สวัสดีครับ กลับมาพบกับกระทู้
[พี่พีทเล่าเรื่อง] กันอีกครั้งในเช้าวันจันทร์ วันแรกของสัปดาห์ใหม่ ถึงที่ทำงานปุ๊บเราเข้าพันทิปเพื่อเป็นการวอร์มเครื่อง วอร์มร่างกายและสายตา เตรียมพร้อมก่อนการทำงานใช่มั้ยครับ 555
เรื่องที่พี่พีทจะมาเล่าในวันนี้น่าจะเป็นเรื่องที่หลายคนอยากจะรู้ วันนี้เราจะมาดูกันว่าทุนของมหาลัยเมืองนอกเนี้ย ทำยังไงถึงจะได้ มีความยากง่ายขนาดไหน เค้าให้เป็นเงินเท่าไร และอีกจิปาถะที่พี่พีทจะนึกออก ซึ่งเป็นข้อมูลที่ วงในมากๆ 555
พูดถึงทุนให้เปล่าใครๆก็อยากได้ใช่มั้ยครับ แล้วทำยังไงถึงจะได้ล่ะ? ตอนสมัครมหาลัยไปมีโอกาสที่เค้าจะให้ทุนมั้ย มากน้อยแค่ไหน?
คนที่กำลังสมัครเรียนต่อ ป.โท ในต่างประเทศก็อาจจะทราบนะครับว่า บางมหาลัยมี deadline ของใบสมัครแบบต้องการให้พิจารณาทุน กับแบบไม่ต้องการ ซึ่งแบบแรกนั่นมี deadline ของใบสมัครเร็วกว่า คืออาจจะเป็นช่วงราวตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมเป็นต้นไปจนถึงกลางเดือนมกราคม ส่วนแบบที่สองก็อาจจะมี deadline ที่ราวๆ กลางเดือนกุมภาพันธ์
ใครที่สมัคร ป.โท กับผ่านทางมหาลัยโดยไม่ได้ติดต่ออาจารย์ผู้คุมงานวิจัยและมีการพูดคุยตกลงกันแล้ว โอกาสได้ทุน ผมคิดว่าไม่ถึง 1% !!! ครับตามนั้น 1% 555 โดยส่วนมากถึงมากที่สุดแล้ว คนที่ได้ทุนไม่ว่าจะเป็นระดับ ป.โท หรือ ป.เอก เค้าจะมีการพูดคุยกับอาจารย์ผู้คุมงานวิจัยนั้นว่าสนใจจะให้ร่วมงานวิจัย แปลว่า เค้าคุยกันเสร็จสรรพแล้วครับว่าจะให้ทุนหรือไม่ อาจจะเป็นก่อนหรือในช่วงที่ส่งใบสมัครผ่านมหาลัย
มาถึงจุดนี้ถ้าอาจารย์ตกลงเลือกคุณ ที่เหลือก็แค่ทำตามขั้นตอนของมหาลัยภายใต้เงื่อนไขว่าคุณต้องผ่านเกณฑ์ของมหาลัยนะครับ ซึ่งจากประสบการณ์ของผมแล้ว ส่วนมากจะเป็นการแนะนำจากศิษย์เก่าที่มีความสัมพันธ์กับแลปนั้น หรือผ่าน networking ที่อาจได้จากงานประชุมวิชาการ
ตัวอย่างงงงงงงง
เพื่อนผมคนนึงเป็นชาวไต้หวัน ผมถามเค้าว่าเค้าทำยังไงถึงได้ทุน เค้าบอกว่าเค้าเรียนและทำวิจัยกับอาจารย์ที่ไต้หวัน ซึ่งอาจารย์คนนี้จบ ป.เอก จาก UIUC และทำวิจัยกับ RailTEC และอาจารย์ก็ refer เค้ามาที่ UIUC เค้าจึงได้ทุนเรียนต่อ ป.โท ฉะนั้นถ้าอาจารย์ของคุณเป็นศิษย์เก่าของมหาลัยและเคยทำวิจัยกับแลปนั้นๆ พูดง่ายๆว่าสนิทและรู้จักกันดีอ่ะ แล้วอาจารย์ของคุณ Recommend คุณไป คุณก็มีสิทธิ์ที่จะได้สูง
เพื่อนชาวสเปนอีกคนนึง เค้าเคยมาเป็นเด็กแลกเปลี่ยน (ในลักษณะไหนไม่แน่ใจ แต่เค้าเคยมาอยู่และร็จักกับ RailTEC) และทำงานวิจัยกับ RailTEC ก่อนจะได้ทุน ป.โท เรียนต่อ ฉะนั้น ถ้าคุณมีโอกาสไปดูงาน ฝึกงาน เทรน อะไรก็แล้วแต่กลับมหาลัยต่างประเทศ ทำผลงานให้เข้าตา คุณก็จะมีสิทธิ์มากที่จะได้ทุนเรียนต่อ ป.โท ในภายหลัง
คนบราซิลอีกคนนึง ได้ทุนจากรัฐบาลบราซิลให้มาเรียน และเค้าได้ทำงานวิจัยกับ RailTEC ภายหลังก็มีการแนะนำน้องชายของเค้าให้กับ RailTEC พิจารณา ในที่ก็ได้ทุนเรียนต่อ ป.โท
จบจากอยู่ Top ก็อาจจะไม่ได้ทุน ถ้าไม่ได้ติดต่ออาจารย์!!!
