กระทู้นี้เป็นการแบ่งปันประสบการณ์การปลูกบ้านของผมซึ่งประกอบอาชีพอิสระ ไม่มีเงินเดือน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่ต้องการมีบ้าน เนื่องจากปัจจุบันบ้านยังไม่แล้วเสร็จโดยสมบูรณ์ โดยอยู่ระหว่างการเก็บรายละเอียดรอบตัวบ้านและอยู่ระหว่างขั้นตอนการตกแต่งภายใน ดังนั้น ผมจะทยอยลงไปเรื่อยๆ และแบ่งเป็นตอนๆ ไปเพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน กว่าผมจะทยอยลงรีวิวเสร็จ การตกแต่งคงแล้วเสร็จทันกันพอดี หากไม่ถูกใจใครต้องขออภัยด้วยครับ
http://ppantip.com/topic/35784829 link กระทู้ที่ 2ครับ
ขอเอารูปบ้านเรียกแขกก่อนครับ
หลังจากที่ตัดสินใจว่า สมควรจะมีบ้านเป็นของตัวเองได้แล้วนั้น ขั้นตอนแรกผมที่ทำนั้น คือ วางแผนเกี่ยวกับเงินว่า ผมจะใช้วิธีการกู้เงินจากสถาบันการเงิน แต่เนื่องจากผมเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ไม่มีเงินเดือน ไม่มีหลักฐานะเกี่ยวกับการรับจ่ายเงินแต่อย่างใด ดังนั้น หากผมต้องการกู้เงิน ผมจะต้องเตรียมหลักฐานแสดงที่มาที่ไปของรายได้ที่ผมได้รับเสียก่อน วิธีการที่ผมใช้คือ เมื่อผมได้รับการว่าจ้างจากใครก็ตาม ผมจะทำสัญญาว่าจ้างหรืออย่างน้อยก็ต้องมีหลักฐานการว่าจ้าง แล้วเวลาที่ผมได้รับเงินค่าว่าจ้างหากได้รับเป็นเงินสดผมก็จะเอาเข้าบัญชีทันทีแล้วค่อยๆ ทยอยกดออกมาใช้แล้วก็มีเก็บเงินไว้บางส่วนไม่กดออกมาใช้จนหมด โดยหากลูกค้าเป็นพวกบริษัท ผมก็จะให้เขาหักภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายทันที เพื่อจะได้ให้ได้ ภ.ง.ด. 50 ทวิ มาเก็บไว้ ครั้นเมื่อถึงปีภาษีผมก็จะยื่นแบบเสมอๆ ไม่ว่าผมจะมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียหรือไม่ ระหว่างนี้ผมก็ระมัดระวังไม่ให้เสียเครดิต แล้วเวลาใกล้ๆ จะยื่นกู้ผมก็ได้ทำการปิดสินเชื่อต่างๆ ทั้งหมดเพื่อลดภาระในการแต่เดือน แต่ไม่ถึงขนาดปิดบัตรเครดิตนะครับ เพียงแต่ในแต่ละเดือนรูดไปเท่าไหร่ก็ชำระทั้งหมดนั่นเอง วิธีการของผมสำหรับการสร้างแหล่งที่มาที่ไปของรายได้มีเท่านี้ครับ
ส่วนผู้ที่ประกอบอาชีพค้าขายต่างๆ นั้น ก็สามารถใช้วิธีการนี้ได้เช่นเดียวกัน แต่คงต้องเพิ่มพวกใบทะเบียนพาณิชย์ หนังสือสัญญาเช่าร้านค้า หรือหนังสือรับรองนิติบุคคล ที่จดทะเบียอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปีขึ้นไปมาแสดงประกอบด้วย รายละเอียดพวกนี้ลองถามจากธนาคารหรือสถาบันการเงินดูน่าจะได้ข้อมูลที่แน่นกว่านี้ครับ
