ไปเที่ยวมา..ทรหดด้วย เลยมาเล่าสู่กันฟัง..
ไปยังไง เจออะไร สวยแค่ไหน เพื่อนหลายคน หลายท่านได้รีวิวไว้แทบจะหมดสิ้นแล้ว
ข้อมูลดิบที่มีในพันทิปคงไม่ต้องบอกว่ามีประโยชน์ต่อผู้วางแผนเดินทางแค่ไหน
ไปหาเอาในนั้นล่ะกัน
แต่ในส่วนของเราจะมาเล่าให้ฟังว่าเจออะไรมาบ้าง
อาจจะยาวหน่อยและไม่มีการลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง..นึกอะไรได้ตอนไหนก็เขียนบอกไป
แต่ถ้าเอื้อประโยชน์ให้ใครได้บ้างก็ตามก็จะดีใจไม่น้อย ไม่เวิ่นเว้อ เข้าเรื่องเลยนะ
เนื่องจากไม่มี Direct Flight จาก กรุงเทพไปสุราบาย่า(ในช่วงที่จอง) ทำให้ต้องจองตัวเดินทาง กรุงเทพฯ-กัวลาฯ, กัวลาฯ-สุราบาย่า
ซึ่งก็งานงอกจนได้ เนื่องจากไฟล์ทเดิมที่จอง XT325 กัวลาฯ-สุราบาย่าดีเลย์ จากเดิมที่ออก15.15 จากกัวลาดีเลย์ออกเป็น 18.00 (ดีเลย์ 2ชั่วโมงครึ่ง)
ในขณะที่ไฟล์ท XT 323 (เป็นไฟล์ททางเลือก)ตามตารางออก 16.00 แถมไม่มีการแจ้งดีเลย์ เราก็ย่ามใจนัก รออะไรหล่ะครับ ขอเปลี่ยนไฟล์ทเลย จาก XT 325 ออก 18.00 เป็น XT 323 ออก 16.00 ที่ไหนได้ไฟล์ทที่ขอเปลี่ยนดันดีเลย์ออกเป็น 18.40 แต่มี Re-Time อีกครั้งเป็นออก 20.05.
# ลงเครื่องจากไฟล์ทกรุงเทพ-กัวลาฯ ตอน 11.40 ขึ้นเครื่องอีกทีตอน 20.05 รอเครื่อง Surabaya เกือบ9ชั่วโมงที่ KLIA2
ว่างกัน...นั่งรอเปลี่ยนเครื่อง..ไม่มีอะไรทำ
# ถึงสุราบาย่า 4ทุ่มกว่า แพลนเดิมที่วางไว้พังทั้งหมดเพราะเดิมลงเครื่องจะดิ่งไป Kawah Ijen เลย อีก2วันจะกลับมาพักที่ Bromo
# สุดท้ายปรึกษากับ Arif ผ่านไลน์ สรุปว่าวางแพลนใหม่ ให้ Pepy มารับ ไปส่ง Bromo ขึ้น Bromo เลย เสร็จแล้วลงมาขับรถไป Kawah Ijen
ซึ่งมีเวลาพักน้อยมาก ลงมาจาก Kawah Ijen ค่อยตีรถกลับไปนอนคืนที่2ที่ Bromo
# เนื่องจากรอต่อเครื่องนานมาาาก พอสรุปคร่าวๆเกี่ยวกับสนามบิน KLIA2ได้ดังนี้
# ตม. ทั้งขาเข้า-ขาออกที่กัวลาช้ามาก ใช่เวลารอขานึงราวๆ20นาที+
# ตม.ไม่เป็นมิตร, เหมือนเป็นคนมีความทุกข์ในการทำงานน่ะ
# พนักงานสายการบินที่นี้ก็เช่นกัน อย่าได้หวังพึ่ง ไม่ใช้เพราะเราพูดอังกฤษไม่ได้ แต่เพราะนางไม่ใส่ใจมากกว่า ถ้าคิดว่าจะมีปัญหาเรื่องตั๋วหรืออะไรยังไง ทำให้จบตั้งกะที่อยู่ที่กรุงเทพฯ
# ร้าน Oldtown ด้านนอกใน Departure Hall รับเฉพาะเงินริงกิตสกุลอื่นไม่รับแต่บัตรรับVISA,MASTER
# Oldtown ทั้งอาหาร+เครื่องดื่ม อร่อยดี
Nasi Lamak ที่ร้าน Oldtown ใน KLIA2
