สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
อาหารแบบนี้เรียกว่า MREs หรือ Meal, Ready to Eat ค่ะ เขาใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Self heating packaging หรือ Flameless Ration Heaters (FRH) คือ บรรจุภัณฑ์ที่สามารถอุ่นร้อนได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้เปลวไฟ แต่อาศัยการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีแทน
จุดเริ่มต้นของอาหารพวกนี้จะใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือภาวะที่ขาดแคลนอาหาร เข้าถึงอาหารไม่ได้จริงๆ ส่วนใหญ่จะใช้ในกองทัพ หรือการเดินทางออกไปในอวกาศค่ะ แต่ปัจจุบันเริ่มนำมาทำการตลาดในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปในบางประเทศแล้ว
เท่าที่สืบค้นดูเห็นว่ารูปแบบปฏิกิริยาเคมีที่ใช้จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ปฏิกิริยาคายความร้อนของสาร CaO และสารประกอบ Mg-Fe
แบบของญี่ปุ่นที่เจ้าของกระทู้ถามจะเป็นแบบแรกที่ใช้ แคลเซียมออกไซด์ (CaO) หรือว่าปูนขาว ส่วนประกอบของสารที่ใช้ก็จะมีแค่ ตัวปูนขาวกับน้ำเปล่า โดยข้าวกล่องแบบในวิดีโอจะใส่ทั้งสองอย่างนี้ไว้ในถุงเดียวกันแต่มีส่วนที่กั้นทั้งสองส่วนไว้ เมื่อเราดึงเชือกออก ส่วนที่กั้นน้ำกับปูนขาวจะขาดทำให้ทั้งสองส่วนรวมกัน เกิดปฏิกิริยาคายความร้อนของปูนขาวค่ะ
ส่วนแบบที่ 2 จะใช้เหล็กกับแมกนีเซียม และน้ำเกลือ คิดว่าน่าจะอยู่ในรูปผงค่ะ บางผลิตภัณฑ์จะใส่อยู่ในซองแยกเล็กๆ ให้นำใส่ลงไปในถุงใหญ่อีกที ใส่ซองอาหารที่ปิดสนิทลงไปและเทน้ำเกลือลงไปในซองใหญ่ น้ำจะซึมเข้าไปผ่านซองที่บรรจุสารเคมี และทำปฏิกิริยาค่ะ สังเกตได้ว่าเเบบนี้สารเคมีกับน้ำจะไม่ได้ทำปฏิกิริยาตรงๆแต่ใช่ต้องซึมผ่านซองบรรจุก่อน
มีนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทำโครงงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ค่ะ เปรียบเทียบเทคโนโลยี Self-heating สองแบบนี้ ในเเง่ของความร้อนและประสิทธิภาพที่ได้ ผลการทดลองคือการใช้ปูนขาวกับน้ำสามารถให้ความร้อนที่สูงกว่าและรวดเร็วกว่า แต่ยังไม่ทราบว่าเหตุผลในการเลือกใช้ 2 วิธีนี้ดูจากอะไร แต่ที่เห็นส่วนใหญ่ในทางกองทัพจะใช้แบบที่สองที่เป็น เหล็กกับแมกนีเซียมและน้ำเกลือมากกว่า
ข้อเสียและความเสี่ยงของการใช้เทคโนโลยีนี้คือ ต้องระมัดระวังในการขนส่งมากๆ เพราะสารเคมีจะทำปฏิกิริยากับน้ำและความชื้นได้ไวมากๆ ในงานของ Steven M. Summer ยังกล่าวอีกว่าสารเคมีพวกนี้สามารถจุดชนวนได้ด้วยความร้อน ไฟ หรือประกายไฟ และถ้าเกิดไฟลุกไหม้ เมื่อไฟถูกดับแล้วก็สามารถจุดชนวนซ้ำได้ค่ะ ในงานเขียนชิ้นนี้จะมีตัวอย่างเหตุการณ์เพลิงลุกไหม้รถขนส่ง MREs ทั้งคัน ซึ่งถ้าเป็น MREs แค่ชุดเดียวก็อาจจะไม่อันตรายมากขนาดนั้น แต่ถ้ามีในปริมาณที่เยอะก็อาจจะมีความเสี่ยงสูงมากขึ้นตามไปด้วยค่ะ ส่วนอันตรายหรือข้อเสียที่อาจจะมีต่ออาหารนั้น เท่าที่หายังไม่พบว่าจะเกิดผลเสียหรือสารตกค้างอะไรในอาหารหรือไม่ค่ะ
ราคาของข้าวกล่องเบนโตะแบบนี้จะประมาณ 1000-1500 ¥ หรือประมาณ 10 $ หรือ 300 กว่าบาทของไทยค่ะ
ข้อควรระวังในการบริโภคอาหาร MREs ที่มีเทคโนโลยีอุ่นอาหารในตัวโดยไม่ใช้ไฟ คือ เวลาที่สารเคมีกำลังทำปฏิกิริยา ควรทิ้งไว้ห่างตัวก็ดีค่ะเผื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดข้อผิดพลาดได้ การคายความร้อนของสารเคมีจะทำอย่างรวดเร็วมากๆ พยายามอย่าเพิ่งจับเพราะสามารถทำให้ผิวไหม้ได้ ก่อนการนำสารเคมีสองส่วนมาใส่รวมกันก็เช่นกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงเพราะอาจจะระคายเคืองผิวได้
อันนี้เป็นเว็บไซต์และข้อมูลอ้างอิงที่น่าสนใจค่ะ ถ้าเจ้าของกระทู้สนใจศึกษาเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ค่ะ
Akcasu, Audrey. “We try one ekiben shop’s three most popular bento boxes- out of a selection of 170 kinds.” 2015. [Online]. Available: http://en.rocketnews24.com/author/audrey-akcasu/ Retrieved November 22, 2016.
