ถ้าพูดถึงผู้สร้าง Animation ที่โดดเด่นของญี่ปุ่น บุคคลที่ติดโผย่อมมีชื่อของ
Satoshi Kon แห่งสตูดิโอ Mad House อย่างแน่นอน เนื่องด้วยเรื่องที่เขาสร้างแต่ละเรื่องนั้นล้วนแสดงให้เห็นว่าฝีมือไม่ธรรมดา ไม่ว่าจะเนื้อเรื่องหรือลักษณะการกำกับและตัดต่อภาพที่มีสไตล์โดดเด่นเป็นของตนเอง ถึงขั้นมีผู้กำกับชื่อดังฝั่งฮอลลีวูดได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ของเขาและนำไปปรับใช้กับภาพยนตร์ของตนเองถึงสองคน และถ้าใครเคยดูมาก่อนจะรู้ว่า หนังของเขามันไม่เหมือน Anime ค่ายอื่นๆ ที่เคยดูมาเลย เนื้อเรื่องโดยส่วนใหญ่ไม่ใช่สำหรับเด็ก และบางเรื่องก็ออกแนวดราม่าจิตวิทยาหนักๆ ด้วยซ้ำ เรียกว่าเป็นด้านตรงข้ามของดิสนีย์ก็ยังได้
เราเคยได้ดูทั้งสามเรื่อง ได้แก่ Perfect Blue (1997), Millennium Actress (2001) และ Paprika (2006) อาจจะแปลกเพราะที่จริงเราดูจากใหม่สุดย้อนกลับไปเก่าสุด ส่วนเรื่อง Tokyo Godfathers (2003) เคยดูผ่านๆ ทางช่องเคเบิ้ล ซึ่งจำเรื่องราวได้ไม่หมด จึงขอยังไม่พูดถึงในบทความนี้
ขอแนะนำสามเรื่องนี้แบบไม่สปอยล์ และถ้ามีโอกาสอาจจะเขียนถึงแต่ละเรื่องในแบบที่วิเคราะห์ละเอียดกว่านี้อีกครั้ง
...
Perfect Blue (1997)
เรื่องราวของไอดอลสาวชื่อมิมะ ที่ตัดสินใจออกจากวงเกิร์ลกรุ๊ปแล้วก้าวเข้าสู่วงการนักแสดงเต็มตัว เธอต้องทุ่มเทเอาตัวเข้าแลก เล่นฉากฉาวแรงๆ และทิ้งภาพลักษณ์ใสๆ ไป เธอสับสนเนื่องจากตัวตนก่อนหน้าและปัจจุบันของเธอต่างกันสุดขั้ว จนเริ่มเกิดภาพหลอนว่าตัวตนของเธอเป็นแบบใดกันแน่ ในขณะเดียวกันเธอก็ถูก Stalker หรือแฟนคลับโรคจิตไล่ติดตามเนื่องจากรับไม่ได้ที่ภาพลักษณ์สดใสของไอดอลสาวที่ตนเองชื่นชมต้องแปดเปื้อน ทั้งยังลงมือไล่ฆ่าบุคคลที่ทำให้มิมะต้องเป็นเช่นนี้ หนังดำเนินเรื่องในแบบ psychological horror ว่าใครคือฆาตกรกันแน่ และเผยให้เห็นถึงปมทางจิตของตัวละครหลักๆ
ประเด็นของหนังเกี่ยวกับดาราไอดอลและแฟนคลับโรคจิตก็ยังร่วมสมัยอยู่ หยิบมาดูในปัจจุบันนี้ก็ยังอินได้ เนื้อหาหนังค่อนข้างหนักและมีฉากรุนแรงอยู่ประมาณหนึ่ง (ไม่ใช่การ์ตูนที่เด็กดูได้) ไม่สามารถดูอย่างสบายอารมณ์ รวมทั้งมีหลายฉากที่ตัดต่อให้คนดูสับสนว่าเรื่องไหนคือเรื่องจริง ฉากไหนคือการแสดงละคร และฉากใดเป็นความฝันหรือจินตนาการของนางเอก เราว่าวิธีการตัดต่อค่อนข้างแปลกใหม่และไม่ค่อยเห็นมากในยุคนั้น กล่าวคือเป็นการตัดภาพระหว่างความจริงกับความฝันแบบต่อเนื่องกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ดูแล้วต้องตั้งสติพอสมควร ถ้าให้เทียบความหนักและซับซ้อนของหนัง น่าจะใกล้เคียงกับเรื่อง Black Swan
