ประวัติ หลวงพ่อวัดไร่ขิง
หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ ประชาชนทั่วไปมักเรียกว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” อนุโลมตามชื่อวัด ตามตำนาน
กล่าวว่าหลวงพ่อทำด้วยเนื้อสัมฤทธิ์ ประทับนั่งปางมารวิชัยหรือปางชำนะมารแบบประยุกต์
หลวงพ่อวัดไร่ขิงมีลักษณะผึ่งผายคล้ายเชียงแสน พระหัตถ์เรียวงามตามแบบสุโขทัย
แต่พระพักตร์ดูคล้ายรัตน์โกสินทร์ ประดิษฐานเหนือฐานชุกชี มีขนาดกว้าง ๔ ศอก ๒ นิ้ว
สูง ๔ ศอก ๑๖ นิ้ว
ตามตำนานกล่าวถึงการได้มาซึ่งหลวงพ่อวัดไร่ขิงว่าได้ถูกอัญเชิญมากจากกรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา)
เป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนนับถือมาก ในวันที่อัญเชิญหลวงพ่อวัดไร่ขิงขึ้นจากท่าน้ำที่หน้าวัดไร่ขิง
ตรงกับวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ เป็นวันสงกรานต์ มีประชาชนมาชุมนุมกันมาก ในขณะที่อัญเชิญ
หลวงพ่อวัดไร่ขิงขึ้นจากน้ำสู่ประรำพิธี เกิดความมหัศจรรย์ แสงแดดที่แผดจ้ากลับพลันหายไป
ความร้อนระดุในวันสงกรานต์กลางเดือนห้า บังเกิดมีเมฆดำทะมึน ลมปั่นป่วน ฟ้าคะนองก้องในนภากาศ
บันดาลให้ฝนโปรยลงมา ยังความเย็นฉ่ำใจทั่วหน้าทุกคนในที่นั้นเกิดความยินดี พากันอธิษฐานจิต
“ขอหลวงพ่อจักทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขดับความร้อนคลายความทุกข์ให้หมดไป ดุจสายฝน
ที่เมทนีดลทำให้ชุ่มฉ่ำ เจริญงอกงามด้วยธัญญาหาร” และในบัดนี้ก็ปรากฏเป็นความจริงแจ้งประจักษ์
ว่าหลวงพ่อได้ดลบันดาลให้เกิดสภาพการณ์อย่างนั้นแก่ทุกคนที่ประพฤติธรรม
หลวงพ่อวัดไร่ขิง ตามความเป็นจริงในพระพุทธศาสนา เป็นพระพุทธเจ้าหรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตามได้ด้วย เป็นผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนา มีความหมายอธิบายได้
๒ ประการ คือ
ประการที่ ๑ เป็นพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ ได้แก่เจ้าชายสิทธัตถะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์
มีพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น มีต้นตระกูล เป็นมนุษย์ ได้เสด็จออกผนวชแสวงหาสัจจธรรม
และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกาศพระศาสนาอยู่เป็นเวลา ๔๕ ปี จึงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
ประการที่ ๒ เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นตำแหน่งศาสดาเอกของโลก ผู้บำเพ็ญบารมี
คือ คุณความดีต่าง ๆ โดยสมบูรณ์ พระพุทธเจ้าให้ความเชื่อของพุทธศาสนิกชนฝ่านยหินยานหรือเถรวาท
อย่างที่คนไทยส่วนมากนับถือและปฏิบัติ พระพุทธเจ้าทรงเป็นมนุษย์ ไม่ใช่เทพหรือผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ
พระพุทธเจ้าแตกต่างจากคนทั่วไปในทางจิตใจและคุณสมบัติอันเป็นนามธรรม ในทางรูปธรรมพระองค์
ทรงมีเนื้อหนังร่างกายที่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งธรรมชาติ มีการเปลี่ยนแปลง เจ็บป่วย และแตกสลายได้เมื่อถึงเวลา
เหมือนดังคนปกติทั่วไป
ที่มา
http://praloeynum.blogspot.jp
