยเป็นพระอารามหลวงครั้งกรุงศรีอยุธยา และพระอุโบสถ วิหารการเปรียญ
มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบแปลกประหลาดกว่าวัดอื่น จึงเรียกกันเป็นสามัญว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ”
ซึ่งถ้าหากหันหน้าเข้าซากพระอุโบสถ ไปทางซ้ายเราจะเห็นซากสะพานอิฐ และคูน้ำเล็กๆ
แต่ไม่มีสิ่งใดระบุว่าชื่อสะพานอะไร เมื่อมองออกไปที่อีกฝั่งน้ำเห็นซากโบราณสถานใกล้กัน
จึงเดินไปดูด้วยความสงสัย จึงพบว่า เป็น "วัดสิงหาราม"
วัดสิงหารามนี้ไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกติดกับคลองฉะไกรน้อย ตรงข้ามกับวัดบรมพุทธาราม
ถ้ามองไปเห็นวัดบรมพุทธารามอยู่ฝั่งตรงกันข้าม และทำให้ผมรู้แล้วว่า
คูน้ำเล็กๆนี้ เมื่อก่อนเป็นคลองชื่อ "คลองฉะไกรน้อย" ครับ
ต่อมายายชดพาคุณหนูดาวเรืองไปป่ามะพร้าว ซึ่งขายมะพร้าวห้าวปลอกเปลือก มะพร้าวอ่อน มะพร้าวเผา
แต่ปัจจุบัน เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สุวรรณภูมิ (ศูนย์วาสุกรี) ครับ
ต่อมาเป็น "ป่าโทน" อยู่ถนนย่านป่าโทน มีร้านขายทับ โทน เรไร ปี่แก้ว จ้องหน่อง เพลี้ย
ขลุ่ย หีบไม้อุโลก ไม้ตะแบก ไม้ขนุนใส่ผ้า และขายช้างม้ากระดาษ อู่ เปล ศาลพระภูมิ
เจว็ดเขียนเทวรูป เสื่อลำแพน ปลาตะเพียนใบลาน จิงโจ้
ปัจจุบัน เป็นถนนและที่อยู่อาศัยครับ
ต่อมายายชด ก็คุณหนูดาวเรืองไป "ตลาดตะแลงแกง" หรือ "ตลาดหน้าคุก" อยู่ย่านตะแลงแกง มีร้านขายของสดเช้า – เย็น
ปัจจุบัน น่าจะอยู่บริเวณสี่แยกตะแลงแกงจุดจัดระหว่างถนนศรีสรรเพชญ์และถนนป่าโทน
ในสมัยอยุธยานักโทษจะถูกนำไปประหารชีวิตที่สี่แยก “ตะแลงแกง” ภายหลังจึงใช้เรียกที่สำหรับประหารนักโทษว่า “ ตะแลงแกง ”
ตรงบริเวณนั้นก็จะมีศาลหลักเมือง และศาลพระกาฬ ครับ
ในสมัยอยุธยา เคยเป็นจุดที่มีผู้คนอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น มีตลาดขายของชำและของสดทั้งเช้า-เย็น
ได้แก่ ตลาดหน้าคุก ตลาดหน้าศาลพระกาฬ ด้วยเหตุนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงมักใช้บริเวณนี้เป็นที่ประหารชีวิตและเสียบหัวนักโทษประจาน
ในคดีล้มล้างราชบัลลังก์ เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้ที่คิดจะทำการใหญ่ ต่อไป
ต่อมาคือ "ป่าถ่าน" ขายผลไม้ต่าง ๆ เช่น ส้ม กล้วย ของสวนในและสวนต่าง ๆ เป็นสะพานอิฐสร้างไว้สำหรับข้ามคลองประตูข้าวเปลือก
ต่อมายายชดก็พาคุณหนูดาวเรืองไปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นป่าช่างเงิน ป่าผ้าเขียว ป่าทอง ป่าพัด ป่าฝูก ป่าถ่าน
ปัจจุบัน จากการค้นหาด้วย wigipedia ของกรมศิลปากร
แหล่งโบราณสถานที่ถูกระบุว่า คือ ป่าช่างเงิน ป่าผ้าเขียว อยู่บริเวณเดียวกับที่ตั้ง วัดหลวง ครับ
ทั้งหมดรวมอยู่ตรงบริเวณที่อยู่ด้านข้างฝั่งขวามือศาลากลางหลังเก่า (ถ้าหันหน้าเข้าศูนย์ท่องเที่ยว) ปัจจุบันเป็นศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวครับ
แหล่งโบราณสถานย่านป่าทอง ป่าพัด ป่าฝูก ปัจจุบันอยู่บริเวณเดียวกับ โรงเรียนจิระศาสตร์ ครับ
มีต่อภาค "ขุนไกรพาดาวเรืองชมกรุง" นะครับ