# ที่นั่งด้านนอกตรงแถวๆที่เช็คอิน น้อยมาาาาก ต้องนั่งกับพื้นซึ่งไม่ค่อยสะอาดเท่าไหร่แต่นั่งตรงไหน นานแค่ไหนก็ไม่มีใครมาไล่นะ(ถ้าไม่ขวางทางใครนะ)
# Departure Hall ของ KLIA2 นี่คนจะเยอะมาาาาก,วุ่นวายมาก
# ขาออกอินเตอร์หลังผ่าน ตม.ต้องผ่านเอ็กเรย์ จุดแรก ผ่านเข้าไปมีร้านค้ามีดิวตี้ฟรี มีร้านขายน้ำ ให้ระวัง!!!ซื้อน้ำดื่มจากจุดนี้ ให้ทานให้หมดก่อน เพราะมี เอ็กซเรย์อีกจุดก่อนแยกเข้าเกท(เราไปเกทQ9) จุดนี้แหละจะเข้มงวดเรื่องของเหลว (เจ็บใจ)
# แอร์ด้านในเกทเย็นถึงเย็นมากเตรียมผ้าตุ้ม,ผ้าห่มกันด้วย
# เก้าอี้ยาวๆ ด้านใน นั่งสบาย เอนหลังนอนได้สบาย แต่ระวังปากอ้าเน้ออ
# ในTerminal ทั้งส่วน Departure Hall และ Bosrding Gate ฝั่งประตูขึ้นเครื่องQ ไม่มี Drinking Fountain ให้บริการเน้ออ
(ขากลับกัวลา-กรุงเทพฯขึ้นเครื่องประตู L10 หน้าเกทมี Drinking Fountain บริการหน้าห้องน้ำตรง Boarding Gate เลย)
# ห้องน้ำด้านใน(ฝั่ง L)มีห้องอาบน้ำให้ด้วย แต่ไม่มีน้ำอุ่นนะ อาบน้ำเย็นในห้องแอร์ ถ้าไหวก็ตามสบายนะ
# ห้องน้ำมี 2 แบบ นั่งราบกะนั่งยอง ถ้าจะฉุกเฉินมากๆรอนั่งราบไม่ไหวต้องใช้แบบนั่งยอง เก็บโทรศัพท์ดีเน้อออ. หลุดมือตกไปก็..บรายเลยนะคร่ะ
# ทั้งTerminal WIFI ครอบคลุมมาก,แรงรวดเร็วทันใจและ ฟรี!!!
# มี Charging Station กระจายอยู่ทั่วไป,มีปลั๊กไฟตามกำแพง,ตามเสาให้เสียบชาร์ตได้ แต่อย่าลืมอแดปเตอร์นะ ใช้สามขาเหลี่ยม
# ร้าน Donkin Donut ใน Boarding Gate (ฝั่งL ก่อนถึงเกท L14 )ขายน้ำเปล่าเป็นแก้วแหละเธอ เอาน้ำเปล่าใส่แก้วพลาสติกใสๆ แล้วก็วางขาย
# รอเครื่องดีเลย์ 9 ชั่วโมงนี่
งงงงงง นรกสัสสัสเลยครับพี่โน้งงงงงงงง
ที่สุราบาย่า
#สนามบิน Juanda Int. Airport มี Facility ในการ Assisted นักเดินทางน้อยมาก มี Airport Free WIFI ที่ไม่สามารถใช้งานได้จริง
