ในขนาดที่หลายคนกำลังดี๊ด๊าไปกับรถไฟไทยตู้นอนรุ่นใหม่ ไม่ต่างอะไรกันกับปลากระดี่ได้น้ำ ใครคนนี้ก็รู้สึกตื่นเต้นไม่แพ้กัน เพียงแต่เปลี่ยนจากเจ้าหนอนเหล็กตู้นอนรุ่นใหม่ มาเป็นเวอร์ชั่นฟรี ซึ่งเหมาะเลยทีเดียวกับคน(ไม่ค่อย)จะมีสตางค์แบบผม
ความตื่นเต้นที่ว่าไปกับการนั่งรถไฟฟรี หาใช่เรื่องที่เราไม่ต้องเสียตังค์ แต่มันคืออารมณ์และความรู้สึกตอนเรายื่นหนังหน้าตัวเองโผล่ออกทางหน้าต่าง เพื่อรับลมเย็นๆ ในยามเช้า ระหว่างสองข้างทางที่เต็มไปด้วยทุ่งนา สายหมอก และขุนเขา
สองข้างทางที่ปักหมุดเริ่มจากเชียงใหม่ไปจบที่ลำปาง
06.30 น. คือเวลาเจ้าหนอนเหล็กเคลื่อนขบวน อากาศเช้านี้ในช่วงปลายเดือนตุลา พอจะทำให้เราเริ่มคิดถึงเสื้อกันหนาวในตู้ที่ถูกแขวนไว้จนหยากไย่เกาะ หลายคนบอกอยู่ในบางกอกปีนึงหยิบมาใส่เกิน 3 ครั้ง ก็บุญหัวแล้วพ่อคุณ
บนขบวนกับการเริ่มต้นวันใหม่ ใครคนนี้คิดเอาไว้ว่าคงพลุกพล่านพอสมควร เพราะไหนเด็กจะไปโรงเรียน คนจะไปทำงาน บางคนกลับบ้าน บางคนไปเที่ยว แต่พอได้ย้ายก้นขึ้นไปวางบนเบาะหนังชิดริมหน้าต่างฝั่งซ้ายมือ ก็พบว่าที่ว่างค่อนข้างเยอะ ชนิดที่เด็กๆ วิ่งเล่นหยอกกันได้สบาย
เชียงใหม่-สารภี-ลำพูน นั่งมองวิวเพลินๆ แปบเดียว ความพลุกพล่านก็เริ่มทักทาย เบาะวางด้านขวามือผมถูกจับจองด้วยชายวัยกลางคน หุ่นสูงราว 170 เซนติเมตร แรกทีเดียวคิดว่าเขาคงเลือกที่นั่งเอง ประเภทพอใจที่จะนั่งข้างผม แต่ที่ไหนได้ หลังจากชายคนนั้นมองไปยังตั๋วรถไฟตัวเอง แล้วก็มองมายังผนังที่ผมนั่งชิดอยู่ ตอนนั้นก็เพิ่งรู้ว่านั่งรถไฟฟรี เขาระบุที่นั่งให้ด้วย ไม่ใช่สุ่มสี่สุ่มห้า อยากจะเสนอหน้านั่งตรงไหนก็ได้
และที่ที่ผมกำลังนั่ง มันก็ไม่ใช่ที่ของตัวเอง ฮ่าๆๆ
ควักดูตั๋วตัวเองในกระเป๋าเสื้อแฟลนเนลลายสก็อตสีเขียวดำ แล้วหันหน้าหันหลังเช็คหมายเลขที่นั่ง นับไปสองแถวข้างหลังคือที่นั่งตัวเองจริงๆ
อ้าว ตรงนั้นมีคนนั่งแล้วซะด้วย งั้นใครคนนี้ก็ขอเนียนนั่งตรงนี้ไปต่อล่ะกัน ลมมันกำลังเย็นดี
จากลำพูนเข้าสู่ลำปาง ก่อนถึงสะพานทาชมภู และอุโมงค์ขุนตาน (อุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านที่ยาวที่สุดในสยามประเทศ) วิวสองข้างทางน่าสนใจไม่แพ้กันกับนางงามจักรวาลปีล่าสุด และถ้าเปรียบสะพานชมภู และอุโมงค์ขุนตาน เป็นตำแหน่งชนะเลิศผู้ครองมงกุฎ วิวสองข้างทางก็คือตำแหน่งรองชนะเลิศกันครับ
สิ่งที่ต้องทำในช่วงเวลานั้นมีอยู่สองอย่างด้วยกัน คือหนึ่งยื่นหน้าออกมารับลมเย็นๆ ของช่วงต้นฤดูหนาว แบบน้องหมายื่นหน้าออกมาจากรถยนต์แล้วแลบลิ้น และสองคือมองดูไอหมอกเป็นริ้วไหลผ่านปลายยอดเขาและทุ่งนา
