คืนก่อนที่เราได้เห็นพระจันทร์เต็มดวงใกล้โลกขนาดนั้น ... มีใครแอบหลับตาและอธิษฐานบ้างไหมครับ
ใครจะคิดว่าแม้แต่ในคืนที่พระจันทร์"เต็ม"ดวง ใครอีกหลายคนยังตั้งใจตามหา"อีกครึ่งหนึ่งของตัวเรา"
คืนนั้นเป็นคืนเดียวกับที่ผมได้ดูหนังเรื่อง Kimi no na wa หรือชื่อไทย "หลับตาฝันถึงชื่อเธอ" การ์ตูนสวยๆ ที่กำลังเป็นที่พูดถึงของใครหลายๆ คน
หลายคนที่ดูมาแล้วย่อมรู้ดีว่า มันมีอะไรที่มากกว่าความสวยงามในเวลาเกือบ 1 ชั่วโมงครึ่ง หนึ่งในนั้นคือการ "musubi" ที่เป็นหัวใจและธีมหลัก
ของเรื่องราวทั้งหมดครับ
“การผูกเชือก, การผูกสัมพันธ์” และผู้สร้างได้ “ผูก” เรื่องราวผ่าน “เส้นเชือก” ได้อย่างลงตัว
“เชือก” ปรากฏให้เห็นตลอดทั้งเรื่อง บ้านของมิท์ซึฮะ นางเอกสืบสานศิลปะคุมิฮิโมะ (組紐) หรือ “เชือกถัก”
เมืองที่นางเอกอาศัยอยู่ชื่อ “อิโตะโมะริโจ” (糸守町) แปลตรงตัวว่า “เมืองที่รักษาเส้นด้าย”
นอกจากนี้ทะกิคุง พระเอกก็ผูก “เชือก” ไว้ที่ข้อมือ ในขณะที่มิท์ซึฮะ นางเอกก็มัดผมด้วย “เชือก”
“เส้นเชือก” จึงเป็นตัวแทนของ “สายสัมพันธ์” ระหว่างพระเอกกับนางเอก เพราะเชือกที่ทะกิใส่อยู่นั้นเป็นสิ่งที่มิท์ซึฮะมอบให้เมื่อ 3 ปีก่อน มิท์ซึฮะมัดผมด้วยเชือกตลอด จนกระทั่งตัดผมสั้นก่อนไปงานที่ศาลเจ้า เธอก็ไม่จำเป็นต้องมัดผมด้วยเชือกอีกต่อไป ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกันกับที่ทั้งสองคนไม่สามารถสลับร่างกันได้อีก เพราะไม่มีเชือกอันเปรียบเสมือนตัวแทนแห่งสายสัมพันธ์
ที่น่าสนใจมากก็คือ การเล่นคำคำว่า “na wa” ในชื่อเรื่อง “Kimi no na wa”
ซึ่งหากมองผิวเผินจะแปลว่า “ชื่อ(ของเธอ)คือ...” แต่หากอ่านติดกัน จะกลายเป็นคำว่า “nawa” (縄) ซึ่งแปลว่า “เชือก”
“Kimi no nawa” จึงแปลว่า “เชือกของเธอ” ได้ด้วย
“เชือก” จึงเป็นหัวใจหลักของการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้
เชือก คือ “สายสัมพันธ์”
เชือก คือ “การถักทอเส้นด้ายเข้าด้วยกัน” จากสองหลอมรวมกลายเป็นหนึ่ง
อันที่จริง “เชือก” มีความสัมพันธ์กับมนุษย์มาตั้งแต่เกิด สังเกตได้จากในเรื่องมีภาพของการตัด “สายรก” ตอนทารกคลอดออกมาจากท้อง
แม่และคนญี่ปุ่นเองก็มีความเชื่อผูกพันกับคำว่า “ผูก” อย่างลึกซึ้ง แม้แต่คำว่า “ลูกชาย” และ “ลูกสาว” ในภาษาญี่ปุ่นก็น่าจะมีรากศัพท์เดียวกับคำว่า “ผูก”
คำว่า “ผูก” คือ “musubu”
ลูกชาย ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “musuko” หากแปลจากรากศัพท์จะหมายถึง“เด็กหรือผู้ชายที่ผูกไว้”
ลูกสาว เรียกว่า “musume” แปลว่า “ผู้หญิงที่ผูกไว้”
นอกจากนี้ ในภาษาญี่ปุ่นยังมีคำว่า “enmusubi” (縁結び) แปลว่า “การผูกชะตาของคนสองคนเข้าด้วยกัน” ซึ่งมักหมายถึงชายหญิง สะท้อนออกมาทาง “ด้ายหรือเชือกสีแดง” และ “การแต่งงาน”
แม้แต่เวลาไปสักการะศาลเจ้า คนญี่ปุ่นก็นิยมโยนเหรียญ 5 เยน เพราะคำว่า “goen” ซึ่งแปลว่า “5 เยน” นั้นไปพ้องเสียงกับคำว่า “goen” (ご縁) ซึ่งแปลว่า “สายสัมพันธ์” เพื่อขอพรเทพเจ้าให้ช่วยชักนำคนดี ๆ หรือสิ่งดี ๆ
