วิธีชม “ซูเปอร์มูน” ใหญ่ที่สุดในรอบ 68 ปี คืนวันจันทร์นี้
ในค่ำคืนวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายนนี้ ชาวโลกสามารถเฝ้าชมปรากฏการณ์ “ซูเปอร์มูน” หรือคืนที่ดวงจันทร์มีขนาดใหญ่และสุกสว่างมากกว่าปกติได้อีกครั้ง แต่ในครั้งนี้จะเป็นคืนพิเศษที่ซูเปอร์มูนจะมีขนาดใหญ่เต็มท้องฟ้าและสว่างจ้ามากที่สุดในรอบ 68 ปี นับแต่มีการบันทึกสถิติไว้เมื่อปี 1948 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ “ซูเปอร์มูน” คือการที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาในระยะใกล้โลกมากที่สุดในช่วงที่กำลังเต็มดวงพอดี ทำให้มองเห็นว่ามีขนาดใหญ่ขึ้นราว 14% และมีความสว่างมากขึ้นราว 30% เมื่อเทียบกับพระจันทร์เต็มดวงตามปกติ
ในบางแห่งอาจได้เห็นซูเปอร์มูนที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 68 ปีครั้งนี้ ทั้งในคืนวันที่ 13 และคืนวันที่ 14 พฤศจิกายน โดยผู้ที่ต้องการชมซูเปอร์มูน ควรออกไปยังสถานที่ที่ไม่มีแสงไฟรบกวนมากนัก และให้เริ่มสังเกตพระจันทร์ทันทีหลังจากพระอาทิตย์ตกดิน โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก จะพบว่าพระจันทร์ช่วงที่เพิ่งขึ้นจากขอบฟ้ามีขนาดใหญ่เป็นพิเศษและน่าตื่นตาตื่นใจมากกว่าเมื่อขึ้นสูงเหนือขอบฟ้าไปแล้ว
หากสภาพอากาศเป็นใจ คาดว่าวันที่ 14 พ.ย. นี้ชาวโลกจะได้ชมปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนที่มีขนาดใหญ่และสว่างที่สุดในรอบศตวรรษอย่างแน่นอน แต่หากพลาดโอกาส จะต้องรอไปชมอีกครั้งในอีก 18 ปีข้างหน้า คือในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ปี 2034 จึงจะได้ชมซูเปอร์มูนแบบพิเศษชนิดเดียวกัน ส่วนปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนแบบธรรมดาในครั้งต่อไปสามารถชมได้ในคืนวันที่ 15 ธันวาคมของปีนี้
(ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ)
http://ppantip.com/
วิธีชม “ซูเปอร์มูน” ใหญ่ที่สุดในรอบ 68 ปี คืนวันจันทร์นี้
ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ “ซูเปอร์มูน” คือการที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาในระยะใกล้โลกมากที่สุดในช่วงที่กำลังเต็มดวงพอดี ทำให้มองเห็นว่ามีขนาดใหญ่ขึ้นราว 14% และมีความสว่างมากขึ้นราว 30% เมื่อเทียบกับพระจันทร์เต็มดวงตามปกติ
ในบางแห่งอาจได้เห็นซูเปอร์มูนที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 68 ปีครั้งนี้ ทั้งในคืนวันที่ 13 และคืนวันที่ 14 พฤศจิกายน โดยผู้ที่ต้องการชมซูเปอร์มูน ควรออกไปยังสถานที่ที่ไม่มีแสงไฟรบกวนมากนัก และให้เริ่มสังเกตพระจันทร์ทันทีหลังจากพระอาทิตย์ตกดิน โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก จะพบว่าพระจันทร์ช่วงที่เพิ่งขึ้นจากขอบฟ้ามีขนาดใหญ่เป็นพิเศษและน่าตื่นตาตื่นใจมากกว่าเมื่อขึ้นสูงเหนือขอบฟ้าไปแล้ว
หากสภาพอากาศเป็นใจ คาดว่าวันที่ 14 พ.ย. นี้ชาวโลกจะได้ชมปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนที่มีขนาดใหญ่และสว่างที่สุดในรอบศตวรรษอย่างแน่นอน แต่หากพลาดโอกาส จะต้องรอไปชมอีกครั้งในอีก 18 ปีข้างหน้า คือในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ปี 2034 จึงจะได้ชมซูเปอร์มูนแบบพิเศษชนิดเดียวกัน ส่วนปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนแบบธรรมดาในครั้งต่อไปสามารถชมได้ในคืนวันที่ 15 ธันวาคมของปีนี้
(ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ)
http://ppantip.com/