Spoiler Alert – บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนและส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเรื่อง
กระแสของอนิเมะเรื่อง “หลับตาฝันถึงชื่อเธอ” (Your Name หรือ Kimi no Na wa) ผลงานการกำกับของ มาโกโตะ ชินไค กำลังเป็นที่พูดถึงกันไปทั่วในตอนนี้ คงเป็นเรื่องน่าแปลกใจสำหรับผู้ชมชาวไทยที่ หลายเพศ หลากวัย ต่างเข้าโรงหนังเพื่อไปชม “การ์ตูน” ที่ไม่ใช่ภาพยนตร์การ์ตูน 3D ของตะวันตก หรือจากสตูดิโอ จิบลิ ที่เราคุ้นชื่อ คุ้นหูกันมานาน
แต่ด้วยพลังของภาพในอนิเมะเรื่องนี้ที่ต้องชื่นชมว่าสวย ดูสบายตา การเล่นกับแสงสะท้อนของแสงแดด ผสมกับความสมจริงของสถานที่แล้ว ทำให้ใครที่ดูต้องหลงใหล ประทับใจ อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องยกคะแนน ให้ คือเนื้อเรื่องที่จัดได้อยู่ในหมวดหมู่หลายประเภททั้ง ดราม่า โรแมนติก คอเมดี้ ไซ-ไฟ แฟนตาซี เพราะมีครบหลายรสชาติ ให้ซาบซึ้ง เพลิดเพลิน ตื่นเต้น ปนน้ำตาคลออุ่นๆ ในดวงตา
Your Name เริ่มต้นเล่าถึง ทาคิ เด็กหนุ่มในเมืองหลวงโตเกียว ที่ตื่นขึ้นมาพบว่า ตัวเองอยู่ในร่างของมิสึทฮะ เด็กสาวในวัยเดียวกัน ซึ่งเติบโตและอาศัยอยู่ในชนบท เขาต้องพบกับการใช้ชีวิตในแบบที่ไม่คุ้นชิน สภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากเดิมโดยไม่คุ้นเคย และต้องอยู่ในร่างของเด็กสาวจนครบวัน จนกว่าจะหลับแล้วตื่นขึ้นมาอีกครั้ง โดยจำเหตุการณ์ได้อย่างลางเลือน ก่อนจะสรุปว่านั่นเป็น “ความฝัน” ที่สมจริงที่สุดเท่าที่เขาเคยสัมผัสมา ขณะเดียวกัน มิสึทฮะ ก็ฝันประหลาดแบบเดียวกันว่า ตัวเองตื่นขึ้นมาอยู่ในร่างของทาคิและต้องใช้ชีวิตตามตารางชีวิตประจำวันของเด็กหนุ่มเช่นกัน จนเมื่อทั้งคู่ค้นพบว่าปรากฏการณ์นั้นมิใช่แค่ “ความฝัน” ทำให้ทั้งคู่ต่างต้องใช้ชีวิตในแต่ละวัน ด้วยการสวมบทบาทของอีกฝ่าย
ไม่มีใครรู้ว่าการสลับร่างของทั้งคู่ เป็นลางบอกเหตุที่มาเตือนให้เด็กหนุ่มและเด็กสาวได้รู้ถึงเหตุโศกนาฎกรรมครั้งใหญ่ ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตและความสัมพันธ์ของพวกเขาไปอย่างสิ้นเชิง
ในความตรึงตา ตรึงใจด้วยภาพสวยงาม และเนื้อหาสุดเข้มข้น นอกจากความรู้สึกนึกคิดของ “ตัวละคร” ที่สร้างความประทับใจ และเรียกน้ำตาของผู้ชมแล้ว เรายังได้ค้นพบว่า “สิ่งของ” และ “สถานที่” ที่ปรากฏตัวอยู่ในอนิเมะเหล่านี้ กลับซ่อนความหมายที่ลึกซึ้งไว้อย่างแนบเนียน เหมือนกับเนื้อร้องตอนหนึ่งของบทเพลง
Yume Tourou ซึ่งเป็น เพลงประกอบภาพยนตร์ของอนิเมะเรื่องนี้ ว่า
Let’s make our signal how to say ’Nice to meet you’
1. ห้อง(นอน) สลับร่าง