ระหว่างนี้ผมก็มองหาบ้านจัดสรรพวกบ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์แปลงมุมพร้อมอยู่ทั่วไปๆ ในระแวกแถวที่ทำงานและไม่ไกลจากบ้านเก่ามากนัก เนื่องจากผมเห็นว่า สามารถคุมงบประมาณเกี่ยวกับตัวบ้านและที่ดินไม่ให้บานปลายและไม่จำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางด้านก่อสร้างมากนัก ตลอดจนได้สังคมรอบๆ บ้านในลักษณะที่เป็นบ้านพักอาศัยเท่านั้น ยกเว้นเรื่องเพื่อนบ้านนะครับอันนี้ดูยากหน่อย แต่ดูเหมือนว่าหลังจากที่ได้เข้าดูบ้านจัดสรรจากหลายๆ โครงการก็พบว่า บางโครงการที่ผมรับราคาได้ แต่ไม่ถูกใจในเรื่องรายละเอียดของวัสดุก่อสร้างและวิธีการก่อสร้างที่ได้ ครั้นพอเจอโครงการที่ถูกใจ รายละเอียดวัสดุก่อสร้างพอรับได้ ราคานั้นก็สูงไปจนกลัวน่ากลัวว่าจะผ่อนไม่ไหว จึงเป็นที่มาของการตัดสินใจว่า จะหาซื้อที่ดินเปล่าเพื่อปลูกบ้านเองในงบประมาณ ตลอดจนแบบบ้านและวัสดุก่อสร้างที่เราต้องการ จนในที่สุดผมก็ได้ที่ดินมา 1 แปลง ซึ่งอยู่ติดกับบ้านพ่อแม่ผมเลย แต่ผมก็ต้องแลกกับทำเลรอบๆ บ้านที่อนาคตผมไม่แน่ใจว่าจะมีอะไรมาอยู่ข้างบ้าน ที่ดินที่ผมได้มานั้น มีเนื้อที่ขนาด 100 ตารางวา หน้ากว้าง 16 เมตร ยาว 25 เมตร ถมดินมาระยะหนึ่งแล้ว ปัจจุบันสูงจากถนนด้านหน้าประมาณ 80 เซนติเมตร มีรั้วปูนเสร็จสรรพแบบนี้
เมื่อได้ที่ดินมาแล้ว ผมก็เริ่มขั้นตอนต่อไป คือ การหาแบบบ้านและผู้รับเหมาควบคู่กันไป เพื่อนำไปใช้ประกอบการยื่นขอกู้เงินจากสถาบันการเงิน เบื้องต้น ผมก็ดูแบบบ้านในใจไว้คร่าวๆ ว่าอยากได้แบบไหน กี่ชั้น พื้นที่ใช้สอยกี่ตารางเมตร ต้องมีห้องอะไรบ้าง หันหน้าบ้านไปทางไหน ส่วนตัวผม ณ วินาทีนั้น มีเงินสดเพียงนิดหน่อยแล้วก็ไม่อยากกู้เงินมากนักจึงตั้งใจเพียงแค่จะต่อเติมห้องออกมาจากบ้านของพ่อแม่ที่อยู่ติดกัน โดยมีแค่ห้องนอนกับห้องทำงานอย่างละห้อง พื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 100 ตารางเมตรเท่านั้นพอ โดยจะตั้งงบไว้ไม่เกิน 1 ล้านบาท แต่ภรรยาบอกว่า คนเราปลูกบ้านได้ไม่กี่ครั้งมาถึงขั้นนี้แล้วทำไมไม่ปลูกสร้างให้พอดีกับขนาดครอบครัวไปเลยเผื่ออนาคตเกิดมีเหตุการณ์อะไรเปลี่ยนแปลงจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ ผมจึงตัดสินใจกำหนดจำนวนห้องภายในบ้านเป็น 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ ห้องทำงาน ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร และห้องครัว อีกอย่างละ 1 ห้อง เพื่อให้พอดีกับขนาดครอบครัวของผม หลังจากนั้นก็ลองหาแบบบ้านตาม website รับสร้างบ้านต่างๆ web pantip ก็หา โดยเอาจำนวนห้องที่กำหนดเป็นเกณฑ์ในการมองหาแบบแปลนบ้าน แต่ก็ยังพบแบบไม่ถูกใจ จึงตัดสินใจว่าจะให้สถาปนิกออกแบบใหม่ทั้งหมด ซึ่งการออกแบบใหม่จะมีข้อดีตรงสถาปนิกผู้ออกแบบจะพยายามออกแบบบ้านให้สอดคล้องตรงกับความต้องการของผู้อยู่อาศัย ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพและทิศทางของที่ดิน มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองไม่เหมือนแบบบ้านโหล และเมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายระหว่างแบบบ้านสำเร็จรูปที่มีการปรับแก้จนถูกใจเราแล้วราคาก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แค่คิดจะเริ่มก็บานแล้ว!