ไม่มี Power Socket สำหรับชาร์ตอุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆ(หรือหาไม่เจอเองไม่รู้ แต่มองตามเสา ไม่เจอเลย) ไม่มี Charging Station ด้วย
# ส่วนขากลับที่ Jaunda Int. Airport ไม่อนุญาติให้ถือไม้เท้าแบบTrekking, ขาตั้งกล้อง ขึ้นเครื่องซึ่งเจ้าหน้าที่สายการบินจะไม่บอกเรา ไปรู้ตัวอีกที มี่จุดเอ็กซเรย์ก่อนเข้าเกททำให้ต้องเดินออกจากเอ็กซเรย์ย้อนกลับไปที่เคาเตอร์เช็คอินอีก
ช่องทาง ผดส.ขาออกระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานนานาชาติ จวนดา,ซุราบาย่า,อินโดเนเซีย
# ขาตั้งกล้องขารับทีกัวลาฯจะส่งผ่าน "ช่องสัมภาระขนาดใหญ่" เพราะกระเป๋าที่ใส่ขาตั้งกล้องติดสติ๊กเกอร์ "Fragile" มาซึ่งรอนานเป็นชั่วโมงเลย
# ตม. ทั้งเข้า-ออกเป็นมิตร เห็นพาสปอร์ตไทยปุ๊บถามเลยว่า Bromo?? เข้าง่ายและรวดเร็ว
# ร้านอาหารในสนามบินถือว่าราคาไม่แพง พอกินได้ ข้าวเป็นชุดราคา 40,000 IRP (ประมาณ 120฿), โรตีโอ(คล้ายๆโรตีบอย) อันละ 10,000 IPR, กาแฟ( Espresso ) 25,000 IRP คือจริงๆถูกกว่า120฿ แต่เพราะคิดเรทที่30 ต่อ 10,000 IRP จริงๆ 27฿ แต่ขี้เกียจคูณตัวเลขน่ะ คิดที่30 ง่ายดี
Set Menu ที่ว่าราคา 40,000 IRP
# ใน Boarding Gate มี Drinking Fountain ให้บริการ สามารถเอาขวดเปล่ามาเติมน้ำได้
# ใช้ทัวร์ของ Arif ราคาก็มาตรฐานตามที่คนอื่นๆเคยไป แต่อารีฟไม่ได้มาเอง ส่งไกด์ในสังกัดมารับ ไกด์ฮิปสเตอร์คนนี้ชื่อ Pepy
Pepy ไกด์ของเรา
# ส่วนตัวแล้วคิดว่าจำนวนคนที่เหมาะกับทริป Bromo, Kawah Ijen ที่สุดคือกรุ๊ปละ4คน
2คนน้อยไปตัวหารค่าทริปน้อยทำให้ทริปแพง,
6คนก็เยอะไป นั่งในรถนานๆจะอืดอัดหงุดหงิดได้
# ถามจากPepy Arif มีไกด์ในสังกัด11คน ทุกคนโอเคหมด
# ส่วนตัวแล้ว ไกด์ Pepy ดีมาก อยากไปไหน อยากจอดไหน ก็บอกนาง นางจัด นางแวะให้หมดพอใจการให้บริการของนางมาก หาข้ออ้างในการที่จะไม่ทิปนางเป็นการตอบแทนไม่ได้เลย
# Pepy พาไปซื้อซิม ไม่ต้องห่วงเรื่องการขาดการติดต่อ ซิม 1อัน 70,000 IRP (ประมาณ 210฿ ) ใช้เนทได้ 12GB.โทรออกไม่ได้.
ซื้ออันเดียว แชร์ Hot Spot กันอีก2คน เหลือเฟือ อย่าแชร์ 3คน เพราะเนทจะกากทันที แย่งกันเอง.