อันที่จริงแล้ว ประเด็นนี้มีคนโต้เถียงกันเยอะมากว่า Black Swan ลอกเรื่องนี้ไปหรือเปล่า เพราะลักษณะการดำเนินเรื่องและการตัดต่อมีความคล้ายคลึงสูง มีคนเทียบฉากต่อฉากของหนังสองเรื่องนี้ว่ามีฉากที่คล้ายกันเยอะ แต่ตัว Darren Aronofsky ซึ่งเป็นผู้กำกับ เรื่อง Black Swan ได้พูดในเชิงปฏิเสธประเด็นนี้ไป อย่างไรก็ตาม ในเว็บไซต์ imdb ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า Darren Aronofsky เคยซื้อลิขสิทธิ์จากเรื่อง Perfect Blue เพื่อนำฉากๆ เดียวไปใส่ในหนังของเขาเรื่อง Requiem for a Dream (คือฉากที่ผู้หญิงตะโกนในอ่างอาบน้ำ) เพราะฉะนั้น ถ้าเรื่อง Black Swan จะได้รับอิทธิพลมาจากเรื่อง Perfect Blue ก็ไม่แปลกนัก ส่วนตัวเรานะ เรามองว่าโทนหนังค่อนข้างคล้ายมาก เนื้อเรื่องไม่ถึงขั้นลอก แต่ลักษณะที่ตัวละครหลักกดดัน และต้องเผชิญกับปัญหาทางจิตนี่เรียกว่าได้รับอิทธิพลมาพอสมควร
Millennium Actress (2001)
เมื่อนักแสดงสาวที่กำลังโด่งดัง จู่ๆ ก็ออกจากวงการกระทันหันแล้วเก็บตัวเงียบเป็นเวลา 30 ปี จนเมื่ออายุ 70 จึงยอมออกมาเล่าเรื่องในอดีตให้กับรายการสารคดีหนึ่ง เธอมีเหตุผลอะไรที่ยอมเล่าหลังจากเก็บเงียบเป็นเวลานาน และเหตุผลใดกันที่ทำให้เธอเข้าวงการภาพยนตร์และหายหน้าหายตาไปในขณะที่กำลังรุ่งที่สุด
เรื่องนี้นับว่าใช้ความเป็นอนิเมชั่นในการเล่าเรื่องได้คุ้มค่าจริงๆ ถ้าเป็นหนังประเภทคนแสดงคงถ่ายทอดออกมาได้ไม่ดีเท่านี้ และอาจทำให้รู้สึกลักลั่นพิกลด้วยซ้ำ เราดูแล้วรู้สึกทึ่งกับวิธีการเล่าเรื่องของเขา ซาโตชิ คง ยังใช้เทคนิคการเล่าเรื่องและตัดต่อฉากคล้าย Perfect Blue แต่เพิ่มความเหนือชั้นโดยการเล่าเรื่อง 3 ไทม์ไลน์ไปพร้อมกันในซีนเดียว นั่นหมายความว่า เราดูแค่ฉากเดียว แต่เราจะเห็น 3 ช่วงชีวิตของนางเอกไปพร้อมกันได้ (อยากอธิบายให้เข้าใจมากกว่านี้แต่เกรงว่าจะเป็นการสปอยล์เนื้อเรื่องหมด)
ส่วนเนื้อเรื่องจะพูดถึงความรักของผู้หญิงคนหนึ่ง โดยเล่าผ่านประวัติศาสตร์ของวงการภาพยนตร์ญี่ปุ่น ตอนแรกเราไม่ค่อยชอบเนื้อเรื่องเท่าไรนะ นางเอกยึดมั่นกับความรักสมัยยังสาว ซึ่งเป็นความรักแบบชั่วข้ามคืนและรักกันตลอดกาล เรารู้สึกว่านางเอกดูเพ้อและยึดติดเกินไปอย่างไม่ค่อยมีเหตุผลเท่าไรนัก แต่พอมาถึงตอนจบ คำพูดสุดท้ายของนางเอกประโยคเดียวทำให้เรารู้สึกว่าหนังทั้งเรื่องสมเหตุสมผลขึ้นมาทันที และคลี่คลายปมและความคิดของนางเอกได้กระจ่างที่สุด ก็เลยนับว่าเป็นอีกเรื่องที่น่าประทับใจเหมือนกัน
Paprika (2006)
เนื้อเรื่องแนวไซไฟ เล่าเรื่องในอนาคตที่มีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์อย่างหนึ่งที่ทำให้คนเข้าไปในความฝันได้ ดร. ชิบะ หัวหน้าทีมวิจัยได้ทดลองใช้อุปกรณ์นี้เพื่อรักษาคนไข้ผ่านความฝัน ตัวปาปริก้าซึ่งเป็นสาวน้อยมหัศจรรย์ในความฝันนั้น แท้จริงก็คือ ดร. ชิบะ หัวหน้าทีมวิจัยนี้เอง อยู่มาวันหนึ่งอุปกรณ์นี้ก็ถูกขโมย ปาปริก้าต้องนำเครื่องมือนี้กลับมาก่อนที่เส้นแบ่งพรมแดนระหว่างโลกแห่งความฝันและโลกแห่งความจริงจะพังพินาศไป
