เพียง 1 นาที ชีวิตเปลี่ยนด้วยการจัดระเบียบตู้เสื้อผ้าตัวเอง

กระทู้สนทนา
กำลังหาไอเดียการจัดข้าวของอันรกเต็มตู้ไปหมด เลยไปเจอบทความน่าสนใจเอามาให้สมาชิกดูกันค่ะ ถ้าจัดได้เองเมื่อไหร่จะมารีวิวอีกทีน่ะ ><

คนญี่ปุ่นมักพูดกันอยู่เสมอว่า หากบ้านหรือห้องรก โชคลางดี ๆ ก็จะไม่เข้ามาหา ถ้านำไปปฏิบัติแล้ว นอกจากจะได้ห้องสวยงามแล้ว เรื่องดี ๆ ก็จะตามเข้ามาสู่คุณด้วย

        หลาย ๆ คนคงจะเคยเจอกับปัญหาห้องรกที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มลงมือจัดเก็บยังไงดี หรืออาจจะกำลังประสบกับปัญหานี้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือว่าที่ทำงาน

        เขียนและเรียบเรียงโดย ยาชุชิ โคมัตซึ นักจัดระเบียบข้าวของ เขาได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจดระเบียบข้าวของมาเป็นเวลากว่า ๔ ปี ให้คำปรึกษาและแนะนำในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้กับบ้านพักอาศัยมากว่า ๒,๐๐๐ แห่ง และบริษัทต่าง ๆ อีกหลายสิบบริษัท ด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมา มีสิ่งหนึ่งที่ผมพูดได้อย่างมั่นใจคือ "เมื่อเริ่มจัดระเบียบข้าวของ ชีวิตความเป็นอยู่ก็จะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น"

        การจัดระเบียบข้าวของนั้น เป็นวิธีการง่าย ๆ และใกล้ตัวที่สุด "ที่จะคว้าชีวิตที่สดใสให้กับตัวเอง ไม่ว่าใครก็สามารถจัดระเบียบข้าวของอย่างแน่นอน" และ "ไม่ทำรกรุงรังอีกต่อไป" แต่ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องธรรมดา ๆ ง่าย ๆ แต่ทำไมทำไม่ได้สักที"

เคล็ดลับง่าย ๆ ในการจัดเก็บข้าวของ

        เริ่มต้นเพียง ๑ นาทีเท่านั้นเอง ...  แล้วบ้านหรือที่ทำงานคุณ ก็จะน่าอยู่ น่าทำงานยิ่งขึ้น  การจัดเก็บของไม่เก่ง  จัดเท่าไหร่ก็กลับมาเป็นเหมือนเดิมนั้น  แน่นอนว่ามีสาเหตุ

ฝึก ๗ เทคนิคกลยุทธ์ ที่ปรับใช้ได้กับห้องทุกรูปแบบให้เป็นนิสัย แล้วบอกลากับชีวิตที่รกรุงรังกัน

         ๑. ตรวจรูปแบบการจัดระเบียบ หาสาเหตุที่ทำให้จัดไม่เก่ง !!
         ๒. หยิบออก, แยกจำพวก, ลดจำนวน, จัดคืนที่เดิม  เพียง ๔ ขั้นตอนพื้นฐาน
         ๓. เซ็ทละ ๑๕ นาที !  แยกย่อย ทั้งเวลาและพื้นที่
         ๔. เป้าหมายใหญ่ และเป้าหมายเล็ก วาดภาพหลังการจัดระเบียบไว้ให้ชัดเจน !
         ๕. กฏง่าย ๆ ในการลดจำนวน สำหรับคุณที่ "ทิ้งไม่ลง"
         ๖. ไม่มีคำว่ากลับมารกใหม่อีกต่อไป !  เทคนิคเพียง ๑ นาที ในการคงความสะอาด เรียบร้อย
         ๗. ขั้นต่อไป เป็นการลงมือเท่านั้น !!  กำหนดวันเวลาให้ชัดเจนเป็นโปรเจ็กต์