เพื่อนคนจีนจบ ป.ตรี จาก UC Berkeley top 3 engineering school ของอเมริกา และ top 1 civil engineering ยังไม่ได้ทุนตอนสมัครเข้าเรียนเลยครับ แต่คนสเปน ไต้หวัน บราซิล ซึ่งทั้ง 3 คนนี้ไม่ได้จบตรี ที่อเมริกาด้วยซ้ำ กลับได้ทุนไป เห็นภาพนะครับ ฉะนั้นส่วนใหญ่แล้วการได้ทุนเกิดขึ้นหลังฉากนะครับ ไม่ใช่ตอนที่คุณส่งใบสมัครไป
“อ้าวยังงั้นถ้าผมไม่มีอาจารย์ที่เป็นศิษย์เก่า ไม่ได้ทำงานวิจัย ไม่เคยไปเทรนรึฝึกงานที่นั้นๆมาก่อน ก็อดอ่ะสิ”
ใช่ครับก็อดได้ครับ 555 ไม่ใช่ ปัดโถ่! มันก็มีวิธีอื่นอีกกกกก
ก็คือ ออกเงินเองไปก่อน แล้วไปหาทุนที่นั้น เป็นวิธีที่นักเรียนส่วนมากทำ โดย เฉพาะพวกอินเดีย จีน
จำพี่อินเดียโครตเทพที่ผมเล่าให้ฟังว่าชอบดูดปุ๊นตอนทำการบ้านได้มั้ยครับ ที่ Director of RailTEC ชวนทำวิจัย พี่แกก็ไม่ได้ทุนตอนได้ตอบรับเข้ามหาลัยนะครับ
กลับมาต่อ คือคุณต้องออกเงินเรียนไปก่อนเทอมแรกหรืออย่างมากก็ปีแรก แล้วพยายามแทรกตัวเข้าไปทำวิจัยในแลปนั้นให้ได้ ถามว่าแล้วมันมีความเป็นไปได้มากแค่ไหน
คำตอบคือ ขึ้นกับหลายปัจจัยดังนี้ครับ
ถ้าคุณต้องการจะออกเงินแค่เทอมแรก และได้ทุนทันทีในเทอมที่สอง ก็อาจจะฝืดนิดหน่อย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในการแข่งขันของแลปนั้นๆ พูดง่ายๆคือ มหาลัยใหญ่ๆ คนเก่งเยอะ แล้วคุณไม่เด่นพอ ระดับ A+ ก็อาจจะยาก แต่ถ้ามหาลัยคุณกลางๆแล้วคุณเก่งโดดเด่นแซงหน้าชาติอื่นๆ คุณก็ได้ และที่สำคัญเมื่อไปถึงมหาลัยคุณต้องไปเสาะหาทันทีว่า อยากทำวิจัยกลับใคร ตื๊อเท่านั้นที่ครองโลก เสนอหน้าไปครับ เค้ามีกิจกรรมอะไร งานอะไร ไปช่วยเค้า ให้เค้าเห็นหน้าบ่อยๆ แสดงความกระหายใฝ่รู้ออกมา และไปลงวิชาที่อาจารย์ผู้คุมแลปสอน ถ้ามีนะ ลงเลยครับ
โดยส่วนใหญ่แล้วแลปวิจัยกลุ่มใหญ่ๆ มักมีการประชุมความคืบหน้า อาจจะด้วย การทำ presentation ที่รู้กันเฉพาะคนที่ทำงานในแลป คุณต้องไปหามาครับ ไปขออาจารย์เข้าไปฟัง โม้ไปว่าผมสนใจโน่นนี่นั่น โดยมากเค้าไม่ปิดกั้น แต่ยินดีให้คุณเข้าไปร่วมฟังได้ครับ
กิจกรรมต่างๆ เช่นอะไรบ้าง
มหาลัยมักมีงาน open house เหมือนกัน เสนอหน้าไปครับขอช่วย
ชมรมต่างๆก็มักมีการเชิญ คนในอุตสาหกรรมมาพูด งานพวกนี้เข้าฟรีครับ จัดโดยนักเรียน เสนอหน้าไปครับ ทำความรู้จักคนเยอะๆ
งานอะไรอีก งานพวกที่เค้าเชิญ guest speaker มาพูด งานพวกนี้มักจัดโดยภาควิชาและอาจารย์ อันนี้ยิ่งต้องเสนอหน้าเลยนะครับ เข้าไปฟังเข้าไปถาม
ช่วงนี้ทั้งหมด ทำงานไม่ได้ตังค์ ก็ทำไปก่อนนะครับ ยิ่งได้เข้าไปทำในแลปยิ่งดี บอกเค้าไปว่าอยากทำ ไม่ได้เงินไม่เป็นไร ให้เค้าไปก่อนครับ
แต่สมมติว่า คุณพลาดไป ไม่ได้ทุนในเทอมที่สอง ทำไงอ่ะ?