ที่ผ่านมาซาโตชิ คง ใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบตัดภาพระหว่างจินตนาการ ความฝัน และความจริงให้คนดูสับสน โดยที่คนดูจะมีหน้าที่แยกแยะเองว่าส่วนใดคือความจริง และเชื่อแต่ส่วนที่เป็นความจริงเท่านั้น แต่นี่เป็นครั้งแรกที่เขาหยิบยก "ความฝัน" ที่เกิดขึ้น "จริง" และมีผลต่อความจริงอย่างไม่อาจแยกกันได้มาถ่ายทอดให้พวกเราได้ดู เพราะฉะนั้นความฝันในเรื่องก็คือความจริงนั่นล่ะ คนดูไม่สามารถแยกแยะได้อีกต่อไป หากแต่ต้องตีความทั้งฉากความฝันและความจริงเพื่อให้เข้าใจ ฟังแล้วน่าจะเป็นภาระใหญ่หลวงต่อคนดู แถมยิ่งซับซ้อนไปกันใหญ่ใช่ไหม ใช่แล้ว เราว่านี่เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แต่ก็น่าทึ่งที่สุดของเขาเลยทีเดียว
เรื่องนี้การตัดต่อภาพก็ยังคงโดดเด่นเหมือนเช่นเคย แถมด้วยความที่เรื่องเล่าเกี่ยวกับความฝันและจินตนาการ ยิ่งทำให้ขอบเขตของการตัดต่อภาพไปไกลอีกระดับหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่นฉากเปิดเรื่องที่เป็นภาพสาวน้อยปาปริก้านั่งมอเตอร์ไซต์ไปตามถนนและเมื่อเห็นรถบรรทุกผ่านมา เธอก็เข้าไปในลายข้างรถบรรทุกนั้น หรือฉากเธอเดินออกจากร้านอาหารสวนกับชายคนหนึ่ง เธอก็กลายไปอยู่ในลายเสื้อยืดของเขาซะงั้น เป็นต้น ฉากบ้าๆ บอๆ เต็มไปด้วยความประหลาดมีมากมาย ฉากที่เราว่าโดดเด่นสุดและน่าประทับใจสุดคือฉากขบวนพาเหรด อันเต็มไปด้วยความพิศดารและน่ามหัศจรรย์ของสิ่งของสารพัน ซึ่งสะท้อนภาพความฝันของมนุษย์ได้ชัดเจนยิ่ง เรียกว่าต่อให้ดูแล้วไม่เข้าใจ คนดูก็ต้องประทับใจกับจินตนาการอันแสนจะบรรเจิดของหนังเรื่องนี้ไม่มากก็น้อยล่ะ อ้อ เพลงประกอบก็แหวกแนวมากด้วย เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้
นอกจากนี้ ภาพยนตร์อนิเมะเรื่องนี้ได้ไปเตะตาฝั่งฮอลลีวูด จนกระทั่ง Christopher Nolan ผู้กำกับชื่อดังยอมรับว่า เรื่อง Paprika เป็นแรงบันดาลใจให้เขาสร้างภาพยนตร์เรื่อง Inception ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอุปกรณ์เข้าสู่ความฝันเช่นกัน มีหลายเว็บเทียบฉากบางฉากที่คล้ายๆ กันอยู่ให้เห็น เช่น ฉากลิฟต์ หรือฉากเอามือจับกระจกกลางถนน
โลกแห่งความจริง vs โลกแห่งจินตนาการ
ทั้งสามเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ล้วนพูดถึงโลกแห่งจินตนาการหรือความฝันและโลกแห่งความจริง เราว่ามันเป็นแก่นเรื่องหลักที่ซาโตชิ คง ต้องการนำเสนอ อย่างเรื่องแรก