ลองพบกับตัวอย่างการจัดเก็บข้าวของ ตามหลักของ ยาซุชิ โคมัตซึ


ตัวอย่างการจัดตู้เสื้อผ้า และตู้ติดผนังอื่น ๆ

        สาเหตุส่วนใหญ่ที่ห้องนอนรกเลอะเทอะนั้น มาจากเสื้อผ้า  ซึ่งก็คือ  การที่ไม่สามารถ
ที่จะใส่เสื้อผ้าไว้ในตู้เสื้อผ้า หรือตู้ติดผนัง ได้หมดบ้าง  หรือกองเสื้อผ้าที่ถอดแล้ว
ทิ้งไว้บ้าง

        step 1  "หยิบออก" (๒ นาที) เสื้อผ้าและของจุกจิก  หยิบออกทีละ ๑ บริเวณ
        step 2  แยกตามชนิด ลงถุงกระดาษเป็นถุง ๆ  (ตัดสินใจว่า จะเอา / ไม่เอา ทีหลัง)
        step 3  "ลดจำนวน" (๔ นาที)  เหลือเฉพาะเสื้อผ้าที่สามารถใส่ได้ตอนนี้  นอกนั้นทิ้งให้หมด
        step 4  จัดคืนที่เดิม (๒ นาที)  แบ่งเป็นพวก แล้วจัดคืนเข้าตู้เสื้อผ้า

check list  ๖ ข้อ หากไม่ว่าจะทำอย่างไร ก็ไม่สามารถจะลดจำนวนลงได้

         ๑. ไม่ได้ใส่มา ๒ ฤดูแล้ว
         ๒. ตอนนี้ใส่ไม่ได้  แต่ตั้งใจจะใส่ ถ้าผอมแล้ว
         ๓. ไม่เข้ากับที่นิยมในตอนนี้
         ๔. มีรอยเปื้อน คราบ ด้ายหลุดลุ่ย ต่าง ๆ  เป็นต้น
         ๕. แทบไม่ได้ใช้เลย ในชีวิตประจำวันในตอนนี้
         ๖. ไม่สามารถใส่ในวันที่พบปะคนอื่น นอกเหนือจากคนในครอบครัว

(เมื่อลังเล ให้ตรวจเช็ก ๖ ข้อข้างต้นนี้  หากตรงแม้แต่ข้อเดียว  ให้นำไปทิ้งครับ)

step up "จัดเรียงให้เรียบร้อย" จัดให้เข้ากับ Lifestyle ของตัวเอง แยกเสื้อผ้าใส่ทำงาน / เสื้อผ้าใส่ลำลอง ไว้บน-ล่าง ก็เป็นวิธีที่ดี

แนวคิดเพิ่มเติมของผู้เขียน ในการจัดเก็บเสื้อผ้าในตู้เสื้อผ้า

เก็บเสื้อผ้าที่ถูกใจอยู่ในตอนนี้ และที่สามารถใส่ได้ เท่านั้น   (เสื้อผ้าที่ไม่ถูกใจและใส่ไม่ได้หากยังรักเสียดายอยู่ ให้แยกไว้ที่อื่นต่างหาก หรือบริจาคจ่ายแจก)

        จัดไว้เป็นชุด ๆ เช่นชุดไปทำงาน  เสื้อกับกางเกง เน็คไท  หรือเสื้อกับกระโปรง ใส่ไว้ในไม้แขวนเดียวกัน  เรียงลำดับตามวันในสัปดาห์ อยู่ในตู้หนึ่ง ส่วนรองเท้า กระเป๋าถือ เข็มขัด ที่เข้ากัน  เรียงตามลำดับเช่นเดียวกัน  รวมทั้ง ชั้นใน ถุงเท้า ถุงน่อง จะอยู่อีกตู้หนึ่ง  (จัดไว้ล่วงหน้าในแต่ละสัปดาห์  ตามความสะดวกและรวดเร็วในการสวมใส่)

        ชุดสูท มักจะมีทั้งที่ทำงาน ในรถ และที่บ้าน  (แล้วแต่ความจำเป็นของแต่ละบุคคลในการทำงาน ประชุม และไปงานด่วน)

        ชุดไปงานมงคลสมรส  งานศพ  ปกติจัดไว้ต่างหาก และนำไปแขวนเรียงในตู้  เมื่อทราบกำหนดการแล้ว

        ชุดลำลองอยู่กับบ้าน / ชุดนอน จัดไว้ต่างหาก

สิ่งของอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ควรแยกเก็บไว้ที่อื่นทั้งหมด ไม่ควรเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้า  เช่น  

