ถ้าลาวจะทำแบบนี้ ออกจากอาเซียนไปเลยดีกว่า

จากความสะดวกด้านการเดินทางข้ามฝั่งถึงกันทำให้การค้าชายแดนระหว่างไทยกับ สปป.ลาว เติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่เมื่อช่วงกลางเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงการเงิน สปป.ลาว ได้ออกประกาศจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 10% ของราคาสินค้านำเข้าทุกรายการ ซึ่งครอบคลุมถึงการนำเข้าที่ซื้อขายกันทั่วไปตามแนวชายแดนด้วย

ขณะที่ภาคเอกชนมองว่านโยบายดังกล่าวของ สปป.ลาว ต้องการดึงให้ประชาชนหันไปจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศตัวเองมากขึ้น แทนการเดินทางเข้ามาหาซื้อสินค้าในฝั่งเพื่อนบ้าน เพื่อที่จะให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจภายในประเทศตัวเองนั้นอาจส่งผลกระทบต่อการค้าขายชายแดนในฝั่งไทยด้วย

สวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ถ้าจะให้มองว่าเป็นเรื่องปกติก็มองได้ เพราะ สปป.ลาว เพิ่งจะมีการใช้ระบบภาษีมาได้ 3 ปีเอง ซึ่งการจะปรับเปลี่ยนก็ทำได้เหมือนที่รัฐบาลไทยเองก็มีแนวคิดที่จะปรับขึ้น แต่การที่ สปป.ลาว ประกาศเรียกเก็บในอัตรา 10% เลยนั้น ก็ถือเป็นเรื่องใหม่ในความรู้สึกทั้งของชาวลาวและไทย

“มีแนวคิดที่จะนำเสนอต่อกระทรวงการคลัง เพื่อให้มีการทำคืนภาษีสำหรับนักท่องเที่ยวที่ซื้อสินค้า (Tax Refund) ทางบก หรือทำการหักคืนภาษีให้ ณ บริเวณด่านชายแดนต่างๆ เพื่อเป็นการจูงใจให้ทั้งนักท่องเที่ยวที่เดินทางจากจีนผ่าน สปป.ลาว เข้ามายังไทย และจูงใจชาวลาวให้ยังเดินทางเข้ามาหาซื้อสินค้าหรือช็อปปิ้งในฝั่งไทย” สวาท เสนอแนะ

อนุรัตน์ อินทร ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย ระบุว่า หอการค้าจังหวัดเชียงรายกำลังหารือกับทางเจ้าแขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว อยู่ เพราะหากมีการบังคับใช้จริง จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวจีนที่ผ่านทาง สปป.ลาว ด้านเชียงของ ที่ปกติจะขับรถเข้ามายังฝั่งไทยในช่วงเดือน ก.พ. ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่น หรือนักท่องเที่ยวจีนจากไทยที่จะไปยังลาว รวมทั้งนักท่องเที่ยวจากลาวที่ต้องการจับจ่ายสินค้าไทยและผ่านไปยังประเทศลาวเอง

ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ของไทยกำลังประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแนวชายแดนเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมผลักดันในเวทีการเจรจาระดับทวิภาคีระหว่างไทย-สปป.ลาว ในการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-ลาว ที่ สปป.ลาว จะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมในปีนี้ โดยจะเสนอให้ขยายการผ่อนปรนให้เพิ่มจำนวนครั้งสำหรับบุคคลที่ข้ามแดนเพิ่มขึ้นให้มากกว่า 2 ครั้ง/เดือน และให้เพิ่มมูลค่าสินค้าที่จะต้องจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากตั้งแต่ 50 เหรียญสหรัฐ เป็น 200 เหรียญสหรัฐ/ครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับข้อยกเว้นของอาเซียนภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA)

วิรัตน์ ศิริขจรกิจ กรรมการบริหาร บริษัท สำนักภาษี เคพีเอ็มจี ภูมิไชย กล่าวว่า มาตรการจัดเก็บภาษี VAT อัตรา 10% ของ สปป.ลาว นั้นไม่ขัดต่อข้อกำหนดการค้าเสรีอาเซียน หรือการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ด้วยในข้อตกลงเออีซีไม่ได้ครอบคลุมอัตราภาษี VAT หรือภาษีนิติบุคคล ซึ่งมาตรการดังกล่าวของลาวอาจดำเนินการได้ ซึ่งเป็นในลักษณะเดียวกับที่ไทยเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าที่มีมูลค่าเกินที่กำหนดไว้ เมื่อมีการเรียกตรวจพบจากด่านท่าอากาศยานเช่นกัน

ขณะที่กระแสดังกล่าวใน สปป.ลาว มีการตื่นตัวไม่น้อย ด้วยกระทบต่อผู้บริโภคชาวลาวโดยตรง จากราคาสินค้าในประเทศมีราคาแพงกว่าเมื่อเทียบกับสินค้าที่ข้ามไปซื้อได้ที่ชายแดนไทย เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และน้ำดื่มใน สปป.ลาว ราคาขวดละ 3,000- 4,000 กีบ (ประมาณ 12.80-17.10 บาท) ขณะที่ราคาขายในไทยที่ขวดบรรจุขนาดเท่ากัน ราคาเพียง 1,000-1,500 กีบ (ประมาณ 4.29-6.43 บาท) เท่านั้น จึงทำให้เริ่มมีกระแสกดดันรัฐบาล สปป.ลาว เกี่ยวกับมาตรการรองรับผลกระทบนี้เช่นกัน

ล่าสุดสื่อท้องถิ่น สปป.ลาว รายงานว่า กระทรวงการเงินลาวเลื่อนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 10% ตามด่านและท่าอากาศยานแห่งต่างๆ สำหรับสินค้าที่นำเข้าประเทศออกไปอีกหนึ่งเดือน โดยจะเริ่มในเดือน พ.ย.นี้ นำร่องที่ด่านสะพานมิตรภาพเวียงจันทน์-หนองคายแห่งแรก โดยอนุโลมให้นำสิ่งของกลับเข้าประเทศมีมูลค่าไม่เกิน 50 เหรียญสหรัฐ บังคับใช้กับผู้โดยสารทุกคน รวมถึงชาวต่างชาติ จากเดิมกำหนดใช้วันที่ 1 ต.ค.

จาก http://www.posttoday.com/biz/aec/scoop/459727


              เข้าใจแล้วว่าทำไมสิงคโปร์ถึงคัดค้านลาวเข้าอาเซียน อาเซียนเขาลดภาษีครับ การค้าขายระหว่างกันต้องลดภาษีให้น้อยที่สุด ลดจนไม่มีภาษีการนำเข้า-ส่งออก แต่นี่ดันเพิ่มภาษี 10% ให้ประชาชนที่ไปซื้อของไทยแล้วขนกลับไป ไม่รู้จะเพิ่มทำไม สงสัยคงไม่มีเงินจ่ายหนี้ไทย คืออาเซืยนเขามีไว้ให้เป็นเขตการค้าเสรี ต้องการให้ประชาคมมีการพัฒนาไปให้รุดหน้า การค้าขายระหว่างกันต้องทำได้เสรี ลาวคงไม่เข้าใจข้อนี้ จึงได้เพิ่มภาษีขัดขวางการค้าแบบนี้ พักลัดคงรวยเละ ลาวไม่พร้อมเข้าอาเซียนหรอกครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่