หลายคนบนขบวนดูเหมือนจะโดนธรรมชาติสะกดเอาไว้ มีเสียงรถไฟฉึกฉักเป็นดนตรีประกอบ และเสียงชัตเตอร์จากสมาร์ทโฟนเล็ดลอดออกมา ก่อนอีกหลายสิบนาทีจะหยุดลงตรงสถานีรถไฟขุนตาน เพื่อรอเปลี่ยนรางให้อีกขบวนวิ่งผ่านไปก่อน
เจ้าหนอนเหล็กขบวน 102 หลังจากหลบทางให้อีกขบวน ก็แล่นมุดเข้าอุโมงค์ขุนตานกับระยะ 1,352.10 เมตร ทะลุผ่านมุ่งหน้าสู่ทางทิศใต้ ผ่านสะพานสองหอ สะพานสามหอ และสะพานคอมโพสิต 3 สะพานรถไฟที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อข้ามหุบเขาระหว่างลำปางกับลำพูน ซึ่งเหวลึกของสะพานเหล่านี้ ให้ความรู้สึกทั้งหวาดเสียวและชวนมองในเวลาเดียวกัน
เข็มสั้นนาฬิกากระดิกไปที่เลข 9 เท้าตัวเองก็เหยียบลงเมืองรถม้า ภารกิจต่อไปในการตระเวนเที่ยวในเมืองนี้ คือตามหาร้านเช่าจักรยาน ซึ่งรอบๆ สถานีรถไฟเมืองลำปางไม่มีซักกันซักร้าน และถ้าอยากปั่น ก็ต้องเข้ามาหายังในเมืองย่านกาดกองต้า
งานนี้เลยถือโอกาสเดินสำรวจเมืองไปในตัวจากสถานีรถไฟลำปางไปยังกาดกองต้าราวๆ 3 กิโลเมตร โดยออกขวามือจากสถานีเข้าถนนประสานไมตรี มีตึกรามบ้านช่องบางหลังที่ยังสวยๆ ในสถาปัตยกรรมให้ได้หยุดมอง แล้วเดินออกซ้ายมือไปตามถนนฉัตรไชย มุ่งหน้าไปจนถึงห้าแยกหอนาฬิกา เข้าสู่ถนนบ้านเชียงรายไปจนสุดทางถึงถนนทิพย์ช้าง มีแม่น้ำวังกำลังผายมือต้อนรับ และซ้ายมือเป็นสะพานแขวน อีกหนึ่งแลนมาร์คของเมืองลำปาง
จากถนนทิพย์ช้างสับตีนมาจนถึงสี่แยกที่ตัดกับถนนสวนดอกแล้วเลี้ยวซ้ายเดินลงไปจนถึงถนนตลาดเก่า ย่านนี้จะมีเกสต์เฮ้าส์ให้เลือกพักเยอะ และที่เกสต์เฮ้าส์ก็น่าจะมีจักรยานให้ผมได้เช่าปั่นชมเมือง ย่านกาดกองต้าหมุดหลักสำหรับทริปนี้
“50 บาท ปั่นได้ทั้งวัน” ถือเป็นราคาปั่นที่เร้าใจจาก “อาร์ ลำปาง เกสต์เฮาส์” เอาจริงๆ ปั่นเล่นแค่ 2 ชั่วโมง ก็ถือว่าคุ้มแล้ว สำหรับผม เพราะมันดีกว่าเดินเป็นไหนๆ
กลิ่นอายของสถาปัตยกรรมเริ่มทักทายก่อนเข้าย่านกาดกองต้า ด้วยวัดเกาะวาลุการาม ความรู้สึกแรกที่สัมผัสคือ ศาสนสถานแต่ละอย่างมันดูแปลกๆ แต่สวยดี และไม่ค่อยเหมือนกับวัดที่อื่นๆ ที่เคยไปมาในภาคเหนือ
อย่างวิหาร พระสถูปที่บรรจุรอยพระพุทธบาทจำลอง หรือแม้กระทั่งศาลาการเปรียญ ที่อยากจะขยี้ตาซ้ำซัก 3 ที เพราะมีทั้งความเก่าและเก๋าของลวดลายไม้แกะสลักที่วิจิตรงดงาม
พอออกจากวัดเข้าสู่กาดกองต้า ตึกรามบ้านช่องที่ถูกอนุรักษ์ไว้ในเชิงสถาปัตยกรรมก็ค่อยๆ โผล่หน้ามาทักทาย
อาคารฟองหลี กับอารมณ์เคร่งขรึม คลาสสิค เป็นอาคารสองชั้นประดับลวดลายแบบขนมปังขิง ซึ่งชั้นล่างของอาคารประดับศิลปะลายฉลุแบบขนมปังขิงฝีมือประณีตมาก โดยเฉพาะลายเท้าแขนตรงมุมหัวเสาและลายช่องลมโค้งของประตู ว่ากันว่าเป็นอาคารแห่งนี้เป็นอาคารอิฐผสมไม้ในยุคแรกๆ ที่เรือนขนมปังขิงแพร่หลายเข้ามาในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 คาบเกี่ยวต้นรัชกาลที่ 6
