มองดูสถิติเก่าๆ ของ10 นัดในฤดูกาลก่อนๆ มองจุดอ่อน วิเคราะห์จุดแข็ง ว่าหงส์แดงปีนี้เป็นอย่างไร

.
       ฤดูกาลนี้เป็น 1 ใน 3 ฤดูกาลในช่วง 10 ปีหลังที่ลิเวอร์พูลสามารถออกสตาร์ทได้ดี ต่อจากยุคที่รองแชมป์ ปี 2008-2009 : Manager Rafael Benítez และปี 2013-2014 : Manager Brendan Rodgers มาลองเปรียบเทียบกับปีนี้ของ Jurgen Klopp ดู ว่ามีนัยยะอะไรแตกต่างกันบ้าง



       ลำพังตัวเลขข้อมูลเพียง 10 นัดแรกของทั้ง 3 ฤดูกาลที่ลิเวอร์พูลทำผลงานได้แจ่มแจ๋ว ก็พอจะมองเห็นนัยยะความแตกต่างในสไตล์ของผู้จัดการทีม 3 คน 3 ยุค โดยผมจะวิเคราะห์วิจารณ์เปรียบเทียบผลงานของผู้จัดการคนปัจจุบัน เทียบเคียงไปกับการนำสถิติเก่าๆของผู้จัดการทีมคนก่อนไปด้วยเลยนะครับ

      ยุคของเบนิเตช ทำทีมสไตล์ตั้งรับเหนียวแน่น 10 นัดเสียแค่ 4 ประตู เรียกว่าแข็งแกร่งทั่วแผ่นในเกมส์รับ อาศัย เปเป้ เรน่า GK กับแผงแบ๊คโฟร์อย่าง ฮูเปีย กับ แอ๊คเกอร์  ที่เป็น CB อเบลัว กับ คาราเกอร์ ที่ตอนนั้นเป็นวิงแบ๊ค มีมาสเคราโน่ยืนเป็น DM คอยตัดเกมส์ให้ ซึ่งได้ผลค่อนข้างดี เป็นปีที่ลิเวอร์พูลเสียประตูน้อยที่สุดใน 10 นัดนับตั้งแต่เริ่มเปลี่ยนลีคสูงสุดจากดิวิชั่น1 เป็นพรีเมียร์ลีค (เก่ากว่านั้นไม่ได้ค้นหาข้อมูล) มีสถิติการเก็บClean sheets ได้ถึง 20 นัดและเป็นปีที่ลิเวอร์พูลแพ้น้อยที่สุดในการแข่งขันพรีเมียร์ลีคทั้งฤดูกาลอีกด้วย โดยแพ้แค่ 2 นัด

       แต่จะพูดไปทั้งฤดูกาลก็อาจจะเร็วเกินไปและอยู่นอกประเด็นการเปรียบเทียบของกะทู้นี้ จึงขอวกกลับเข้าเรื่อง โดยจะดูให้ลึกลงไปอีก คือทั้ง 4 ลูกที่เสียไปใน 10 นัดแรกของยุคเบนิเตชนั้น มาจากลูก Openplay 3 ลูกกับการเสีย 1 จุดโทษ ที่หยิบตรงนี้มาบอกก็เพราะจะชี้ให้เห็นว่า ปัญหากับรับมือลูกเซ็ทพีทนั้น ไม่ได้เริ่มต้นในยุคราฟา เพราะราฟาเองจัดเป็นสุดยอดกุนซือที่จัดการกับลูกเซ็ทพีทได้ดีที่สุดคนหนึ่งเลยทีเดียว ซึ่งสรุปทั้งฤดูกาลนั้น ลูกทีมของราฟาเสียประตูจากลูกเซ็ทพีท(เฉพาะลุกเตะมุม) แค่เพียง 5 ลูกเท่านั้น จากที่เสียประตูทั้งหมดทั้งฤดูกาล 27 ประตู แต่ในปัจจุบันของคล็อปลิเวอร์พูล 10 นัด เสียประตูจากลูกเซ็ทพีทเฉพาะเตะมุมไปแล้ว 4 ประตู เกือบจะเท่ากับทั้งฤดูกาล 2008-2009 ของยุคเบนิเตชแล้ว ซึ่งความแตกต่างนี้ เกิดจากการยืนตำแหน่งจัดแนวตั้งรับลูกเซ็ทพีท โดยเฉพาะที่ลูกเตะมุม

       จุดแรกที่แตกต่างกันของกุนซือใน 2 ยุคในเรื่องเกมส์รับ ที่เห็นได้ชัดตามสถิติ ที่บอกไปข้างต้น ซึ่งเมื่อมามองดูรายละเอียดจริงๆแล้วก็จะพบสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ผลงานในเกมส์รับและการตั้งรับลูกเช็ทพีทโดยพาะลูกเตะมุมออกมาผิดแผกแตกต่างกัน เมื่อราฟาใช้ผู้เล่นแผงแบ๊คโฟร์ตั้งโซนเล็กๆขึ้น ในกรอบ 6 หลา โดยให้วิงแบ๊ค2ข้าง ยืนประจำเฝ้าเสาไว้ และให้ CB ที่สูงใหญ่ ยืนบนเส้น 6 หลา เพื่อคอยสกัดลูกเปิดมุมของคู่ต่อสู้ ผู้เล่นอื่นๆ ก็ช่วยตั้งรับด้วยการมาร์คตัวผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามไว้