Perfect Blue คือเรื่องของดาราไอดอล ซึ่งอยู่ในโลกแห่งวงการบันเทิง ชีวิตของเธอมีทั้งฉากหน้า (ต่อคนดูและแฟนคลับ) และฉากหลัง (ชีวิตประจำวัน) แยกกัน หากไม่สามารถคงความสมดุลไว้ได้ก็จะกลายเป็นแบบนางเอกที่เผชิญกับโรคบุคลิกภาพแตกแยก จนแยกแยะความจริงออกจากความฝันไม่ได้ หรือ
Millennium Actress เรื่องที่สองนั้น เป็นการเล่าเรื่องย้อนหลังของนางเอกวัยชรา เพราะฉะนั้นก็จะมีโลกปัจจุบัน และโลกอดีต ซึ่งก็คือความทรงจำของนางเอกเมื่อนึกย้อนกลับไป เราคนดูก็ไม่อาจทราบได้ว่ามีความจริงอยู่สักกี่เปอร์เซนต์ อาจมีบางส่วนแต่งแต้มลงไปตามจินตนาการที่เธอเชื่อว่าเกิดขึ้นจริงก็ได้ และเรื่องที่สาม
Paprika นั้น ก็คือเรื่องราวที่ขับเคลื่อนไปด้วยความจริงและความฝันประกอบกัน
อาจสังเกตได้ว่าเราได้พูดชมเชยถึงการตัดต่อภาพในทั้งสามเรื่อง นั่นเป็นเพราะว่าผู้กำกับได้ใช้กลวิธีการตัดต่อเพื่อเน้นแก่นเรื่องให้คนดูเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ซาโตชิ คง อาจเชื่อว่า เราไม่สามารถแยกความจริงกับความฝัน (หรือจินตนาการ) ออกจากกันได้ชัดเจน บางขณะเมื่อเราฝัน ก็ไม่แน่ใจว่าช่วงเวลานั้นคือความฝันหรือความจริง และบางขณะในความจริงเราก็อดคิดไม่ได้ว่านี่คือฝันหรือเปล่า แม้กระทั่งความทรงจำที่เราเชื่อว่าจริง มันก็อาจบิดเบือนไปตามอคติของเราก็ได้ โลกความจริงและจินตนาการไม่ได้มีเส้นขีดแบ่งชัดเจนกันขนาดนั้น ถ้าให้เปรียบก็เหมือนกับเป็นวงกลมสองวงที่มีบางส่วนซ้อนทับกันมากกว่า และวิธีการตัดต่อเรื่องของเขาสะท้อนให้เราเห็นประเด็นนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น
หลังจากดูทั้งสามเรื่องมาแล้ว เรายิ่งเสียดายบุคคลคุณภาพคนนี้มาก เพราะเราทราบข่าวมาก่อนหน้านานแล้วว่าเขาเสียชีวิตไปด้วยโรคมะเร็งเมื่ออายุเพียง 47 ปี ในเดือนสิงหาคม ปี 2010 เราเสียดายที่จะไม่ได้ชมผลงานของเขาอีก เพราะเมื่อไล่เรียงแต่ละเรื่อง ฝีมือของเขาพัฒนาขึ้นและไอเดียก็สร้างสรรค์ขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ผลงานของเขาก็ยังคงมีคุณค่าให้เสพย์และศึกษา และหวังว่าคงเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้กำกับอนิเมเตอร์รุ่นใหม่ๆ ต่อไป
เขียนโดย: ฟุ้งซ่านจัง
ที่มา: https://revieweryclub.wordpress.com/2016/09/12/satoshi-kon-animations/
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.imdb.com/title/tt0156887/trivia?tr=tr0739728
http://www.cracked.com/article_19443_7-classic-movies-you-didnt-know-were-rip-offs.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Satoshi_Kon
หากสนใจเกี่ยวกับซาโตชิ คง ผู้กำกับอนิเมเตอร์คนนี้ แนะนำกระทู้นี้
= รำลึกถึงผู้กำกับอนิเมะระดับตำนาน "ซาโตชิ คง" =
http://ppantip.com/topic/31407222