#Pepy ขับรถดีมาก ใจเย็นไม่มีสบถด่าใคร ขับรถเร็วแต่ไม่ประมาท
# ถนนในสุราบาย่าส่วนมากเป็น เลนสวนกัน แต่ละข้างมีแค่เลนครึ่ง คือไม่เต็ม2เลนดี มีไหล่ทางครึ่งเลนไว้ให้แซงกัน
# ถนนจาก Bromo ไป Kawah Ijen มีแค่2เลนสวน!!! ไม่มีไหล่ทางให้แซง เจอรถบรรทุก,รถปูนทีนึงนี่ปวดตับเลย
# รถที่ขับในสุราบาย่า ขับขี่ดูน่ากลัว แต่คนที่นี้ขับรถใจเย็น แบ่งปันกัน ยอมกันซะส่วนมาก....ยกเว้น..
นั่งในรถถ้าไม่หลับนี่ ลุ้นกันตลอดเวลาคิดว่านั่งสาย8อยู่
# จากสุราบาย่าไปโบรโม่ นั่งรถหลับบนรถประมาณ3-4ชั่วโมงแล้วแต่สภาพการจราจรและฝีมือคนขับ
# นั่งรถจากโบรโม่ไปคาวาอีเจนประมาณ5ชั่วโมง....นานมากกกก
ทำได้แต่หลับกับหลับ
# เดินทางในอินโดนิเซีย ทิชชู่เปียก,แห้งสำคัญควรมีติดตัว, ควรมีถุงหิ้วเล็กๆไว้ใส่ขยะที่เราผลิตจะดีมาก เพราะหาถังขยะยาก
# ที่ Bromo ไกด์จองที่พักชื่อ Rahayu Homestay ให้ เป็น Homestay ที่ดูเหมือนเพิ่งให้บริการไม่นาน ของในห้องยังไม่เก่า มี2 เตียงใหญ่ มีน้ำอุ่นจริงจัง แต่พื้นกระเบื้องนี่เย็นมาก ตีนชาเลยหล่ะต้องใส่ถุงเท้าตลอดเวลา
แต่วิวที่ HomeStay ดีมาก
ด้านหน้า HomeStay
วิวด้านหน้าตอนเย็นๆ..ทับเบิกก็ทับเบิกเหอะ
พระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้าหน้า HomeStay
# ร้านขายข้าวผัด ป้ายร้านสีเหลืองใกล้ๆ Home Stay ขายข้าวผัด เส้นหมี่ผัด เส้นหมี่น้ำ อร่อยมาก!!!!!! เส้นหมี่ผัดส่วนตัวเฉยๆ (เส้นมาม่า)
ข้าวผัดถ่ายไม่ทัน..วางปุ๊บซัดโฮกกกกก
# ไปดูพระอาทิตย์ขึ้นที่วิวพอยท์ที่โบรโม่ ตอนก่อนพระอาทิตย์ขึ้น คนจะเยอะมาาาก แย่งที่ยืน แย่งที่ถ่ายรูป แต่พอตะวันขึ้นแล้วพักเดียวคนหายหมด เพราะรีบลงไปที่ Bromo Cater กันหมด
# เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งรีบไปไหน...หลังตะวันขึ้น หลังคนอื่นๆลงไปแล้ว จุดชมวิวที่นี้จะมีมุมว่างๆโล่งๆ งามๆ ให้เลือกถ่ายภาพได้อีกมาก
จุดที่เราจากมา
ลงจากจุดชมวิวช้าหน่อย...ดื่มด่ำกับมัน..เห็นความเปลี่ยนแปลงของมัน..
คุณไม่มีวันเข้าใจมันหรอก..คุณมีแต่โอกาสที่จะปรับตัวให้เข้ากับมันแค่นั้นเอง..
ธรรมชาติ..ยิ่งใหญ่กว่าเราเสมอ
# จุดชมวิวที่โบรโม่ เหมาะมากกับการถ่ายภาพแบบ Time Leaps
# วัดดูคร่าวๆจากApp HomeStay ที่ Bromo สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,128 เมตร
( ยอดดอยหลวงเชียงดาวสูง 2,195m. สูงสุดคือดอยอืนทนนท์ 2,600 m. ที่มา
http://travel.mthai.com/blog/37873.html )
บนจุดชมวิวอยู่บนภูเขาชื่อ Penanjakan ซึ่งสูง 2,770 m.( ที่มา Wikipedia )อากาศจึงเย็นถ้ามีลมก็จะหนาว
#ใ่ส่เสื้อHeat tech ที่เนื้อผ้าเป็นขนๆสั้นๆของยูนิโคล่1ตัวเสื้อกันหนาว1ตัว, กางเกงยีนธรรมดา+ผ้าพันคอบางๆ1 บนจุดชมวิวโบรโม่..ถ้าไม่มีลมก็พอไหว
#ทางขึ้นจุดชมวิวมีร้านค้าขายมาม่า,กาแฟ,กล้วยทอด,ของฝากจำพวกพวงกุญแจ,Magnet,
ของฝากเกี่ยวกับ Bromo ที่ว่าถ้าอยากได้,ถ้าชอบให้ซื้อที่นี้เลยเพราะจะหาซื้อที่อื่นไม่มี
#ร้านค้า,ปั๊มน้ำมัน,แหล่งท่องเที่ยว ส่วนมากจะมีห้องน้ำให้บริการแต่...เสียตังค์นะจ๊ะ...2,000 IRP (ประมาณ6บาท)