ห้องนอน ต้องถือว่าเป็นฉากสำคัญที่ ทาคิและมิสึทฮะ จะต้องตื่นขึ้นมาพบว่าตัวเองสลับร่างกับอีกฝ่ายหนึ่ง ในภาพยนตร์เล่าความตรงข้ามระหว่างชีวิตของคนในเมืองและชีวิตในชนบท บอกเล่าผ่านห้องนอนของทั้งสองคนได้อย่างน่าสนใจ อย่างเช่นในห้องของมิสึทฮะ จะพบว่าเตียงนอนเป็นแบบปูพื้นและมีขนาดกว้างกว่า ส่วนข้าวของ จะมีการจัดวางเป็นระเบียบ น่าสนใจ แสดงถึงบุคลิกที่เรียบร้อย เป็นระเบียบและแสดงถึงความละเอียดอ่อนของหญิงสาว ที่เธอมีบทบาทอีกด้านนอกจากเด็กสาววัยรุ่นแล้วยังเป็น “มิโกะ” ของศาลเจ้าในชุมชน
ส่วนห้องนอนของทาคิ จะมีขนาดเล็กคับแคบ สะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนเมืองที่มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ส่วนโต๊ะอ่านหนังสือของเด็กหนุ่ม มีอุปกรณ์เครื่องเขียนพร้อมภาพวาดแปะติด ที่แสดงถึงอุปนิสัยของการเป็นคนชอบบันทึก วาดภาพ และขีดเขียนใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ
ของสิ่งหนึ่งที่เราจะเห็นในห้องนอน คือ ชุดนักเรียนของทั้งคู่ ซึ่งสะท้อนถึงอัตลักษณ์ของแต่ละคนได้อย่างชัดเจนว่า พวกเขานั้นมีเพศสภาพอย่างไร รวมถึงความเป็นคนกรุง และชีวิตคนต่างจังหวัด ชุดนักเรียนเป็นเครื่องแบบที่สะท้อนถึงความเป็นทางการ ที่จะกำหนดบทบาทหน้าที่ของตัวเอง เมื่อจะต้องดำเนินชีวิตของตัวละครนั้นๆ (บางส่วนของเรื่องจะต้องมีฉากที่มิสึทฮะ(ในร่างของทาคิ) ต้องไปทำเป็นหน้าที่เด็กเสิร์ฟอาหาร ก็ต้องเปลี่ยนมาใส่เครื่องแบบเหมือนกัน) จนเมื่อถึงเวลาเข้านอน การเปลี่ยนชุดนักเรียนจึงเป็นการเปลี่ยนบทบาทที่ตัวเองกำลังสวมอยู่
“ชุดนักเรียน” นี้ยังมีความสำคัญไปถึงช่วงระหว่างกลางเรื่องที่หลังจากทาคิและมิทซึฮะ พบว่าทั้งคู่จะต้องสลับร่างกันอยู่บ่อยๆ แล้ววันหนึ่งทาคิ(ในร่างมิสึทฮะ) ตื่นขึ้นมาพร้อมใส่ชุดนักเรียน แต่กลับพบว่าวันนั้นเป็นวันหยุด ตอนนี้ได้แอบซ่อนความหมายว่า timeline ของทาคิที่จะต้องเป็นวันธรรมดา ที่กลับกลายเป็นวันหยุดนั้น เพราะโลกของทาคิกับโลกของมิสึทฮะนั้น อยู่ในมิติเวลาที่แตกต่างกัน
ข้อสังเกตเกี่ยวกับ ห้องนอนยังมีในประเด็นอื่นๆ เช่น ยทสึฮะ (น้องสาวของมิสึทฮะ) จะต้องมาปลุกเธอในตอนเช้า น้องสาวจะไม่เคยเข้ามาในห้องนอนของพี่สาวเลย แม้จะเป็นเรื่องมารยาทหรือสะท้อนพื้นที่ส่วนตัว แต่หนังก็พยายามบอกใบ้ว่า ห้องนอนนั้นเป็นโลกอีกใบหนึ่งที่จะมีแต่ทาคิและมิสึทฮะนั้นจะเข้ามาใช้ได้เท่านั้น ส่วนคนอื่นๆ จะไม่เข้าใจหรือไม่สามารถล่วงรู้ถึงเรื่องที่เกิดขึ้นของทั้งคู่ได้เลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สำหรับคนที่ดู your name แล้ว คงจะค้นพบว่า “ห้องนอน” ไม่ได้มีไว้เพื่อสลับร่าง แต่กลายเป็นตัวเชื่อมโยงกับอีกคนหนึ่งในมิติอื่นๆ ซึ่งพล็อตเนื้อหาแบบนี้เคยปรากฏในภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ บ้างแล้ว อย่างเช่น Il mare ลิขิตรักข้ามเวลา (ถ้าใครชอบพล็อตเรื่องแบบนี้ ไม่ควรพลาดที่จะดูภาพยนตร์เกาหลีเรื่องนี้ด้วยประการทั้งปวง)
