ธาตุที่ทำให้ตั้งอยู่ ชื่อว่า ปฐวีธาตุ. ธาตุที่ประสานให้ติดอยู่ ชื่อว่า
อาโปธาตุ. ธาตุที่ทำให้อบอุ่น ชื่อว่า เตโชธาตุ. ธาตุที่ทำให้เคลื่อนไหว
ชื่อว่า วาโยธาตุ. ธาตุที่ถูกต้องไม่ได้ ชื่อว่าอากาศธาตุ. ธาตุที่รู้แจ้ง ชื่อว่า
วิญญาณธาตุ.
บทว่า อนตฺตโต อุปคจฺฉึ ความว่า เราย่อมไม่เข้าถึง (คือยึด
ครอง) โดยส่วนแห่งอัตตาว่า นี้เป็นอัตตา.
อนึ่ง ย่อมไม่เข้าถึงธาตุทั้งหลายที่เหลือซึ่งอาศัยปฐวีธาตุ และอุปา-
ทายรูป. แม้อรูปขันธ์ทั้งหลายก็อาศัยปฐวีธาตุโดยปริยายหนึ่งเหมือนกัน
เพราะวัตถุรูปทั้งหลายที่อรูปขันธ์ทั้งหลายนั้นอาศัย ก็อาศัยอยู่กับปฐวีธาตุ
เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวว่าย่อมไม่ยึดครองธาตุที่เหลืออันอาศัยปฐวีธาตุ ย่อม
กล่าวว่า เราย่อมไม่ยึดครองแม้รูปธรรมและอรูปธรรมที่เหลือทั้งหลาย ว่า
เป็นอัตตา. ก็ในบทที่ว่า อาศัยอากาศธาตุ ภูตรูปและอุปาทายรูปแม้ทั้งหมด
ชื่อว่า อาศัยอากาศธาตุ โดยเป็นอวินิโภครูป. อรูปขันธ์ทั้งหลายที่มีรูปวัตถุ
เป็นที่อาศัย ก็ชื่อว่า อาศัยอากาศธาตุเหมือนกัน. เมื่อเป็นอย่างนั้น แม้ใน
ที่นี้ รูปและอรูปย่อมเป็นอันถือเอาแล้วทีเดียว. ส่วนในบทที่ว่า อาศัย
วิญญาณธาตุ ขันธ์ ๓ ที่เกิดร่วมกัน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นรูป
อาศัยวิญญาณธาตุดังกล่าวมานั้น รูปและอรูปย่อมเป็นอันถือเอาแล้วทีเดียว.
ความหมายของธาตุ......
อาโปธาตุ. ธาตุที่ทำให้อบอุ่น ชื่อว่า เตโชธาตุ. ธาตุที่ทำให้เคลื่อนไหว
ชื่อว่า วาโยธาตุ. ธาตุที่ถูกต้องไม่ได้ ชื่อว่าอากาศธาตุ. ธาตุที่รู้แจ้ง ชื่อว่า
วิญญาณธาตุ.
บทว่า อนตฺตโต อุปคจฺฉึ ความว่า เราย่อมไม่เข้าถึง (คือยึด
ครอง) โดยส่วนแห่งอัตตาว่า นี้เป็นอัตตา.
อนึ่ง ย่อมไม่เข้าถึงธาตุทั้งหลายที่เหลือซึ่งอาศัยปฐวีธาตุ และอุปา-
ทายรูป. แม้อรูปขันธ์ทั้งหลายก็อาศัยปฐวีธาตุโดยปริยายหนึ่งเหมือนกัน
เพราะวัตถุรูปทั้งหลายที่อรูปขันธ์ทั้งหลายนั้นอาศัย ก็อาศัยอยู่กับปฐวีธาตุ
เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวว่าย่อมไม่ยึดครองธาตุที่เหลืออันอาศัยปฐวีธาตุ ย่อม
กล่าวว่า เราย่อมไม่ยึดครองแม้รูปธรรมและอรูปธรรมที่เหลือทั้งหลาย ว่า
เป็นอัตตา. ก็ในบทที่ว่า อาศัยอากาศธาตุ ภูตรูปและอุปาทายรูปแม้ทั้งหมด
ชื่อว่า อาศัยอากาศธาตุ โดยเป็นอวินิโภครูป. อรูปขันธ์ทั้งหลายที่มีรูปวัตถุ
เป็นที่อาศัย ก็ชื่อว่า อาศัยอากาศธาตุเหมือนกัน. เมื่อเป็นอย่างนั้น แม้ใน
ที่นี้ รูปและอรูปย่อมเป็นอันถือเอาแล้วทีเดียว. ส่วนในบทที่ว่า อาศัย
วิญญาณธาตุ ขันธ์ ๓ ที่เกิดร่วมกัน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นรูป
อาศัยวิญญาณธาตุดังกล่าวมานั้น รูปและอรูปย่อมเป็นอันถือเอาแล้วทีเดียว.