มีวิธีเลี่ยงการติดตั้ง เครื่องตรวจจับความร้อน (Heat Detector) หรือ เครื่องตรวจจับควัน (Smoke Detector) มั้ยครับ

อยากทราบว่า
1. ถ้าอพาทเมนต์ขนาดเกิน 2,000 ตารางเมตร ตามกฎหมายต้องติดตั้งทั้ง เครื่องตรวจจับความร้อน (Heat Detector) หรือ เครื่องตรวจจับควัน (Smoke Detector) ใช่มั้ยครับ
2. ถ้าจำเป็นต้องติดตั้ง เครื่องตรวจจับควัน (Smoke Detector) กลัวว่าลูกค้าแต่ละห้องทำอาหาร แล้วเครื่องจะเตือนตลอด สามารถมีวิธีป้องกันหรือหลีกเลี่ยงมั้ยครับ

ขอบคุณมากครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ไม่ควรจะเลี่ยงอย่างยิ่ง เพราะกฎเกณฑ์เหล่านี้คือกฎแห่งความปลอดภัย
โดยเฉพาะในเป็นหมวดนี้ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยโดยตรง

เหมือนคุณ จขกท จะยังคาใจกับเรื่องประเด็นทางกฎหมายอยู่
จะว่าไปแล้วอาคารขนาดพื้นที่เท่านี้ น่าจะต้องมีบุคลากร เช่นสถาปนิกดูแลอยู่ และต้องใช้ระดับสามัญด้วยซ้ำ
น่าจะให้คำตอบแก่คุณ จขกท ได้เป็นอย่างดี

แต่ในเมื่อถามมา ก็จะลองขอนำตัวข้อกำหนดตามกฎหมายที่ต้องการทราบมาแสดงไว้ ณ ที่นี้ให้

กฎหมายที่เกี่ยวข้องในกรณีนี้ มีอย่างน้อย 2 ฉบับ เรียงลำดับตามการเกี่ยวข้อง

1 กฎกระทรวงฉบับที่ 39 ( 2537) ออกตามความ พรบ ควบคุมอาคาร 2522  ( ป้องกันอัคคีภัย , สาธารณสุข , แสงสว่าง , อากาศ )
2 กฎกระทรวงฉบับที่ 33 ( 2535) ออกตามความ พรบ ควบคุมอาคาร 2522 ( อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสูง)

Brief ให้ก่อนเปิดอ่าน อ่านแล้วลองตรวจทานดูอีกทีนะ

-อพาร์ทเมนท์ จัดเป็นอาคารประเภท"อยู่อาศัยรวม"
-อาคารอยู่อาศัยรวมตั้งแต่ 4 หน่วยขึ้นไป และหอพัก ต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัย (บางอย่าง ได้แก่ เครื่องดับเพลิงมือถือทุกชั้น ฯลฯ)
-ในกรณีนี้มีพื้นที่เกิน 2,000 ตารางเมตร ต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัย (เพิ่มขึ้น ได้แก่ ระบบสัญญานเตือนเพลิงไหม้ ฯลฯ)
-อาคารข้างต้นนี้ถ้าสูงตั้งแต่ 2 ชั้น ต้องมีป้ายบอกชั้น ป้ายบอกทางหนีไฟ และแสงสว่างจากระบบไฟฟ้าฉุกเฉินฯ
-ระบบสัญญานฯ ตามกฎนี้มีหลายประเภท แต่ไม่ได้เจาะจงประเภทย่อย ?

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

เนื่องจากคุณไม่ได้บอกพื้นที่จริงและความสูงของอาคารมาด้วย
เพราะหากอาคารมีความสูงเกิน 23 เมตร จะเข้าข่ายจัดให้เป็นประเภท"อาคารสูง" อีกประเภทด้วย
หรือมีพื้นตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ก็จะเข้าข่ายอาคารขนาดใหญ่พิเศษด้วย

หากเข้าข่ายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือสองอย่างข้างต้น
ก็จะเกี่ยวข้องกฎหมายฉบับที่ 2 ที่กล่าวมาด้วย
ซึ่งจะมีสาระสำคัญโดยสังเขป เช่น

-ต้องเว้นระยะถอยร่นรอบอาคารไม่น้อยกว่า 6 เมตร
-ต้องมีระบบท่อยืน น้ำสำรอง หัวรับน้ำดับเพลิง Sprinkler
-บันไดหนีไฟ อัดอากาศ/ไม่อัดอากาศ ดาดฟ้าหนีภัยไม่น้อยกว่า 10 เมคร
-ฯลฯ เป็นต้น

ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะเข้าข่าย จึงขอยกเฉพาะลิงค์มาให้หากสนใจอยากดูเพิ่มเติม
http://download.asa.or.th/03media/04law/cba/mr35-33.pdf

นอกจากนี้ ถ้าการประกอบกิจการจริงไปเข้าข่ายกิจการ "โรงแรม"
ก็ดูเหมือนน่าจะมีข้อปฏิบัติเพิ่มขึ้นด้วย





สำหรับคำถามข้อ 2
ปกติ จะไม่นิยมติดตั้งเครื่องตรวจจับควัน (Smoke Detector) ในบริเวณครัวอยู่แล้ว
เพราะมีโอกาสผิดพลาดมากกว่า นิยมติดเป็นHeat Detector แทน

ส่วน Smoke detector มักติดในส่วนบริเวณห้องนอน ห้องนั่งเล่น
เพราะเมื่อเกิดอัคคีภัย มักจะเกิดควันไฟก่อนที่ความร้อนสะสมจะเพิ่ม
การแจ้งเตือนเมื่อตรวจพบควันไฟได้ทันทีได้
เป็นการมุ่งความสำคัญในการรักษาชีวิตของผู้อาศัยในขณะที่ไม่ได้ตื่นตัวหรือเตรียมพร้อม(ต่างจากบริเวณครัว)

ยืมรูปจาก PPS มาให้ดู (แต่เรื่องราคาไม่แน่ใจ)

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่