ชีวิตยังมีหวังครับ ตรงนี้สำคัญนะ จะมีเหตุการณ์มากมายเกินขึ้นช่วง Summer อย่ากลับบ้านครับ อย่าเด็ดขาด!!! ช่วงนี้เป็นช่วงที่ นักเรียนไม่ว่าจะ ป.โท ป.เอก เร่งทำวิจัย ของตัวเอง เนื่องจากไม่ต้องมีเรียน ฉะนั้นความต้องการคนจะมีเพิ่มขึ้นครับ ประกอบกลับจะมีนักเรียนที่เคยทำวิจัยพวกเก่าๆ เรียนจบไป ทำให้ตำแหน่งว่างขึ้น ถ้าใน 1 ปีที่ผ่านมาคุณได้ไปเสนอหน้า ช่วยงานเค้ามาตลอด ผลงานมันจะออกมาให้อาจารย์เห็น และถ้าเค้าอยากได้คนช่วยเค้าจะเลือกใครล่ะครับ ระหว่างคนที่เค้าเห็นการทำงานมาก่อน กับใครไม่รู้ที่เพิ่งจะเข้ามาในช่วง summer ผมเชื่อมั่นว่า เค้าจะให้งานคุณทำแน่ๆ และ คุณต้องได้เข้าแลปครับ อาจจะเป็น part-time แบบจ้างเป็นรายชั่วโมงไปก่อนช่วง summer แล้วค่อยแต่งตั้งคุณเป็น Research Assistant (RA) ที่หลัง จุดนี้มีความเป็นไปได้สูงมากถึง 80% ครับ ยกตัวอย่าง
ตัวผมเองก็ได้เริ่มงานกับแลปช่วง summer ภายหลังก็ได้ข้อเสนอให้เป็น RA (แต่ผมไม่ได้เอา อยากรู้ว่าทำไม ตามอ่านกระทู้ [บันทึกชีวิต] นะครับ)
เพื่อนชาวไต้หวัน ก็ได้เสนอเป็น RA หลังจากทำวิจัยช่วง summer เหมือนกัน แต่เค้าทำคนล่ะโปรเจคกับผมแต่อยู่แลปเดียวกันนี่ล่ะ
และสำหรับคนที่จะต่อเอกนะครับ จากจุดนี้คุณก็ได้ยาวไปเลยครับจนจบอ่ะ
นักศึกษา ป.โท ป. เอก ของเมืองนอกไม่ต่างจากพนักงานทำงานนะครับ เค้าทำงานจริงจัง มีการเซ็นสัญญา มีการ present ความก้าวหน้า และเป็นการ present ต่อหน้าคนทั้งแลป อย่างแลปที่ผมทำนี่ราวๆ 40 คน เทอมนึง นักเรียนที่ทำวิจัยเป็นตัวหลักของโปรเจคต้อง present 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย และในวันนั้นคุณจะโดนชำแหละแบบไม่เหลือซาก (โหดสลัดรัสเซีย 555) ฉะนั้น ถ้าคุณทำงานได้ดีใครก็อยากได้คุณไว้ทำงานครับ ผลิต paper ที่มีคุณภาพ ส่งไปในการประชุมวิชาการต่างๆ นั้นคือที่มาของเงินทุนที่เค้าเอามาจ่ายคุณนั้นแหละ มาจากบริษัทเอกชนให้ทุนวิจัยบ้าง หรือ จากภาครัฐบ้าง(ซึ่งน้อย)
งานวิจัยที่ผมไปช่วยเพื่อน เฉพาะโครงการของ “จอส” เพื่อนผม คนเดียว มีงบวิจัย $900,000 ครับคูณ 35 เอาเองนะ โปรเจคเดียวนะครับ เงินนี้ได้จากบริษัทรถไฟเอกชนรวมกับเงินภาครัฐนิดหน่อย แต่มันเป็นโปรเจคยาวนะครับ กินเวลาหลายปี น่าจะ 5-6 ปีมั้ง คนนึงจบไปก็หาเด็กใหม่มาทำต่อ ประมาณนี้
Money Money Money เรื่องเงินล่ะ เค้าให้เท่าไรยังไง?
ถ้าคุณได้แต่งตั้งในต่ำแหน่ง RA 50% ก็คือคุณต้องทำงาน 20 ชั่วโมงต่อหนึ่งอาทิตย์ (คือหนึ่งอาทิตย์เค้าคิดเป็น 40 ชั่วโมง) แต่ในความเป็นจริงคุณอาจต้องทำมากกว่านั้นเพื่อให้งานเสร็จ
คุณจะได้ยกเว้นค่าเล่าเรียนถ้าคุณได้เป็น RA ตั้งแต่ 25% ขึ้นไป (ของ UIUC) (คือทำ 10 ชั่วโมงต่ออาทิตย์) อาจต้องจ่ายเองนิดหน่อยหลักร้อยเหรียญ สำหรับพวกค่าธรมมเนียม คุณจะได้เงินเดือนตามนี้
เรท UIUC
$15,190/ปี ตกแล้ว $1,265/เดือน โดยเฉลี่ย (เพราะช่วงที่ปิดเทอมไม่จ่าย จะเห็นว่าเป็น 9-month contract) ก็อยู่ได้พอดีๆนะครับ เรท ก.พ. ก็ราวนี้ ($1,000 - $1400)
อีกเรทนึงของ Michigan Tech
$6,564/เทอม คือ คิดว่าเหมือนกันนะครับ 9-month contract
สรุป $6,564x2 หาร 12 = $1,094/เดือน น้อยกว่า เพราะทุนวิจัยที่ได้น้อยกว่า มหาลัยเล็กกว่าก็ งบน้อยกว่าเป็นธรรมดาครับ แต่อย่างที่บอกคุณก็มีสิทธิ์โดดเด่นได้มากกว่าเช่นเดียวกัน อันนี้ต้องชั่งน้ำหนักเอาเองนะครับ
สมมติคุณได้ ชีวิตเป็นไง???