Satoshi Kon เพชรน้ำงามแห่งวงการอนิเมชั่น
ถ้าพูดถึงผู้สร้าง Animation ที่โดดเด่นของญี่ปุ่น บุคคลที่ติดโผย่อมมีชื่อของ Satoshi Kon แห่งสตูดิโอ Mad House อย่างแน่นอน เนื่องด้วยเรื่องที่เขาสร้างแต่ละเรื่องนั้นล้วนแสดงให้เห็นว่าฝีมือไม่ธรรมดา ไม่ว่าจะเนื้อเรื่องหรือลักษณะการกำกับและตัดต่อภาพที่มีสไตล์โดดเด่นเป็นของตนเอง ถึงขั้นมีผู้กำกับชื่อดังฝั่งฮอลลีวูดได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ของเขาและนำไปปรับใช้กับภาพยนตร์ของตนเองถึงสองคน และถ้าใครเคยดูมาก่อนจะรู้ว่า หนังของเขามันไม่เหมือน Anime ค่ายอื่นๆ ที่เคยดูมาเลย เนื้อเรื่องโดยส่วนใหญ่ไม่ใช่สำหรับเด็ก และบางเรื่องก็ออกแนวดราม่าจิตวิทยาหนักๆ ด้วยซ้ำ เรียกว่าเป็นด้านตรงข้ามของดิสนีย์ก็ยังได้
เราเคยได้ดูทั้งสามเรื่อง ได้แก่ Perfect Blue (1997), Millennium Actress (2001) และ Paprika (2006) อาจจะแปลกเพราะที่จริงเราดูจากใหม่สุดย้อนกลับไปเก่าสุด ส่วนเรื่อง Tokyo Godfathers (2003) เคยดูผ่านๆ ทางช่องเคเบิ้ล ซึ่งจำเรื่องราวได้ไม่หมด จึงขอยังไม่พูดถึงในบทความนี้
ขอแนะนำสามเรื่องนี้แบบไม่สปอยล์ และถ้ามีโอกาสอาจจะเขียนถึงแต่ละเรื่องในแบบที่วิเคราะห์ละเอียดกว่านี้อีกครั้ง
...
Perfect Blue (1997)
เรื่องราวของไอดอลสาวชื่อมิมะ ที่ตัดสินใจออกจากวงเกิร์ลกรุ๊ปแล้วก้าวเข้าสู่วงการนักแสดงเต็มตัว เธอต้องทุ่มเทเอาตัวเข้าแลก เล่นฉากฉาวแรงๆ และทิ้งภาพลักษณ์ใสๆ ไป เธอสับสนเนื่องจากตัวตนก่อนหน้าและปัจจุบันของเธอต่างกันสุดขั้ว จนเริ่มเกิดภาพหลอนว่าตัวตนของเธอเป็นแบบใดกันแน่ ในขณะเดียวกันเธอก็ถูก Stalker หรือแฟนคลับโรคจิตไล่ติดตามเนื่องจากรับไม่ได้ที่ภาพลักษณ์สดใสของไอดอลสาวที่ตนเองชื่นชมต้องแปดเปื้อน ทั้งยังลงมือไล่ฆ่าบุคคลที่ทำให้มิมะต้องเป็นเช่นนี้ หนังดำเนินเรื่องในแบบ psychological horror ว่าใครคือฆาตกรกันแน่ และเผยให้เห็นถึงปมทางจิตของตัวละครหลักๆ
ประเด็นของหนังเกี่ยวกับดาราไอดอลและแฟนคลับโรคจิตก็ยังร่วมสมัยอยู่ หยิบมาดูในปัจจุบันนี้ก็ยังอินได้ เนื้อหาหนังค่อนข้างหนักและมีฉากรุนแรงอยู่ประมาณหนึ่ง (ไม่ใช่การ์ตูนที่เด็กดูได้) ไม่สามารถดูอย่างสบายอารมณ์ รวมทั้งมีหลายฉากที่ตัดต่อให้คนดูสับสนว่าเรื่องไหนคือเรื่องจริง ฉากไหนคือการแสดงละคร และฉากใดเป็นความฝันหรือจินตนาการของนางเอก เราว่าวิธีการตัดต่อค่อนข้างแปลกใหม่และไม่ค่อยเห็นมากในยุคนั้น กล่าวคือเป็นการตัดภาพระหว่างความจริงกับความฝันแบบต่อเนื่องกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ดูแล้วต้องตั้งสติพอสมควร ถ้าให้เทียบความหนักและซับซ้อนของหนัง น่าจะใกล้เคียงกับเรื่อง Black Swan