2. บันทึก (รัก) แต่ไม่ลับ
สมัยนี้หลายคนถนัดบอกเล่าเรื่องราวของตัวเองผ่านบล็อก หรือ facebook แต่ในช่วงก่อนมีสื่อโซเชียลมีเดีย สาวๆ ในห้องเรียนจะนิยมแลกเขียนไดอารี่กัน (ตอนนั้น ก็เลียนแบบมาจากหนังสือการ์ตูนที่อ่านเหมือนกัน)
ในเรื่อง your name หยิบสิ่งเล็กๆ ที่คนรุ่นใหม่หลงลืมไปแล้ว มาใส่ได้อย่างน่ารัก น่าเอ็นดู เมื่อทาคิและมิสึทฮะ เขียนบอกเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวันสลับวันกันไปเรื่อยๆ เหมือนกับแลกสมุดไดอารี่ของสมัยก่อนยังไง ยังงั้น แต่สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นลูกเล่นน่าสนใจของอนิเมะเรื่องนี้ คือ การให้ทาคิ (ในร่างของมิสึทฮะ) วาดภาพและจดบันทึกใส่สมุด แต่มิสึทฮะ (ในร่างของทาคิ) จะบันทึกใส่โน้ตในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความแตกต่างของการรับสาร ส่งสารของคนทั้งคู่ได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็ช่วยสะท้อนถึงความละเอียดอ่อนของทาคิได้ว่าแม้เขาจะเป็นคนกรุงที่ใช้เทคโนโลยี แต่เมื่ออยู่ในร่างของมิสึทฮะ เขาเลือกวาดรูปหรือเขียนใส่สมุดเอาไว้แทน ส่วนมิสึทฮะสะท้อนค่านิยมของสาววัยรุ่นในปัจจุบันที่ชอบถ่ายรูปขนมหวานที่ตัวเองทานและบันทึกใส่โทรศัพท์มือถือ (แม้ในเรื่องจะไม่บอกเล่าว่า ตัวละครทราบรหัสผ่านการเข้าโทรศัพท์ได้อย่างไรก็ตาม)
นี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง ที่ทำให้คนดูชื่นชอบว่าแม้ตัวละครจะอยู่คนละสถานที่ ไม่ได้พบเจอกัน แต่พวกเขาได้พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอยู่ตลอด พล็อตน่ารักๆ แบบนี้ คล้าย กับกระแสของการมีเพื่อนทางจดหมาย (pen friend) หรือ แชทออนไลน์ในยุคแรกๆ ที่ยังไม่มีโชว์รูปโปรไฟล์ หรือวีดีโอคอลล์ อย่างในปัจจุบัน ที่ทำให้คู่สนทนาต่างต้องใช้จินตาการ และลุ้นว่าอีกคนจะเขียนเรื่องราวอะไร หรืออยากรู้ว่าเขาคนนั้นจะหน้าตาแบบไหนกัน ซึ่งในปัจจุบัน การสื่อสารฉับไว จนสามารถมองเห็นหน้ากันได้ง่ายมากขึ้น กระแสการเขียนบันทึกของ Your Name จึงช่วยปลุกให้หลายคน รู้สึกโหยหาอดีต (nostalgia) ขึ้นมาทันที
3. ด้ายแดงแผลงศร
ในเรื่องพูดถึงเส้นด้าย เอาไว้ 2 ประเด็นหลักๆ คือ เรื่องของ “มุซึบิ” หรือการถักเส้นด้ายเพื่อใช้ในการทำพิธีกรรมบูชาของศาลเจ้าที่มิสึทฮะฮาศัย ซึ่งบอกเล่าอย่างชัดเจนว่า เส้นด้ายนั้นแทนกาลเวลาที่ ยืด หด บิด คลาย เป็นเหมือนเส้นเวลาที่มาทับซ้อน ยุ่งเหยิง และเป็นระเบียบได้ ซึ่งเป็นการบอกเล่าโครงสร้างสำคัญของเรื่องนี้โดยใช้เกาลเวลาเป็นแกนหลัก ทำให้คนดูคล้อยตามได้ว่า “กาลเวลา” นั้นบิดเบือน และเปลี่ยนใหม่ได้ เสมือนการถักเส้นด้ายนั่นเอง