ตำนานประวัติ หลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม
หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ ประชาชนทั่วไปมักเรียกว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” อนุโลมตามชื่อวัด ตามตำนาน
กล่าวว่าหลวงพ่อทำด้วยเนื้อสัมฤทธิ์ ประทับนั่งปางมารวิชัยหรือปางชำนะมารแบบประยุกต์
หลวงพ่อวัดไร่ขิงมีลักษณะผึ่งผายคล้ายเชียงแสน พระหัตถ์เรียวงามตามแบบสุโขทัย
แต่พระพักตร์ดูคล้ายรัตน์โกสินทร์ ประดิษฐานเหนือฐานชุกชี มีขนาดกว้าง ๔ ศอก ๒ นิ้ว
สูง ๔ ศอก ๑๖ นิ้ว
ตามตำนานกล่าวถึงการได้มาซึ่งหลวงพ่อวัดไร่ขิงว่าได้ถูกอัญเชิญมากจากกรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา)
เป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนนับถือมาก ในวันที่อัญเชิญหลวงพ่อวัดไร่ขิงขึ้นจากท่าน้ำที่หน้าวัดไร่ขิง
ตรงกับวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ เป็นวันสงกรานต์ มีประชาชนมาชุมนุมกันมาก ในขณะที่อัญเชิญ
หลวงพ่อวัดไร่ขิงขึ้นจากน้ำสู่ประรำพิธี เกิดความมหัศจรรย์ แสงแดดที่แผดจ้ากลับพลันหายไป
ความร้อนระดุในวันสงกรานต์กลางเดือนห้า บังเกิดมีเมฆดำทะมึน ลมปั่นป่วน ฟ้าคะนองก้องในนภากาศ
บันดาลให้ฝนโปรยลงมา ยังความเย็นฉ่ำใจทั่วหน้าทุกคนในที่นั้นเกิดความยินดี พากันอธิษฐานจิต
“ขอหลวงพ่อจักทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขดับความร้อนคลายความทุกข์ให้หมดไป ดุจสายฝน
ที่เมทนีดลทำให้ชุ่มฉ่ำ เจริญงอกงามด้วยธัญญาหาร” และในบัดนี้ก็ปรากฏเป็นความจริงแจ้งประจักษ์
ว่าหลวงพ่อได้ดลบันดาลให้เกิดสภาพการณ์อย่างนั้นแก่ทุกคนที่ประพฤติธรรม
หลวงพ่อวัดไร่ขิง ตามความเป็นจริงในพระพุทธศาสนา เป็นพระพุทธเจ้าหรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตามได้ด้วย เป็นผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนา มีความหมายอธิบายได้
๒ ประการ คือ
ประการที่ ๑ เป็นพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ ได้แก่เจ้าชายสิทธัตถะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์
มีพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น มีต้นตระกูล เป็นมนุษย์ ได้เสด็จออกผนวชแสวงหาสัจจธรรม
และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกาศพระศาสนาอยู่เป็นเวลา ๔๕ ปี จึงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
ประการที่ ๒ เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นตำแหน่งศาสดาเอกของโลก ผู้บำเพ็ญบารมี
คือ คุณความดีต่าง ๆ โดยสมบูรณ์ พระพุทธเจ้าให้ความเชื่อของพุทธศาสนิกชนฝ่านยหินยานหรือเถรวาท
อย่างที่คนไทยส่วนมากนับถือและปฏิบัติ พระพุทธเจ้าทรงเป็นมนุษย์ ไม่ใช่เทพหรือผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ
พระพุทธเจ้าแตกต่างจากคนทั่วไปในทางจิตใจและคุณสมบัติอันเป็นนามธรรม ในทางรูปธรรมพระองค์
ทรงมีเนื้อหนังร่างกายที่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งธรรมชาติ มีการเปลี่ยนแปลง เจ็บป่วย และแตกสลายได้เมื่อถึงเวลา
เหมือนดังคนปกติทั่วไป
ที่มา http://praloeynum.blogspot.jp