อันที่จริงแล้ว ประเด็นนี้มีคนโต้เถียงกันเยอะมากว่า Black Swan ลอกเรื่องนี้ไปหรือเปล่า เพราะลักษณะการดำเนินเรื่องและการตัดต่อมีความคล้ายคลึงสูง มีคนเทียบฉากต่อฉากของหนังสองเรื่องนี้ว่ามีฉากที่คล้ายกันเยอะ แต่ตัว Darren Aronofsky ซึ่งเป็นผู้กำกับ เรื่อง Black Swan ได้พูดในเชิงปฏิเสธประเด็นนี้ไป อย่างไรก็ตาม ในเว็บไซต์ imdb ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า Darren Aronofsky เคยซื้อลิขสิทธิ์จากเรื่อง Perfect Blue เพื่อนำฉากๆ เดียวไปใส่ในหนังของเขาเรื่อง Requiem for a Dream (คือฉากที่ผู้หญิงตะโกนในอ่างอาบน้ำ) เพราะฉะนั้น ถ้าเรื่อง Black Swan จะได้รับอิทธิพลมาจากเรื่อง Perfect Blue ก็ไม่แปลกนัก ส่วนตัวเรานะ เรามองว่าโทนหนังค่อนข้างคล้ายมาก เนื้อเรื่องไม่ถึงขั้นลอก แต่ลักษณะที่ตัวละครหลักกดดัน และต้องเผชิญกับปัญหาทางจิตนี่เรียกว่าได้รับอิทธิพลมาพอสมควร
Millennium Actress (2001)
เมื่อนักแสดงสาวที่กำลังโด่งดัง จู่ๆ ก็ออกจากวงการกระทันหันแล้วเก็บตัวเงียบเป็นเวลา 30 ปี จนเมื่ออายุ 70 จึงยอมออกมาเล่าเรื่องในอดีตให้กับรายการสารคดีหนึ่ง เธอมีเหตุผลอะไรที่ยอมเล่าหลังจากเก็บเงียบเป็นเวลานาน และเหตุผลใดกันที่ทำให้เธอเข้าวงการภาพยนตร์และหายหน้าหายตาไปในขณะที่กำลังรุ่งที่สุด
เรื่องนี้นับว่าใช้ความเป็นอนิเมชั่นในการเล่าเรื่องได้คุ้มค่าจริงๆ ถ้าเป็นหนังประเภทคนแสดงคงถ่ายทอดออกมาได้ไม่ดีเท่านี้ และอาจทำให้รู้สึกลักลั่นพิกลด้วยซ้ำ เราดูแล้วรู้สึกทึ่งกับวิธีการเล่าเรื่องของเขา ซาโตชิ คง ยังใช้เทคนิคการเล่าเรื่องและตัดต่อฉากคล้าย Perfect Blue แต่เพิ่มความเหนือชั้นโดยการเล่าเรื่อง 3 ไทม์ไลน์ไปพร้อมกันในซีนเดียว นั่นหมายความว่า เราดูแค่ฉากเดียว แต่เราจะเห็น 3 ช่วงชีวิตของนางเอกไปพร้อมกันได้ (อยากอธิบายให้เข้าใจมากกว่านี้แต่เกรงว่าจะเป็นการสปอยล์เนื้อเรื่องหมด)
ส่วนเนื้อเรื่องจะพูดถึงความรักของผู้หญิงคนหนึ่ง โดยเล่าผ่านประวัติศาสตร์ของวงการภาพยนตร์ญี่ปุ่น ตอนแรกเราไม่ค่อยชอบเนื้อเรื่องเท่าไรนะ นางเอกยึดมั่นกับความรักสมัยยังสาว ซึ่งเป็นความรักแบบชั่วข้ามคืนและรักกันตลอดกาล เรารู้สึกว่านางเอกดูเพ้อและยึดติดเกินไปอย่างไม่ค่อยมีเหตุผลเท่าไรนัก แต่พอมาถึงตอนจบ คำพูดสุดท้ายของนางเอกประโยคเดียวทำให้เรารู้สึกว่าหนังทั้งเรื่องสมเหตุสมผลขึ้นมาทันที และคลี่คลายปมและความคิดของนางเอกได้กระจ่างที่สุด ก็เลยนับว่าเป็นอีกเรื่องที่น่าประทับใจเหมือนกัน
Paprika (2006)
เนื้อเรื่องแนวไซไฟ เล่าเรื่องในอนาคตที่มีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์อย่างหนึ่งที่ทำให้คนเข้าไปในความฝันได้ ดร. ชิบะ หัวหน้าทีมวิจัยได้ทดลองใช้อุปกรณ์นี้เพื่อรักษาคนไข้ผ่านความฝัน ตัวปาปริก้าซึ่งเป็นสาวน้อยมหัศจรรย์ในความฝันนั้น แท้จริงก็คือ ดร. ชิบะ หัวหน้าทีมวิจัยนี้เอง อยู่มาวันหนึ่งอุปกรณ์นี้ก็ถูกขโมย ปาปริก้าต้องนำเครื่องมือนี้กลับมาก่อนที่เส้นแบ่งพรมแดนระหว่างโลกแห่งความฝันและโลกแห่งความจริงจะพังพินาศไป
