สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 32
เอาเท่าที่พอวิเคราะห์ได้นะครับ
1. สาขาที่จบ คือ สาขาจัดการ เป็นสาขาที่มีข้อด้อยคือ
1.1 เป็นสาขาที่ไม่เด่นสักอย่าง คือ ไม่ตัวเลขจ๋าเหมือนบัญชี การเงิน และ ไม่ครีเอทีฟจ๋าเหมือนการตลาด เวลาบริษัทจะเลือก เขาก็จะเลือกเอา specific ไปเลย เช่น งานบัญชี ก็จบบัญชีมา งานตลาด เอาจบตลาดมา งานสินเชื่อ ก็เน้นการเงิน (ที่พูดมาเป็นหลักของบริษัทใหญ่ๆ อาจจะมีหลุดรอดบ้าง ทำงานไม่ตรงสายบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย)
1.2 ปัญหาของสายบริหารคือ โดนสายอื่นๆ มากินงานด้วย เช่น จัดซื้อ ไม่ได้จบบริหารมา แต่มีพวกวิศว วิทยา หรือ อื่นๆ อีกมากมาทำได้ แต่บริหารไปทำงานอาชีพของสายพวกนี้ไม่ได้ จะไปทำงานบุคคล ก็เน้นพวกจบรัฐศาสตร์มาทำ
โดยสรุป เพราะลักษณะของสาขานี้ มันไม่โดดเด่นโดยตัวของมันเอง ก็ต้องหาวิธีแก้ต่อไป
2. ข้อด้อยที่เป็นเด็กใหม่ คือ ถ้าไม่โดดเด่นจริงๆ (จากข้อ 1 เช่น สายอาชีพที่ขาดแคลน วิชาชีพเฉพาะทาง) การเลือกงานให้อยู่พื้นที่ หรือ ลักษณะงานที่เราต้องการ ยากครับ .. ถ้าคุณเป็นเด็กใหม่ เขาให้ไปประจำที่ใหน ก็ต้องไป (แต่ต้องเลือกด้วย) ถ้ามัวแต่เลือกสมัคร จะเอาอะไรไปสู้คนที่มีประสบการณ์ สิ่งเดียวที่พอสู้ได้คือ available อย่างเดียวเท่านั้น (ยกประสบการณ์ในชีวิต ตอนเริ่มทำงานใหม่ ถูกส่งไปปริมณฑล หรือต่างจังหวัดไกลๆ มีแต่เด็กใหม่ๆ ทั้งนั้น) ข้อนี้สำคัญนะครับ เราต้องหาอะไรมาทดแทนเรื่องประสบการณ์ที่ขาดหายไป
3. ความโดดเด่น จากข้อ 1 ถ้าสาขาวิชาชีพไม่โดดเด่น เราอาจต้องมีอะไรมาทดแทน เช่น ภาษา หรือ หน้าตา (อันนี้เรื่องจริง) การได้ภาษาเป็นเรื่องสำคัญมาก หากจะให้ได้งานเร็วๆ ง่ายๆ คือ ไปสอบ Toeic ให้ได้สัก 700 up (โดยประสบการณ์ เด็ก ม.รัฐ ได้ Toeic แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว เพราะเขามองเรื่องวิชาการด้วย) ส่วนหน้าตา ถ้าเกิดใหม่ไม่ได้ ก็ต้องพัฒนาบุคลิกภาพให้เข้ากับบริษัทที่เราจะไป (การแต่งกาย การใช้คำพูด เช่น ไปอยู่โรงงานต้องพูดอย่างไร ไปอยู่โรงแรมต้องพูดอย่างไง ศึกษาเอาต่อเอง)
สรุป ภาษา เป็นตัวผลักดันเราทั้งให้ได้งาน และทำงานเลยละ คน 2 คน จบมาเท่ากัน คนได้ภาษาดีกว่า ก็มีโอกาสได้สูงกว่า