พอเรียนเสร็จคุณต้องไปแลปครับ ไปทำงานซิ เค้าจ่ายเงินให้คุณมาทำงานนิ 555 พอมีเรียนก็ไปเรียน
คุณอาจจะต้องขาดเรียนในวิชาอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากการสอนของกลุ่มวิจับของคุณ เพราะต้องเดินทางไปประชุมวิชาการต่างรัฐซึ่งอาจจะกินเวลา 3-4 วัน หรือต้องเดินทางไปเก็บตัวอย่างข้อมูล
อย่างเช่นเพื่อนฝรั่งที่ผมเคยช่วยงานต้องขาดเรียน เดือนล่ะ 3-4 วัน ทุกเดือน เนื่องจากต้องเดินทางจาก Illinois ไปเก็บข้อมูลที่ Nebraska ซึ่งใช้เวลาขับรถราวๆ 10 ชั่วโมง
การไปประชุมวิชาการ จะนอนโรงแรมห้องล่ะ 4 คน เตียงล่ะ 2 คน (แค่เล่าให้ฟังนะครับ ไม่ได้แบบว่าเป็นแบบนี้ทุกมหาลัยนะครับ มหาลัยอื่น คณะอื่น ผมไม่รู้) ผมเซ็งมาก นอนไม่เคยหลับ ขนาดไปแค่ครั้งสองครั้ง
ถ้าคุณคิดจะเรียนเอก และยังไม่ได้ทุนตั้งแต่ต้น การออกเงินมาเรียนก่อนปีแรก ผมว่าก็เป็นอีกทางเลือกนึงนะ ถ้าคุณทำแบบเสนอหน้าตลอดได้ ยังไงก็ต้องได้ครับ แต่สำหรับคนที่จะเรียนแค่โท ก็ลุ้นหน่อย เพราะส่วนมากเค้าจะให้ทุนคนเรียนเอก เพราะจะอยู่ยาวๆ ทำงานให้เค้าได้นานๆ ก็เหมือนบริษัทแหละ พนักงานออกบ่อย งานมันก็ชะงักใช่มั้ยครับ
ทั้งหมดที่กล่าวไปคือ Research Assistantship (RA) เงินจะถูกสปอนเซอร์โดยกลุ่มงานวิจัยที่คุณทำ
ที่นี้เรามาพูดถึง Teaching Assistantship (TA) กันบ้าง
ก็คือผู้ช่วยสอนครับ เงินจะถูกสปอนเซอร์โดยภาควิชาและมหาลัย มีเกณฑ์เพิ่มเติมคือ ต้องผ่านการทดสอบพูด
ในกรณีที่ คะแนน speaking TOEFL ไม่ถึง 24/30
งานก็ช่วยตรวจการบ้าน สอนการบ้าน คุณต้องมีนัดสอนการบ้านและตอบคำถามนักเรียนในชั้น อาทิตย์ล่ะ 2 ครั้ง ครั้งล่ะ 1.5 ชั่วโมง เรียกว่า TA hour การคัดเลือกส่วนมากมาจากคนที่เค้าเรียนแล้วได้ A หรือ A+ และส่วนมากจะเป็นเด็ก ป.เอกที่เป็น TA
ครับวันนี้ก็จัดกันแบบเนื้อๆเน้นๆ เลยนะครับ
ก็คิดว่าน่าจะเกือบทั้งหมดที่ผมนึกได้ล่ะนะ ใครมีคำถามสงสัยเพิ่มเติมก็คอมเม้นไว้นะครับ เด่วเข้ามาตอบ
ขอบคุณครับ แล้วเจอกันใหม่วันจันทร์หน้าครับ
พี่พีท
***************************************************************************************************************
บทความเก่า
1. [บันทึกชีวิต]: เรื่องราวของเด็กโง่ภาษาอังกฤษที่วันนี้มาเป็นวิศวกรไทยในอเมริกา ตอนที่ 1 - ชีวิตวัยเด็ก
http://ppantip.com/topic/35669585
2. [พี่พีทเล่าเรื่อง]: OPT สะพานทองของนักเรียนต่างชาติสู่การได้งานในอเมริกา
http://ppantip.com/topic/35733401
3. [พี่พีทเล่าเรื่อง]: ข้อมูลหลักสูตร Railway Engineering จากทั่วโลก สาขาแห่งยุทธศาสตร์ประเทศไทย
http://ppantip.com/topic/35755457
[พี่พีทเล่าเรื่อง]: Research Assistantship, Teaching Assistantship ทุนของมหาลัยในอเมริกา ที่ใครๆก็อยากได้
เรื่องที่พี่พีทจะมาเล่าในวันนี้น่าจะเป็นเรื่องที่หลายคนอยากจะรู้ วันนี้เราจะมาดูกันว่าทุนของมหาลัยเมืองนอกเนี้ย ทำยังไงถึงจะได้ มีความยากง่ายขนาดไหน เค้าให้เป็นเงินเท่าไร และอีกจิปาถะที่พี่พีทจะนึกออก ซึ่งเป็นข้อมูลที่ วงในมากๆ 555
พูดถึงทุนให้เปล่าใครๆก็อยากได้ใช่มั้ยครับ แล้วทำยังไงถึงจะได้ล่ะ? ตอนสมัครมหาลัยไปมีโอกาสที่เค้าจะให้ทุนมั้ย มากน้อยแค่ไหน?