อีกประเด็นหนึ่งที่ your name หยิบมาบอกเล่า คือตำนานของด้ายแดง ที่หลายคนรู้ว่าเส้นด้ายแดงจะผูกนำดวงชะตาของชีวิตคนที่มีความผูกพันกันให้ดึงเข้าหากัน หรือเป็น “พรหมลิขิต” หรือ “บุพเพ” ที่ทุกคนมีความเชื่อมโยง เกี่ยวข้องกัน
นอกจาก “เส้นด้าย” สะท้อนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ความผูกพันความเชื่อมโยง ระหว่างตัวละครแล้ว ด้ายแดงที่มิสึทฮะ ใช้มัดผมอยู่ตลอดเวลา ยังเป็นสัญลักษณ์บอกถึงความเป็น “ตัวตน” หรือตัวแทนความรัก ของตัวเธออีกด้วย จะเห็นได้ว่ายามที่ ทาคิสลับมาอยู่ในร่างของมิสึทฮะนั้น จะเห็นว่าเขาไม่เคยใช้ด้ายแดงนำมามัดหรือผูกผมเลยสักครั้ง ดังนั้น ด้ายแดงจึงเป็นเสมือนตัวแทนและอีกครึ่งหนึ่งของมิสึทฮะ หนังยิ่งตอกย้ำประเด็นนี้อย่างชัดเจน เมื่อวันที่เธอเดินทางมาพบกับทาคิ แต่เขาในตอนนั้นยังไม่รู้จักเธอ ในวินาทีสุดท้ายที่ต้องคลาดจากกัน เด็กสาวเลือกจะโยนด้ายมัดผมของตัวเองให้กับเขา เสมือนว่าจะมอบส่วนหนึ่งของชีวิตและความรู้สึกของตัวเองให้กับชายหนุ่ม เมื่อกลับมาถึงบ้าน เธอตัดผมสั้น เพราะเธอไม่มีความจำเป็นต้องใช้ด้ายสีแดงนั้นอีกแล้ว เพราะตัวตนอีกด้านหนึ่งของเธอนั้นหายไปแล้ว พร้อมๆ กับหัวใจและความรักของเธอเอง (จนถูกแซวว่าตัดผม เพราะน่าจะอกหักมา)
จนเนื้อเรื่องดำเนินมาถึงฉากที่ใครหลายคนประทับใจ คือทั้งสองคนมาพบกันในช่วงเวลาพลบค่ำ (หรือสนธยา) ซึ่งเป็นฉากหนึ่งที่บอกเล่าสัญลักษณ์ได้ดีเกี่ยวกับช่วงเวลา เพราะเป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างกลางวันและกลางคืน การทับซ้อนของเวลาดังกล่าวจึงสร้างปาฏิหาริย์ ที่ทำให้ทั้งสองคนมาพบกันได้อีกครั้ง เด็กหนุ่มได้บอกเล่าความในใจและส่งคืนด้ายสีแดงเส้นนั้นให้กับเจ้าของเดิม วินาทีนั้น มิสึทฮะนำเส้นด้ายสีแดงมาผูกผม แสดงให้เห็นว่าครึ่งหนึ่งของตัวเธอได้กลับคืนมาอีกครั้ง ในหัวใจของเธอได้เติมเต็มด้วยความรัก พร้อมๆกับ ความรู้สึกของคนดู ที่อิ่มเอมไปพร้อมกัน
แต่ถึงกระนั้น หนังเรื่องนี้ยังทำร้ายความรู้สึกคนดูอีกครั้ง เมื่อตัวละครทั้งสองกำลังจะลืมเลือนชื่อของอีกฝ่าย เขาและเธอตกลงกันเขียนชื่อบนแขนของอีกฝ่าย ทาคิซึ่งมีโอกาสได้เขียนเพียงแค่คนเดียว กลับไม่ได้บอกชื่อของเขาให้เธอรู้ แต่กลับใส่เป็นถ้อยคำสั้นๆ บอกความในใจลึกๆ ให้หญิงสาวได้รับรู้ โดยไม่สนใจเลยว่าหญิงสาวจะจดจำเขาได้หรือไม่ว่า เขาเป็นใคร มาจากไหน
ทาคิคงมีศรัทธาอย่างหนึ่งว่า นี่เป็นโอกาสสุดท้ายของชีวิตและเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เขาควรจะบอกเธอ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น สิ่งสำคัญกว่า “ความทรงจำ” นั่นคือ “ความรู้สึก”
(มีต่อ)
ที่มาของภาพประกอบ -
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://variety.com/2016/film/reviews/your-name-review-makoto-shinkai-1201880723/
http://www.fanpop.com/clubs/kimi-no-na-wa/images/39522218/title/kimi-no-na-wa-photo
http://movie.mthai.com/movie-review/202304.html
http://ppantip.com/topic/35800943
[Spoiler Alert !] ถอดสัญลักษณ์ [5 สิ่งของ] ใน Your Name
Spoiler Alert – บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนและส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเรื่อง
กระแสของอนิเมะเรื่อง “หลับตาฝันถึงชื่อเธอ” (Your Name หรือ Kimi no Na wa) ผลงานการกำกับของ มาโกโตะ ชินไค กำลังเป็นที่พูดถึงกันไปทั่วในตอนนี้ คงเป็นเรื่องน่าแปลกใจสำหรับผู้ชมชาวไทยที่ หลายเพศ หลากวัย ต่างเข้าโรงหนังเพื่อไปชม “การ์ตูน” ที่ไม่ใช่ภาพยนตร์การ์ตูน 3D ของตะวันตก หรือจากสตูดิโอ จิบลิ ที่เราคุ้นชื่อ คุ้นหูกันมานาน
แต่ด้วยพลังของภาพในอนิเมะเรื่องนี้ที่ต้องชื่นชมว่าสวย ดูสบายตา การเล่นกับแสงสะท้อนของแสงแดด ผสมกับความสมจริงของสถานที่แล้ว ทำให้ใครที่ดูต้องหลงใหล ประทับใจ อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องยกคะแนน ให้ คือเนื้อเรื่องที่จัดได้อยู่ในหมวดหมู่หลายประเภททั้ง ดราม่า โรแมนติก คอเมดี้ ไซ-ไฟ แฟนตาซี เพราะมีครบหลายรสชาติ ให้ซาบซึ้ง เพลิดเพลิน ตื่นเต้น ปนน้ำตาคลออุ่นๆ ในดวงตา
Your Name เริ่มต้นเล่าถึง ทาคิ เด็กหนุ่มในเมืองหลวงโตเกียว ที่ตื่นขึ้นมาพบว่า ตัวเองอยู่ในร่างของมิสึทฮะ เด็กสาวในวัยเดียวกัน ซึ่งเติบโตและอาศัยอยู่ในชนบท เขาต้องพบกับการใช้ชีวิตในแบบที่ไม่คุ้นชิน สภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากเดิมโดยไม่คุ้นเคย และต้องอยู่ในร่างของเด็กสาวจนครบวัน จนกว่าจะหลับแล้วตื่นขึ้นมาอีกครั้ง โดยจำเหตุการณ์ได้อย่างลางเลือน ก่อนจะสรุปว่านั่นเป็น “ความฝัน” ที่สมจริงที่สุดเท่าที่เขาเคยสัมผัสมา ขณะเดียวกัน มิสึทฮะ ก็ฝันประหลาดแบบเดียวกันว่า ตัวเองตื่นขึ้นมาอยู่ในร่างของทาคิและต้องใช้ชีวิตตามตารางชีวิตประจำวันของเด็กหนุ่มเช่นกัน จนเมื่อทั้งคู่ค้นพบว่าปรากฏการณ์นั้นมิใช่แค่ “ความฝัน” ทำให้ทั้งคู่ต่างต้องใช้ชีวิตในแต่ละวัน ด้วยการสวมบทบาทของอีกฝ่าย
ไม่มีใครรู้ว่าการสลับร่างของทั้งคู่ เป็นลางบอกเหตุที่มาเตือนให้เด็กหนุ่มและเด็กสาวได้รู้ถึงเหตุโศกนาฎกรรมครั้งใหญ่ ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตและความสัมพันธ์ของพวกเขาไปอย่างสิ้นเชิง
ในความตรึงตา ตรึงใจด้วยภาพสวยงาม และเนื้อหาสุดเข้มข้น นอกจากความรู้สึกนึกคิดของ “ตัวละคร” ที่สร้างความประทับใจ และเรียกน้ำตาของผู้ชมแล้ว เรายังได้ค้นพบว่า “สิ่งของ” และ “สถานที่” ที่ปรากฏตัวอยู่ในอนิเมะเหล่านี้ กลับซ่อนความหมายที่ลึกซึ้งไว้อย่างแนบเนียน เหมือนกับเนื้อร้องตอนหนึ่งของบทเพลง Yume Tourou ซึ่งเป็น เพลงประกอบภาพยนตร์ของอนิเมะเรื่องนี้ ว่า