       แต่คล้อปไม่ได้ทำเช่นนั้น เพราะเขาไม่ได้สั่งการให้ลูกทีมยืนเฝ้าเสาประตูเลย ใน10 นัดแรกแต่เลือกใช้การตั้งรับแบบแมนมาร์คทั้งหมดเข้าจัดการกับลูกเซ็ทพีทของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งถ้าให้หาหลักฐานมายืนยัน ก็ขอคัดเอาไฮไลท์และภาพนิ่งจากเกมส์กับ West Bromwich Albion มาเป็นตัวอย่างนะครับ เพราะนัดนี้มีจังหวะตั้งรับลูกเตะมุมแล้วเสียประตูและไม่เสียประตูบ้างปนๆกันไปนะครับเพื่อชี้ว่า คล้อปนั้น ตั้งรับลูกเซ็ทพีทแบบไหน


และดูภาพนิ่งกันให้ชัดๆ จะเห็นว่าจังหวะป้องกันลูกเตะมุมในยุคของคล็อปจังหวะนี้นั้นไม่มีตัวยืนคุมเสา




และดูภาพนิ่งกันให้ชัดๆ จะเห็นว่าจังหวะป้องกันลูกเตะมุมในยุคของคล็อปจังหวะนี้นั้นไม่มีตัวยืนคุมเสา(อีกแล้ว)



เอาอีกสักนัดน่า เลยเลือกเอานัดที่พบกับ Hull City มาเป็นตัวอย่างอีกสักเกมส์กับการเสียประตูจากลูกเตะมุม


และดูภาพนิ่งกันให้ชัดๆ จะเห็นว่าจังหวะป้องกันลูกเตะมุมในยุคของคล็อปจังหวะนี้นั้นไม่มีตัวยืนคุมเสา(อีกเช่นเคย)



       จุดที่ 2 ที่แตกต่างและมีนัยยะสำคัญ คือ 10 นัดแรกในยุคราฟา รักษาสกอร์ Clean sheets ได้ 5 นัด ในขณะที่คล้อปนั้นนำลูกทีมทำ Clean sheets ได้เพียงนัดเดียว


       ก็ไม่อยากวิเคราะห์วิจารณ์อะไรตรงจุดนี้มาก  เพราะตอนนี้เขาถือตรรกะทางคณิตศาสตร์เป็นหลักกันแล้ว ขอแค่ให้ยิงได้มากกว่าที่เสียประตูก็พอ เอ่อแหะ คิดง่ายดี..!!

       และจุดที่ 3 ที่แตกต่างกันใน 10 นัดแรกของราฟากับคล้อป คือ ในยุคของราฟานั้น 10 นัดแรกไม่มีการเล่นของลูกทีมที่เล่นผิดพลาดเองจนเสียประตูเลยแม้แต่ลูกเดียว ในขณะที่ลูกทีมในยุคของคล้อปนั้น 10 นัดที่ผ่านมา มีการเล่นผิดพลาดหรือ Error จนเสียประตูไปแล้ว 5 ลูก



       ซึ่งนั้นเป็น 3 จุดที่แตกต่างกันในแง่ที่ส่งผลร้ายกับทีมยุคปัจจุบัน ราฟาในปีนั้น ทำได้ดีที่สุดก็แค่รองแชมป์พรีเมียร์ แต่ผมจะไม่ถามว่าคล้อปจะนำทีมปีนี้ไปได้ถึงไหน เพราะยังเร็วเกินไปที่จะนำเอาแค่จุดนี้จุดเดียวมาตั้งคำถามกับผลงงานของคล้อปในฤดูกาลนี้ เพราะมันไม่ยุติธรรมที่ไม่หยิบจุดที่ดีที่ทีมของคล้อปทำได้เหนือกว่ายุคราฟา อย่างเกมส์รุกก็ยังไม่ได้หยิบมาพูดถึงด้วย

       แต่ถึงอย่างนั้น มันก็ยังเพียงพอที่จะชี้ให้เห็นว่า จุดอ่อนของทีมชุดนี้ยังมีอยู่ และดูเหมือนจะเป็นตัวแปรสำคัญหากคล้อปไม่รีบจัดการแก้ไขให้ปัญหาในแนวรับทั้ง 3 จุดนี้หายไปจากแนวรับในทีมของเขา กับการรักษาจุดแข้งในทีมยุคของเขาเอาไว้ให้ได้แบบสม่ำเสมอ ซึ่งจุดเด่นในแนวรุกของทีมในยุคคล้อปนั้น ผมขอรวบยอดไปวิเคราะห์วิจารณ์เปรียบเทียบผลงานกับยุคของร็อดเจอร์เลยแล้วกัน เพราะหงส์แดงในยุคนี้นั้น ก็มีจุดเด่นที่เกมส์รุกเช่นกัน โดยอาศัย 3 ประสานในแนวหน้าอย่าง ซัวเรส สเตอริจ และสเตอริ่ง เป็นกำลังสำคัญ มีเจอร์ราดและคูตินโญ่เป็นตัวขับเคลื่อน