Brain, Marshall. “How MREs Work.” [Online]. Available: http://science.howstuffworks.com/mre4.htm Retrieved November 22, 2016.
Harrison, Emma Graham. “The eat of battle – how the world's armies get fed.” 2014. [Online]. Available: https://www.theguardian.com/lifeandstyle/2014/feb/18/eat-of-battle-worlds-armies-fed Retrieved November 22, 2016.
“Heating Your Ready Meal.” [Online]. Available: http://www.readymeal.com/store/pages.php?pageid=2 Retrieved November 22, 2016.
“Meal, Ready-to-Eat.” [Online]. Available: https://en.wikipedia.org/wiki/Meal,_Ready-to-Eat Retrieved November 22, 2016. (อันนี้ลองดูแหล่งข้อมูลใน References กับ External links ดูค่ะ)
Scott, Dan, and Meadows, Robin. “Hot Meals.” [Online]. Available: http://heatermeals.com/wp-content/uploads/2013/07/chemmattersarticle.pdf Retrieved November 22, 2016.
Summer, Steven M. “The Fire Safety Hazard of the Use of Flameless Ration Heaters Onboard Commercial Aircraft.” 2006. [Online]. Available: http://www.fire.tc.faa.gov/pdf/TN06-18.pdf Retrieved November 22, 2016.
ศุภวรรณ ศุภผล และศิรประภา อินทร์แก้ว. “การพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพบรรจุภัณฑ์อุ่นร้อนได้ด้วยตัวเอง.” [ออนไลน์]. สาระสังเขปจาก: https://research.psu.ac.th/Rdo/Uploads/Abstract/AGR560778S-Abstract.pdf สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2556.
“อาหารภาคสนามของทหารอเมริกา Meal, Ready to Eat (MRE).” 2557. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://ppantip.com/topic/31968738 สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2556.
จุดเริ่มต้นของอาหารพวกนี้จะใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือภาวะที่ขาดแคลนอาหาร เข้าถึงอาหารไม่ได้จริงๆ ส่วนใหญ่จะใช้ในกองทัพ หรือการเดินทางออกไปในอวกาศค่ะ แต่ปัจจุบันเริ่มนำมาทำการตลาดในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปในบางประเทศแล้ว
เท่าที่สืบค้นดูเห็นว่ารูปแบบปฏิกิริยาเคมีที่ใช้จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ปฏิกิริยาคายความร้อนของสาร CaO และสารประกอบ Mg-Fe
แบบของญี่ปุ่นที่เจ้าของกระทู้ถามจะเป็นแบบแรกที่ใช้ แคลเซียมออกไซด์ (CaO) หรือว่าปูนขาว ส่วนประกอบของสารที่ใช้ก็จะมีแค่ ตัวปูนขาวกับน้ำเปล่า โดยข้าวกล่องแบบในวิดีโอจะใส่ทั้งสองอย่างนี้ไว้ในถุงเดียวกันแต่มีส่วนที่กั้นทั้งสองส่วนไว้ เมื่อเราดึงเชือกออก ส่วนที่กั้นน้ำกับปูนขาวจะขาดทำให้ทั้งสองส่วนรวมกัน เกิดปฏิกิริยาคายความร้อนของปูนขาวค่ะ
ส่วนแบบที่ 2 จะใช้เหล็กกับแมกนีเซียม และน้ำเกลือ คิดว่าน่าจะอยู่ในรูปผงค่ะ บางผลิตภัณฑ์จะใส่อยู่ในซองแยกเล็กๆ ให้นำใส่ลงไปในถุงใหญ่อีกที ใส่ซองอาหารที่ปิดสนิทลงไปและเทน้ำเกลือลงไปในซองใหญ่ น้ำจะซึมเข้าไปผ่านซองที่บรรจุสารเคมี และทำปฏิกิริยาค่ะ สังเกตได้ว่าเเบบนี้สารเคมีกับน้ำจะไม่ได้ทำปฏิกิริยาตรงๆแต่ใช่ต้องซึมผ่านซองบรรจุก่อน
มีนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทำโครงงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ค่ะ เปรียบเทียบเทคโนโลยี Self-heating สองแบบนี้ ในเเง่ของความร้อนและประสิทธิภาพที่ได้ ผลการทดลองคือการใช้ปูนขาวกับน้ำสามารถให้ความร้อนที่สูงกว่าและรวดเร็วกว่า แต่ยังไม่ทราบว่าเหตุผลในการเลือกใช้ 2 วิธีนี้ดูจากอะไร แต่ที่เห็นส่วนใหญ่ในทางกองทัพจะใช้แบบที่สองที่เป็น เหล็กกับแมกนีเซียมและน้ำเกลือมากกว่า