Let’s make our signal how to say ’Nice to meet you’
1. ห้อง(นอน) สลับร่าง
ห้องนอน ต้องถือว่าเป็นฉากสำคัญที่ ทาคิและมิสึทฮะ จะต้องตื่นขึ้นมาพบว่าตัวเองสลับร่างกับอีกฝ่ายหนึ่ง ในภาพยนตร์เล่าความตรงข้ามระหว่างชีวิตของคนในเมืองและชีวิตในชนบท บอกเล่าผ่านห้องนอนของทั้งสองคนได้อย่างน่าสนใจ อย่างเช่นในห้องของมิสึทฮะ จะพบว่าเตียงนอนเป็นแบบปูพื้นและมีขนาดกว้างกว่า ส่วนข้าวของ จะมีการจัดวางเป็นระเบียบ น่าสนใจ แสดงถึงบุคลิกที่เรียบร้อย เป็นระเบียบและแสดงถึงความละเอียดอ่อนของหญิงสาว ที่เธอมีบทบาทอีกด้านนอกจากเด็กสาววัยรุ่นแล้วยังเป็น “มิโกะ” ของศาลเจ้าในชุมชน
ส่วนห้องนอนของทาคิ จะมีขนาดเล็กคับแคบ สะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนเมืองที่มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ส่วนโต๊ะอ่านหนังสือของเด็กหนุ่ม มีอุปกรณ์เครื่องเขียนพร้อมภาพวาดแปะติด ที่แสดงถึงอุปนิสัยของการเป็นคนชอบบันทึก วาดภาพ และขีดเขียนใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ
ของสิ่งหนึ่งที่เราจะเห็นในห้องนอน คือ ชุดนักเรียนของทั้งคู่ ซึ่งสะท้อนถึงอัตลักษณ์ของแต่ละคนได้อย่างชัดเจนว่า พวกเขานั้นมีเพศสภาพอย่างไร รวมถึงความเป็นคนกรุง และชีวิตคนต่างจังหวัด ชุดนักเรียนเป็นเครื่องแบบที่สะท้อนถึงความเป็นทางการ ที่จะกำหนดบทบาทหน้าที่ของตัวเอง เมื่อจะต้องดำเนินชีวิตของตัวละครนั้นๆ (บางส่วนของเรื่องจะต้องมีฉากที่มิสึทฮะ(ในร่างของทาคิ) ต้องไปทำเป็นหน้าที่เด็กเสิร์ฟอาหาร ก็ต้องเปลี่ยนมาใส่เครื่องแบบเหมือนกัน) จนเมื่อถึงเวลาเข้านอน การเปลี่ยนชุดนักเรียนจึงเป็นการเปลี่ยนบทบาทที่ตัวเองกำลังสวมอยู่
“ชุดนักเรียน” นี้ยังมีความสำคัญไปถึงช่วงระหว่างกลางเรื่องที่หลังจากทาคิและมิทซึฮะ พบว่าทั้งคู่จะต้องสลับร่างกันอยู่บ่อยๆ แล้ววันหนึ่งทาคิ(ในร่างมิสึทฮะ) ตื่นขึ้นมาพร้อมใส่ชุดนักเรียน แต่กลับพบว่าวันนั้นเป็นวันหยุด ตอนนี้ได้แอบซ่อนความหมายว่า timeline ของทาคิที่จะต้องเป็นวันธรรมดา ที่กลับกลายเป็นวันหยุดนั้น เพราะโลกของทาคิกับโลกของมิสึทฮะนั้น อยู่ในมิติเวลาที่แตกต่างกัน
ข้อสังเกตเกี่ยวกับ ห้องนอนยังมีในประเด็นอื่นๆ เช่น ยทสึฮะ (น้องสาวของมิสึทฮะ) จะต้องมาปลุกเธอในตอนเช้า น้องสาวจะไม่เคยเข้ามาในห้องนอนของพี่สาวเลย แม้จะเป็นเรื่องมารยาทหรือสะท้อนพื้นที่ส่วนตัว แต่หนังก็พยายามบอกใบ้ว่า ห้องนอนนั้นเป็นโลกอีกใบหนึ่งที่จะมีแต่ทาคิและมิสึทฮะนั้นจะเข้ามาใช้ได้เท่านั้น ส่วนคนอื่นๆ จะไม่เข้าใจหรือไม่สามารถล่วงรู้ถึงเรื่องที่เกิดขึ้นของทั้งคู่ได้เลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2. บันทึก (รัก) แต่ไม่ลับ
