ความเป็นมา
สืบเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเกี่ยวกับงานช่างประดิษฐ์ของสตรีอันเป็นประณีตศิลป์ ซึ่งมีอยู่ในพระบรมมหาราชวังว่า สมควรที่จะให้มีการถ่ายทอดความรู้ในวงกว้างเพราะผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางช่างนับวันจะหมดไป ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นผู้สูงอายุเป็นส่วนมาก
การถ่ายทอดให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบจะเป็นการส่งเสริมเผยแพร่ให้ตระหนักในคุณค่าและจะได้ช่วยกันอนุรักษ์ให้คงอยู่ตลอดไป นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถนำไปประกอบอาชีพได้อีกด้วย ประกอบกับขณะนั้นอาคารพระตำหนักและเรือนหลวงต่างๆ ในพระบรมมหาราชวังได้รับการบูรณะซ่อมแซมให้คงสภาพใกล้จะเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงมีพระราชประสงค์ให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นในเพื่อสอนวิชาช่างประดิษฐ์ของบสตรีดังกล่าว และพระราชทานพระราชานุญาตให้ดัดแปลงอาคารเรือนห้องเครื่องสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเป็นอาคารเรียน
สำนักพระราชวังได้ติดต่อกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ขอให้จัดตั้งโรงเรียนผู้ใหญ่พระตำหนักสวนกุหลาบ(วิทยาลัยในวัง) กรมการศึกษานอกโรงเรียนจึงได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนดังกล่าวขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2529 และเริ่มเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2529 เป็นต้นมา
ต่อมาเมื่อนักศึกษามากขึ้น สถานที่คับแคบลง โรงเรียนได้รับพระราชทานพระราชาณุญาตให้ย้ายมาอยู่ ณ สถานที่ปัจจุบัน (ซึ่งเคยเป็นพระตำหนักที่ประทับของเจ้าจอมมารดาและพระราชธิดา ในรัชกาลที่ 5) ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2532
หลักสูตร
1. วิชาอาหารและขนม
นักศึกษาจได้เรียนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาหารและขนม อาหารคาว ประเภทแกง ต้ม ตุ๋น ผัด ยำพล่า ย่าง อบ ทอด เครื่องจิ้ม และ อาหารจานเดียว อาหารหวาน มีประเภท ปิ้ง ย่าง อบ กวน เชื่อม ฉาบ ทอด ต้ม นึ่ง ประเภทใส่น้ำหวาน ไอศครีม เครื่องดื่ม และอาหารว่าง
นอกจากนี้ยังมีการแกะสลักผัก ผลไม้ ตลอดจนการถนอมอาหารประเภทต่างๆ การบริการอาหารในโอกาสต่างๆ
2. วิชาช่างดอกไม้สด
เรียนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดอกไม้สด การร้อยมาลัยแบบต่างๆ การจัดพานดอกไม้ การปักพุ่ม การทำเครื่องห้อย เครื่องแขวน การทำดอกไม้ประดิษฐ์จากดอกไม้สด การทำส่วนประกอบงานดอกไม้สด เช่น ร้อยอุบะ ร้อยตาข่าย ร้อยเฟื่อง เย็บแบบ เย็บเข็ม เย็บโบว์ ทำดอกข่า และการจัดดอกไม้สดในงานพิธีต่างๆ
3. วิชาช่างปักสะดึง
เรียนความรู้เบื้องต้นของการปักสะดึง ตั้งแต่การทำแม่สะดึง ทำขาสะดึง การขึงผ้า การลอกลาย การหนุนลาย การปักไหม การปักไหมทอง การปักดิ้น ปักเลื่อม ปักมุก การหักทองแร่ง เงินแร่ง การปักโดยใช้วัสดุหลายอย่างประกอบกัน การประดิษฐ์เครื่องใช้เครื่องประกอบการปัก
วิชาเลือก
นักศึกษาทุกคนต้องเลือกเรียนอีก 1 วิชาเลือก คือ
1. การพับผ้าเช็ดหน้าเป็นรูปสัตว์
2. การประดิษฐ์ใบตอง
3. การทำบายศรี
4. การทำเครื่องหอม (เทียนอบ น้ำอบไทย แป้งร่ำ บุหงา)
5. การประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง
ครูผู้สอน
ครูผู้สอนส่วนใหญ่เป็นผู้ชำนาญการในวังประมาณ 25 คน ปฏิบัติราชการอยู่ในฝ่ายพระราชฐานชั้นใน สำนักพระราชวัง มีคุณเพ็ญศรี เขียวมีส่วน เป็นอาจารย์ใหญ่ ครูผู้สอนจะผลัดเปลี่ยนกันมาสอนในช่วงเวลาที่ออกเวรยาม แต่ในด้านวิชาอาหารและขนมนั้น โรงเรียนได้เชิญอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันต่างๆ มาช่วยทำการสอนเพิ่มเติมด้วยตลอดเวลา
