แชร์ความรู้การเล่นหุ้น "อย่างเป็นระบบ" (System trade)

สรุป “วิธีการเล่นหุ้นอย่างเป็นระบบ”

     สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคน บทความนี้เหมาะสำหรับคนที่กำลังสนใจ “วิธีการเล่นหุ้นอย่างเป็นระบบ” ซึ่งผมได้รวบรวมความรู้ต่างๆ ที่มีความสำคัญเอาไว้ทั้งหมด ดังนั้นหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับเพื่อนๆมือใหม่ทุกคนไม่มากก็น้อย

System Trade คืออะไร
     System Trade เป็นรูปแบบการลงทุน ที่มีการกำหนดแผนการลงทุนเอาไว้อย่างชัดเจน และ ต้องปฎิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด  โดยนำอารมณ์และความรู้สึกของตนเองออกไปจากวิธีการลงทุน

หัวใจของ System Trade มีทั้งหมด 4 ข้อ

1. ใช้ระบบที่ได้เปรียบตลาด (Positive Expectancy)
         การเลือกระบบที่มีค่า Expectancy เป็นบวกทำให้เราสามารถหากำไรจากระบบนั้นได้ แต่เมื่อใดที่ระบบเรามีค่า Expectancy เป็นลบนั้นหมายความว่าระบบนี้ขาดทุน  ซึ่งสามารถคำนวณได้จากค่าทางคณิตศาสตร์ 4 ตัว ได้แก่
  
          % Win คือ เทรดมาทั้งหมดกี่ครั้ง ชนะไปกี่ครั้ง (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์)
          % Loss คือ เทรดมาทั้งหมดกี่ครั้ง ขาดทุนไปกี่ครั้ง (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์)
          Avg. Win คือ ในการชนะแต่ละครั้ง มีค่าเฉลี่ยเท่าไหร่
          Avg. Loss คือ ในการขาดทุนแต่ละครั้ง มีค่าเฉลี่ยเท่าไหร่



ยกตัวอย่าง  เกมรูเร็ต ในฝั่งของผู้เล่นค่า Expectancy ของผู้เล่น กรณีวางตรงตัวเลข
ค่าสถิติของเจ้ามือ
           มีเลข 37 เลข , ถ้าถูกต้องจ่าย 36 เท่า
ค่าสถิติของผู้เล่น
          Avg. winner = 35
          Avg. Loser = 1
          %win = 1/37 = 2.7027%
          ดังนั้น Expectancy = (1/37) x 35 - (36/37) x 1  = - 0.027 ( เล่นทุก 1 ครั้งจะเสีย 2.7 บาท)


2. เลือกระบบที่เหมาะสมกับคุณ

        การเลือกสไตล์การลงทุนให้เหมาะสมกับตัวเอง นักลงทุนบางคนเทรดหุ้นหาค่ากับข้าว ก็มาทำการ เทรดรายวัน (daily trading) บางคนเทรดระยะกลาง - ระยะยาว เป็นต้น หรือในเรื่องการเจอ drawdown ที่นักลงทุนแต่ละคนยอมรับ drawdown ได้ไม่เท่ากัน ซึ่งบางท่านเจอ drawdown มากๆส่งผลต่อจิตใจของนักลงทุนจนอาจจะเลิกเล่นระบบที่ตนเองใช้อยู่ก็เป็นได้

3. บริหารจัดการความเสี่ยงและเงินลงทุน

        เป็นศาสตร์ในการหาสัดส่วนในการเข้าซื้อที่จะทำให้เกิดกำไรสูงสุดโดยที่รับความเสี่ยงไม่เกินที่กำหนด การบริหารเงินลงทุนเป็นสิ่งที่นักลงทุนบางคนอาจมองข้าม ซึ่งการมีระบบที่ดีจะทำกำไรจนคุณประสบความสำเร็จ ถ้าคุณมีการบริหารเงินลงทุนที่ดี จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเทรดของท่านขึ้นไปอีก ทำให้การใช้ระบบเทรดนั้นประสบความสำเร็จ

4. ต้องทำตามระบบอย่างมีวินัย การแยกอารมณ์ส่วนตัวออกจากระบบ หรืออยู่ในสภาวะไร้ใจ


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


การเลือกกลยุทธ์หรือกฏของระบบเทรด

1. ควรเป็นระบบเทรดที่ง่าย ไม่ซับซ้อน
        เพราะระบบที่มีความซับซ้อนจะมีความเสี่ยงที่จะเกิด Overfitting ค่อนข้างสูงกว่าระบบเทรดที่มีจำนวน parameter น้อย และที่กล่าวว่าทำไมต้องเรียบง่าย ดูได้จากเหตุผลข้อถัดไป