สมัยนี้หลายคนถนัดบอกเล่าเรื่องราวของตัวเองผ่านบล็อก หรือ facebook แต่ในช่วงก่อนมีสื่อโซเชียลมีเดีย สาวๆ ในห้องเรียนจะนิยมแลกเขียนไดอารี่กัน (ตอนนั้น ก็เลียนแบบมาจากหนังสือการ์ตูนที่อ่านเหมือนกัน)
ในเรื่อง your name หยิบสิ่งเล็กๆ ที่คนรุ่นใหม่หลงลืมไปแล้ว มาใส่ได้อย่างน่ารัก น่าเอ็นดู เมื่อทาคิและมิสึทฮะ เขียนบอกเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวันสลับวันกันไปเรื่อยๆ เหมือนกับแลกสมุดไดอารี่ของสมัยก่อนยังไง ยังงั้น แต่สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นลูกเล่นน่าสนใจของอนิเมะเรื่องนี้ คือ การให้ทาคิ (ในร่างของมิสึทฮะ) วาดภาพและจดบันทึกใส่สมุด แต่มิสึทฮะ (ในร่างของทาคิ) จะบันทึกใส่โน้ตในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความแตกต่างของการรับสาร ส่งสารของคนทั้งคู่ได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็ช่วยสะท้อนถึงความละเอียดอ่อนของทาคิได้ว่าแม้เขาจะเป็นคนกรุงที่ใช้เทคโนโลยี แต่เมื่ออยู่ในร่างของมิสึทฮะ เขาเลือกวาดรูปหรือเขียนใส่สมุดเอาไว้แทน ส่วนมิสึทฮะสะท้อนค่านิยมของสาววัยรุ่นในปัจจุบันที่ชอบถ่ายรูปขนมหวานที่ตัวเองทานและบันทึกใส่โทรศัพท์มือถือ (แม้ในเรื่องจะไม่บอกเล่าว่า ตัวละครทราบรหัสผ่านการเข้าโทรศัพท์ได้อย่างไรก็ตาม)
นี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง ที่ทำให้คนดูชื่นชอบว่าแม้ตัวละครจะอยู่คนละสถานที่ ไม่ได้พบเจอกัน แต่พวกเขาได้พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอยู่ตลอด พล็อตน่ารักๆ แบบนี้ คล้าย กับกระแสของการมีเพื่อนทางจดหมาย (pen friend) หรือ แชทออนไลน์ในยุคแรกๆ ที่ยังไม่มีโชว์รูปโปรไฟล์ หรือวีดีโอคอลล์ อย่างในปัจจุบัน ที่ทำให้คู่สนทนาต่างต้องใช้จินตาการ และลุ้นว่าอีกคนจะเขียนเรื่องราวอะไร หรืออยากรู้ว่าเขาคนนั้นจะหน้าตาแบบไหนกัน ซึ่งในปัจจุบัน การสื่อสารฉับไว จนสามารถมองเห็นหน้ากันได้ง่ายมากขึ้น กระแสการเขียนบันทึกของ Your Name จึงช่วยปลุกให้หลายคน รู้สึกโหยหาอดีต (nostalgia) ขึ้นมาทันที
3. ด้ายแดงแผลงศร
ในเรื่องพูดถึงเส้นด้าย เอาไว้ 2 ประเด็นหลักๆ คือ เรื่องของ “มุซึบิ” หรือการถักเส้นด้ายเพื่อใช้ในการทำพิธีกรรมบูชาของศาลเจ้าที่มิสึทฮะฮาศัย ซึ่งบอกเล่าอย่างชัดเจนว่า เส้นด้ายนั้นแทนกาลเวลาที่ ยืด หด บิด คลาย เป็นเหมือนเส้นเวลาที่มาทับซ้อน ยุ่งเหยิง และเป็นระเบียบได้ ซึ่งเป็นการบอกเล่าโครงสร้างสำคัญของเรื่องนี้โดยใช้เกาลเวลาเป็นแกนหลัก ทำให้คนดูคล้อยตามได้ว่า “กาลเวลา” นั้นบิดเบือน และเปลี่ยนใหม่ได้ เสมือนการถักเส้นด้ายนั่นเอง
