ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมเสียงเพลง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม....มีแต่เสียง...23/11/2016.../sao..เหลือ..noi

กระทู้คำถาม


กระทู้นี้ เป็นมุมพักผ่อน มุมนี้ไม่มีสี  ไม่มีกลุ่ม....แต่มีเสียง.........
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ


1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกัน
    แล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม




คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
https://www.youtube.com/watch?v=m66PQxydbRk

กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป
ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน  ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพส
สิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลง
จึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น

สุขสันต์เย็นวันพุธ....นะคะ ....  สวัสดีเพื่อนๆ  ห้องเพลง
พลุโอ่งพลุโอ่งพลุโอ่ง พี่สาวเหลือน้อยรับหน้าที่  MC ค่ะพลุโอ่งพลุโอ่งพลุโอ่ง


วันนี้เข้าหน้าหนาวแล่ว  สื่อรายงานว่า 2 วันก่อนเกิดปรากฎารณ์เหมยขาบ  หรือ แม่คะนิ้ง ที่ดอยอินทนนท์
เป็นครั้งแรก   วันนี้  พี่สาวเลย เอารูป  เหมยขาบ  ..แม่คะนิ้ง มาให้ดูกัน  ....  บ้านเรา เป็นเมืองร้อน   เห็นได้
แค่แม่คะนิ้ง ค่ะ   ไม่หนาวพอให้เกิด  หิมะ  .... แม่คะนิ้ง   เกิดได้อย่างไร  มารู้จักกัน หน่อยอมยิ้ม36

น้ำค้างแข็ง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำค้างแข็ง แม่คะนิ้งหรือเหมยขาบเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นซึ้งสามารถพบได้ในที่อากาศหนาวจัด
น้ำค้างจะแข็งตัวอยู่บนยอดหญ้ากลายเป็นเกล็ดน้ำแข็งมีสีขาวเกล็ดหิมะหรือเรียกว่า น้ำค้างแข็ง โดยมีจุดแรก
เริ่มมาจากน้ำค้าง
ลักษณะทั่วไป จะเป็นเกล็ดน้ำแข็งสีขาว จะจับตัวอยู่บนยอดหญ้า ใบไม้ หรือวัตุถุต่างๆที่อยู่บนพื้นดิน กระบวนการ
การเกิดปรากฏกฎการณ์นี้จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ -การเกิดน้ำค้างแข็งโดยตรง จะเกิดในช่วงที่อุณหภูมิของอากาศ
ใกล้ผิวโลกลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง -การเกิดน้ำค้างแข็งโดยอ้อม จะเกิดเมื่ออุณหภูมิของอากาศลดต่ำลงโดยมีปริมาณ
ความชื้นใกล้พื้นดินสูง
“แม่คะนิ้ง-เหมยขาบ”...ปรากฏการณ์น้ำค้างแข็งที่มาพร้อมความหนาว(มาก)


ปรากฏการณ์น้ำค้างแข็งแรกแห่งปีบนดอยอินทนนท์(21 พ.ย.59)      
       ประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่มีหิมะตก เนื่องด้วยความหนาวเย็นยังไม่ถึงระดับและสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย
      
       แต่กระนั้นเมืองไทยในสถานที่ที่หนาวเย็น ในเช้าวันที่หนาวเย็นมากๆ(สำหรับบ้านเรา) ก็จะมีปรากฏการณ์
“น้ำค้างแข็ง” ที่สามารถสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้พบเห็นได้ไม่น้อย



ปรากฏการณ์น้ำค้างแข็งแรกแห่งปีบนดอยอินทนนท์(21 พ.ย.59)
       ปรากฏการณ์น้ำค้างแข็ง หรือ “แม่คะนิ้ง”ในภาษาอีสาน หรือ“เหมยขาบ”ในภาษาพื้นเมืองเหนือ เกิดจากไอน้ำใน
อากาศที่ใกล้ๆกับพื้นผิวดินลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดน้ำค้าง จากนั้นก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ โดยอุณหภูมิยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
ไปจนถึงจุดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง น้ำค้างก็จะเกิดการแข็งตัวกลายเป็นน้ำค้างแข็ง เกาะอวดโฉมตามยอดไม้ใบหญ้า
      
       ทั้งนี้การเกิดแม่คะนิ้ง ไม่ใช่พอหนาวแล้วก็จะเกิดกันได้ง่ายๆ แต่แม่คะนิ้งจะเกิดก็ต่อเมื่อมีอากาศหนาวจัดจนน้ำค้างยอดหญ้า
หรือยอดไม้แข็งตัว ในอุณหภูมิประมาณศูนย์องศาเซลเซียสหรือติดลบเล็กน้อย

ปรากฏการณ์น้ำค้างแข็งบนดอยอินทนนท์ปี 57
        อนึ่งการเกิดแม่คะนิ้งนี้ มันอาจจะน่าสนใจสำหรับใครหลายๆคน เพราะว่ามันช่างแสดงถึงความหนาวเย็น เป็นเกล็ด ดูน่ามอง
แต่ว่าจริงๆแล้ว การเกิดแม่คะนิ้งถือว่าสร้างความเสียหายให้แก่ พืชผักต่างๆเป็นจำนวนมาก โดยจะทำให้ข้าวที่กำลังออกรวงมีเมล็ดลีบ
ส่วนพืชไร่ก็จะชะงักการเจริญเติบโต พืชผักก็จะมีใบหงิกงอ ไหม้เกรียม ส่วน ผลไม้อย่างกล้วย ทุเรียน มะพร้าวก็จะมีใบแห้ง และร่วง
ลงในที่สุด ซึ่งหากแม่คะนิ้งเกิดติดต่อกันยาวนาน ถือว่าชาวนา ชาวไร่ ชาวสวนเดือดร้อนแน่นอน

ปรากฏการณ์น้ำค้างแข็งบนภูกระดึง ปี 57
          ในเมืองไทยปีไหนที่หนาวมากๆ ก็สามารถลุยความหนาวขึ้นไปดูได้ตามยอดดอยในภาคเหนือ และภาคอีสาน เนื่องจาก
เป็นที่ที่มีอากาศเย็นจัด โดยที่มีคนเห็นกันบ่อยๆก็อย่างเช่น ดอยอินทนนท์ ดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่ ภูเรือ จ.เลย ภูหินร่องกล้า
จ.พิษณุโลก เป็นต้น

เข้าหน้าหนาวแล้ว ห้องเพลงก็เปิดตอนค่ำๆ  ฟังเพลงตามฤดูกาลกันนะคะอมยิ้ม21

ค่ำแล้วในฤดูหนาว แจ้
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
https://www.youtube.com/watch?v=LpppuRiKKy0
เพราะนะ  .....  ฟังแล้ว  ฟิน
สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่