บ้านคมสัน บ้านปูนหลังแรกในย่านนี้ ที่สร้างขึ้นช่วงเวลาเดียวกับสะพานรัษฎาภิเศก คือในปี พ.ศ. 2460 เป็นเรือนปั้นหยาจั่วตัดปลาย 4 มุข
อาคารหม่องโง่ยซิ่น การรันตีความสวยด้วยรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2550 ประเภทอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนา จากกรรมาธิการล้านนา สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ กับลักษณะเรือนขนมปังขิงหลังคาทรงมะนิลา สูงสองชั้นครึ่ง ลักษณะครึ่งปูนครึ่งไม้ มีความพิเศษของอาคารอยู่ที่ลายฉลุไม้ทาสีขาวแบบเรือนขนมปังขิง
อาคารเยียนซีไท้ลีกี อาคารพาณิชย์สร้างด้วยปูนทั้งหลัง ประดับตกแต่งแบบตะวันตกชนิดเต็มรูปแบบ หลังคาเป็นปั้นหยา แต่กั้นแบบดาดฟ้า ลวดลายที่ใช้มีทั้งไม้ฉลุและปูนประดับ สมัยก่อนอาคารแห่งนี้เคยเป็นห้างสรรพสินค้าใหญ่ที่สุดในย่านตลาดจีน มีตู้เชฟโบราณเจาะฝังเข้าไปในกำแพงคล้ายห้องลับขนาดเล็ก เวลามีเหตุการณ์ไม่ชอบมาพากลขึ้นในชุมชน เจ้าของห้างรวมทั้งชาวบ้านคนอื่นๆ จะนำทรัพย์สินมาฝากไว้ที่นี่
สะพานรัษฎาภิเศก หรือสะพานขาว สะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามแม่น้ำวัง มีเครื่องหมายไก่ขาว และครุฑหลวงประดับไว้ตรงหัวสะพาน สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 ในโอกาสที่พระองค์ครองราชย์ครบ 25 ปี ในปี พ.ศ. 2437
มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ได้ทาสีพรางตาและด้วยการอ้างว่าสะพานแห่งนี้ไม่มีประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ จึงรอดจากโจมตีทิ้งระเบิดมาได้ (โอ้! อะไรจะหลอกง่ายขนาดนั้น)
หลังจากโดนสถาปัตยกรรมย่านกาดกองต้าพาย้อนอดีตราวเกือบสองชั่วโมง มีหนึ่งอย่างที่น่าสังเกตคือ นอกจากความสวยงามของตึกรามบ้านช่องที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ในแง่ของสถาปัตยกรรมแล้ว อีกหนึ่งอย่างที่ลำปางควรอนุรักษ์พอๆ กันไม่ให้มันสูญหาย คือเจ้ารถสองแถว "Datsun" คันสีเหลืองเขียว ที่เข้ากันดีเหลือเกินเวลาขับวิ่งผ่านในเมือง โดยเฉพาะย่านกาดกองต้า และจะดีกว่านี้มาก หากจับสายไฟบนถนนยัดลงพื้นดินให้หมด
และถึงตอนนั้น “กาดกองต้า” จะดูสวยและมีเสน่ห์มากขึ้น ไม่ต่างอะไรกันกับอนงค์นางผู้เลอโฉม ในคราวที่ไม่มีอะไรมาปิดบังใบหน้าเธอ
*หมายเหตุ : รถไฟฟรีขาไปจากเชียงใหม่มีรอบ 06.30 น. และ 09.30 น. ส่วนขากลับมีรอบ 12.30 น.
