ผลงานผมผ่านการพิจารณาจากโครงการจัดพิมพ์ของประเทศอังกฤษและประเทศเดนมาร์คแล้วครับ

เช้านี้กะว่าจะมาเขียนนิยายต่อ แต่พอเช็คเมล์แล้ว ก็ตกใจเพราะผลงานที่เคยนำไปเสนอ ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อประมาณ 2 ปีก่อน เขาส่งเมล์มาบอกว่าได้รับพิจารณาตีพิมพ์แล้วครับ แต่ก็ส่งมาให้แก้ไขแล้วให้ส่งกลับไปภายใน 8-10 วัน มันเป็นบทความภาษาอังกฤษ ความยาว 12 หน้าครับ จะได้ตีพิมพ์ร่วมกับนักวิชาการอีก 15-20 ประเทศที่คัดมาจากทั่วโลกครับ

ต้องย้อนกลับไปประมาณสองปีที่แล้ว เครือข่ายนักวิชาการของอังกฤษและเดนมาร์คประสงค์อยากตีพิมพ์บทความของแต่ละชาติ ซึ่งเป็นบทความที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรม การเมือง และวิถีชีวิตของแต่ละชาติ อาจแสดงออกถึงปัญหาที่ได้รับการแก้ไขหรือวิธีคิดที่โดดเด่น เงื่อนไขสำคัญคือขอให้เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต วรรณกรรม (นิยาย) ภาพยนตร์ หรือเรื่องราวที่ใช้สื่อใดๆก็ตามที่แสดงถึงการแสดงออกทางวัฒนธรรมและการเมืองของคนในชาติ

ประกอบกับช่วงนั้นผมมีโครงการหนึ่งที่อยากทำอยู่แล้ว ซึ่งมันออกจะแปลกๆหน่อย คือคิดว่าหนังเรื่องแม่นาคในแต่ละเวอร์ชั่นได้สะท้อนถึงวัฒนธรรม การเมือง และสังคมของเราได้เป็นอย่างดีโดยที่ผู้สร้างไม่ได้ตั้งใจให้มันออกมาเป็นอย่างนั้น แต่มันออกมาเองและประชาชนก็สามารถรับสารดังกล่าวได้โดยที่พวกเขาก็ไม่รู้ตัวเหมือนกัน

ผมเลยดำเนินการขั้นแรกโดยการดูหนังที่เกี่ยวกับแม่นาคพระโขนงจำนวน 25 เรื่องดังนี้ครับ

1.    Nang Nak Phra Khanong (1936)
2.    Luk Nang Nak Phra Khanong [The Child of Mrs. Nak](1950)
3.    Nang Nak Phra Khanong (1952)
4.    Nang Nak Phra Khanong (1955)
5.    Mae Nak Phra Nakhon (1959)
6.    Mae Nak Khuen Chip [Mae Nak’s Resurrection](1960)
7.    Winyan Rak Mae Nak Phra Khanong [The Love Spirit of Mae Nag ] (1962)
8.    Mae Nak Khanong Rak [Mae Nak ‘s Furious Love] (1968)
9.    Mae Nak Phra Nakhon [Mae Nak of the Town] (1970)
10.    Mae Nak Phra Khanong (1973)
11.    Mae Nak Alawat [Mae Nak the Destructive ] (1973)
12.    Mae Nak Amerika [Mae Nak of USA] (1975)
13.    Mae Nak Buk Tokiao [Mae Nak raiding Tokyo] (1976)
14.    Mae Nak Phra Khanong (1978)
15.    Mae Nak Pak Pisdan [Strange Version of Mae Nak] (1985)
16.    Mae Nak Samsip [Mae Nak of 1987] (1987)
17.    Mae Nak Khuen Chip [Mae Nak’s Resurrection](1990)
18.    Mae Nak Jer Peepop [Mae Nak Meets Vampire](1992)
19.    Mae Nak Phra Khanong (1994)
20.    Nang Nak (1999)
21.    Mae Nak Raktae /Winyan / Khaumtai [Ghost of Mae Nak] (2005)
22.    Nak (animation) (2008)
23.    Mae Nak 3D (2012)
24.    Pee Mak…Phra Khanong [Pee Mak] (2013)
25.    Mo 6/5 Pakmah Tha Mae Nak 3D (2014)

ก็พบนัยยะตามที่มีสมมติฐานไว้นะครับ  ก็เลยเริ่มเขียนบทความเพื่อนำไปเสนอ โดยจะเน้นเจาะลึกเป็นพิเศษ 4 เรื่องครับคือ

1.    Mae Nak Phra Khanong (1959)  - ความคิด ความรู้สึกหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
2.    Mae Nak Phra Khanong (1978)  - ความคิด ความรู้สึกหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม
3.    Nang Nak (1999) - ความคิด ความรู้สึกหลังเหคุการณ์พฤษภาทมิฬ
4.    Pee Mak (2013) - ความคิด ความรู้สึกเกี่ยวกับการแบ่งเป็นเสื้อเหลืองและเสื้อแดง

แล้วก็ประมวลทุกอย่างจนกลายเป็นบทความความยาว 12 หน้าที่ใช้ชื่อว่า Political and Cultural Reflections through Thai Films: the Case of Mae Nak Phra Khanong Movies แล้วก็เดินทางไปนำเสนอ ณ ประเทศอังกฤษด้วยตัวเอง (แต่สำนักงานที่จะจัดพิมพ์ตั้งอยู่ที่เดนมาร์คครับ)

เวลาผ่านมาเกือบ 2 ปี ทุกอย่างเงียบมาก เลยคิดว่าคงตกรอบไปแล้ว ผมก็ถอดใจไปแล้วเช่นเดียวกันครับ ก็หันมาเขียนนิยายลงพันทิปอย่างเดียวเลย สามเรื่องเข้าไปแล้ว 555 (นิวตรอน : โลกที่ไม่มีอยู่กับศัตรูที่ไม่มีเงา , ร้อนเร่าเร้าอารมณ์ และผู้พันซาดิสม์)

เช้านี้ พอได้รับเมล์แล้วตกใจมากครับ ไม่นึกว่ายังเข้ารอบอยู่ เขาส่งมาพร้อมกับส่งคำวิจารณ์ให้เราแก้ไขด้วยครับ สองหน้ากระดาษเต็มๆเลย คำวิจารณ์ก็จะมีประมาณว่า

1. The article is very simple but having more value for the Thai People.
2. It reflects social, cultural and political situation of the society.
3. It is mirror like article for Thai people.
4. Movie is the best form to communicate with the society .
5. The article has been written in a systematic Way. The writer has analyzed the movies of the beginning to present time on the basis of its value.
6. The theme of article is relevant. As I mentioned above, it reflects the social, cultural and political aspects of society.
7. Psycho-analytical interpretation is possible in this context.
8. The writer has misquoted the name of the Shakespearian drama as ‘ Romeo and Juliet’ while proper comparison should  have been done with ‘Hamlet’.

คัดมาประมาณนี้ก่อนนะครับ เพิ่งแสดงความยินดีกับน้องเป่าชางได้ไม่นาน ก็มาตื่นเต้นกับการผ่านการพิจารณาผลงานของตัวเองครับ

อุปสรรคคืออาทิตย์หน้าดันรับงานไว้เยอะด้วย เหอๆ คงต้องต่อรองกันวุ่นวายไปหมด แต่คิดว่าจะแก้ไขและส่งให้ทันภายในศุกร์หน้าอ่ะครับ

แหะๆ งั้นส่งข่าวแค่นี้ก่อนนะครับ

ขอบคุณมากครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่