ถ้ามองจากตัวคันจิ ซึ่งในความเป็นจริงรับมาจากจีนในภายหลังนั้น อักษร 縁 มีบุฌุ “อิโตะเฮ็ง” いとへんซึ่งมาจาก ito (糸) หรือ “เส้นด้าย” คันจิของคำว่า musubu (結ぶ) “ผูก” และ kekkon (結婚) “แต่งงาน” ก็เช่นเดียวกัน
นอกจากเรื่อง “เชือก” หรือ “เส้นด้าย” อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ “การแยกจากกัน” แต่รอการได้กลับมาพบกัน ซีงสะท้อนออกมาที่ “ดาวหาง” ซึ่งแตกนิวเคลียสออกเป็นสองส่วน และยังสะท้อนออกมาในคำว่า “katawaredoki” ในเรื่องนั้นสื่อถึงเวลาตอนพลบค่ำ แต่น่าสนใจว่าปกติคำว่า “kataware” นั้นแปลว่า “อีกส่วนของสิ่งที่แตกไป” ในภาษาญี่ปุ่นมีคำว่า “katawarezuki” (片割れ月) ซึ่งแปลว่า “พระจันทร์ครึ่งเสี้ยว” ด้วย
ดังนั้น มิท์ซึฮะนางเอก จึงเปรียบเสมือนอีกเสี้ยวหนึ่งที่มาเติมเต็มชีวิตของทะกิ ที่กล่าวเช่นนั้นได้เพราะนอกจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นในเรื่องแล้ว ผู้สร้างยังเจตนาตั้งชื่อนางเอกว่า “มิท์ซึฮะ” (三葉)
ถ้ามองผิวเผิน “มิท์ซึ” แปลว่า “เลข 3” ส่วน “ฮะ” แปลว่า “ใบไม้”
แต่ที่หลายคนอาจจะยังคาดไม่ถึงก็คือ คำว่า “มิท์ซึ” นั้นยังไปพ้องเสียงกับคำว่า “มิท์ซึ” 満つ ซึ่งเป็นภาษาโบราณแปลว่า “เต็ม” หรือ “ล้น” นางเอกจึงเป็นส่วนเติมเต็มของชีวิตพระเอกนั่นเองครับ
หวังว่ามุมมองนี้ที่ได้จากหนังและการวิเคราะห์โดยฝีมือของ "ส่วนเติมเต็มในชีวิตผม" กระทู้นี้จะทำให้ทุกท่านชมหนังเรื่องนี้ได้อิ่มเอมมากยิ่งขึ้นครับ
musubi” (結び) ความสัมพันธ์ไม่รู้จบ และการพบของเราสองคน #Kimi no na wa# #SPOILER ALERT# #หลับตาฝันถึงชื่อเธอ
ใครจะคิดว่าแม้แต่ในคืนที่พระจันทร์"เต็ม"ดวง ใครอีกหลายคนยังตั้งใจตามหา"อีกครึ่งหนึ่งของตัวเรา"
คืนนั้นเป็นคืนเดียวกับที่ผมได้ดูหนังเรื่อง Kimi no na wa หรือชื่อไทย "หลับตาฝันถึงชื่อเธอ" การ์ตูนสวยๆ ที่กำลังเป็นที่พูดถึงของใครหลายๆ คน
หลายคนที่ดูมาแล้วย่อมรู้ดีว่า มันมีอะไรที่มากกว่าความสวยงามในเวลาเกือบ 1 ชั่วโมงครึ่ง หนึ่งในนั้นคือการ "musubi" ที่เป็นหัวใจและธีมหลัก
ของเรื่องราวทั้งหมดครับ
“การผูกเชือก, การผูกสัมพันธ์” และผู้สร้างได้ “ผูก” เรื่องราวผ่าน “เส้นเชือก” ได้อย่างลงตัว
“เชือก” ปรากฏให้เห็นตลอดทั้งเรื่อง บ้านของมิท์ซึฮะ นางเอกสืบสานศิลปะคุมิฮิโมะ (組紐) หรือ “เชือกถัก”
เมืองที่นางเอกอาศัยอยู่ชื่อ “อิโตะโมะริโจ” (糸守町) แปลตรงตัวว่า “เมืองที่รักษาเส้นด้าย”
นอกจากนี้ทะกิคุง พระเอกก็ผูก “เชือก” ไว้ที่ข้อมือ ในขณะที่มิท์ซึฮะ นางเอกก็มัดผมด้วย “เชือก”
“เส้นเชือก” จึงเป็นตัวแทนของ “สายสัมพันธ์” ระหว่างพระเอกกับนางเอก เพราะเชือกที่ทะกิใส่อยู่นั้นเป็นสิ่งที่มิท์ซึฮะมอบให้เมื่อ 3 ปีก่อน มิท์ซึฮะมัดผมด้วยเชือกตลอด จนกระทั่งตัดผมสั้นก่อนไปงานที่ศาลเจ้า เธอก็ไม่จำเป็นต้องมัดผมด้วยเชือกอีกต่อไป ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกันกับที่ทั้งสองคนไม่สามารถสลับร่างกันได้อีก เพราะไม่มีเชือกอันเปรียบเสมือนตัวแทนแห่งสายสัมพันธ์