ที่ผ่านมาซาโตชิ คง ใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบตัดภาพระหว่างจินตนาการ ความฝัน และความจริงให้คนดูสับสน โดยที่คนดูจะมีหน้าที่แยกแยะเองว่าส่วนใดคือความจริง และเชื่อแต่ส่วนที่เป็นความจริงเท่านั้น แต่นี่เป็นครั้งแรกที่เขาหยิบยก "ความฝัน" ที่เกิดขึ้น "จริง" และมีผลต่อความจริงอย่างไม่อาจแยกกันได้มาถ่ายทอดให้พวกเราได้ดู เพราะฉะนั้นความฝันในเรื่องก็คือความจริงนั่นล่ะ คนดูไม่สามารถแยกแยะได้อีกต่อไป หากแต่ต้องตีความทั้งฉากความฝันและความจริงเพื่อให้เข้าใจ ฟังแล้วน่าจะเป็นภาระใหญ่หลวงต่อคนดู แถมยิ่งซับซ้อนไปกันใหญ่ใช่ไหม ใช่แล้ว เราว่านี่เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แต่ก็น่าทึ่งที่สุดของเขาเลยทีเดียว
เรื่องนี้การตัดต่อภาพก็ยังคงโดดเด่นเหมือนเช่นเคย แถมด้วยความที่เรื่องเล่าเกี่ยวกับความฝันและจินตนาการ ยิ่งทำให้ขอบเขตของการตัดต่อภาพไปไกลอีกระดับหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่นฉากเปิดเรื่องที่เป็นภาพสาวน้อยปาปริก้านั่งมอเตอร์ไซต์ไปตามถนนและเมื่อเห็นรถบรรทุกผ่านมา เธอก็เข้าไปในลายข้างรถบรรทุกนั้น หรือฉากเธอเดินออกจากร้านอาหารสวนกับชายคนหนึ่ง เธอก็กลายไปอยู่ในลายเสื้อยืดของเขาซะงั้น เป็นต้น ฉากบ้าๆ บอๆ เต็มไปด้วยความประหลาดมีมากมาย ฉากที่เราว่าโดดเด่นสุดและน่าประทับใจสุดคือฉากขบวนพาเหรด อันเต็มไปด้วยความพิศดารและน่ามหัศจรรย์ของสิ่งของสารพัน ซึ่งสะท้อนภาพความฝันของมนุษย์ได้ชัดเจนยิ่ง เรียกว่าต่อให้ดูแล้วไม่เข้าใจ คนดูก็ต้องประทับใจกับจินตนาการอันแสนจะบรรเจิดของหนังเรื่องนี้ไม่มากก็น้อยล่ะ อ้อ เพลงประกอบก็แหวกแนวมากด้วย เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้
นอกจากนี้ ภาพยนตร์อนิเมะเรื่องนี้ได้ไปเตะตาฝั่งฮอลลีวูด จนกระทั่ง Christopher Nolan ผู้กำกับชื่อดังยอมรับว่า เรื่อง Paprika เป็นแรงบันดาลใจให้เขาสร้างภาพยนตร์เรื่อง Inception ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอุปกรณ์เข้าสู่ความฝันเช่นกัน มีหลายเว็บเทียบฉากบางฉากที่คล้ายๆ กันอยู่ให้เห็น เช่น ฉากลิฟต์ หรือฉากเอามือจับกระจกกลางถนน
โลกแห่งความจริง vs โลกแห่งจินตนาการ
