กระทู้นี้เป็นกระทู้ที่รอคอยเลยก็ว่าได้ครับ หลังจากวางแผนต่อเติมครัวหลังบ้านและหลังคาหน้าบ้านด้วยงบอันน้อยนิด แสนกว่าๆ
โดยบ้านหลังนี้เป็นบ้านหลังแรกของผมครับ ซึ่งกว่าจะกู้ได้ก้ลำบากลำบนและเครียสไปหลายตรลบกันทีเดียว แต่ก็เอาว่ะ อายุเรายังน้อยยังต่อสู้ได้อีกเยอะ
รวมทั้งมีกำลังใจจากครอบครัว ที่เห็นดีเห็นงามกับการซื้อบ้านมากๆ ต่างจากตอนซื้อบิ้กไบท์ ที่ไม่มีใครเห็นด้วยเลย แต่ก็ดื้อรั้นจนซื้อมาได้ ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเองเช่นกัน
ต้องขอชี้แจงก่อนน่ะครับว่า รูปอาจจะน้อยไปหน่อย ไม่ครบทุกขั้นตอนเนื่องจาก จขกท. ทำงานต่างจังหวัด และให้แม่เป็คนคุมงานก่อสร้างให้ การติดตามงานส่วนใหญ่จึงเป็นการโทรคุยกันมากกว่าครับ บางทีก้ไม่ค่อยเข้าใจกัน เนื่องจากลูกชายค่อนข้างจะอินดี้ แล้วก็พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง และคุณแม่ท่านก็ไม่สันทัดเรื่องเทคโนโลยีเท่าไหร่ จึงไม่สามารถบันทึกภาพได้ครับ
เข้าเรื่องเลยล่ะกันครับ บ้านที่ผมซื้อเป็นบ้านที่อยู่ซอยท้ายสุดของโครงการ และอยู่ติดรั้วโครงการด้วย ด้านหลังจะเป็นที่ดินเปล่า มีต้นกกขึ้นเต็มไปหมด โดยบ้านของผม จะอยู่บล็อกกลางหลังที่ 2 จากขวาครับ ซึ่งสำหรับผมชอบตรงนี้มาก เพราะดูไม่วุ่นวายกับเพื่อนบ้านมากหลังเกินไป รวมทั้ง ตรงนี้บ้านจะขวางทิศทางลมด้วย ทำให้ลมพัดมาจากทางด้านหลังบ้านเต็มๆ
ในเรื่องฮวงจุ้ยหรือความเชื่อ ผมไม่ซีเรียสครับ มองเรื่องวิทยาศาสตร์และโฟลของลมในบ้านเป็นพอครับ โดยบ้านจะหันหน้าไปทางทิศใต้ และหันหลังบ้านไปทางทิศเหนือครับ และจากการวางตัวของห้องนอนคือต้องหันหัวนอนไปทิศตะวันตกครับ อันนี้ก็ไม่ซีเรียสเช่นกัน
ส่วนพื้นที่ด้านหลังของบ้านโดยปกติแล้ว ถ้าเป็นบ้านตามแบบมาตรฐาน จะมีขนาด 5.7*2 เมตรครับ แต่ด้วยบ้านผมติดรั้วโครงการเลยจะมีพื้นที่ตรงนี้มากหน่อย ขนาด 5.7*3.5 เมตรครับ หักลบ ส่วนที่เป็นรั้ว ก็จะเหลือ 5.6*3.4 ครับ
