ภาพที่ดีต้องจบหลังกล้องนะ.....เหรอครับ? มาแก้ความเข้าใจแบบนี้กันเถอะครับ

เพิ่มเติม

น่าเสียใจที่บางท่านไม่อ่านกระทู้ ไม่ทำความเข้าใจระบบแล้วต่อต้านจากหัวกระทู้เลย รบกวนอ่านและทำความเข้าใจก่อนซักนิดนะครับ การสื่อสารผมอาจจะไม่ดีเท่าไหร่ แต่อยากคุยด้วยเหตุผลมากกว่าเอามารมณ์มาใส่แล้วบอกแค่ว่าก็มันเปลี่ยนไปแล้วอะไรแบบนั้นนะครับ อมยิ้ม08

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภาพที่ดีคือภาพที่จบหลังกล้อง บางคนสวยเพราะแต่งภาพเก่ง ฝีมือการถ่ายอาจจะยังไม่ถึง.....

และอื่นๆ เหล่านี้คือ ความคิดของคนที่อาจจะเพิ่งหัดถ่ายภาพ และ/หรือ ไม่มีความรู้ด้านการถ่ายภาพ ครับ

เราลองมาชมภาพเหล่านี้กันก่อนจะพูดกันต่อนะครับ อมยิ้ม04


A portrait of Audrey Hepburn during the filming of "Sabrina", captured by photographer Dennis Stock in 1954.


James DEAN in Times Square, 1955, USA. New York City.


A portrait of photographer Henri Cartier-Bresson, captured by Bob Henriques
during Martin Luther King’s March on Washington, 1957


Thomas Hoepker – Magnum Photos, 1966
Muhammad Ali First Poster.


Stalin Airbrushes Out His Enemies, circa 1930


Hitler Removes Joseph Goebbels, 1937


Canadian PM William Lyon Mackenzie King
Removes King George VI, 1939


Benito Mussolini Removes Horse Handler, 1942


Watch Removed from WWII
Russian Flag Raising Photograph, 1945


General Ulysses. S. Grant on a Horse
in front of Troops, circa 1864


General Francis P. Blair Added to Photograph of General Sherman Posing with his Generals, circa 1865


Headless Portraits from the 19th century


Two-Headed Man, 1855


Aberdeen Portraits No.1, 1857


Man Juggling His Own Head, 1880


Henri de Toulouse-Lautrec as Artist and MODEL, 1892


untitled, c1898


The Vistion (Orpheus Scene), 1907


A Powerful Collision, 1910


Colorado Springs, Colorado, 1913


Dirigible Docked on Empire State Buiding, New York, 1930


Room with Eye, 1930


Man on Rooftop with Eleven Men in Formation on His Shoulders, 1930


Sealed Power Piston Rings, 1933


Hearst Over the People, 1939


Dream No.1 "Electrical Appliances for the Home", 1950


Untitled, 1969 by Jerry Uelsmann

หมายเหตุ : ภาพต่างๆ เก่ามากแล้วอาจมีข้อมูลผิดพลาด หากใครมีข้อมูลที่ต่างไปสามารถเสนอแนะ/แก้ไขได้นะครับ

เข้าเรื่องกัน

เท่าที่ผมจำได้ หลักการถ่ายภาพมีขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอนคือ Shoot, Develop and Print

เริ่มที่ขั้นตอนแรกคือ Shoot หรือ การถ่ายภาพ ที่คนยุคนี้หลายคนบอกต้องจบตรงนี้ล่ะ คือนี่มันเพิ่งขั้นตอนแรกครับ... สมัยฟิล์มต้องถ่ายให้ติด Over Exposure เอาไว้เพราะรายละเอียดในส่วนสว่างจะเก็บได้มากกว่ารายละเอียดในส่วนมืด ตรงกันข้ามกับไฟล์ดิจิตอลที่จะต้องถ่ายให้ติด Under Exposure เพราะสามารถเก็บรายละเอียดในส่วนมืดได้มากกว่า สามารถนำมาแก้ไขได้มากกว่า