2. ไม่ดูผลการ Backtest เป็นบางกรณี
        ระบบเทรดทุกตัว ล้วนต้องมีช่วงที่ได้กำไรและช่วงที่ขาดทุน ดังนั้นอย่าพยายามดูผลการ backtest เป็นบางกรณี หรือจะกล่าวคือ แก้ไขระบบหรือเพิ่มเติมบางสิ่งไปเรื่อยๆจนได้ระบบที่ดีที่สุดไม่มีการขาดทุนเลยหรือน้อยมาก จนระบบเริ่มอ้วนและซับซ้อน และเพื่อจับสภาวะของตลาดให้ได้มากที่สุด ซื้อจุดต่ำสุดขายจุดสูงสุด เป็นต้น เพราะอาจจะเป็นการทำ Overfitting โดยตรง เพราะอนาคตตลาดไม่อาจเป็นเหมือนในอดีต

3. รองรับทุกสภาวะของตลาด
        จากเหตุผลข้อ 2 จึงจะต้องสร้างระบบที่ดี ที่จะต้องรองรับทุกทิศทาง หรือ ทุกสภาวะของตลาด เตรียมพร้อมให้อยู่รอดและทำกำไรในสถาณะการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเราไม่สามารถล่วงรู้ได้ จึงจะเป็นระบบที่ใช้ได้นานและยั่งยืนในระยะยาว

4. เป็นระบบเหมาะกับตนเอง
        ตัวอย่างเช่น หากนักลงทุนต้องการเทรดเพื่อเลี้ยงชีพ ก็ควรที่จะเลือกระบบเทรดที่มีรอบการเทรดที่สั้น หรือ มีความสอดคล้องด้านเวลาที่เหมาะสมกับวิธีชีวิตปกติของเรา เป็นต้น

เจ้าเริงร่า



แผนการลงทุน

การเล่นหุ้นแบบ System trade จะต้องมีแผนการลงทุนที่ “ชัดเจน” ทำตามแผนนั้นอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะ ประเด็นดังนี้
  ◦ Market selection เลือกตลาดที่เราจะเล่น ตลาดไหนที่ไม่เล่น เป็นการเลือกหุ้นเข้าตะกร้า
  ◦ Position sizing กำหนดสัดส่วนการลงทุน Money Management

  ◦ เลือกกลยุทธ์ในการซื้อขาย

  ◦ Take Profit criteria เกณฑ์ขายทำกำไร

  ◦ Stop loss criteria เกณฑ์ตัดขาดทุน

  ◦ Backtest ทดสอบระบบย้อนหลังก่อนการลงทุนจริง



เรื่องต่อไป การบริหารเงินลงทุน หรือ Money management

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การบริหารเงินทุน (Money Management)

        การบริหารเงินทุน (Money Management) คือ ศาสตร์ในการหาสัดส่วนเงินลงทุนที่เหมาะสมและอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่กำหนด เพื่อป้องกันความเสียหายและทำให้คุณอยู่ในตลาดได้นานที่สุด การบริหารเงินลงทุนมีหลายวิธี เช่น วิธีการบริหารเงินทุนแบบ Fixed Lot Money Management หรือการแบ่งเงินออกเป็นส่วน ๆ ที่เท่ากันจากมูลค่าของพอร์ตทั้งหมด

ตัวอย่างเกม ที่ทำให้มองเห็นความสำคัญของ Money Management ได้ง่ายขึ้น
(สามารถเข้าไปลองเล่นได้ที่ >> https://www.stocknical.com/content.html#mmgame )

ตัวอย่าง เกมสุ่มบอลเสี่ยงโชค มีกติกาง่ายๆ คือ ให้ผู้เล่นเกมสุ่มบอล ครั้งละ 1 ลูก โดยจะสุ่มกี่ครั้งก็ได้จากกล่อง ซึ่งภายในกล่องจะมีบอลอยู่หลายสี แต่ละสีก็จะมีจำนวนลูกบอลและให้ผลลัพธ์การเสี่ยงโชคที่แตกต่างกันไป ซึ่งเกมดังกล่าวจะมีค่าความคาดหวัง(Expectancy) อยู่ที่ 0.45 ซึ่งหมายความว่า ยิ่งเล่นจะยิ่งได้กำไร (สามารถดูรายละเอียดได้ที่ตารางด้านล่าง)
Inspiration จาก คุณทัศสิน บัวชื่น




ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสุ่มได้บอลสีทอง ผู้เล่นจะได้รับ เงินเป็นจำนวน 20 เท่าของเงินที่วางพนันไว้ แต่ถ้าได้บอลสีดำ ก็จะต้องเสียเงินเป็นจำนวน 10 เท่าของเงินที่วางพนันไว้ เป็นต้น

ในเกมสุ่มบอลเสี่ยงโชค มีจำนวนผู้เล่นทั้งหมด 4 คน  ดังนี้



ถ้าเป็นคุณ คุณจะเลือกวิธีการลงเงินตามผู้เล่นคนใด ที่จะทำให้คุณอยู่รอดและได้ผลตอบแทนสูงสุด ถ้าเลือกแล้ว รอดูผลกัน


V
V
ผลการเล่นที่ 100 รอบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
    
ผลการเล่นที่ 500 รอบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ผลการเล่นที่ 1,000 รอบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ประหลาดใจ    ประหลาดใจ    ประหลาดใจ