แนวคิดในการออกแบบของผมคือ ต้องการครัวที่โล่ง ถึงโล่งมากๆ เพราะตัวผมเองและแม่ชอบทำอาหารมากๆ ดังนั้นวันไหนว่าง พื้นที่ที่จะใช้เวลามากที่สุดก็คงจะเป็นครัวนี่แหละครับ และรวมทั้งอยากให้มีอากาสถ่ายเทได้สะดวก โดยไม่รบกวนเพื่อนบ้านในที่ดินฝั่งตรงข้ามที่อาจจะมีหมู่บ้านในอนาคต จึงออกแบบ หลังคา 2 ชั้น เพื่อให้มีช่องระบายอากาศ ระหว่างชั้นของหลังคาครับ โดยใช้โครงเหล็กกล่องและแผ่นเมทัลชีท ช่องว่างระหว่างชั้นหลังคาห่างจาก เขตที่ดิน 2 เมตรไม่ขาดไม่เกิน ความสูงชั้นแรก สูงจากพื้นประมาณ 3.1 เมตร ดังนั้นจะเห็นได้ว่า หลังคาจะโล่งมากครับ
อันดับแรกต้องทำการเจาะพื้นเพื่อทำคานคอดินครับ จากนั้นจึงจะทำการขึ้นโครงหลังคาครัวหลังบ้านครับ
เพื่อความแข็งแรงใช้เสาเป็นเหล็กกล่องขนาด 4*4 นิ้ว และคานเชื่อมเสาใช้เหล็กกล่องขนาด 4*1.5 นิ้วครับ
เนื่องจากจะไม่ยึดโครงสร้างใดๆของครัวเข้ากับตัวบ้านครับ แต่การเชื่อมอาจจะไม่ค่อยเรียบร้อยเนื่องจาก พ่อ จขกท. เชื่อมเอง
และมีช่าง อีก 3 คนช่วยกันทำครับ
ส่วนที่ติดกับบ้านต้องทำการตัดบัวปูนปั้นออกเพื่อให้เสาสามารถตั้งชิดตัวบ้านได้ครับ
ขึ้นโครงเสร็จแล้วก้ทำการเทพื้นครับ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนห้องครัว จะมีขนาด 3.6*3.4 เมตร และที่เหลือ 3.4*2 เมตร จะทำเป็นหลังคาโปร่งเพื่อปลูกต้นไทร ซัก 3-5 ต้นครับ รวมทั้งเป็นพื้นที่ซักล้าง และตากผ้าได้ด้วยครับ
เทพื้นเสร็จก้ทำการมุงหลังคาครับ ตอนนี้ จขกท.มีโอกาสลางานกลับไปดูครับ แล้วก้ทำเองเลยจะได้ลดระยะเวลา
ในระหว่างที่มุงหลังคาด้านหลัง ก้ทำการขึ้นหลังคาหน้าบ้านครับ ตอนแรกกะยังไม่ทำเพราะ กลัวงบจะไม่พอ แต่พอแม่มาเจอราคาวัสดุก่อสร้างแล้วพบว่าราคาถูกกว่าต่างจังหวัดครึ่งต่อครึ่ง ก็เลยตัดสินใจทำหน้าบ้านด้วยครับ
จากนั้นก้ทำการก่ออิฐฉาบปูนครับ โดยใช้อิฐมวลเบา 1 พาลเลทครับ จำนวน 200 ก้อน ใช้เวลาก่อ 1 วันก้อเสร็จครับ
หลังจากฉาบเสร็จก้ทำการติดตั้งประตูบานซิ้งครับ ในส่วนของบานซิ้งไม่ได้คำนวนณเลยครับ คือไปถึงร้านดูโฮมก็ซื้อเลย อยากได้ตัวไหนบ้างก็เลือกเอา แล้วค่อยมาปรับให้เข้ากับหน้างาน แต่ที่ขาดไม่ได้คือบานถังแก๊สต้องมี และต้องรู้ด้วยว่าจะใช้เตาแก๊สแบบลอยหรือแบบฝัง เพราะจะได้เลือกบานซิ้งใต้เตาแก๊สได้ถูกขนาดครับ มาถึงก็วางแนวไว้ให้ช่างเรียบร้อย ตัวนี้ จขกท.เป็นคนทำเองครับ ทำไว้แค่นี้แล้วก็หนีกลับต่างจังหวัด ปล่อยใช้ช่างสานต่อ
เสร็จแล้วก้ติดกระเบื้องผนัง ซึ่งกระเบื้อง และกระเบื้องภายในเคาเตอร์ครับ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความสะอาด
ช่วงระหว่างรอกระเบื้องแห้งก้ทำการตีฝ้าเพดาน และติดมุ้งลวดเหล็กดัดครับ
ตัวเหล็กดัดนี่ออกจะแตกต่างจากชาวบ้านเค้าหน่อย ส่วนมากเค้าจะทำเป็นลาย และทาสีขาวครับ
แต่ส่วนตัวผมคิดว่าอยากทำให้มันเหมือนประตูบานเลื่อนแบบญี่ปุ่นครับ แต่พอติดเสร็จ แม่ก็ทักว่า ไม่ค่อยเหมือนญี่ปุ่นเท่าไหร่ ออกจะเหมือนฮ่องกง (ห้องกรง=คุก) เสียมากกว่า แต่ก็เอาเหอะ ในเมื่อลูกชอบแม่ก็โอเค ญี่ปุ่น ก็ญี่ปุ่น
มาดูท๊อบครัวกันครับ ตัวนี้ จขทก.เลือกใช้แกนรนิโต้แผ่นใหญ่ ขนาด 120*62 ซม.ครับ เนื่องจากลายสวย ราคาไม่แรงมาก ตกแผ่นละ 600+ โดยจะขายกล่องละ 2 แผ่น ใช้ ทั้งหมด 5 แผ่นครับ ตัวกระเบื้องนี่ จขกท.ลางาน 1 วันมาติดกับช่างครับ
เมื่อติดกระเบื้องเสร็จสรรพ ก้จะได้แบบนี้ครับ ยังขาดตู้แขวน ค่อยๆทยอยติดไป
หลังจากจุดนี้ไปคือช่างขอกลับบ้าน เพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ก็เหลือประมาณ 20% เรื่องการเก็บรายละเอียดครับ
ต่อจากนี้ก็จะเป็นการทาสีและติดตั้งผ้าม่าน โดยจะใช้เวลาว่างทำการทาสีเองครับ อาจจะไม่เนียนบ้างแต่ก็ภูมิใจครับ ทำด้วยตัวเองไม่ต้องจ้าง
มาดูภาพสุดท้ายกันดีกว่าครับ
ในส่วนของผ้าม่าน อันนี้ซื้อสำเร็จมาครับแล้วก้ทำการติดตั้งเอง ยังขาดผ้าม่านโปร่งซึ่งตอนนี้แม่ จขกท.กะลังเย็บอยู่ ติดเมื่อใหร่จะเอามารีวิว อีกทีครับ
ส่วนหน้าบ้านตอนนี้ยังไม่มีรูปไว้วันไหนกลับบ้านจะถ่ายมาให้ชมครับ
สรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ค่าแรงช่าง โครงสร้าง 2 คน วันละ 500 บาท 10 วัน = 10,000 บาท
ค่าแรงช่างปูน ปูกระเบื้อง 1 คน วันละ 400 บาท 15 วัน = 6,000 บาท
ค่าแรงไม่รวมค่าอาหาร และค่าที่พักครับ เนื่องจากเป็นญาติ จขกท.เอง ก็กินอยู่ด้วยกันที่บ้านเลยครับ
ส่วนค่าวัสดุอุปรณ์ คร่าวๆ
เหล็กกล่อง+เหล็กเส้น 20,000
หิน+ทราย 1,000
กระเบื้องปูพื้น ผนัง 12,000
คิ้วสแตนเลส 2,000
หลังคาเมทัลชีท 10,000
ปูน กาว 4,000
อิฐมวลเบา 2,700
บานซิ้ง+เตาแก๊ส 17,000
มุ้งลวดเหล็กดัด 15,000
ผ้าม่าน+ราว 6,000
ไม้ระแนง 2,000
ฝ้าเพดาน 3,000
สี 4,000
รวมวัสดุสิ้นเปลือง และเครื่องมือช่างบางส่วน ตกอยู่ที่ประมาณ 120,000 บาท
ค่าใช้จ่ายสุทธิ ประมาณ 140,000 บาทครับ
เหลือพวกตู้แขวนแล้วก็เฟอร์นิเจอร์อันนี้ทยอยซื้อไปครับ