: หากมาในวันเสาร์-อาทิตย์ ตอนเย็นมีถนนคนเดินให้เที่ยว ฉะนั้น ถ้าอยากดูตึกสวยๆ ตอนถนนโล่ง ต้องมาดูตอนเช้า
: ขากลับจากลำปาง อย่าลืมนั่งรถไฟฝั่งขวามือชิดริมหน้าต่าง เพราะนี่คือมุมที่ดีที่สุด ในการโผล่หน้าออกมาชมสะพานทาชมพู ที่สำคัญนั่งท้ายๆ ขบวนจะแจ๋วมาก (รถไฟเที่ยวขากลับไม่ได้ระบุที่นั่ง หมายความว่าจะย้ายก้นไปนั่งตรงไหนก็ได้ตามอำเภอใจ)
: ภาพทั้งหมดถ่ายด้วยกล้องฟิล์ม Fujica ST605N + เลนส์ Super Takumar 55mm/f1.8 ฟิล์ม Kodak ColorPlus 200
ตามติดชีวิตกันต่อได้ที่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้Fanpage สิงห์หนุ่มซุ่มเที่ยว https://www.facebook.com/singhanum7/
[CR] นั่งรถไฟฟรี ขี่จักรยาน สำราญเมืองรถม้า หรรษาไปกับกล้องฟิล์ม
ในขนาดที่หลายคนกำลังดี๊ด๊าไปกับรถไฟไทยตู้นอนรุ่นใหม่ ไม่ต่างอะไรกันกับปลากระดี่ได้น้ำ ใครคนนี้ก็รู้สึกตื่นเต้นไม่แพ้กัน เพียงแต่เปลี่ยนจากเจ้าหนอนเหล็กตู้นอนรุ่นใหม่ มาเป็นเวอร์ชั่นฟรี ซึ่งเหมาะเลยทีเดียวกับคน(ไม่ค่อย)จะมีสตางค์แบบผม
ความตื่นเต้นที่ว่าไปกับการนั่งรถไฟฟรี หาใช่เรื่องที่เราไม่ต้องเสียตังค์ แต่มันคืออารมณ์และความรู้สึกตอนเรายื่นหนังหน้าตัวเองโผล่ออกทางหน้าต่าง เพื่อรับลมเย็นๆ ในยามเช้า ระหว่างสองข้างทางที่เต็มไปด้วยทุ่งนา สายหมอก และขุนเขา
สองข้างทางที่ปักหมุดเริ่มจากเชียงใหม่ไปจบที่ลำปาง
06.30 น. คือเวลาเจ้าหนอนเหล็กเคลื่อนขบวน อากาศเช้านี้ในช่วงปลายเดือนตุลา พอจะทำให้เราเริ่มคิดถึงเสื้อกันหนาวในตู้ที่ถูกแขวนไว้จนหยากไย่เกาะ หลายคนบอกอยู่ในบางกอกปีนึงหยิบมาใส่เกิน 3 ครั้ง ก็บุญหัวแล้วพ่อคุณ
บนขบวนกับการเริ่มต้นวันใหม่ ใครคนนี้คิดเอาไว้ว่าคงพลุกพล่านพอสมควร เพราะไหนเด็กจะไปโรงเรียน คนจะไปทำงาน บางคนกลับบ้าน บางคนไปเที่ยว แต่พอได้ย้ายก้นขึ้นไปวางบนเบาะหนังชิดริมหน้าต่างฝั่งซ้ายมือ ก็พบว่าที่ว่างค่อนข้างเยอะ ชนิดที่เด็กๆ วิ่งเล่นหยอกกันได้สบาย
เชียงใหม่-สารภี-ลำพูน นั่งมองวิวเพลินๆ แปบเดียว ความพลุกพล่านก็เริ่มทักทาย เบาะวางด้านขวามือผมถูกจับจองด้วยชายวัยกลางคน หุ่นสูงราว 170 เซนติเมตร แรกทีเดียวคิดว่าเขาคงเลือกที่นั่งเอง ประเภทพอใจที่จะนั่งข้างผม แต่ที่ไหนได้ หลังจากชายคนนั้นมองไปยังตั๋วรถไฟตัวเอง แล้วก็มองมายังผนังที่ผมนั่งชิดอยู่ ตอนนั้นก็เพิ่งรู้ว่านั่งรถไฟฟรี เขาระบุที่นั่งให้ด้วย ไม่ใช่สุ่มสี่สุ่มห้า อยากจะเสนอหน้านั่งตรงไหนก็ได้