       ยุคของร็อดเจอร์เขาได้ปรับปรุงทีมขึ้นใหม่ ทำทีมสไตล์ที่เน้นเกมส์รุกมากขึ้น ผ่านไป 10 นัดยิงได้ 20 ประตู ค่าเฉลี่ยตกนัดละ 2 ประตู ถือว่าดูดีในแนวรุก โอกาสยิงประตูเฉลี่ย16.5 ครั้งต่อนัด ยิงเข้าเป้าเฉลี่ย 6.1 ครั้งต่อนัด เน้นและให้ความสำคัญกับการครอบครองบอล แต่ก็ยังทำให้เห็นเด่นชัดไม่ได้ เมื่อโอกาสการครองบอลเฉลี่ย 10 นัดอยู่ที่ 52% การเล่นลูกกลางอากาศก็ถือว่าไม่ได้ด้อยกว่าฝ่ายตรงข้ามนักที่ 49%



       ซึ่งหากเอาสถิติของคล้อปในปีนี้มาดูเทียบเคียงกันจะเห็นว่า สถิติของคล้อปนั้นดีกว่ายุคของร็อดเจอร์เกือบทุกด้าน มีเพียงการเล่นลูกกลางอากาสเท่านั้น ที่ทีมในยุคของรร็อดเจอร์นั้นทำได้ดีกว่า



       การที่ทีมของคล้อปมีจำนวนแต้มและจำนวนประตูที่ยิงได้ใน 10 นัดมากกว่าในยุคร็อดเจอร์ ก็เป็นเครื่องการันตรีกลายๆว่า คุณภาพในเกมส์รุกของคล้อปนั้น เหนือกว่าในยุคของร็อดเจอร์เมื่อผ่านไป 10 นัดแรก และดูว่าจะเป็นจุดแข็งของทีมในยุคนี้ แต่ผมก็ขี้เกียจวิเคราะห์วิจารณ์ ชี้จุดเด่นจุดดีอะไรในเรื่องนี้มากนัก เพราะเดี๋ยวจะเป็นเหมือนการออกมาอวยทีมที่ตัวเองเชียร์ เอาเป็นว่าที่เหลือดูเอาเองแล้วกันนะครับ สำหรับประสิทธิภาพด้านต่างๆในเกมส์รุก

       แต่ทั้งจุดอ่อนในเกมส์รับและจุดแข็งในเกมส์รุกของทีมของคล้อปในยุคนี้ ก็ยังต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ต่อไป เพราะยุคของร้อดเจอร์นั้นเป็นยุคที่เกมส์รุกของหงส์แดงโชว์ฟอร์มดุดันมากกว่าปีไหนๆ ทั้งฤดูกาลทำได้ เกินร้อยประตู(101 ประตู)  เช่นเดียวกับยุคราฟาสมัยที่ได้รองแชมป์นั้นก็คือยุคที่เกมส์รับเหนียวแน่นที่สุด ทั้งฤดูกาลเสียไปแค่ 27 ประตู

       ซึ่งถ้าให้ผมสรุปและตอบกับคำถามของตัวเองที่ตั้งเป็นหัวกะทู้ตอนนี้ ก็ต้องตอบแบบแฟนบอลที่อยากให้ทีมที่เชียร์ประสบความสำเร็จ แต่ยังไม่มั่นใจในเรื่องความสม่ำเสมอเท่าไร  ก็คงได้แต่ตอบว่า

       การเอาสถิติเก่าๆของทีมตัวเองขึ้นมาเปรียบเทียบ มันทำให้เห็นและก็พบว่าสถิติเหล่านี้ได้บันทึกไว้ว่า ในยุคของราฟาและยุคของร็อดเจอร์ในปีที่ได้รองแชมป์ ทั้งคู่คือกุนซือที่ทำได้ดีที่สุดคนล่ะด้านในยุคพรีเมียร์ลีคของลิเวอร์พูล แต่ก็ยังหาทางต่อยอดทอดสะพานไปถึงตำแหน่งแชมป์ลีคไม่ได้เลย แล้ว....ล่ะ? เอ่อ..ช่างมันเถอะครับ แล้วก็ตัดบทจบมันห้วนๆแบบนี้แหละครับ จะได้ไม่ต้องมีปากเสียงกับกองเชียร์ทีมเดียวกัน ต้องระวังไว้ให้มาก 555+

ป.ล.สถิติที่นำมานั้น รวบรวมจากหลายแหล่งข้อมูล ปี 2013-2014 และ 2016-2017 มาจาก whoscore.com , squawka.com ส่วนสถิติปี 2008-2009 นั้นมาจาก Wikipedia.org ซึ่งบางอย่างบางสถิตินั้น ต้องไล่นับนิ้วเอาเองจาก 10 นัดแรกนะครับ หากผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปต้องขออภัยเอาไว้ตรงนี้ด้วยครับ

*แก้ไขคำผิด
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่