ตอนแรกก็ดูตามเว็ป ที่เล็งๆ ไว้ก็ประมาณนี้
แล้วใครล่ะจะมาเป็นสถาปนิกกับผู้รับเหมาให้เรา? คำถามนี้คงอยู่ในใจหลายๆ คน แน่นอนรวมทั้งผมด้วย
ระหว่างที่ผมคิดเรื่องแบบบ้านว่าจะเอาแบบไหนนั้น ผมก็ลองมองหาผู้รับเหมาไปด้วย บางคนก็อาจจะให้บริษัทรับสร้างบ้านสร้าง บางคนก็ช่างในรูปบุคคลธรรมดา ซึ่งมีข้อดีข้อเสียต่างกัน เช่น หากเราใช้บริษัทรับสร้างบ้าน เราก็อาจจะได้ความเชื่อมั่นประมาณนึงว่า เฮ้ย! ถ้าเป็นบริษัทมันก็ดูน่าเชื่อถือมากกว่าบุคคลธรรมดา แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาจากการทำงานของผม ผมก็เห็นหลายๆ คน ประสบปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงานหรือได้บ้านคุณภาพไม่ดีมาหลายรายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตัวบ้านที่ไม่ได้คุณภาพเอง ช่างทิ้งงาน เวลามีปัญหาต้องซ่อมแซมตามตัวยาก เพราะฉะนั้นในความคิดเห็นส่วนตัวของผมนั้น ผมว่า หากพิจารณาเพียงสถานะความเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดามันไม่ต่างกัน ขอพิจารณาที่คุณภาพงาน ความรับผิดชอบต่องานเป็นอย่างไร ทิ้งงานหรือไม่ ล่าช้าเกินไปหรือเปล่า ราคา และการบริการหลังการขายเป็นอย่างไรดีกว่า อีกทั้งในแง่ของราคาค่าก่อสร้างนั้น ถ้าใช้ช่างที่เป็นพวกนิติบุคคล เช่น บริษัทต่างๆ คุณโดนแน่ๆ ราคาก่อสร้าง+กำไร(ค่าดำเนินการ)+ภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) แพงกว่าช่างที่เป็นบุคคลธรรมดาแน่นอนอย่างน้อยร้อยละ 7 (อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในปัจจุบัน) อิอิ แต่หากเป็นบุคคลธรรมดาอาจจะโดนแค่ค่าดำเนินการเท่านั้น
ส่วนผมแรกๆ ก็ดูบริษัทรับสร้างบ้านนี่แหละ ก็เราไม่เคยปลูกสร้างบ้านนี่หว่า เลยไม่ค่อยรู้จักใคร แต่พอเข้าไปดูแล้วยังคงรับไม่ค่อยได้ เนื่องจากวัสดุกับราคาที่ต้องจ่าย และเสียง comment ต่างๆ จากใน social ที่เคยอ่านมา ผมก็เลยลองดูผู้รับเหมาที่เป็นระดับท้องถิ่น โดยใช้วิธีเวลาขับรถผ่านตามบ้านที่กำลังสร้างอยู่ ผมก็ลองเข้าไปคุยกับผู้รับเหมา และเจ้าของบ้านนั้นดู ก็ได้มา2-3 ราย แต่ยังไม่ค่อยเชื่ออยู่ เนื่องจากยังไม่เคยเห็นประสบการณ์ที่ผ่านๆ มาของผู้รับเหมารายนั้นๆ เห็นแต่ขณะที่สร้างประกอบกับยังไม่ค่อยไว้ใจเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของผู้รับเหมา จนมีวันหนึ่งใน Facebook ของผมมันก็โผล่ชื่อชื่อผู้รับเหมารายหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเป็นคนแถวๆ ละแวกบ้าน เลยลองแอบเข้าไปส่องผลงานที่ผ่านมาจาก Facebook