และที่ที่ผมกำลังนั่ง มันก็ไม่ใช่ที่ของตัวเอง ฮ่าๆๆ
ควักดูตั๋วตัวเองในกระเป๋าเสื้อแฟลนเนลลายสก็อตสีเขียวดำ แล้วหันหน้าหันหลังเช็คหมายเลขที่นั่ง นับไปสองแถวข้างหลังคือที่นั่งตัวเองจริงๆ
อ้าว ตรงนั้นมีคนนั่งแล้วซะด้วย งั้นใครคนนี้ก็ขอเนียนนั่งตรงนี้ไปต่อล่ะกัน ลมมันกำลังเย็นดี
จากลำพูนเข้าสู่ลำปาง ก่อนถึงสะพานทาชมภู และอุโมงค์ขุนตาน (อุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านที่ยาวที่สุดในสยามประเทศ) วิวสองข้างทางน่าสนใจไม่แพ้กันกับนางงามจักรวาลปีล่าสุด และถ้าเปรียบสะพานชมภู และอุโมงค์ขุนตาน เป็นตำแหน่งชนะเลิศผู้ครองมงกุฎ วิวสองข้างทางก็คือตำแหน่งรองชนะเลิศกันครับ
สิ่งที่ต้องทำในช่วงเวลานั้นมีอยู่สองอย่างด้วยกัน คือหนึ่งยื่นหน้าออกมารับลมเย็นๆ ของช่วงต้นฤดูหนาว แบบน้องหมายื่นหน้าออกมาจากรถยนต์แล้วแลบลิ้น และสองคือมองดูไอหมอกเป็นริ้วไหลผ่านปลายยอดเขาและทุ่งนา
หลายคนบนขบวนดูเหมือนจะโดนธรรมชาติสะกดเอาไว้ มีเสียงรถไฟฉึกฉักเป็นดนตรีประกอบ และเสียงชัตเตอร์จากสมาร์ทโฟนเล็ดลอดออกมา ก่อนอีกหลายสิบนาทีจะหยุดลงตรงสถานีรถไฟขุนตาน เพื่อรอเปลี่ยนรางให้อีกขบวนวิ่งผ่านไปก่อน
เจ้าหนอนเหล็กขบวน 102 หลังจากหลบทางให้อีกขบวน ก็แล่นมุดเข้าอุโมงค์ขุนตานกับระยะ 1,352.10 เมตร ทะลุผ่านมุ่งหน้าสู่ทางทิศใต้ ผ่านสะพานสองหอ สะพานสามหอ และสะพานคอมโพสิต 3 สะพานรถไฟที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อข้ามหุบเขาระหว่างลำปางกับลำพูน ซึ่งเหวลึกของสะพานเหล่านี้ ให้ความรู้สึกทั้งหวาดเสียวและชวนมองในเวลาเดียวกัน
เข็มสั้นนาฬิกากระดิกไปที่เลข 9 เท้าตัวเองก็เหยียบลงเมืองรถม้า ภารกิจต่อไปในการตระเวนเที่ยวในเมืองนี้ คือตามหาร้านเช่าจักรยาน ซึ่งรอบๆ สถานีรถไฟเมืองลำปางไม่มีซักกันซักร้าน และถ้าอยากปั่น ก็ต้องเข้ามาหายังในเมืองย่านกาดกองต้า
งานนี้เลยถือโอกาสเดินสำรวจเมืองไปในตัวจากสถานีรถไฟลำปางไปยังกาดกองต้าราวๆ 3 กิโลเมตร โดยออกขวามือจากสถานีเข้าถนนประสานไมตรี มีตึกรามบ้านช่องบางหลังที่ยังสวยๆ ในสถาปัตยกรรมให้ได้หยุดมอง แล้วเดินออกซ้ายมือไปตามถนนฉัตรไชย มุ่งหน้าไปจนถึงห้าแยกหอนาฬิกา เข้าสู่ถนนบ้านเชียงรายไปจนสุดทางถึงถนนทิพย์ช้าง มีแม่น้ำวังกำลังผายมือต้อนรับ และซ้ายมือเป็นสะพานแขวน อีกหนึ่งแลนมาร์คของเมืองลำปาง