หนังสือ  แผ่นซีดี  กล่องกระดาษ เอกสาร  อัลบั้มภาพ และอื่น ๆ

(หลักการสำคัญ คือ  ต้องคิดและจัดไว้ล่วงหน้าเป็นรายสัปดาห์  ตามกำหนดการ ล่วงหน้า  หากจัดได้เหมาะสมกับผู้ใช้แล้ว  จะเป็นระเบียบและช่วยประหยัดเวลา ในการแต่งตัวไปได้มากทีเดียว)

หมายเหตุ :  แล้วแต่ความจำเป็นของแต่ละบุคคล   วัยเรียน  วัยทำงาน แยกเป็น ระดับบริหาร  ระดับทั่วไป   และวัยเกษียณอายุแล้ว  เป็นต้น  ซึ่งไม่เหมือนกัน

สำหรับ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้  นายยาซุชิ โคมัตซึ  นักจัดระเบียบข้าวของคนแรก ของญี่ปุ่น  มีประวัติที่น่าสนใจ ดังนี้

            เกิดปี 1969  ระหว่างศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัย  Takasaki  City University of Economics  ได้ไปเรียนแลกเปลี่ยนที่ประเทศไอร์แลนด์ และกลับมาที่ประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับแรงบันดาลใจจากการ "อยู่ได้ด้วยกระเป๋าเดินทางเพียงใบเดียว"  หลังจากนั้น ได้เริ่มค้นคว้าเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคนและข้าวของ

            หลังจากลาออกจาก บริษัทฟูจิตะ  ได้เปิดบริษัท "ห้องวิจัยความโล่งสะอาด" ในเดือนกันยายน ปี 2005  เพื่อให้คำปรึกษาและแนะแนวทางส่วนตัวแก่ผู้ที่จัดระเบียบ ไม่เก่ง  หรือไม่สามารถที่จะเริ่มการจัดระเบียบข้าวของได้  จำนวนลูกค้าที่ได้ให้คำ แนะนำไปนั้น มีมากกว่า  2,000  คน  ทั้งยังให้คำแนะนำแก่บริษัทต่าง ๆ และมีงาน บรรยายอีกเป็นจำนวนมาก

            ปัจจุบัน  มีผลงานอย่างแพร่หลายทั้งทางหนังสือ นิตยสาร และทางโทรทัศน์ สำหรับงานหนังสืออื่น ๆ  ที่ทั้งเขียนขึ้นเอง และเป็นที่ปรึกษานั้นก็คือ "เพียง 1 นาที ชีวิตก็เปลี่ยนไป  นิสัยในการจัดระเบียบ" (สำนักพิมพ์  Chukei),  "ไม่ว่ายังไง  ก็จัด ระเบียบไม่ได้ !!  หนังสือความสำเร็จในการจัดระเบียบสำหรับคุณ"  (สำนักพิมพ์ Daiwashobo)  เป็นต้น

          ทั้งหมดนี้  เป็นเพียงหลักการใหญ่ ๆ และตัวอย่างเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น  ซึ่งใน  หนังสือ "เวทมนตร์ในการจัดระเบียบข้าวของ"  มีทั้ง ห้องนั่งเล่น และห้องอาหาร (รวมทั้ง โต๊ะทำงานและเอกสาร)  ห้องครัว ห้องนอน  ห้องรับแขกที่กลายเป็น ห้องเก็บของ  งานอดิเรกและของที่ระลึกต่าง ๆ  เป็นต้น   ผู้สนใจควรจะได้อ่านหนังสือ เล่มนี้ ซึ่งเขียนประกอบภาพการ์ตูนที่น่าอ่านเป็นอย่างมาก และอย่าลืมว่า  

เมื่อคุณเริ่มจัดระเบียบข้าวของ แม้เพียง ๑ นาทีเท่านั้นเอง ชีวิต ความเป็นอยู่ของคุณก็จะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น อย่างแน่นอนครับ  !!!  


อ้างอิง :  โคมัตซึ, ยาซุชิ. เวทมนตร์ในการจัดระเบียบเข้าของ. กรุงเทพฯ : ฟรีมายด์,
             2554.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่