และถามคนที่รู้จักแล้วจนคิดว่าน่าจะพอใช้ได้เลยให้แม่ไปขอเบอร์โทรศัพท์มาจากคนรู้จัก ตอนแรกก็หวั่นๆ ว่า ผู้รับเหมาเจ้านี้จะรับปลูกสร้างบ้านให้หรือเปล่า เพราะดูจากผลงานที่ผ่านมาของผู้รับเหมาเจ้านี้แล้วมีแต่รับสร้างแล้วก็ตกแต่งบ้านราคาหลักสิบล้านขึ้นไปไม่เคยเห็นรับปลูกบ้านหลังเล็กๆ มาก่อนเลย เหตุที่กังวลนั้น เนื่องจากก่อนหน้านี้ผมได้ดูใน website บางที่แล้ว เขาจะมีราคาขั้นต่ำที่รับสร้างด้วย แต่ก็เอาวะ ลองโทรไปคุยสักครั้งไม่เสียหายไร
ผลงานเก่าของผู้รับเหมา (ขออนุญาตเจ้าของบ้านและเจ้าของภาพมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ) ประมาณนี้ ไฮโซๆ ทั้งนั้น
เมื่อผู้รับเหมามาดูทีดินและได้พูดคุยกันคร่าวๆ แล้วก็สอบถามความต้องการของผมว่า ผมจะปลูกบ้านกี่ชั้น แบบประมาณไหน งบมีเท่าไหร่ ผมก็บอกแกไปว่า ผมแค่อยากขยายครอบครัวออกไป สร้างเล็กๆ แค่อยากได้ความเป็นส่วนตัวในครอบครัวเราเอง เพราะฉะนั้น ปลูกเป็นบ้านชั้นเดียวเอา 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ มีห้องทำงานเอาไว้สำหรับหอบงานมาทำที่บ้านบ้าง ไว้ต้อนรับลูกค้าบ้าง แต่มีข้อแม้ว่า ห้องทำงานนั้นต้องแยกออกมาเป็นสัดส่วนจากพื้นที่พักผ่อนส่วนตัว เนื่องจากผมและแฟนเป็นทนายความด้วยกันทั้งคู่ ดังนั้น ลูกค้าของผมนั้นมีหลากหลายอาชีพ ตั้งแต่ หมอ พ่อค้าแม่ค้า ชาวบ้าน ชาวสวน โจรผู้ร้าย พ่อค้ายาเสพติด คนเสพยา นักการพนัน สารพัด ดังนั้น แยกพื้นที่ทำงานกับพื้นที่ส่วนตัวกันไว้ก่อนดีกว่า ขนาดพื้นที่ใช้สอยไม่กิน 100 ตารางเมตร งบไม่เกิน 13,000 บาท/ตารางเมตร วัสดุขอกลางๆ ค่อนไปทางดี งบประมาณในการก่อสร้างนี่บอกไปเลยครับไม่ต้องอาย บอกน้อยๆ ไว้ก่อนมันบานปลายออกมาเองครับ แต่ต้องเอาที่พอเป็นไปได้ด้วยนะครับ แหล่งที่มาของเงินที่จะปลูกบ้านนั้น ผมกู้ธนาคารทั้งหมด โดยทางผู้รับเหมาเห็นว่า ผมยังเป็นเด็ก เงินทองที่เก็บไว้ก็ไม่มาก จึงตกลงกันว่า หากตกลงปลูกบ้าน ทางฝ่ายผู้รับเหมาจะสำรองเงินค่าก่อสร้างไปก่อน เมื่อส่งงวดงานกับทางธนาคารแล้วค่อยจ่ายเงินให้กับผู้รับเหมา ผมก็ว่าก็ดีจะได้ป้องกันความเสียหายเรื่องผู้รับเหมาทิ้งงาน ความล่าช้าจากอุบัติเหตุทางการเงินของผู้ว่าจ้างไปในตัวด้วย ซึ่งก็ดีสำหรับผู้ว่าจ้าง หลังจากนั้น ผมก็ให้ทางผู้รับเหมาแนะนำสถาปนิกมาให้ เนื่องจากผมยังหาสถาปนิกไม่ได้ ก็เป็นอันว่า ผมได้ทั้งผู้รับเหมาและสถาปนิกแล้ว
....ต่อในคอมเม้นท์นะครับ
[CR] แฉ !! ขั้นตอนปลูกบ้านของคนไม่มีเงินเดือน 1
http://ppantip.com/topic/35784829 link กระทู้ที่ 2ครับ