# ปั๊มน้ำมันในอินโดฯ คือปั๊มน้ำมัน!!!
อย่าคาดหวังว่าจะเจอ กาแฟอเมซอน, เซเว่นหรือจิฟฟี่หรือร้านข้าวร้านก๊วยเตี๋ยวในปั๊มน้ำมัน
เด่วมาต่อเพราะพิมพ์ข้อความเกินโควต้าล่ะ
[CR] Bromo - Kawah - Ijen กับบางสิ่งที่เค้าอาจจะไม่เคยบอกคุณ
ไปยังไง เจออะไร สวยแค่ไหน เพื่อนหลายคน หลายท่านได้รีวิวไว้แทบจะหมดสิ้นแล้ว
ข้อมูลดิบที่มีในพันทิปคงไม่ต้องบอกว่ามีประโยชน์ต่อผู้วางแผนเดินทางแค่ไหน
ไปหาเอาในนั้นล่ะกัน
แต่ในส่วนของเราจะมาเล่าให้ฟังว่าเจออะไรมาบ้าง
อาจจะยาวหน่อยและไม่มีการลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง..นึกอะไรได้ตอนไหนก็เขียนบอกไป
แต่ถ้าเอื้อประโยชน์ให้ใครได้บ้างก็ตามก็จะดีใจไม่น้อย ไม่เวิ่นเว้อ เข้าเรื่องเลยนะ
เนื่องจากไม่มี Direct Flight จาก กรุงเทพไปสุราบาย่า(ในช่วงที่จอง) ทำให้ต้องจองตัวเดินทาง กรุงเทพฯ-กัวลาฯ, กัวลาฯ-สุราบาย่า
ซึ่งก็งานงอกจนได้ เนื่องจากไฟล์ทเดิมที่จอง XT325 กัวลาฯ-สุราบาย่าดีเลย์ จากเดิมที่ออก15.15 จากกัวลาดีเลย์ออกเป็น 18.00 (ดีเลย์ 2ชั่วโมงครึ่ง)
ในขณะที่ไฟล์ท XT 323 (เป็นไฟล์ททางเลือก)ตามตารางออก 16.00 แถมไม่มีการแจ้งดีเลย์ เราก็ย่ามใจนัก รออะไรหล่ะครับ ขอเปลี่ยนไฟล์ทเลย จาก XT 325 ออก 18.00 เป็น XT 323 ออก 16.00 ที่ไหนได้ไฟล์ทที่ขอเปลี่ยนดันดีเลย์ออกเป็น 18.40 แต่มี Re-Time อีกครั้งเป็นออก 20.05.
# ลงเครื่องจากไฟล์ทกรุงเทพ-กัวลาฯ ตอน 11.40 ขึ้นเครื่องอีกทีตอน 20.05 รอเครื่อง Surabaya เกือบ9ชั่วโมงที่ KLIA2
ว่างกัน...นั่งรอเปลี่ยนเครื่อง..ไม่มีอะไรทำ
# ถึงสุราบาย่า 4ทุ่มกว่า แพลนเดิมที่วางไว้พังทั้งหมดเพราะเดิมลงเครื่องจะดิ่งไป Kawah Ijen เลย อีก2วันจะกลับมาพักที่ Bromo
# สุดท้ายปรึกษากับ Arif ผ่านไลน์ สรุปว่าวางแพลนใหม่ ให้ Pepy มารับ ไปส่ง Bromo ขึ้น Bromo เลย เสร็จแล้วลงมาขับรถไป Kawah Ijen
ซึ่งมีเวลาพักน้อยมาก ลงมาจาก Kawah Ijen ค่อยตีรถกลับไปนอนคืนที่2ที่ Bromo
# เนื่องจากรอต่อเครื่องนานมาาาก พอสรุปคร่าวๆเกี่ยวกับสนามบิน KLIA2ได้ดังนี้
# ตม. ทั้งขาเข้า-ขาออกที่กัวลาช้ามาก ใช่เวลารอขานึงราวๆ20นาที+
# ตม.ไม่เป็นมิตร, เหมือนเป็นคนมีความทุกข์ในการทำงานน่ะ
# พนักงานสายการบินที่นี้ก็เช่นกัน อย่าได้หวังพึ่ง ไม่ใช้เพราะเราพูดอังกฤษไม่ได้ แต่เพราะนางไม่ใส่ใจมากกว่า ถ้าคิดว่าจะมีปัญหาเรื่องตั๋วหรืออะไรยังไง ทำให้จบตั้งกะที่อยู่ที่กรุงเทพฯ
# ร้าน Oldtown ด้านนอกใน Departure Hall รับเฉพาะเงินริงกิตสกุลอื่นไม่รับแต่บัตรรับVISA,MASTER
# Oldtown ทั้งอาหาร+เครื่องดื่ม อร่อยดี
Nasi Lamak ที่ร้าน Oldtown ใน KLIA2
# ที่นั่งด้านนอกตรงแถวๆที่เช็คอิน น้อยมาาาาก ต้องนั่งกับพื้นซึ่งไม่ค่อยสะอาดเท่าไหร่แต่นั่งตรงไหน นานแค่ไหนก็ไม่มีใครมาไล่นะ(ถ้าไม่ขวางทางใครนะ)
# Departure Hall ของ KLIA2 นี่คนจะเยอะมาาาาก,วุ่นวายมาก
# ขาออกอินเตอร์หลังผ่าน ตม.ต้องผ่านเอ็กเรย์ จุดแรก ผ่านเข้าไปมีร้านค้ามีดิวตี้ฟรี มีร้านขายน้ำ ให้ระวัง!!!ซื้อน้ำดื่มจากจุดนี้ ให้ทานให้หมดก่อน เพราะมี เอ็กซเรย์อีกจุดก่อนแยกเข้าเกท(เราไปเกทQ9) จุดนี้แหละจะเข้มงวดเรื่องของเหลว (เจ็บใจ)
# แอร์ด้านในเกทเย็นถึงเย็นมากเตรียมผ้าตุ้ม,ผ้าห่มกันด้วย
# เก้าอี้ยาวๆ ด้านใน นั่งสบาย เอนหลังนอนได้สบาย แต่ระวังปากอ้าเน้ออ
# ในTerminal ทั้งส่วน Departure Hall และ Bosrding Gate ฝั่งประตูขึ้นเครื่องQ ไม่มี Drinking Fountain ให้บริการเน้ออ
(ขากลับกัวลา-กรุงเทพฯขึ้นเครื่องประตู L10 หน้าเกทมี Drinking Fountain บริการหน้าห้องน้ำตรง Boarding Gate เลย)
# ห้องน้ำด้านใน(ฝั่ง L)มีห้องอาบน้ำให้ด้วย แต่ไม่มีน้ำอุ่นนะ อาบน้ำเย็นในห้องแอร์ ถ้าไหวก็ตามสบายนะ
# ห้องน้ำมี 2 แบบ นั่งราบกะนั่งยอง ถ้าจะฉุกเฉินมากๆรอนั่งราบไม่ไหวต้องใช้แบบนั่งยอง เก็บโทรศัพท์ดีเน้อออ. หลุดมือตกไปก็..บรายเลยนะคร่ะ
# ทั้งTerminal WIFI ครอบคลุมมาก,แรงรวดเร็วทันใจและ ฟรี!!!
# มี Charging Station กระจายอยู่ทั่วไป,มีปลั๊กไฟตามกำแพง,ตามเสาให้เสียบชาร์ตได้ แต่อย่าลืมอแดปเตอร์นะ ใช้สามขาเหลี่ยม
# ร้าน Donkin Donut ใน Boarding Gate (ฝั่งL ก่อนถึงเกท L14 )ขายน้ำเปล่าเป็นแก้วแหละเธอ เอาน้ำเปล่าใส่แก้วพลาสติกใสๆ แล้วก็วางขาย
# รอเครื่องดีเลย์ 9 ชั่วโมงนี่งงงงงง นรกสัสสัสเลยครับพี่โน้งงงงงงงง
ที่สุราบาย่า
#สนามบิน Juanda Int. Airport มี Facility ในการ Assisted นักเดินทางน้อยมาก มี Airport Free WIFI ที่ไม่สามารถใช้งานได้จริง