คนที่กำลังสมัครเรียนต่อ ป.โท ในต่างประเทศก็อาจจะทราบนะครับว่า บางมหาลัยมี deadline ของใบสมัครแบบต้องการให้พิจารณาทุน กับแบบไม่ต้องการ ซึ่งแบบแรกนั่นมี deadline ของใบสมัครเร็วกว่า คืออาจจะเป็นช่วงราวตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมเป็นต้นไปจนถึงกลางเดือนมกราคม ส่วนแบบที่สองก็อาจจะมี deadline ที่ราวๆ กลางเดือนกุมภาพันธ์
ใครที่สมัคร ป.โท กับผ่านทางมหาลัยโดยไม่ได้ติดต่ออาจารย์ผู้คุมงานวิจัยและมีการพูดคุยตกลงกันแล้ว โอกาสได้ทุน ผมคิดว่าไม่ถึง 1% !!! ครับตามนั้น 1% 555 โดยส่วนมากถึงมากที่สุดแล้ว คนที่ได้ทุนไม่ว่าจะเป็นระดับ ป.โท หรือ ป.เอก เค้าจะมีการพูดคุยกับอาจารย์ผู้คุมงานวิจัยนั้นว่าสนใจจะให้ร่วมงานวิจัย แปลว่า เค้าคุยกันเสร็จสรรพแล้วครับว่าจะให้ทุนหรือไม่ อาจจะเป็นก่อนหรือในช่วงที่ส่งใบสมัครผ่านมหาลัย
มาถึงจุดนี้ถ้าอาจารย์ตกลงเลือกคุณ ที่เหลือก็แค่ทำตามขั้นตอนของมหาลัยภายใต้เงื่อนไขว่าคุณต้องผ่านเกณฑ์ของมหาลัยนะครับ ซึ่งจากประสบการณ์ของผมแล้ว ส่วนมากจะเป็นการแนะนำจากศิษย์เก่าที่มีความสัมพันธ์กับแลปนั้น หรือผ่าน networking ที่อาจได้จากงานประชุมวิชาการ
ตัวอย่างงงงงงงง
เพื่อนผมคนนึงเป็นชาวไต้หวัน ผมถามเค้าว่าเค้าทำยังไงถึงได้ทุน เค้าบอกว่าเค้าเรียนและทำวิจัยกับอาจารย์ที่ไต้หวัน ซึ่งอาจารย์คนนี้จบ ป.เอก จาก UIUC และทำวิจัยกับ RailTEC และอาจารย์ก็ refer เค้ามาที่ UIUC เค้าจึงได้ทุนเรียนต่อ ป.โท ฉะนั้นถ้าอาจารย์ของคุณเป็นศิษย์เก่าของมหาลัยและเคยทำวิจัยกับแลปนั้นๆ พูดง่ายๆว่าสนิทและรู้จักกันดีอ่ะ แล้วอาจารย์ของคุณ Recommend คุณไป คุณก็มีสิทธิ์ที่จะได้สูง
เพื่อนชาวสเปนอีกคนนึง เค้าเคยมาเป็นเด็กแลกเปลี่ยน (ในลักษณะไหนไม่แน่ใจ แต่เค้าเคยมาอยู่และร็จักกับ RailTEC) และทำงานวิจัยกับ RailTEC ก่อนจะได้ทุน ป.โท เรียนต่อ ฉะนั้น ถ้าคุณมีโอกาสไปดูงาน ฝึกงาน เทรน อะไรก็แล้วแต่กลับมหาลัยต่างประเทศ ทำผลงานให้เข้าตา คุณก็จะมีสิทธิ์มากที่จะได้ทุนเรียนต่อ ป.โท ในภายหลัง
คนบราซิลอีกคนนึง ได้ทุนจากรัฐบาลบราซิลให้มาเรียน และเค้าได้ทำงานวิจัยกับ RailTEC ภายหลังก็มีการแนะนำน้องชายของเค้าให้กับ RailTEC พิจารณา ในที่ก็ได้ทุนเรียนต่อ ป.โท
จบจากอยู่ Top ก็อาจจะไม่ได้ทุน ถ้าไม่ได้ติดต่ออาจารย์!!!