ขอเอารูปบ้านเรียกแขกก่อนครับ
หลังจากที่ตัดสินใจว่า สมควรจะมีบ้านเป็นของตัวเองได้แล้วนั้น ขั้นตอนแรกผมที่ทำนั้น คือ วางแผนเกี่ยวกับเงินว่า ผมจะใช้วิธีการกู้เงินจากสถาบันการเงิน แต่เนื่องจากผมเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ไม่มีเงินเดือน ไม่มีหลักฐานะเกี่ยวกับการรับจ่ายเงินแต่อย่างใด ดังนั้น หากผมต้องการกู้เงิน ผมจะต้องเตรียมหลักฐานแสดงที่มาที่ไปของรายได้ที่ผมได้รับเสียก่อน วิธีการที่ผมใช้คือ เมื่อผมได้รับการว่าจ้างจากใครก็ตาม ผมจะทำสัญญาว่าจ้างหรืออย่างน้อยก็ต้องมีหลักฐานการว่าจ้าง แล้วเวลาที่ผมได้รับเงินค่าว่าจ้างหากได้รับเป็นเงินสดผมก็จะเอาเข้าบัญชีทันทีแล้วค่อยๆ ทยอยกดออกมาใช้แล้วก็มีเก็บเงินไว้บางส่วนไม่กดออกมาใช้จนหมด โดยหากลูกค้าเป็นพวกบริษัท ผมก็จะให้เขาหักภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายทันที เพื่อจะได้ให้ได้ ภ.ง.ด. 50 ทวิ มาเก็บไว้ ครั้นเมื่อถึงปีภาษีผมก็จะยื่นแบบเสมอๆ ไม่ว่าผมจะมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียหรือไม่ ระหว่างนี้ผมก็ระมัดระวังไม่ให้เสียเครดิต แล้วเวลาใกล้ๆ จะยื่นกู้ผมก็ได้ทำการปิดสินเชื่อต่างๆ ทั้งหมดเพื่อลดภาระในการแต่เดือน แต่ไม่ถึงขนาดปิดบัตรเครดิตนะครับ เพียงแต่ในแต่ละเดือนรูดไปเท่าไหร่ก็ชำระทั้งหมดนั่นเอง วิธีการของผมสำหรับการสร้างแหล่งที่มาที่ไปของรายได้มีเท่านี้ครับ
ส่วนผู้ที่ประกอบอาชีพค้าขายต่างๆ นั้น ก็สามารถใช้วิธีการนี้ได้เช่นเดียวกัน แต่คงต้องเพิ่มพวกใบทะเบียนพาณิชย์ หนังสือสัญญาเช่าร้านค้า หรือหนังสือรับรองนิติบุคคล ที่จดทะเบียอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปีขึ้นไปมาแสดงประกอบด้วย รายละเอียดพวกนี้ลองถามจากธนาคารหรือสถาบันการเงินดูน่าจะได้ข้อมูลที่แน่นกว่านี้ครับ
ระหว่างนี้ผมก็มองหาบ้านจัดสรรพวกบ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์แปลงมุมพร้อมอยู่ทั่วไปๆ ในระแวกแถวที่ทำงานและไม่ไกลจากบ้านเก่ามากนัก เนื่องจากผมเห็นว่า สามารถคุมงบประมาณเกี่ยวกับตัวบ้านและที่ดินไม่ให้บานปลายและไม่จำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางด้านก่อสร้างมากนัก ตลอดจนได้สังคมรอบๆ บ้านในลักษณะที่เป็นบ้านพักอาศัยเท่านั้น ยกเว้นเรื่องเพื่อนบ้านนะครับอันนี้ดูยากหน่อย แต่ดูเหมือนว่าหลังจากที่ได้เข้าดูบ้านจัดสรรจากหลายๆ โครงการก็พบว่า บางโครงการที่ผมรับราคาได้ แต่ไม่ถูกใจในเรื่องรายละเอียดของวัสดุก่อสร้างและวิธีการก่อสร้างที่ได้ ครั้นพอเจอโครงการที่ถูกใจ รายละเอียดวัสดุก่อสร้างพอรับได้ ราคานั้นก็สูงไปจนกลัวน่ากลัวว่าจะผ่อนไม่ไหว จึงเป็นที่มาของการตัดสินใจว่า จะหาซื้อที่ดินเปล่าเพื่อปลูกบ้านเองในงบประมาณ ตลอดจนแบบบ้านและวัสดุก่อสร้างที่เราต้องการ จนในที่สุดผมก็ได้ที่ดินมา 1 แปลง ซึ่งอยู่ติดกับบ้านพ่อแม่ผมเลย แต่ผมก็ต้องแลกกับทำเลรอบๆ บ้านที่อนาคตผมไม่แน่ใจว่าจะมีอะไรมาอยู่ข้างบ้าน ที่ดินที่ผมได้มานั้น มีเนื้อที่ขนาด 100 ตารางวา หน้ากว้าง 16 เมตร ยาว 25 เมตร ถมดินมาระยะหนึ่งแล้ว ปัจจุบันสูงจากถนนด้านหน้าประมาณ 80 เซนติเมตร มีรั้วปูนเสร็จสรรพแบบนี้
เมื่อได้ที่ดินมาแล้ว ผมก็เริ่มขั้นตอนต่อไป คือ การหาแบบบ้านและผู้รับเหมาควบคู่กันไป เพื่อนำไปใช้ประกอบการยื่นขอกู้เงินจากสถาบันการเงิน เบื้องต้น ผมก็ดูแบบบ้านในใจไว้คร่าวๆ ว่าอยากได้แบบไหน กี่ชั้น พื้นที่ใช้สอยกี่ตารางเมตร ต้องมีห้องอะไรบ้าง หันหน้าบ้านไปทางไหน ส่วนตัวผม ณ วินาทีนั้น มีเงินสดเพียงนิดหน่อยแล้วก็ไม่อยากกู้เงินมากนักจึงตั้งใจเพียงแค่จะต่อเติมห้องออกมาจากบ้านของพ่อแม่ที่อยู่ติดกัน โดยมีแค่ห้องนอนกับห้องทำงานอย่างละห้อง พื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 100 ตารางเมตรเท่านั้นพอ โดยจะตั้งงบไว้ไม่เกิน 1 ล้านบาท แต่ภรรยาบอกว่า คนเราปลูกบ้านได้ไม่กี่ครั้งมาถึงขั้นนี้แล้วทำไมไม่ปลูกสร้างให้พอดีกับขนาดครอบครัวไปเลยเผื่ออนาคตเกิดมีเหตุการณ์อะไรเปลี่ยนแปลงจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ ผมจึงตัดสินใจกำหนดจำนวนห้องภายในบ้านเป็น 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ ห้องทำงาน ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร และห้องครัว อีกอย่างละ 1 ห้อง เพื่อให้พอดีกับขนาดครอบครัวของผม หลังจากนั้นก็ลองหาแบบบ้านตาม website รับสร้างบ้านต่างๆ web pantip ก็หา โดยเอาจำนวนห้องที่กำหนดเป็นเกณฑ์ในการมองหาแบบแปลนบ้าน แต่ก็ยังพบแบบไม่ถูกใจ จึงตัดสินใจว่าจะให้สถาปนิกออกแบบใหม่ทั้งหมด ซึ่งการออกแบบใหม่จะมีข้อดีตรงสถาปนิกผู้ออกแบบจะพยายามออกแบบบ้านให้สอดคล้องตรงกับความต้องการของผู้อยู่อาศัย ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพและทิศทางของที่ดิน มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองไม่เหมือนแบบบ้านโหล และเมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายระหว่างแบบบ้านสำเร็จรูปที่มีการปรับแก้จนถูกใจเราแล้วราคาก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แค่คิดจะเริ่มก็บานแล้ว!