ข้อเสียและความเสี่ยงของการใช้เทคโนโลยีนี้คือ ต้องระมัดระวังในการขนส่งมากๆ เพราะสารเคมีจะทำปฏิกิริยากับน้ำและความชื้นได้ไวมากๆ ในงานของ Steven M. Summer ยังกล่าวอีกว่าสารเคมีพวกนี้สามารถจุดชนวนได้ด้วยความร้อน ไฟ หรือประกายไฟ และถ้าเกิดไฟลุกไหม้ เมื่อไฟถูกดับแล้วก็สามารถจุดชนวนซ้ำได้ค่ะ ในงานเขียนชิ้นนี้จะมีตัวอย่างเหตุการณ์เพลิงลุกไหม้รถขนส่ง MREs ทั้งคัน ซึ่งถ้าเป็น MREs แค่ชุดเดียวก็อาจจะไม่อันตรายมากขนาดนั้น แต่ถ้ามีในปริมาณที่เยอะก็อาจจะมีความเสี่ยงสูงมากขึ้นตามไปด้วยค่ะ ส่วนอันตรายหรือข้อเสียที่อาจจะมีต่ออาหารนั้น เท่าที่หายังไม่พบว่าจะเกิดผลเสียหรือสารตกค้างอะไรในอาหารหรือไม่ค่ะ
ราคาของข้าวกล่องเบนโตะแบบนี้จะประมาณ 1000-1500 ¥ หรือประมาณ 10 $ หรือ 300 กว่าบาทของไทยค่ะ
ข้อควรระวังในการบริโภคอาหาร MREs ที่มีเทคโนโลยีอุ่นอาหารในตัวโดยไม่ใช้ไฟ คือ เวลาที่สารเคมีกำลังทำปฏิกิริยา ควรทิ้งไว้ห่างตัวก็ดีค่ะเผื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดข้อผิดพลาดได้ การคายความร้อนของสารเคมีจะทำอย่างรวดเร็วมากๆ พยายามอย่าเพิ่งจับเพราะสามารถทำให้ผิวไหม้ได้ ก่อนการนำสารเคมีสองส่วนมาใส่รวมกันก็เช่นกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงเพราะอาจจะระคายเคืองผิวได้
อันนี้เป็นเว็บไซต์และข้อมูลอ้างอิงที่น่าสนใจค่ะ ถ้าเจ้าของกระทู้สนใจศึกษาเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ค่ะ
Akcasu, Audrey. “We try one ekiben shop’s three most popular bento boxes- out of a selection of 170 kinds.” 2015. [Online]. Available: http://en.rocketnews24.com/author/audrey-akcasu/ Retrieved November 22, 2016.
Brain, Marshall. “How MREs Work.” [Online]. Available: http://science.howstuffworks.com/mre4.htm Retrieved November 22, 2016.
Harrison, Emma Graham. “The eat of battle – how the world's armies get fed.” 2014. [Online]. Available: https://www.theguardian.com/lifeandstyle/2014/feb/18/eat-of-battle-worlds-armies-fed Retrieved November 22, 2016.
“Heating Your Ready Meal.” [Online]. Available: http://www.readymeal.com/store/pages.php?pageid=2 Retrieved November 22, 2016.
“Meal, Ready-to-Eat.” [Online]. Available: https://en.wikipedia.org/wiki/Meal,_Ready-to-Eat Retrieved November 22, 2016. (อันนี้ลองดูแหล่งข้อมูลใน References กับ External links ดูค่ะ)
Scott, Dan, and Meadows, Robin. “Hot Meals.” [Online]. Available: http://heatermeals.com/wp-content/uploads/2013/07/chemmattersarticle.pdf Retrieved November 22, 2016.
Summer, Steven M. “The Fire Safety Hazard of the Use of Flameless Ration Heaters Onboard Commercial Aircraft.” 2006. [Online]. Available: http://www.fire.tc.faa.gov/pdf/TN06-18.pdf Retrieved November 22, 2016.
ศุภวรรณ ศุภผล และศิรประภา อินทร์แก้ว. “การพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพบรรจุภัณฑ์อุ่นร้อนได้ด้วยตัวเอง.” [ออนไลน์]. สาระสังเขปจาก: https://research.psu.ac.th/Rdo/Uploads/Abstract/AGR560778S-Abstract.pdf สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2556.
“อาหารภาคสนามของทหารอเมริกา Meal, Ready to Eat (MRE).” 2557. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://ppantip.com/topic/31968738 สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2556.
แสดงความคิดเห็น
ข้าวกล่องแบบนี้ ใช้หลักการอะไรครับ
สงสัยว่าเค้าใช้หลักการอะไรในการทำครับ แล้วข้าวกล่องลักษณะนี้ราคาแพงมากไหมครับ มีใครเคยเห็นบ้าง