ที่น่าสนใจมากก็คือ การเล่นคำคำว่า “na wa” ในชื่อเรื่อง “Kimi no na wa”
ซึ่งหากมองผิวเผินจะแปลว่า “ชื่อ(ของเธอ)คือ...” แต่หากอ่านติดกัน จะกลายเป็นคำว่า “nawa” (縄) ซึ่งแปลว่า “เชือก”
“Kimi no nawa” จึงแปลว่า “เชือกของเธอ” ได้ด้วย
“เชือก” จึงเป็นหัวใจหลักของการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้
เชือก คือ “สายสัมพันธ์”
เชือก คือ “การถักทอเส้นด้ายเข้าด้วยกัน” จากสองหลอมรวมกลายเป็นหนึ่ง
อันที่จริง “เชือก” มีความสัมพันธ์กับมนุษย์มาตั้งแต่เกิด สังเกตได้จากในเรื่องมีภาพของการตัด “สายรก” ตอนทารกคลอดออกมาจากท้อง
แม่และคนญี่ปุ่นเองก็มีความเชื่อผูกพันกับคำว่า “ผูก” อย่างลึกซึ้ง แม้แต่คำว่า “ลูกชาย” และ “ลูกสาว” ในภาษาญี่ปุ่นก็น่าจะมีรากศัพท์เดียวกับคำว่า “ผูก”
คำว่า “ผูก” คือ “musubu”
ลูกชาย ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “musuko” หากแปลจากรากศัพท์จะหมายถึง“เด็กหรือผู้ชายที่ผูกไว้”
ลูกสาว เรียกว่า “musume” แปลว่า “ผู้หญิงที่ผูกไว้”
นอกจากนี้ ในภาษาญี่ปุ่นยังมีคำว่า “enmusubi” (縁結び) แปลว่า “การผูกชะตาของคนสองคนเข้าด้วยกัน” ซึ่งมักหมายถึงชายหญิง สะท้อนออกมาทาง “ด้ายหรือเชือกสีแดง” และ “การแต่งงาน”
แม้แต่เวลาไปสักการะศาลเจ้า คนญี่ปุ่นก็นิยมโยนเหรียญ 5 เยน เพราะคำว่า “goen” ซึ่งแปลว่า “5 เยน” นั้นไปพ้องเสียงกับคำว่า “goen” (ご縁) ซึ่งแปลว่า “สายสัมพันธ์” เพื่อขอพรเทพเจ้าให้ช่วยชักนำคนดี ๆ หรือสิ่งดี ๆ
ถ้ามองจากตัวคันจิ ซึ่งในความเป็นจริงรับมาจากจีนในภายหลังนั้น อักษร 縁 มีบุฌุ “อิโตะเฮ็ง” いとへんซึ่งมาจาก ito (糸) หรือ “เส้นด้าย” คันจิของคำว่า musubu (結ぶ) “ผูก” และ kekkon (結婚) “แต่งงาน” ก็เช่นเดียวกัน
นอกจากเรื่อง “เชือก” หรือ “เส้นด้าย” อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ “การแยกจากกัน” แต่รอการได้กลับมาพบกัน ซีงสะท้อนออกมาที่ “ดาวหาง” ซึ่งแตกนิวเคลียสออกเป็นสองส่วน และยังสะท้อนออกมาในคำว่า “katawaredoki” ในเรื่องนั้นสื่อถึงเวลาตอนพลบค่ำ แต่น่าสนใจว่าปกติคำว่า “kataware” นั้นแปลว่า “อีกส่วนของสิ่งที่แตกไป” ในภาษาญี่ปุ่นมีคำว่า “katawarezuki” (片割れ月) ซึ่งแปลว่า “พระจันทร์ครึ่งเสี้ยว” ด้วย
ถ้ามองผิวเผิน “มิท์ซึ” แปลว่า “เลข 3” ส่วน “ฮะ” แปลว่า “ใบไม้”
แต่ที่หลายคนอาจจะยังคาดไม่ถึงก็คือ คำว่า “มิท์ซึ” นั้นยังไปพ้องเสียงกับคำว่า “มิท์ซึ” 満つ ซึ่งเป็นภาษาโบราณแปลว่า “เต็ม” หรือ “ล้น” นางเอกจึงเป็นส่วนเติมเต็มของชีวิตพระเอกนั่นเองครับ
หวังว่ามุมมองนี้ที่ได้จากหนังและการวิเคราะห์โดยฝีมือของ "ส่วนเติมเต็มในชีวิตผม" กระทู้นี้จะทำให้ทุกท่านชมหนังเรื่องนี้ได้อิ่มเอมมากยิ่งขึ้นครับ