จากถนนทิพย์ช้างสับตีนมาจนถึงสี่แยกที่ตัดกับถนนสวนดอกแล้วเลี้ยวซ้ายเดินลงไปจนถึงถนนตลาดเก่า ย่านนี้จะมีเกสต์เฮ้าส์ให้เลือกพักเยอะ และที่เกสต์เฮ้าส์ก็น่าจะมีจักรยานให้ผมได้เช่าปั่นชมเมือง ย่านกาดกองต้าหมุดหลักสำหรับทริปนี้
“50 บาท ปั่นได้ทั้งวัน” ถือเป็นราคาปั่นที่เร้าใจจาก “อาร์ ลำปาง เกสต์เฮาส์” เอาจริงๆ ปั่นเล่นแค่ 2 ชั่วโมง ก็ถือว่าคุ้มแล้ว สำหรับผม เพราะมันดีกว่าเดินเป็นไหนๆ
กลิ่นอายของสถาปัตยกรรมเริ่มทักทายก่อนเข้าย่านกาดกองต้า ด้วยวัดเกาะวาลุการาม ความรู้สึกแรกที่สัมผัสคือ ศาสนสถานแต่ละอย่างมันดูแปลกๆ แต่สวยดี และไม่ค่อยเหมือนกับวัดที่อื่นๆ ที่เคยไปมาในภาคเหนือ
อย่างวิหาร พระสถูปที่บรรจุรอยพระพุทธบาทจำลอง หรือแม้กระทั่งศาลาการเปรียญ ที่อยากจะขยี้ตาซ้ำซัก 3 ที เพราะมีทั้งความเก่าและเก๋าของลวดลายไม้แกะสลักที่วิจิตรงดงาม
พอออกจากวัดเข้าสู่กาดกองต้า ตึกรามบ้านช่องที่ถูกอนุรักษ์ไว้ในเชิงสถาปัตยกรรมก็ค่อยๆ โผล่หน้ามาทักทาย
อาคารฟองหลี กับอารมณ์เคร่งขรึม คลาสสิค เป็นอาคารสองชั้นประดับลวดลายแบบขนมปังขิง ซึ่งชั้นล่างของอาคารประดับศิลปะลายฉลุแบบขนมปังขิงฝีมือประณีตมาก โดยเฉพาะลายเท้าแขนตรงมุมหัวเสาและลายช่องลมโค้งของประตู ว่ากันว่าเป็นอาคารแห่งนี้เป็นอาคารอิฐผสมไม้ในยุคแรกๆ ที่เรือนขนมปังขิงแพร่หลายเข้ามาในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 คาบเกี่ยวต้นรัชกาลที่ 6
บ้านคมสัน บ้านปูนหลังแรกในย่านนี้ ที่สร้างขึ้นช่วงเวลาเดียวกับสะพานรัษฎาภิเศก คือในปี พ.ศ. 2460 เป็นเรือนปั้นหยาจั่วตัดปลาย 4 มุข
อาคารหม่องโง่ยซิ่น การรันตีความสวยด้วยรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2550 ประเภทอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนา จากกรรมาธิการล้านนา สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ กับลักษณะเรือนขนมปังขิงหลังคาทรงมะนิลา สูงสองชั้นครึ่ง ลักษณะครึ่งปูนครึ่งไม้ มีความพิเศษของอาคารอยู่ที่ลายฉลุไม้ทาสีขาวแบบเรือนขนมปังขิง