เพื่อนคนจีนจบ ป.ตรี จาก UC Berkeley top 3 engineering school ของอเมริกา และ top 1 civil engineering ยังไม่ได้ทุนตอนสมัครเข้าเรียนเลยครับ แต่คนสเปน ไต้หวัน บราซิล ซึ่งทั้ง 3 คนนี้ไม่ได้จบตรี ที่อเมริกาด้วยซ้ำ กลับได้ทุนไป เห็นภาพนะครับ ฉะนั้นส่วนใหญ่แล้วการได้ทุนเกิดขึ้นหลังฉากนะครับ ไม่ใช่ตอนที่คุณส่งใบสมัครไป
“อ้าวยังงั้นถ้าผมไม่มีอาจารย์ที่เป็นศิษย์เก่า ไม่ได้ทำงานวิจัย ไม่เคยไปเทรนรึฝึกงานที่นั้นๆมาก่อน ก็อดอ่ะสิ”
ใช่ครับก็อดได้ครับ 555 ไม่ใช่ ปัดโถ่! มันก็มีวิธีอื่นอีกกกกก
ก็คือ ออกเงินเองไปก่อน แล้วไปหาทุนที่นั้น เป็นวิธีที่นักเรียนส่วนมากทำ โดย เฉพาะพวกอินเดีย จีน
จำพี่อินเดียโครตเทพที่ผมเล่าให้ฟังว่าชอบดูดปุ๊นตอนทำการบ้านได้มั้ยครับ ที่ Director of RailTEC ชวนทำวิจัย พี่แกก็ไม่ได้ทุนตอนได้ตอบรับเข้ามหาลัยนะครับ
กลับมาต่อ คือคุณต้องออกเงินเรียนไปก่อนเทอมแรกหรืออย่างมากก็ปีแรก แล้วพยายามแทรกตัวเข้าไปทำวิจัยในแลปนั้นให้ได้ ถามว่าแล้วมันมีความเป็นไปได้มากแค่ไหน
คำตอบคือ ขึ้นกับหลายปัจจัยดังนี้ครับ
ถ้าคุณต้องการจะออกเงินแค่เทอมแรก และได้ทุนทันทีในเทอมที่สอง ก็อาจจะฝืดนิดหน่อย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในการแข่งขันของแลปนั้นๆ พูดง่ายๆคือ มหาลัยใหญ่ๆ คนเก่งเยอะ แล้วคุณไม่เด่นพอ ระดับ A+ ก็อาจจะยาก แต่ถ้ามหาลัยคุณกลางๆแล้วคุณเก่งโดดเด่นแซงหน้าชาติอื่นๆ คุณก็ได้ และที่สำคัญเมื่อไปถึงมหาลัยคุณต้องไปเสาะหาทันทีว่า อยากทำวิจัยกลับใคร ตื๊อเท่านั้นที่ครองโลก เสนอหน้าไปครับ เค้ามีกิจกรรมอะไร งานอะไร ไปช่วยเค้า ให้เค้าเห็นหน้าบ่อยๆ แสดงความกระหายใฝ่รู้ออกมา และไปลงวิชาที่อาจารย์ผู้คุมแลปสอน ถ้ามีนะ ลงเลยครับ
โดยส่วนใหญ่แล้วแลปวิจัยกลุ่มใหญ่ๆ มักมีการประชุมความคืบหน้า อาจจะด้วย การทำ presentation ที่รู้กันเฉพาะคนที่ทำงานในแลป คุณต้องไปหามาครับ ไปขออาจารย์เข้าไปฟัง โม้ไปว่าผมสนใจโน่นนี่นั่น โดยมากเค้าไม่ปิดกั้น แต่ยินดีให้คุณเข้าไปร่วมฟังได้ครับ
กิจกรรมต่างๆ เช่นอะไรบ้าง
มหาลัยมักมีงาน open house เหมือนกัน เสนอหน้าไปครับขอช่วย
ชมรมต่างๆก็มักมีการเชิญ คนในอุตสาหกรรมมาพูด งานพวกนี้เข้าฟรีครับ จัดโดยนักเรียน เสนอหน้าไปครับ ทำความรู้จักคนเยอะๆ
งานอะไรอีก งานพวกที่เค้าเชิญ guest speaker มาพูด งานพวกนี้มักจัดโดยภาควิชาและอาจารย์ อันนี้ยิ่งต้องเสนอหน้าเลยนะครับ เข้าไปฟังเข้าไปถาม
ช่วงนี้ทั้งหมด ทำงานไม่ได้ตังค์ ก็ทำไปก่อนนะครับ ยิ่งได้เข้าไปทำในแลปยิ่งดี บอกเค้าไปว่าอยากทำ ไม่ได้เงินไม่เป็นไร ให้เค้าไปก่อนครับ
แต่สมมติว่า คุณพลาดไป ไม่ได้ทุนในเทอมที่สอง ทำไงอ่ะ?