ทั้งสามเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ล้วนพูดถึงโลกแห่งจินตนาการหรือความฝันและโลกแห่งความจริง เราว่ามันเป็นแก่นเรื่องหลักที่ซาโตชิ คง ต้องการนำเสนอ อย่างเรื่องแรก Perfect Blue คือเรื่องของดาราไอดอล ซึ่งอยู่ในโลกแห่งวงการบันเทิง ชีวิตของเธอมีทั้งฉากหน้า (ต่อคนดูและแฟนคลับ) และฉากหลัง (ชีวิตประจำวัน) แยกกัน หากไม่สามารถคงความสมดุลไว้ได้ก็จะกลายเป็นแบบนางเอกที่เผชิญกับโรคบุคลิกภาพแตกแยก จนแยกแยะความจริงออกจากความฝันไม่ได้ หรือ Millennium Actress เรื่องที่สองนั้น เป็นการเล่าเรื่องย้อนหลังของนางเอกวัยชรา เพราะฉะนั้นก็จะมีโลกปัจจุบัน และโลกอดีต ซึ่งก็คือความทรงจำของนางเอกเมื่อนึกย้อนกลับไป เราคนดูก็ไม่อาจทราบได้ว่ามีความจริงอยู่สักกี่เปอร์เซนต์ อาจมีบางส่วนแต่งแต้มลงไปตามจินตนาการที่เธอเชื่อว่าเกิดขึ้นจริงก็ได้ และเรื่องที่สาม Paprika นั้น ก็คือเรื่องราวที่ขับเคลื่อนไปด้วยความจริงและความฝันประกอบกัน
อาจสังเกตได้ว่าเราได้พูดชมเชยถึงการตัดต่อภาพในทั้งสามเรื่อง นั่นเป็นเพราะว่าผู้กำกับได้ใช้กลวิธีการตัดต่อเพื่อเน้นแก่นเรื่องให้คนดูเข้าใจได้ง่ายขึ้น ซาโตชิ คง อาจเชื่อว่า เราไม่สามารถแยกความจริงกับความฝัน (หรือจินตนาการ) ออกจากกันได้ชัดเจน บางขณะเมื่อเราฝัน ก็ไม่แน่ใจว่าช่วงเวลานั้นคือความฝันหรือความจริง และบางขณะในความจริงเราก็อดคิดไม่ได้ว่านี่คือฝันหรือเปล่า แม้กระทั่งความทรงจำที่เราเชื่อว่าจริง มันก็อาจบิดเบือนไปตามอคติของเราก็ได้ โลกความจริงและจินตนาการไม่ได้มีเส้นขีดแบ่งชัดเจนกันขนาดนั้น ถ้าให้เปรียบก็เหมือนกับเป็นวงกลมสองวงที่มีบางส่วนซ้อนทับกันมากกว่า และวิธีการตัดต่อเรื่องของเขาสะท้อนให้เราเห็นประเด็นนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น
หลังจากดูทั้งสามเรื่องมาแล้ว เรายิ่งเสียดายบุคคลคุณภาพคนนี้มาก เพราะเราทราบข่าวมาก่อนหน้านานแล้วว่าเขาเสียชีวิตไปด้วยโรคมะเร็งเมื่ออายุเพียง 47 ปี ในเดือนสิงหาคม ปี 2010 เราเสียดายที่จะไม่ได้ชมผลงานของเขาอีก เพราะเมื่อไล่เรียงแต่ละเรื่อง ฝีมือของเขาพัฒนาขึ้นและไอเดียก็สร้างสรรค์ขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ผลงานของเขาก็ยังคงมีคุณค่าให้เสพย์และศึกษา และหวังว่าคงเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้กำกับอนิเมเตอร์รุ่นใหม่ๆ ต่อไป
เขียนโดย: ฟุ้งซ่านจัง
ที่มา: https://revieweryclub.wordpress.com/2016/09/12/satoshi-kon-animations/
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.imdb.com/title/tt0156887/trivia?tr=tr0739728
http://www.cracked.com/article_19443_7-classic-movies-you-didnt-know-were-rip-offs.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Satoshi_Kon
หากสนใจเกี่ยวกับซาโตชิ คง ผู้กำกับอนิเมเตอร์คนนี้ แนะนำกระทู้นี้
= รำลึกถึงผู้กำกับอนิเมะระดับตำนาน "ซาโตชิ คง" =
http://ppantip.com/topic/31407222