การรับนักศึกษา
โรงเรียนเปิดรับสมัครเฉพาะนักศีกษาหญิงไม่จำกัดความรู้แต่ต้องมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จะเปิดรับสมัครประมาณต้นเดือนเมษายนของทุกปี รับนักศึกษาวิชาละ 30 คน จะคัดเลือกโดยวิธีการสัมภาษณ์หรืออื่นๆ ตามที่เห็นสมควร
ที่ตั้งของโรงเรียน
ฝ่ายพระราชฐานชั้นใน ในพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร. 0-2224-9471 และ 0-2224-9477-80 ต่อ 8471,5708
หลักฐานในการสมัคร
1. สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมฉบับจริง
2. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมฉบับจริง
3. สำเนาวุฒิการศึกษา พร้อมฉบับจริง
4. รูปถ่าย 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป
ค่าใช้จ่าย
โรงเรียนไม่เรียกเก็บเงินค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง หรือค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น แต่นักศึกษาจะต้องจัดหาวัสดุในการเรียนมาเอง
เวลาเรียน
โรงเรียนเปิดทำการสอนปีละ 2 ภาคเรียน คือ
ภาคเรียนที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม ถึง 19 ตุลาคม
ภาคเรียนที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ถึง 31 มีนาคม
เวลาเรียน ตั้งแต่ 8.00 -12.00 น. วันจันทร์ถึงวันศุกร์ หยุดเรียนวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดตามนักขัตฤกษ์
การประเมินผล
พิจารณาจากเวลาเรียนแต่ละรายวิชาไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซนต์ ผลการเรียนมีระดับไม่ต่ำกว่า 2 ทุกรายวิชา และทำกิจกรรมครบตามที่โรงเรียนกำหนด
การออกประกาศนียบัตร
โรงเรียนจะออกประกาศนียบัตรให้เมื่อนักศึกษาเรียนผ่านจบตามหลักสูตรแล้ว
คำถามที่อยากทราบน่ะค่ะ คือว่า ถ้าสมมติ เราเรียนจบไปแล้ว 1 ปี สามารถกลับมาเรียนหลักสูตรอื่นได้อีปรึเปล่าค่ะ
ข้อมูล และ ข้อสงสัย วิทยาลัยในวังหญิง !?
สืบเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเกี่ยวกับงานช่างประดิษฐ์ของสตรีอันเป็นประณีตศิลป์ ซึ่งมีอยู่ในพระบรมมหาราชวังว่า สมควรที่จะให้มีการถ่ายทอดความรู้ในวงกว้างเพราะผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางช่างนับวันจะหมดไป ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นผู้สูงอายุเป็นส่วนมาก
การถ่ายทอดให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบจะเป็นการส่งเสริมเผยแพร่ให้ตระหนักในคุณค่าและจะได้ช่วยกันอนุรักษ์ให้คงอยู่ตลอดไป นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถนำไปประกอบอาชีพได้อีกด้วย ประกอบกับขณะนั้นอาคารพระตำหนักและเรือนหลวงต่างๆ ในพระบรมมหาราชวังได้รับการบูรณะซ่อมแซมให้คงสภาพใกล้จะเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงมีพระราชประสงค์ให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นในเพื่อสอนวิชาช่างประดิษฐ์ของบสตรีดังกล่าว และพระราชทานพระราชานุญาตให้ดัดแปลงอาคารเรือนห้องเครื่องสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเป็นอาคารเรียน
สำนักพระราชวังได้ติดต่อกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ขอให้จัดตั้งโรงเรียนผู้ใหญ่พระตำหนักสวนกุหลาบ(วิทยาลัยในวัง) กรมการศึกษานอกโรงเรียนจึงได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนดังกล่าวขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2529 และเริ่มเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2529 เป็นต้นมา
ต่อมาเมื่อนักศึกษามากขึ้น สถานที่คับแคบลง โรงเรียนได้รับพระราชทานพระราชาณุญาตให้ย้ายมาอยู่ ณ สถานที่ปัจจุบัน (ซึ่งเคยเป็นพระตำหนักที่ประทับของเจ้าจอมมารดาและพระราชธิดา ในรัชกาลที่ 5) ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2532