ค่อยเป็นค่อยไป
รีวิว ต่อเติมครัวด้วยตัวเอง+จ้างช่างรายวัน ด้วยค่าแรง ไม่ถึง 2 หมื่น
โดยบ้านหลังนี้เป็นบ้านหลังแรกของผมครับ ซึ่งกว่าจะกู้ได้ก้ลำบากลำบนและเครียสไปหลายตรลบกันทีเดียว แต่ก็เอาว่ะ อายุเรายังน้อยยังต่อสู้ได้อีกเยอะ
รวมทั้งมีกำลังใจจากครอบครัว ที่เห็นดีเห็นงามกับการซื้อบ้านมากๆ ต่างจากตอนซื้อบิ้กไบท์ ที่ไม่มีใครเห็นด้วยเลย แต่ก็ดื้อรั้นจนซื้อมาได้ ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเองเช่นกัน
ต้องขอชี้แจงก่อนน่ะครับว่า รูปอาจจะน้อยไปหน่อย ไม่ครบทุกขั้นตอนเนื่องจาก จขกท. ทำงานต่างจังหวัด และให้แม่เป็คนคุมงานก่อสร้างให้ การติดตามงานส่วนใหญ่จึงเป็นการโทรคุยกันมากกว่าครับ บางทีก้ไม่ค่อยเข้าใจกัน เนื่องจากลูกชายค่อนข้างจะอินดี้ แล้วก็พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง และคุณแม่ท่านก็ไม่สันทัดเรื่องเทคโนโลยีเท่าไหร่ จึงไม่สามารถบันทึกภาพได้ครับ
เข้าเรื่องเลยล่ะกันครับ บ้านที่ผมซื้อเป็นบ้านที่อยู่ซอยท้ายสุดของโครงการ และอยู่ติดรั้วโครงการด้วย ด้านหลังจะเป็นที่ดินเปล่า มีต้นกกขึ้นเต็มไปหมด โดยบ้านของผม จะอยู่บล็อกกลางหลังที่ 2 จากขวาครับ ซึ่งสำหรับผมชอบตรงนี้มาก เพราะดูไม่วุ่นวายกับเพื่อนบ้านมากหลังเกินไป รวมทั้ง ตรงนี้บ้านจะขวางทิศทางลมด้วย ทำให้ลมพัดมาจากทางด้านหลังบ้านเต็มๆ
ในเรื่องฮวงจุ้ยหรือความเชื่อ ผมไม่ซีเรียสครับ มองเรื่องวิทยาศาสตร์และโฟลของลมในบ้านเป็นพอครับ โดยบ้านจะหันหน้าไปทางทิศใต้ และหันหลังบ้านไปทางทิศเหนือครับ และจากการวางตัวของห้องนอนคือต้องหันหัวนอนไปทิศตะวันตกครับ อันนี้ก็ไม่ซีเรียสเช่นกัน
ส่วนพื้นที่ด้านหลังของบ้านโดยปกติแล้ว ถ้าเป็นบ้านตามแบบมาตรฐาน จะมีขนาด 5.7*2 เมตรครับ แต่ด้วยบ้านผมติดรั้วโครงการเลยจะมีพื้นที่ตรงนี้มากหน่อย ขนาด 5.7*3.5 เมตรครับ หักลบ ส่วนที่เป็นรั้ว ก็จะเหลือ 5.6*3.4 ครับ
แนวคิดในการออกแบบของผมคือ ต้องการครัวที่โล่ง ถึงโล่งมากๆ เพราะตัวผมเองและแม่ชอบทำอาหารมากๆ ดังนั้นวันไหนว่าง พื้นที่ที่จะใช้เวลามากที่สุดก็คงจะเป็นครัวนี่แหละครับ และรวมทั้งอยากให้มีอากาสถ่ายเทได้สะดวก โดยไม่รบกวนเพื่อนบ้านในที่ดินฝั่งตรงข้ามที่อาจจะมีหมู่บ้านในอนาคต จึงออกแบบ หลังคา 2 ชั้น เพื่อให้มีช่องระบายอากาศ ระหว่างชั้นของหลังคาครับ โดยใช้โครงเหล็กกล่องและแผ่นเมทัลชีท ช่องว่างระหว่างชั้นหลังคาห่างจาก เขตที่ดิน 2 เมตรไม่ขาดไม่เกิน ความสูงชั้นแรก สูงจากพื้นประมาณ 3.1 เมตร ดังนั้นจะเห็นได้ว่า หลังคาจะโล่งมากครับ