ตอนแรกก็ดูตามเว็ป ที่เล็งๆ ไว้ก็ประมาณนี้
แล้วใครล่ะจะมาเป็นสถาปนิกกับผู้รับเหมาให้เรา? คำถามนี้คงอยู่ในใจหลายๆ คน แน่นอนรวมทั้งผมด้วย
ระหว่างที่ผมคิดเรื่องแบบบ้านว่าจะเอาแบบไหนนั้น ผมก็ลองมองหาผู้รับเหมาไปด้วย บางคนก็อาจจะให้บริษัทรับสร้างบ้านสร้าง บางคนก็ช่างในรูปบุคคลธรรมดา ซึ่งมีข้อดีข้อเสียต่างกัน เช่น หากเราใช้บริษัทรับสร้างบ้าน เราก็อาจจะได้ความเชื่อมั่นประมาณนึงว่า เฮ้ย! ถ้าเป็นบริษัทมันก็ดูน่าเชื่อถือมากกว่าบุคคลธรรมดา แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาจากการทำงานของผม ผมก็เห็นหลายๆ คน ประสบปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงานหรือได้บ้านคุณภาพไม่ดีมาหลายรายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตัวบ้านที่ไม่ได้คุณภาพเอง ช่างทิ้งงาน เวลามีปัญหาต้องซ่อมแซมตามตัวยาก เพราะฉะนั้นในความคิดเห็นส่วนตัวของผมนั้น ผมว่า หากพิจารณาเพียงสถานะความเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดามันไม่ต่างกัน ขอพิจารณาที่คุณภาพงาน ความรับผิดชอบต่องานเป็นอย่างไร ทิ้งงานหรือไม่ ล่าช้าเกินไปหรือเปล่า ราคา และการบริการหลังการขายเป็นอย่างไรดีกว่า อีกทั้งในแง่ของราคาค่าก่อสร้างนั้น ถ้าใช้ช่างที่เป็นพวกนิติบุคคล เช่น บริษัทต่างๆ คุณโดนแน่ๆ ราคาก่อสร้าง+กำไร(ค่าดำเนินการ)+ภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) แพงกว่าช่างที่เป็นบุคคลธรรมดาแน่นอนอย่างน้อยร้อยละ 7 (อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในปัจจุบัน) อิอิ แต่หากเป็นบุคคลธรรมดาอาจจะโดนแค่ค่าดำเนินการเท่านั้น
ส่วนผมแรกๆ ก็ดูบริษัทรับสร้างบ้านนี่แหละ ก็เราไม่เคยปลูกสร้างบ้านนี่หว่า เลยไม่ค่อยรู้จักใคร แต่พอเข้าไปดูแล้วยังคงรับไม่ค่อยได้ เนื่องจากวัสดุกับราคาที่ต้องจ่าย และเสียง comment ต่างๆ จากใน social ที่เคยอ่านมา ผมก็เลยลองดูผู้รับเหมาที่เป็นระดับท้องถิ่น โดยใช้วิธีเวลาขับรถผ่านตามบ้านที่กำลังสร้างอยู่ ผมก็ลองเข้าไปคุยกับผู้รับเหมา และเจ้าของบ้านนั้นดู ก็ได้มา2-3 ราย แต่ยังไม่ค่อยเชื่ออยู่ เนื่องจากยังไม่เคยเห็นประสบการณ์ที่ผ่านๆ มาของผู้รับเหมารายนั้นๆ เห็นแต่ขณะที่สร้างประกอบกับยังไม่ค่อยไว้ใจเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของผู้รับเหมา จนมีวันหนึ่งใน Facebook ของผมมันก็โผล่ชื่อชื่อผู้รับเหมารายหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเป็นคนแถวๆ ละแวกบ้าน เลยลองแอบเข้าไปส่องผลงานที่ผ่านมาจาก Facebook และถามคนที่รู้จักแล้วจนคิดว่าน่าจะพอใช้ได้เลยให้แม่ไปขอเบอร์โทรศัพท์มาจากคนรู้จัก ตอนแรกก็หวั่นๆ ว่า ผู้รับเหมาเจ้านี้จะรับปลูกสร้างบ้านให้หรือเปล่า เพราะดูจากผลงานที่ผ่านมาของผู้รับเหมาเจ้านี้แล้วมีแต่รับสร้างแล้วก็ตกแต่งบ้านราคาหลักสิบล้านขึ้นไปไม่เคยเห็นรับปลูกบ้านหลังเล็กๆ มาก่อนเลย เหตุที่กังวลนั้น เนื่องจากก่อนหน้านี้ผมได้ดูใน website บางที่แล้ว เขาจะมีราคาขั้นต่ำที่รับสร้างด้วย แต่ก็เอาวะ ลองโทรไปคุยสักครั้งไม่เสียหายไร
ผลงานเก่าของผู้รับเหมา (ขออนุญาตเจ้าของบ้านและเจ้าของภาพมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ) ประมาณนี้ ไฮโซๆ ทั้งนั้น
เมื่อผู้รับเหมามาดูทีดินและได้พูดคุยกันคร่าวๆ แล้วก็สอบถามความต้องการของผมว่า ผมจะปลูกบ้านกี่ชั้น แบบประมาณไหน งบมีเท่าไหร่ ผมก็บอกแกไปว่า ผมแค่อยากขยายครอบครัวออกไป สร้างเล็กๆ แค่อยากได้ความเป็นส่วนตัวในครอบครัวเราเอง เพราะฉะนั้น ปลูกเป็นบ้านชั้นเดียวเอา 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ มีห้องทำงานเอาไว้สำหรับหอบงานมาทำที่บ้านบ้าง ไว้ต้อนรับลูกค้าบ้าง แต่มีข้อแม้ว่า ห้องทำงานนั้นต้องแยกออกมาเป็นสัดส่วนจากพื้นที่พักผ่อนส่วนตัว เนื่องจากผมและแฟนเป็นทนายความด้วยกันทั้งคู่ ดังนั้น ลูกค้าของผมนั้นมีหลากหลายอาชีพ ตั้งแต่ หมอ พ่อค้าแม่ค้า ชาวบ้าน ชาวสวน โจรผู้ร้าย พ่อค้ายาเสพติด คนเสพยา นักการพนัน สารพัด ดังนั้น แยกพื้นที่ทำงานกับพื้นที่ส่วนตัวกันไว้ก่อนดีกว่า ขนาดพื้นที่ใช้สอยไม่กิน 100 ตารางเมตร งบไม่เกิน 13,000 บาท/ตารางเมตร วัสดุขอกลางๆ ค่อนไปทางดี งบประมาณในการก่อสร้างนี่บอกไปเลยครับไม่ต้องอาย บอกน้อยๆ ไว้ก่อนมันบานปลายออกมาเองครับ แต่ต้องเอาที่พอเป็นไปได้ด้วยนะครับ แหล่งที่มาของเงินที่จะปลูกบ้านนั้น ผมกู้ธนาคารทั้งหมด โดยทางผู้รับเหมาเห็นว่า ผมยังเป็นเด็ก เงินทองที่เก็บไว้ก็ไม่มาก จึงตกลงกันว่า หากตกลงปลูกบ้าน ทางฝ่ายผู้รับเหมาจะสำรองเงินค่าก่อสร้างไปก่อน เมื่อส่งงวดงานกับทางธนาคารแล้วค่อยจ่ายเงินให้กับผู้รับเหมา ผมก็ว่าก็ดีจะได้ป้องกันความเสียหายเรื่องผู้รับเหมาทิ้งงาน ความล่าช้าจากอุบัติเหตุทางการเงินของผู้ว่าจ้างไปในตัวด้วย ซึ่งก็ดีสำหรับผู้ว่าจ้าง หลังจากนั้น ผมก็ให้ทางผู้รับเหมาแนะนำสถาปนิกมาให้ เนื่องจากผมยังหาสถาปนิกไม่ได้ ก็เป็นอันว่า ผมได้ทั้งผู้รับเหมาและสถาปนิกแล้ว
....ต่อในคอมเม้นท์นะครับ