หลักสูตร
1. วิชาอาหารและขนม
นักศึกษาจได้เรียนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาหารและขนม อาหารคาว ประเภทแกง ต้ม ตุ๋น ผัด ยำพล่า ย่าง อบ ทอด เครื่องจิ้ม และ อาหารจานเดียว อาหารหวาน มีประเภท ปิ้ง ย่าง อบ กวน เชื่อม ฉาบ ทอด ต้ม นึ่ง ประเภทใส่น้ำหวาน ไอศครีม เครื่องดื่ม และอาหารว่าง
นอกจากนี้ยังมีการแกะสลักผัก ผลไม้ ตลอดจนการถนอมอาหารประเภทต่างๆ การบริการอาหารในโอกาสต่างๆ
2. วิชาช่างดอกไม้สด
เรียนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดอกไม้สด การร้อยมาลัยแบบต่างๆ การจัดพานดอกไม้ การปักพุ่ม การทำเครื่องห้อย เครื่องแขวน การทำดอกไม้ประดิษฐ์จากดอกไม้สด การทำส่วนประกอบงานดอกไม้สด เช่น ร้อยอุบะ ร้อยตาข่าย ร้อยเฟื่อง เย็บแบบ เย็บเข็ม เย็บโบว์ ทำดอกข่า และการจัดดอกไม้สดในงานพิธีต่างๆ
3. วิชาช่างปักสะดึง
เรียนความรู้เบื้องต้นของการปักสะดึง ตั้งแต่การทำแม่สะดึง ทำขาสะดึง การขึงผ้า การลอกลาย การหนุนลาย การปักไหม การปักไหมทอง การปักดิ้น ปักเลื่อม ปักมุก การหักทองแร่ง เงินแร่ง การปักโดยใช้วัสดุหลายอย่างประกอบกัน การประดิษฐ์เครื่องใช้เครื่องประกอบการปัก
วิชาเลือก
นักศึกษาทุกคนต้องเลือกเรียนอีก 1 วิชาเลือก คือ
1. การพับผ้าเช็ดหน้าเป็นรูปสัตว์
2. การประดิษฐ์ใบตอง
3. การทำบายศรี
4. การทำเครื่องหอม (เทียนอบ น้ำอบไทย แป้งร่ำ บุหงา)
5. การประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง
ครูผู้สอน
ครูผู้สอนส่วนใหญ่เป็นผู้ชำนาญการในวังประมาณ 25 คน ปฏิบัติราชการอยู่ในฝ่ายพระราชฐานชั้นใน สำนักพระราชวัง มีคุณเพ็ญศรี เขียวมีส่วน เป็นอาจารย์ใหญ่ ครูผู้สอนจะผลัดเปลี่ยนกันมาสอนในช่วงเวลาที่ออกเวรยาม แต่ในด้านวิชาอาหารและขนมนั้น โรงเรียนได้เชิญอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันต่างๆ มาช่วยทำการสอนเพิ่มเติมด้วยตลอดเวลา
การรับนักศึกษา
โรงเรียนเปิดรับสมัครเฉพาะนักศีกษาหญิงไม่จำกัดความรู้แต่ต้องมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จะเปิดรับสมัครประมาณต้นเดือนเมษายนของทุกปี รับนักศึกษาวิชาละ 30 คน จะคัดเลือกโดยวิธีการสัมภาษณ์หรืออื่นๆ ตามที่เห็นสมควร
ที่ตั้งของโรงเรียน
ฝ่ายพระราชฐานชั้นใน ในพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร. 0-2224-9471 และ 0-2224-9477-80 ต่อ 8471,5708
หลักฐานในการสมัคร
1. สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมฉบับจริง
2. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมฉบับจริง
3. สำเนาวุฒิการศึกษา พร้อมฉบับจริง
4. รูปถ่าย 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป
ค่าใช้จ่าย
โรงเรียนไม่เรียกเก็บเงินค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง หรือค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น แต่นักศึกษาจะต้องจัดหาวัสดุในการเรียนมาเอง
เวลาเรียน
โรงเรียนเปิดทำการสอนปีละ 2 ภาคเรียน คือ
ภาคเรียนที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม ถึง 19 ตุลาคม
ภาคเรียนที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ถึง 31 มีนาคม
เวลาเรียน ตั้งแต่ 8.00 -12.00 น. วันจันทร์ถึงวันศุกร์ หยุดเรียนวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดตามนักขัตฤกษ์
การประเมินผล
พิจารณาจากเวลาเรียนแต่ละรายวิชาไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซนต์ ผลการเรียนมีระดับไม่ต่ำกว่า 2 ทุกรายวิชา และทำกิจกรรมครบตามที่โรงเรียนกำหนด
การออกประกาศนียบัตร
โรงเรียนจะออกประกาศนียบัตรให้เมื่อนักศึกษาเรียนผ่านจบตามหลักสูตรแล้ว
คำถามที่อยากทราบน่ะค่ะ คือว่า ถ้าสมมติ เราเรียนจบไปแล้ว 1 ปี สามารถกลับมาเรียนหลักสูตรอื่นได้อีปรึเปล่าค่ะ