อันดับแรกต้องทำการเจาะพื้นเพื่อทำคานคอดินครับ จากนั้นจึงจะทำการขึ้นโครงหลังคาครัวหลังบ้านครับ
เพื่อความแข็งแรงใช้เสาเป็นเหล็กกล่องขนาด 4*4 นิ้ว และคานเชื่อมเสาใช้เหล็กกล่องขนาด 4*1.5 นิ้วครับ
เนื่องจากจะไม่ยึดโครงสร้างใดๆของครัวเข้ากับตัวบ้านครับ แต่การเชื่อมอาจจะไม่ค่อยเรียบร้อยเนื่องจาก พ่อ จขกท. เชื่อมเอง
และมีช่าง อีก 3 คนช่วยกันทำครับ
ส่วนที่ติดกับบ้านต้องทำการตัดบัวปูนปั้นออกเพื่อให้เสาสามารถตั้งชิดตัวบ้านได้ครับ
ขึ้นโครงเสร็จแล้วก้ทำการเทพื้นครับ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนห้องครัว จะมีขนาด 3.6*3.4 เมตร และที่เหลือ 3.4*2 เมตร จะทำเป็นหลังคาโปร่งเพื่อปลูกต้นไทร ซัก 3-5 ต้นครับ รวมทั้งเป็นพื้นที่ซักล้าง และตากผ้าได้ด้วยครับ
เทพื้นเสร็จก้ทำการมุงหลังคาครับ ตอนนี้ จขกท.มีโอกาสลางานกลับไปดูครับ แล้วก้ทำเองเลยจะได้ลดระยะเวลา
ในระหว่างที่มุงหลังคาด้านหลัง ก้ทำการขึ้นหลังคาหน้าบ้านครับ ตอนแรกกะยังไม่ทำเพราะ กลัวงบจะไม่พอ แต่พอแม่มาเจอราคาวัสดุก่อสร้างแล้วพบว่าราคาถูกกว่าต่างจังหวัดครึ่งต่อครึ่ง ก็เลยตัดสินใจทำหน้าบ้านด้วยครับ
จากนั้นก้ทำการก่ออิฐฉาบปูนครับ โดยใช้อิฐมวลเบา 1 พาลเลทครับ จำนวน 200 ก้อน ใช้เวลาก่อ 1 วันก้อเสร็จครับ
หลังจากฉาบเสร็จก้ทำการติดตั้งประตูบานซิ้งครับ ในส่วนของบานซิ้งไม่ได้คำนวนณเลยครับ คือไปถึงร้านดูโฮมก็ซื้อเลย อยากได้ตัวไหนบ้างก็เลือกเอา แล้วค่อยมาปรับให้เข้ากับหน้างาน แต่ที่ขาดไม่ได้คือบานถังแก๊สต้องมี และต้องรู้ด้วยว่าจะใช้เตาแก๊สแบบลอยหรือแบบฝัง เพราะจะได้เลือกบานซิ้งใต้เตาแก๊สได้ถูกขนาดครับ มาถึงก็วางแนวไว้ให้ช่างเรียบร้อย ตัวนี้ จขกท.เป็นคนทำเองครับ ทำไว้แค่นี้แล้วก็หนีกลับต่างจังหวัด ปล่อยใช้ช่างสานต่อ
เสร็จแล้วก้ติดกระเบื้องผนัง ซึ่งกระเบื้อง และกระเบื้องภายในเคาเตอร์ครับ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความสะอาด
ช่วงระหว่างรอกระเบื้องแห้งก้ทำการตีฝ้าเพดาน และติดมุ้งลวดเหล็กดัดครับ
ตัวเหล็กดัดนี่ออกจะแตกต่างจากชาวบ้านเค้าหน่อย ส่วนมากเค้าจะทำเป็นลาย และทาสีขาวครับ
แต่ส่วนตัวผมคิดว่าอยากทำให้มันเหมือนประตูบานเลื่อนแบบญี่ปุ่นครับ แต่พอติดเสร็จ แม่ก็ทักว่า ไม่ค่อยเหมือนญี่ปุ่นเท่าไหร่ ออกจะเหมือนฮ่องกง (ห้องกรง=คุก) เสียมากกว่า แต่ก็เอาเหอะ ในเมื่อลูกชอบแม่ก็โอเค ญี่ปุ่น ก็ญี่ปุ่น
มาดูท๊อบครัวกันครับ ตัวนี้ จขทก.เลือกใช้แกนรนิโต้แผ่นใหญ่ ขนาด 120*62 ซม.ครับ เนื่องจากลายสวย ราคาไม่แรงมาก ตกแผ่นละ 600+ โดยจะขายกล่องละ 2 แผ่น ใช้ ทั้งหมด 5 แผ่นครับ ตัวกระเบื้องนี่ จขกท.ลางาน 1 วันมาติดกับช่างครับ
เมื่อติดกระเบื้องเสร็จสรรพ ก้จะได้แบบนี้ครับ ยังขาดตู้แขวน ค่อยๆทยอยติดไป
หลังจากจุดนี้ไปคือช่างขอกลับบ้าน เพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ก็เหลือประมาณ 20% เรื่องการเก็บรายละเอียดครับ
ต่อจากนี้ก็จะเป็นการทาสีและติดตั้งผ้าม่าน โดยจะใช้เวลาว่างทำการทาสีเองครับ อาจจะไม่เนียนบ้างแต่ก็ภูมิใจครับ ทำด้วยตัวเองไม่ต้องจ้าง
มาดูภาพสุดท้ายกันดีกว่าครับ
ในส่วนของผ้าม่าน อันนี้ซื้อสำเร็จมาครับแล้วก้ทำการติดตั้งเอง ยังขาดผ้าม่านโปร่งซึ่งตอนนี้แม่ จขกท.กะลังเย็บอยู่ ติดเมื่อใหร่จะเอามารีวิว อีกทีครับ
ส่วนหน้าบ้านตอนนี้ยังไม่มีรูปไว้วันไหนกลับบ้านจะถ่ายมาให้ชมครับ
สรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ค่าแรงช่าง โครงสร้าง 2 คน วันละ 500 บาท 10 วัน = 10,000 บาท
ค่าแรงช่างปูน ปูกระเบื้อง 1 คน วันละ 400 บาท 15 วัน = 6,000 บาท
ค่าแรงไม่รวมค่าอาหาร และค่าที่พักครับ เนื่องจากเป็นญาติ จขกท.เอง ก็กินอยู่ด้วยกันที่บ้านเลยครับ
ส่วนค่าวัสดุอุปรณ์ คร่าวๆ
เหล็กกล่อง+เหล็กเส้น 20,000
หิน+ทราย 1,000
กระเบื้องปูพื้น ผนัง 12,000
คิ้วสแตนเลส 2,000
หลังคาเมทัลชีท 10,000
ปูน กาว 4,000
อิฐมวลเบา 2,700
บานซิ้ง+เตาแก๊ส 17,000
มุ้งลวดเหล็กดัด 15,000
ผ้าม่าน+ราว 6,000
ไม้ระแนง 2,000
ฝ้าเพดาน 3,000
สี 4,000
รวมวัสดุสิ้นเปลือง และเครื่องมือช่างบางส่วน ตกอยู่ที่ประมาณ 120,000 บาท
ค่าใช้จ่ายสุทธิ ประมาณ 140,000 บาทครับ
เหลือพวกตู้แขวนแล้วก็เฟอร์นิเจอร์อันนี้ทยอยซื้อไปครับ
ค่อยเป็นค่อยไป