ชีวิตยังมีหวังครับ ตรงนี้สำคัญนะ จะมีเหตุการณ์มากมายเกินขึ้นช่วง Summer อย่ากลับบ้านครับ อย่าเด็ดขาด!!! ช่วงนี้เป็นช่วงที่ นักเรียนไม่ว่าจะ ป.โท ป.เอก เร่งทำวิจัย ของตัวเอง เนื่องจากไม่ต้องมีเรียน ฉะนั้นความต้องการคนจะมีเพิ่มขึ้นครับ ประกอบกลับจะมีนักเรียนที่เคยทำวิจัยพวกเก่าๆ เรียนจบไป ทำให้ตำแหน่งว่างขึ้น ถ้าใน 1 ปีที่ผ่านมาคุณได้ไปเสนอหน้า ช่วยงานเค้ามาตลอด ผลงานมันจะออกมาให้อาจารย์เห็น และถ้าเค้าอยากได้คนช่วยเค้าจะเลือกใครล่ะครับ ระหว่างคนที่เค้าเห็นการทำงานมาก่อน กับใครไม่รู้ที่เพิ่งจะเข้ามาในช่วง summer ผมเชื่อมั่นว่า เค้าจะให้งานคุณทำแน่ๆ และ คุณต้องได้เข้าแลปครับ อาจจะเป็น part-time แบบจ้างเป็นรายชั่วโมงไปก่อนช่วง summer แล้วค่อยแต่งตั้งคุณเป็น Research Assistant (RA) ที่หลัง จุดนี้มีความเป็นไปได้สูงมากถึง 80% ครับ ยกตัวอย่าง
ตัวผมเองก็ได้เริ่มงานกับแลปช่วง summer ภายหลังก็ได้ข้อเสนอให้เป็น RA (แต่ผมไม่ได้เอา อยากรู้ว่าทำไม ตามอ่านกระทู้ [บันทึกชีวิต] นะครับ)
เพื่อนชาวไต้หวัน ก็ได้เสนอเป็น RA หลังจากทำวิจัยช่วง summer เหมือนกัน แต่เค้าทำคนล่ะโปรเจคกับผมแต่อยู่แลปเดียวกันนี่ล่ะ
และสำหรับคนที่จะต่อเอกนะครับ จากจุดนี้คุณก็ได้ยาวไปเลยครับจนจบอ่ะ
นักศึกษา ป.โท ป. เอก ของเมืองนอกไม่ต่างจากพนักงานทำงานนะครับ เค้าทำงานจริงจัง มีการเซ็นสัญญา มีการ present ความก้าวหน้า และเป็นการ present ต่อหน้าคนทั้งแลป อย่างแลปที่ผมทำนี่ราวๆ 40 คน เทอมนึง นักเรียนที่ทำวิจัยเป็นตัวหลักของโปรเจคต้อง present 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย และในวันนั้นคุณจะโดนชำแหละแบบไม่เหลือซาก (โหดสลัดรัสเซีย 555) ฉะนั้น ถ้าคุณทำงานได้ดีใครก็อยากได้คุณไว้ทำงานครับ ผลิต paper ที่มีคุณภาพ ส่งไปในการประชุมวิชาการต่างๆ นั้นคือที่มาของเงินทุนที่เค้าเอามาจ่ายคุณนั้นแหละ มาจากบริษัทเอกชนให้ทุนวิจัยบ้าง หรือ จากภาครัฐบ้าง(ซึ่งน้อย)
งานวิจัยที่ผมไปช่วยเพื่อน เฉพาะโครงการของ “จอส” เพื่อนผม คนเดียว มีงบวิจัย $900,000 ครับคูณ 35 เอาเองนะ โปรเจคเดียวนะครับ เงินนี้ได้จากบริษัทรถไฟเอกชนรวมกับเงินภาครัฐนิดหน่อย แต่มันเป็นโปรเจคยาวนะครับ กินเวลาหลายปี น่าจะ 5-6 ปีมั้ง คนนึงจบไปก็หาเด็กใหม่มาทำต่อ ประมาณนี้
Money Money Money เรื่องเงินล่ะ เค้าให้เท่าไรยังไง?
ถ้าคุณได้แต่งตั้งในต่ำแหน่ง RA 50% ก็คือคุณต้องทำงาน 20 ชั่วโมงต่อหนึ่งอาทิตย์ (คือหนึ่งอาทิตย์เค้าคิดเป็น 40 ชั่วโมง) แต่ในความเป็นจริงคุณอาจต้องทำมากกว่านั้นเพื่อให้งานเสร็จ
คุณจะได้ยกเว้นค่าเล่าเรียนถ้าคุณได้เป็น RA ตั้งแต่ 25% ขึ้นไป (ของ UIUC) (คือทำ 10 ชั่วโมงต่ออาทิตย์) อาจต้องจ่ายเองนิดหน่อยหลักร้อยเหรียญ สำหรับพวกค่าธรมมเนียม คุณจะได้เงินเดือนตามนี้
เรท UIUC
$15,190/ปี ตกแล้ว $1,265/เดือน โดยเฉลี่ย (เพราะช่วงที่ปิดเทอมไม่จ่าย จะเห็นว่าเป็น 9-month contract) ก็อยู่ได้พอดีๆนะครับ เรท ก.พ. ก็ราวนี้ ($1,000 - $1400)
อีกเรทนึงของ Michigan Tech
$6,564/เทอม คือ คิดว่าเหมือนกันนะครับ 9-month contract
สรุป $6,564x2 หาร 12 = $1,094/เดือน น้อยกว่า เพราะทุนวิจัยที่ได้น้อยกว่า มหาลัยเล็กกว่าก็ งบน้อยกว่าเป็นธรรมดาครับ แต่อย่างที่บอกคุณก็มีสิทธิ์โดดเด่นได้มากกว่าเช่นเดียวกัน อันนี้ต้องชั่งน้ำหนักเอาเองนะครับ
สมมติคุณได้ ชีวิตเป็นไง???