ไม่มี Power Socket สำหรับชาร์ตอุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆ(หรือหาไม่เจอเองไม่รู้ แต่มองตามเสา ไม่เจอเลย) ไม่มี Charging Station ด้วย
# ส่วนขากลับที่ Jaunda Int. Airport ไม่อนุญาติให้ถือไม้เท้าแบบTrekking, ขาตั้งกล้อง ขึ้นเครื่องซึ่งเจ้าหน้าที่สายการบินจะไม่บอกเรา ไปรู้ตัวอีกที มี่จุดเอ็กซเรย์ก่อนเข้าเกททำให้ต้องเดินออกจากเอ็กซเรย์ย้อนกลับไปที่เคาเตอร์เช็คอินอีก
ช่องทาง ผดส.ขาออกระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานนานาชาติ จวนดา,ซุราบาย่า,อินโดเนเซีย
# ขาตั้งกล้องขารับทีกัวลาฯจะส่งผ่าน "ช่องสัมภาระขนาดใหญ่" เพราะกระเป๋าที่ใส่ขาตั้งกล้องติดสติ๊กเกอร์ "Fragile" มาซึ่งรอนานเป็นชั่วโมงเลย
# ตม. ทั้งเข้า-ออกเป็นมิตร เห็นพาสปอร์ตไทยปุ๊บถามเลยว่า Bromo?? เข้าง่ายและรวดเร็ว
# ร้านอาหารในสนามบินถือว่าราคาไม่แพง พอกินได้ ข้าวเป็นชุดราคา 40,000 IRP (ประมาณ 120฿), โรตีโอ(คล้ายๆโรตีบอย) อันละ 10,000 IPR, กาแฟ( Espresso ) 25,000 IRP คือจริงๆถูกกว่า120฿ แต่เพราะคิดเรทที่30 ต่อ 10,000 IRP จริงๆ 27฿ แต่ขี้เกียจคูณตัวเลขน่ะ คิดที่30 ง่ายดี
Set Menu ที่ว่าราคา 40,000 IRP
# ใน Boarding Gate มี Drinking Fountain ให้บริการ สามารถเอาขวดเปล่ามาเติมน้ำได้
# ใช้ทัวร์ของ Arif ราคาก็มาตรฐานตามที่คนอื่นๆเคยไป แต่อารีฟไม่ได้มาเอง ส่งไกด์ในสังกัดมารับ ไกด์ฮิปสเตอร์คนนี้ชื่อ Pepy
Pepy ไกด์ของเรา
# ส่วนตัวแล้วคิดว่าจำนวนคนที่เหมาะกับทริป Bromo, Kawah Ijen ที่สุดคือกรุ๊ปละ4คน
2คนน้อยไปตัวหารค่าทริปน้อยทำให้ทริปแพง,
6คนก็เยอะไป นั่งในรถนานๆจะอืดอัดหงุดหงิดได้
# ถามจากPepy Arif มีไกด์ในสังกัด11คน ทุกคนโอเคหมด
# ส่วนตัวแล้ว ไกด์ Pepy ดีมาก อยากไปไหน อยากจอดไหน ก็บอกนาง นางจัด นางแวะให้หมดพอใจการให้บริการของนางมาก หาข้ออ้างในการที่จะไม่ทิปนางเป็นการตอบแทนไม่ได้เลย
# Pepy พาไปซื้อซิม ไม่ต้องห่วงเรื่องการขาดการติดต่อ ซิม 1อัน 70,000 IRP (ประมาณ 210฿ ) ใช้เนทได้ 12GB.โทรออกไม่ได้.
ซื้ออันเดียว แชร์ Hot Spot กันอีก2คน เหลือเฟือ อย่าแชร์ 3คน เพราะเนทจะกากทันที แย่งกันเอง.