ตามด้วยขึ้นตอนที่สองคือ Develop หรือ การล้างภาพ การจะทำให้ภาพที่ถ่ายมาปรากฎบนฟิล์มได้ต้องมีการล้างด้วยน้ำยา ซึ่งอุณหภูมิของนำยา, ระยะเวลาในการล้าง, ความแรงในการเขย่าขณะล้าง หรืออายุของน้ำยา มีผลต่อภาพทั้งหมด ถ้าจำไม่ผิดคืออุณหภูมิสูง, การล้างที่นาน การเขย่าแรงทำให้ contrast จัดขึ้น อายุน้ำยายิ่งเก่า contrast ยิ่งต่ำลง (เรียนมาหลายปีมากแล้วอาจผิดพลาดได บอกแก้ไขได้ครับ) ดังนั้นถึงมีการบอกว่าการล้างฟิ์มแต่ละร้านให้ภาพไม่เหมือนกัน

ขั้นตอนสุดท้ายคือการ Print หรือ การอัดภาพ ในสมัยนี้อาจรวมไปถึงการแสดงภาพในระบบดิจิตอลและสื่อออนไลน์ การอัดภาพนั้นคือการวางแผ่นฟิล์มบนเครื่องอัดและฉายแสงลงมาบนกระดาษไวแสง จากนั้นจึงนำกระดาษไปล้างให้ขึ้นภาพและลงน้ำยาหยุดสภาพ(Fixer) การฉายแสงลงบนกระดาษไวแสงนั้นทำให้จุดที่แสงตกกระทบบนกระดาษสามารถล้างขึ้นเป็นสีดำ ยิ่งโดนแสงนานยิ่งเข้ม ยิ่งโดนแสงน้อยยิ่งอ่อน จึงมีการ Dodge & Burn ตรงไหนที่อยากให้เข้มก็ปล่อยแสงผ่านฟิล์มลงมาโดนกระดาษนานๆ ตรงไหนอยากให้อ่อนก็นำกระดาษมาบังแสงที่จะกระทบจุดนั้นๆ ดังจะเห็นในกรายวางแผนทำภาพในรูปบนๆ ของกระทู้


ฟิล์มและละชนิดก็ให้สี โทนภาพ และเกรน(noise ในระบบดิจิตอล คล้ายกัน แต่ต่างกันนิดหน่อย)ที่ต่างกันไป น้ำยาใหม่เก่าก็ให้สี โทนภาพ คอนทราสก์ที่ต่างกันไป ขั้นตอนในยุคดิจิตอลก็ไม่ได้ต่างกันครับ แค่เปลี่ยนจากระบบใน Dark room เป็น Light room หรือในโปรแกรมต่างๆ เท่านั้น

ย้ำอีกครั้งนะครับ หลักการถ่ายภาพมีขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอนคือ Shoot, Develop and Print ที่ "ต้อง" ทำ มันไม่มีคำว่าจบหลังกล้องมาตั้งแต่ยุคแรกของการถ่ายภาพแล้วครับ แม้แต่ฟิล์มสไลด์ที่ดูภาพที่ดีที่สุดได้จากฟิล์มก็ยังต้องผ่านขั้นตอนการ develop ครับ

และทั้ง 3 ขั้นตอนต้อง "ดีที่สุด" ทุกขั้นตอน นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า "มืออาชีพ" ครับ

เพิ่มเติมนิดหน่อยคือ จุดประสงค์ของช่างภาพแต่ละสายอาจต่างกัน ช่างภาพข่าว ช่างภาพสารคดี หรือภาพประวัติศาสตร์อาจจะต้องการให้ "จริง" ที่สุด ในขณะที่งานแฟชั่น แลนด์สเคป โฆษณา หรืออื่นๆ จะต้องทำภาพให้ "สวย" ที่สุด ถึงอย่างไรก็ตาม สิ่งที่คนที่เรียกว่าตัวเองเป็นช่างภาพหรือช่างภาพอาชีพต้องทำภาพออกมาให้ "ดีที่สุด" เพราะนั่นคืองานของช่างภาพและเป็นสิ่งที่แสดงตัวตนของช่างภาพ

ย้ำเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจบกระทู้ หลักการถ่ายภาพมีขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอนคือ Shoot, Develop and Print ที่ "ต้อง" ทำ เพื่อให้ภาพออกมา "ดีที่สุด" และ คำพูดว่าต้องจบหลังกล้องคือความคิดของมือสมัครเล่นและ/หรือคนที่ไม่มีความรู้เรื่องการถ่ายภาพเท่านั้น

ไม่รู้มีคำว่าจบหลังกล้องมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ถ้าอยากได้งานที่ดีที่สุดก็เลิกใช้ได้แล้วครับ

สวัสดีครับ อมยิ้ม17
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่