4. มีคนทักเรื่องการสัมภาษณ์ เห็นด้วยว่าต้องหาที่ปรึกษา (จากข้อ 3 สัมภาษณ์บริษัทต่างกัน เทคนิคก็ต่างกัน เคยไปสัมภาษณ์ มาจากบ้านนอกเลย แค่เสื้อเชิ้ต แต่คู่แข่งแต่งตัวดูดี มีสูท ไม่รู้เขาได้งานหรือเปล่า แต่เราได้งาน เพราะไปอยู่โรงงาน) และต้องทำการบ้านหน่อย รู้เขาว่าบริษัททำอะไร และรู้เรา ว่าเราจะช่วยเขาอะไรได้บ้าง ถ้าถามมาแล้วตอบไม่ได้ อย่าไปเลย เสียค่าเดินทาง เสียเวลา
5. เรื่องเด็กเส้น อย่าท้อแท้ สังคมเรามีเด็กเส้น แต่ก็มีกรรมการ หรือ บริษัทที่เห็นคุณค่าของคน พร้อมจะให้โอกาส คนที่มีความสามารถ และความตั้งใจอยู่เสมอ
6. อย่าทิ้งเวลาให้นานจนเกินไป เริ่มงานได้เร็วเท่าไร จะดีกับชีวิตเราเท่านั้น (ง่ายๆ เราคงไม่อยากตอบคำถามว่า ทำไมถึงไม่ยอมทำงานตั้ง 2 ปี ด้วยคำตอบว่า "รองานอยู่คะ" ) เพราะงานที่ 1 อาจไม่ใช่งานที่เราจะต้องทำจนแก่ อาจมีงานอื่นๆ หรือ ที่อื่นๆ ที่เราต้องเปลี่ยน ซึ่งประสาบการณ์พวกนี้จะช่วยได้
ลองพิจารณาดูละกันครับ
1. สาขาที่จบ คือ สาขาจัดการ เป็นสาขาที่มีข้อด้อยคือ
1.1 เป็นสาขาที่ไม่เด่นสักอย่าง คือ ไม่ตัวเลขจ๋าเหมือนบัญชี การเงิน และ ไม่ครีเอทีฟจ๋าเหมือนการตลาด เวลาบริษัทจะเลือก เขาก็จะเลือกเอา specific ไปเลย เช่น งานบัญชี ก็จบบัญชีมา งานตลาด เอาจบตลาดมา งานสินเชื่อ ก็เน้นการเงิน (ที่พูดมาเป็นหลักของบริษัทใหญ่ๆ อาจจะมีหลุดรอดบ้าง ทำงานไม่ตรงสายบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย)
1.2 ปัญหาของสายบริหารคือ โดนสายอื่นๆ มากินงานด้วย เช่น จัดซื้อ ไม่ได้จบบริหารมา แต่มีพวกวิศว วิทยา หรือ อื่นๆ อีกมากมาทำได้ แต่บริหารไปทำงานอาชีพของสายพวกนี้ไม่ได้ จะไปทำงานบุคคล ก็เน้นพวกจบรัฐศาสตร์มาทำ
โดยสรุป เพราะลักษณะของสาขานี้ มันไม่โดดเด่นโดยตัวของมันเอง ก็ต้องหาวิธีแก้ต่อไป
2. ข้อด้อยที่เป็นเด็กใหม่ คือ ถ้าไม่โดดเด่นจริงๆ (จากข้อ 1 เช่น สายอาชีพที่ขาดแคลน วิชาชีพเฉพาะทาง) การเลือกงานให้อยู่พื้นที่ หรือ ลักษณะงานที่เราต้องการ ยากครับ .. ถ้าคุณเป็นเด็กใหม่ เขาให้ไปประจำที่ใหน ก็ต้องไป (แต่ต้องเลือกด้วย) ถ้ามัวแต่เลือกสมัคร จะเอาอะไรไปสู้คนที่มีประสบการณ์ สิ่งเดียวที่พอสู้ได้คือ available อย่างเดียวเท่านั้น (ยกประสบการณ์ในชีวิต ตอนเริ่มทำงานใหม่ ถูกส่งไปปริมณฑล หรือต่างจังหวัดไกลๆ มีแต่เด็กใหม่ๆ ทั้งนั้น) ข้อนี้สำคัญนะครับ เราต้องหาอะไรมาทดแทนเรื่องประสบการณ์ที่ขาดหายไป