จากการเล่นทั้ง 3 ครั้ง โดยมีจำนวนครั้งในการจับลูกบอลที่แตกต่างกันพบว่า ผู้เล่นC ที่ใช้วิธีการวางเงินครั้งละ 2% นั้นมีเงินเก็บคงเหลือสูงที่สุด ไม่ว่าจะจับลูกบอลกี่ครั้งก็ตาม


ในเกมนี้ พบว่าค่า Expectancy มีค่าเท่ากับ 0.45  ซึ่งมีค่าเป็นบวก ดังนั้น เมื่อผู้เล่นยิ่งเล่น ผู้เล่นก็ควรยิ่งได้กำไร !
แต่ทำไมผู้เล่นบางคนถึงยังขาดทุนหรือหมดตัว ? สาเหตุเกิดจากผู้เล่นเหล่านั้นมีการบริหารเงินลงทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพนั่นเอง


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เรื่องต่อไป Backtest

การ Backtesting หรือ ทดสอบย้อนหลัง มีจุดประสงค์เพื่อวัดประสิทธิภาพของระบบการลงทุนก่อนนำใช้งานจริง


ขั้นตอนของการBacktest จะเริ่มจากการกำหนดกลยุทธ์การซื้อขายตามที่คุณต้องการ ซึ่งกลยุทธ์ที่ว่านี้ จะประกอบไปด้วยหลายองค์ประกอบ ได้แก่  

1. จำนวนเงินเริ่มต้นในพอร์ต เช่น เริ่มกำหนดไว้ที่ 1,000,000 บาท


2. ช่วงเวลาในการ Backtest ระบบ แนะนำ อย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป เพื่อให้ระบบของคุณได้ทดสอบกับทุกสภาวะของตลาด


3. ค่าความคลาดเคลื่อนของราคาในการซื้อขาย (Slippage) กำหนด Slippage 1% หรือมากกว่าเล็กน้อย เพื่อให้ใกล้เคียงกับความคาดเคลื่อนของการเข้าซื้อขายหุ้นจริง ยกตัวอย่างเช่น หากราคาซื้ออยู่ที่ 100 บาท จะสามารถเข้าซื้อได้ที่ 100+(100x1%) = 101 บาท หรือ ถ้าราคาขายอยู่ที่ 100 บาท จะสามารถขายได้ที่ 100-(100x1%) = 99 บาท



4. สภาพคล่องของตลาด กำหนดให้ซื้อขายได้เฉพาะหุ้นที่มีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ย เช่น 10 วันย้อนหลังมากกว่า 1 ล้าน เพื่อลดความลำเอียงของผลการทดสอบในเรื่องของสภาพคล่อง


5. ปริมาณหุ้นสูงสุดที่สามารถซื้อได้ในแต่ละเทรด กำหนดให้ปริมาณการซื้อสูงสุดที่สามารถซื้อได้ ไม่เกิน 5% ของค่าเส้นเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก 10 วัน ของมูลค่าการซื้อขาย เป็นต้น เพื่อลดความลำเอียงของผลการทดสอบในเรื่องของจำนวนหุ้นที่สามารถเข้าซื้อได้


6. กลยุทธ์ในการลงเงินหรือ Money Management กำหนดเลือกใช้กลยุทธ์การลงเงินแบบ “Fixed Lot Money Management” โดยแบ่งเงินจากมูลค่าที่แท้จริงของพอร์ตออกเป็น 10 และ 20 ไม้ ซึ่งเป็นวิธีการลงเงินที่เรียบง่าย ปลอดภัยและเป็นที่นิยม


7. กลยุทธ์หรือกฏที่จะใช้ในการหาสัญญานซื้อขาย ถ้าเลือกใช้ Indicator ยอดนิยมอย่าง MACD line ตัด Signal line ซึ่งมีการกำหนดค่าดังนี้
  
      จะ "ซื้อ" เมื่อ :  
            ต้องเข้าสัญญาณซื้อ (Buy Signal) ที่
                    
            และ
            ต้องเข้าสัญญาณคัดกรอง (Buy Filter) ที่
                    
     จะ "ขาย" เมื่อ :
            ต้องเข้าสัญญาณขาย (Sell Signal) ที่
                      
เป็นต้น

ที่นี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณแล้วว่า จะเลือกกฎหรือเงื่อนไขใดในการทำทดสอบย้อนหลัง และที่ยากสุดคือ การหากฎที่มีประสิทธิภาพและมีความพึงพอใจตามสภาพจิตใจของแต่ละคน
จึงเป็นคำถามต่อมาว่า วิธีการที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องพิจารณาจากอะไรบ้าง ซึ่งเป็นที่มาของหัวข้อถัดไป

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การพิจารณาค่าสถิติต่างๆ ที่มีความสำคัญ ที่ได้จากการทำ Backtest  .....

......อ่านต่อใน comment ถัดไปนะครับ ยิ้ม
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่