อีกประเด็นหนึ่งที่ your name หยิบมาบอกเล่า คือตำนานของด้ายแดง ที่หลายคนรู้ว่าเส้นด้ายแดงจะผูกนำดวงชะตาของชีวิตคนที่มีความผูกพันกันให้ดึงเข้าหากัน หรือเป็น “พรหมลิขิต” หรือ “บุพเพ” ที่ทุกคนมีความเชื่อมโยง เกี่ยวข้องกัน
นอกจาก “เส้นด้าย” สะท้อนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ความผูกพันความเชื่อมโยง ระหว่างตัวละครแล้ว ด้ายแดงที่มิสึทฮะ ใช้มัดผมอยู่ตลอดเวลา ยังเป็นสัญลักษณ์บอกถึงความเป็น “ตัวตน” หรือตัวแทนความรัก ของตัวเธออีกด้วย จะเห็นได้ว่ายามที่ ทาคิสลับมาอยู่ในร่างของมิสึทฮะนั้น จะเห็นว่าเขาไม่เคยใช้ด้ายแดงนำมามัดหรือผูกผมเลยสักครั้ง ดังนั้น ด้ายแดงจึงเป็นเสมือนตัวแทนและอีกครึ่งหนึ่งของมิสึทฮะ หนังยิ่งตอกย้ำประเด็นนี้อย่างชัดเจน เมื่อวันที่เธอเดินทางมาพบกับทาคิ แต่เขาในตอนนั้นยังไม่รู้จักเธอ ในวินาทีสุดท้ายที่ต้องคลาดจากกัน เด็กสาวเลือกจะโยนด้ายมัดผมของตัวเองให้กับเขา เสมือนว่าจะมอบส่วนหนึ่งของชีวิตและความรู้สึกของตัวเองให้กับชายหนุ่ม เมื่อกลับมาถึงบ้าน เธอตัดผมสั้น เพราะเธอไม่มีความจำเป็นต้องใช้ด้ายสีแดงนั้นอีกแล้ว เพราะตัวตนอีกด้านหนึ่งของเธอนั้นหายไปแล้ว พร้อมๆ กับหัวใจและความรักของเธอเอง (จนถูกแซวว่าตัดผม เพราะน่าจะอกหักมา)
จนเนื้อเรื่องดำเนินมาถึงฉากที่ใครหลายคนประทับใจ คือทั้งสองคนมาพบกันในช่วงเวลาพลบค่ำ (หรือสนธยา) ซึ่งเป็นฉากหนึ่งที่บอกเล่าสัญลักษณ์ได้ดีเกี่ยวกับช่วงเวลา เพราะเป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างกลางวันและกลางคืน การทับซ้อนของเวลาดังกล่าวจึงสร้างปาฏิหาริย์ ที่ทำให้ทั้งสองคนมาพบกันได้อีกครั้ง เด็กหนุ่มได้บอกเล่าความในใจและส่งคืนด้ายสีแดงเส้นนั้นให้กับเจ้าของเดิม วินาทีนั้น มิสึทฮะนำเส้นด้ายสีแดงมาผูกผม แสดงให้เห็นว่าครึ่งหนึ่งของตัวเธอได้กลับคืนมาอีกครั้ง ในหัวใจของเธอได้เติมเต็มด้วยความรัก พร้อมๆกับ ความรู้สึกของคนดู ที่อิ่มเอมไปพร้อมกัน
แต่ถึงกระนั้น หนังเรื่องนี้ยังทำร้ายความรู้สึกคนดูอีกครั้ง เมื่อตัวละครทั้งสองกำลังจะลืมเลือนชื่อของอีกฝ่าย เขาและเธอตกลงกันเขียนชื่อบนแขนของอีกฝ่าย ทาคิซึ่งมีโอกาสได้เขียนเพียงแค่คนเดียว กลับไม่ได้บอกชื่อของเขาให้เธอรู้ แต่กลับใส่เป็นถ้อยคำสั้นๆ บอกความในใจลึกๆ ให้หญิงสาวได้รับรู้ โดยไม่สนใจเลยว่าหญิงสาวจะจดจำเขาได้หรือไม่ว่า เขาเป็นใคร มาจากไหน
ทาคิคงมีศรัทธาอย่างหนึ่งว่า นี่เป็นโอกาสสุดท้ายของชีวิตและเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เขาควรจะบอกเธอ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น สิ่งสำคัญกว่า “ความทรงจำ” นั่นคือ “ความรู้สึก”
(มีต่อ)
ที่มาของภาพประกอบ - [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้