3. ความโดดเด่น จากข้อ 1 ถ้าสาขาวิชาชีพไม่โดดเด่น เราอาจต้องมีอะไรมาทดแทน เช่น ภาษา หรือ หน้าตา (อันนี้เรื่องจริง) การได้ภาษาเป็นเรื่องสำคัญมาก หากจะให้ได้งานเร็วๆ ง่ายๆ คือ ไปสอบ Toeic ให้ได้สัก 700 up (โดยประสบการณ์ เด็ก ม.รัฐ ได้ Toeic แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว เพราะเขามองเรื่องวิชาการด้วย) ส่วนหน้าตา ถ้าเกิดใหม่ไม่ได้ ก็ต้องพัฒนาบุคลิกภาพให้เข้ากับบริษัทที่เราจะไป (การแต่งกาย การใช้คำพูด เช่น ไปอยู่โรงงานต้องพูดอย่างไร ไปอยู่โรงแรมต้องพูดอย่างไง ศึกษาเอาต่อเอง)
สรุป ภาษา เป็นตัวผลักดันเราทั้งให้ได้งาน และทำงานเลยละ คน 2 คน จบมาเท่ากัน คนได้ภาษาดีกว่า ก็มีโอกาสได้สูงกว่า
4. มีคนทักเรื่องการสัมภาษณ์ เห็นด้วยว่าต้องหาที่ปรึกษา (จากข้อ 3 สัมภาษณ์บริษัทต่างกัน เทคนิคก็ต่างกัน เคยไปสัมภาษณ์ มาจากบ้านนอกเลย แค่เสื้อเชิ้ต แต่คู่แข่งแต่งตัวดูดี มีสูท ไม่รู้เขาได้งานหรือเปล่า แต่เราได้งาน เพราะไปอยู่โรงงาน) และต้องทำการบ้านหน่อย รู้เขาว่าบริษัททำอะไร และรู้เรา ว่าเราจะช่วยเขาอะไรได้บ้าง ถ้าถามมาแล้วตอบไม่ได้ อย่าไปเลย เสียค่าเดินทาง เสียเวลา
5. เรื่องเด็กเส้น อย่าท้อแท้ สังคมเรามีเด็กเส้น แต่ก็มีกรรมการ หรือ บริษัทที่เห็นคุณค่าของคน พร้อมจะให้โอกาส คนที่มีความสามารถ และความตั้งใจอยู่เสมอ
6. อย่าทิ้งเวลาให้นานจนเกินไป เริ่มงานได้เร็วเท่าไร จะดีกับชีวิตเราเท่านั้น (ง่ายๆ เราคงไม่อยากตอบคำถามว่า ทำไมถึงไม่ยอมทำงานตั้ง 2 ปี ด้วยคำตอบว่า "รองานอยู่คะ" ) เพราะงานที่ 1 อาจไม่ใช่งานที่เราจะต้องทำจนแก่ อาจมีงานอื่นๆ หรือ ที่อื่นๆ ที่เราต้องเปลี่ยน ซึ่งประสาบการณ์พวกนี้จะช่วยได้
ลองพิจารณาดูละกันครับ
ความคิดเห็นที่ 4
หลายๆที่เค้าเชื่อว่า เกียรตินิยม ไม่ได้มีความหมายอะไรกับเค้าเลยครับ ซึ่งมันคือความจริง ผมคิดว่า จขกท ไม่ต้องโชว์เรื่องนี้ โชว์เรื่องอื่นที่บ่งบอกถึงศักยภาพเราที่จะทำให้บริษัทเค้าได้ประโยชน์ การหาคนเข้าทำงาน เค้าหาคนทำงาน ทำเงิน จึงเป็นที่มาว่า "เกียรตินิยม ไม่มีความหมาย" บอกเค้าไปว่าเรามีศักยภาพอะไรที่เมื่อเค้าจ้างเราแล้ว เค้าจะได้ประโยชน์อะไรจากเรา
แสดงความคิดเห็น
เด็กจบใหม่ได้เกียรตินิยมแต่หางานยากจัง TT