พอเรียนเสร็จคุณต้องไปแลปครับ ไปทำงานซิ เค้าจ่ายเงินให้คุณมาทำงานนิ 555 พอมีเรียนก็ไปเรียน
คุณอาจจะต้องขาดเรียนในวิชาอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากการสอนของกลุ่มวิจับของคุณ เพราะต้องเดินทางไปประชุมวิชาการต่างรัฐซึ่งอาจจะกินเวลา 3-4 วัน หรือต้องเดินทางไปเก็บตัวอย่างข้อมูล
อย่างเช่นเพื่อนฝรั่งที่ผมเคยช่วยงานต้องขาดเรียน เดือนล่ะ 3-4 วัน ทุกเดือน เนื่องจากต้องเดินทางจาก Illinois ไปเก็บข้อมูลที่ Nebraska ซึ่งใช้เวลาขับรถราวๆ 10 ชั่วโมง
การไปประชุมวิชาการ จะนอนโรงแรมห้องล่ะ 4 คน เตียงล่ะ 2 คน (แค่เล่าให้ฟังนะครับ ไม่ได้แบบว่าเป็นแบบนี้ทุกมหาลัยนะครับ มหาลัยอื่น คณะอื่น ผมไม่รู้) ผมเซ็งมาก นอนไม่เคยหลับ ขนาดไปแค่ครั้งสองครั้ง
ถ้าคุณคิดจะเรียนเอก และยังไม่ได้ทุนตั้งแต่ต้น การออกเงินมาเรียนก่อนปีแรก ผมว่าก็เป็นอีกทางเลือกนึงนะ ถ้าคุณทำแบบเสนอหน้าตลอดได้ ยังไงก็ต้องได้ครับ แต่สำหรับคนที่จะเรียนแค่โท ก็ลุ้นหน่อย เพราะส่วนมากเค้าจะให้ทุนคนเรียนเอก เพราะจะอยู่ยาวๆ ทำงานให้เค้าได้นานๆ ก็เหมือนบริษัทแหละ พนักงานออกบ่อย งานมันก็ชะงักใช่มั้ยครับ
ทั้งหมดที่กล่าวไปคือ Research Assistantship (RA) เงินจะถูกสปอนเซอร์โดยกลุ่มงานวิจัยที่คุณทำ
ที่นี้เรามาพูดถึง Teaching Assistantship (TA) กันบ้าง
ก็คือผู้ช่วยสอนครับ เงินจะถูกสปอนเซอร์โดยภาควิชาและมหาลัย มีเกณฑ์เพิ่มเติมคือ ต้องผ่านการทดสอบพูด
ในกรณีที่ คะแนน speaking TOEFL ไม่ถึง 24/30
งานก็ช่วยตรวจการบ้าน สอนการบ้าน คุณต้องมีนัดสอนการบ้านและตอบคำถามนักเรียนในชั้น อาทิตย์ล่ะ 2 ครั้ง ครั้งล่ะ 1.5 ชั่วโมง เรียกว่า TA hour การคัดเลือกส่วนมากมาจากคนที่เค้าเรียนแล้วได้ A หรือ A+ และส่วนมากจะเป็นเด็ก ป.เอกที่เป็น TA
ครับวันนี้ก็จัดกันแบบเนื้อๆเน้นๆ เลยนะครับ
ก็คิดว่าน่าจะเกือบทั้งหมดที่ผมนึกได้ล่ะนะ ใครมีคำถามสงสัยเพิ่มเติมก็คอมเม้นไว้นะครับ เด่วเข้ามาตอบ
ขอบคุณครับ แล้วเจอกันใหม่วันจันทร์หน้าครับ
พี่พีท
***************************************************************************************************************
บทความเก่า
1. [บันทึกชีวิต]: เรื่องราวของเด็กโง่ภาษาอังกฤษที่วันนี้มาเป็นวิศวกรไทยในอเมริกา ตอนที่ 1 - ชีวิตวัยเด็ก http://ppantip.com/topic/35669585
2. [พี่พีทเล่าเรื่อง]: OPT สะพานทองของนักเรียนต่างชาติสู่การได้งานในอเมริกา http://ppantip.com/topic/35733401
3. [พี่พีทเล่าเรื่อง]: ข้อมูลหลักสูตร Railway Engineering จากทั่วโลก สาขาแห่งยุทธศาสตร์ประเทศไทย http://ppantip.com/topic/35755457