#Pepy ขับรถดีมาก ใจเย็นไม่มีสบถด่าใคร ขับรถเร็วแต่ไม่ประมาท
# ถนนในสุราบาย่าส่วนมากเป็น เลนสวนกัน แต่ละข้างมีแค่เลนครึ่ง คือไม่เต็ม2เลนดี มีไหล่ทางครึ่งเลนไว้ให้แซงกัน
# ถนนจาก Bromo ไป Kawah Ijen มีแค่2เลนสวน!!! ไม่มีไหล่ทางให้แซง เจอรถบรรทุก,รถปูนทีนึงนี่ปวดตับเลย
# รถที่ขับในสุราบาย่า ขับขี่ดูน่ากลัว แต่คนที่นี้ขับรถใจเย็น แบ่งปันกัน ยอมกันซะส่วนมาก....ยกเว้น..
นั่งในรถถ้าไม่หลับนี่ ลุ้นกันตลอดเวลาคิดว่านั่งสาย8อยู่
# จากสุราบาย่าไปโบรโม่ นั่งรถหลับบนรถประมาณ3-4ชั่วโมงแล้วแต่สภาพการจราจรและฝีมือคนขับ
# นั่งรถจากโบรโม่ไปคาวาอีเจนประมาณ5ชั่วโมง....นานมากกกก
ทำได้แต่หลับกับหลับ
# เดินทางในอินโดนิเซีย ทิชชู่เปียก,แห้งสำคัญควรมีติดตัว, ควรมีถุงหิ้วเล็กๆไว้ใส่ขยะที่เราผลิตจะดีมาก เพราะหาถังขยะยาก
# ที่ Bromo ไกด์จองที่พักชื่อ Rahayu Homestay ให้ เป็น Homestay ที่ดูเหมือนเพิ่งให้บริการไม่นาน ของในห้องยังไม่เก่า มี2 เตียงใหญ่ มีน้ำอุ่นจริงจัง แต่พื้นกระเบื้องนี่เย็นมาก ตีนชาเลยหล่ะต้องใส่ถุงเท้าตลอดเวลา
แต่วิวที่ HomeStay ดีมาก
ด้านหน้า HomeStay
วิวด้านหน้าตอนเย็นๆ..ทับเบิกก็ทับเบิกเหอะ
พระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้าหน้า HomeStay
# ร้านขายข้าวผัด ป้ายร้านสีเหลืองใกล้ๆ Home Stay ขายข้าวผัด เส้นหมี่ผัด เส้นหมี่น้ำ อร่อยมาก!!!!!! เส้นหมี่ผัดส่วนตัวเฉยๆ (เส้นมาม่า)
ข้าวผัดถ่ายไม่ทัน..วางปุ๊บซัดโฮกกกกก
# ไปดูพระอาทิตย์ขึ้นที่วิวพอยท์ที่โบรโม่ ตอนก่อนพระอาทิตย์ขึ้น คนจะเยอะมาาาก แย่งที่ยืน แย่งที่ถ่ายรูป แต่พอตะวันขึ้นแล้วพักเดียวคนหายหมด เพราะรีบลงไปที่ Bromo Cater กันหมด
# เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งรีบไปไหน...หลังตะวันขึ้น หลังคนอื่นๆลงไปแล้ว จุดชมวิวที่นี้จะมีมุมว่างๆโล่งๆ งามๆ ให้เลือกถ่ายภาพได้อีกมาก
จุดที่เราจากมา
ลงจากจุดชมวิวช้าหน่อย...ดื่มด่ำกับมัน..เห็นความเปลี่ยนแปลงของมัน..
คุณไม่มีวันเข้าใจมันหรอก..คุณมีแต่โอกาสที่จะปรับตัวให้เข้ากับมันแค่นั้นเอง..
ธรรมชาติ..ยิ่งใหญ่กว่าเราเสมอ
# จุดชมวิวที่โบรโม่ เหมาะมากกับการถ่ายภาพแบบ Time Leaps
# วัดดูคร่าวๆจากApp HomeStay ที่ Bromo สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,128 เมตร
( ยอดดอยหลวงเชียงดาวสูง 2,195m. สูงสุดคือดอยอืนทนนท์ 2,600 m. ที่มา http://travel.mthai.com/blog/37873.html )
บนจุดชมวิวอยู่บนภูเขาชื่อ Penanjakan ซึ่งสูง 2,770 m.( ที่มา Wikipedia )อากาศจึงเย็นถ้ามีลมก็จะหนาว
#ใ่ส่เสื้อHeat tech ที่เนื้อผ้าเป็นขนๆสั้นๆของยูนิโคล่1ตัวเสื้อกันหนาว1ตัว, กางเกงยีนธรรมดา+ผ้าพันคอบางๆ1 บนจุดชมวิวโบรโม่..ถ้าไม่มีลมก็พอไหว
#ทางขึ้นจุดชมวิวมีร้านค้าขายมาม่า,กาแฟ,กล้วยทอด,ของฝากจำพวกพวงกุญแจ,Magnet,
ของฝากเกี่ยวกับ Bromo ที่ว่าถ้าอยากได้,ถ้าชอบให้ซื้อที่นี้เลยเพราะจะหาซื้อที่อื่นไม่มี
#ร้านค้า,ปั๊มน้ำมัน,แหล่งท่องเที่ยว ส่วนมากจะมีห้องน้ำให้บริการแต่...เสียตังค์นะจ๊ะ...2,000 IRP (ประมาณ6บาท)
# ปั๊มน้ำมันในอินโดฯ คือปั๊มน้ำมัน!!!
อย่าคาดหวังว่าจะเจอ กาแฟอเมซอน, เซเว่นหรือจิฟฟี่หรือร้านข้าวร้านก๊วยเตี๋ยวในปั๊มน้ำมัน
เด่วมาต่อเพราะพิมพ์ข้อความเกินโควต้าล่ะ