อาคารเยียนซีไท้ลีกี อาคารพาณิชย์สร้างด้วยปูนทั้งหลัง ประดับตกแต่งแบบตะวันตกชนิดเต็มรูปแบบ หลังคาเป็นปั้นหยา แต่กั้นแบบดาดฟ้า ลวดลายที่ใช้มีทั้งไม้ฉลุและปูนประดับ สมัยก่อนอาคารแห่งนี้เคยเป็นห้างสรรพสินค้าใหญ่ที่สุดในย่านตลาดจีน มีตู้เชฟโบราณเจาะฝังเข้าไปในกำแพงคล้ายห้องลับขนาดเล็ก เวลามีเหตุการณ์ไม่ชอบมาพากลขึ้นในชุมชน เจ้าของห้างรวมทั้งชาวบ้านคนอื่นๆ จะนำทรัพย์สินมาฝากไว้ที่นี่
สะพานรัษฎาภิเศก หรือสะพานขาว สะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามแม่น้ำวัง มีเครื่องหมายไก่ขาว และครุฑหลวงประดับไว้ตรงหัวสะพาน สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 ในโอกาสที่พระองค์ครองราชย์ครบ 25 ปี ในปี พ.ศ. 2437
มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ได้ทาสีพรางตาและด้วยการอ้างว่าสะพานแห่งนี้ไม่มีประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ จึงรอดจากโจมตีทิ้งระเบิดมาได้ (โอ้! อะไรจะหลอกง่ายขนาดนั้น)
หลังจากโดนสถาปัตยกรรมย่านกาดกองต้าพาย้อนอดีตราวเกือบสองชั่วโมง มีหนึ่งอย่างที่น่าสังเกตคือ นอกจากความสวยงามของตึกรามบ้านช่องที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ในแง่ของสถาปัตยกรรมแล้ว อีกหนึ่งอย่างที่ลำปางควรอนุรักษ์พอๆ กันไม่ให้มันสูญหาย คือเจ้ารถสองแถว "Datsun" คันสีเหลืองเขียว ที่เข้ากันดีเหลือเกินเวลาขับวิ่งผ่านในเมือง โดยเฉพาะย่านกาดกองต้า และจะดีกว่านี้มาก หากจับสายไฟบนถนนยัดลงพื้นดินให้หมด
และถึงตอนนั้น “กาดกองต้า” จะดูสวยและมีเสน่ห์มากขึ้น ไม่ต่างอะไรกันกับอนงค์นางผู้เลอโฉม ในคราวที่ไม่มีอะไรมาปิดบังใบหน้าเธอ
*หมายเหตุ : รถไฟฟรีขาไปจากเชียงใหม่มีรอบ 06.30 น. และ 09.30 น. ส่วนขากลับมีรอบ 12.30 น.
: หากมาในวันเสาร์-อาทิตย์ ตอนเย็นมีถนนคนเดินให้เที่ยว ฉะนั้น ถ้าอยากดูตึกสวยๆ ตอนถนนโล่ง ต้องมาดูตอนเช้า
: ขากลับจากลำปาง อย่าลืมนั่งรถไฟฝั่งขวามือชิดริมหน้าต่าง เพราะนี่คือมุมที่ดีที่สุด ในการโผล่หน้าออกมาชมสะพานทาชมพู ที่สำคัญนั่งท้ายๆ ขบวนจะแจ๋วมาก (รถไฟเที่ยวขากลับไม่ได้ระบุที่นั่ง หมายความว่าจะย้ายก้นไปนั่งตรงไหนก็ได้ตามอำเภอใจ)
: ภาพทั้งหมดถ่ายด้วยกล้องฟิล์ม Fujica ST605N + เลนส์ Super Takumar 55mm/f1.8 ฟิล์ม Kodak ColorPlus 200
ตามติดชีวิตกันต่อได้ที่ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้