8หุ้นชิงดำไฟฟ้าขยะ50MW กกพ.ประกาศผล28ต.ค.นี้
กกพ.ประกาศผล28ต.ค.นี้
8 หุ้น “GENCO-SUPER-CWT-WHA-GLOW-SCC-BWG-PSTC” ชิงดำไฟฟ้าขยะอุตสาหรรมกรรม 50 MW จับตา “กกพ.” ประกาศผลผู้ชนะเป็นทางการ 28 ต.ค.นี้ โบรกฯแนะโยกลงทุนหุ้นโรงไฟฟ้าขยะ ชี้ผลตอบแทนสูงกว่ากลุ่มโซลาร์ฟาร์ม
จากกรณีภายในช่วงวันที่ 28 ต.ค.นี้ ทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะมีกำหนดประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินโครงการการรับซื้อไฟฟ้าพิเศษจากขยะอุตสาหกรรมในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) จำนวนไม่เกิน 50 MW โดยจากการสำรวจพบว่า มีอยู่ทั้งหมด 8 หลักทรัพย์ที่จะมีโอกาสได้เข้าลงทุนในโครงการนี้
สำหรับกลุ่มหุ้นที่มีลุ้นเข้าลงทุนโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม ได้แก่ 1.บริษัทบริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) หรือ GENCO, 2.บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) หรือ SUPER, 3.บริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CWT
4.บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA ร่วมกับกลุ่มบริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW, 5.บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC, 6.บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) หรือ BWG และ 7.พันธมิตรของบริษัท เพาเวอร์ โซลูชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ PSTC
ทั้งนี้ ผู้ที่ได้ลำดับการยื่นเอกสารเป็นลำดับที่ 1 คือ โครงการของกลุ่ม GENCO ซึ่งจะได้รับการพิจารณาก่อนเป็นลำดับแรก ปริมาณขายไฟฟ้า 8 เมกะวัตต์ (MW) ในนามบริษัท เจนโก้ พลังงานสะอาด จำกัด กำลังการผลิต 9.9 MW และปริมาณขายไฟฟ้า 8 MW และยังยื่นเอกสารลำดับที่ 11 ในนามบริษัท เจนโก้ พลังงานสะอาด จำกัด กำลังการผลิต 9.9 MW และปริมาณขายไฟฟ้า 8 MW ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง
ขณะที่ SUPER ยื่นข้อเสนอทั้งหมด 5 โครงการ ล่าสุดได้มายื่นแล้วทั้งสิ้น 4 โครงการ โดยได้ลำดับยื่นเอกสารที่ 2, 19, 24 และ 25 โดยลำดับที่ 2 ยื่นในนามบริษัท เอ็นเนอร์จี รีพับบลิค จำกัด กำลังการผลิต 4.8 MW ส่วน CWT ได้ลำดับยื่นเอกสารลำดับที่ 3 ในนามบริษัท ชัยวัฒนา กรีน พาวเวอร์ 1 จำกัด ยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้า กำลังการผลิต 8 MW
ด้านบริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) หรือ HEMRAJ ในกลุ่ม WHA ได้ร่วมดำเนินการกับ GLOW ยื่นข้อเสนอทั้งหมด 3 โครงการ รวมทั้งสิ้น 21.8 MW ได้แก่ บริษัท ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ปริมาณขายไฟ 6.9 MW บริษัท โกลว์ เหมราชวินด์ จำกัด ปริมาณขายไฟ 6.9 MW และบริษัท ระยอง คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ปริมาณขายไฟ 8 MW
ส่วนกลุ่ม SCC ยื่นข้อเสนอ 1 โครงการในนามบริษัท อนุรักษ์พลังงานซิเมนต์ไทย จำกัด ได้ลำดับยื่นเอกสารลำดับที่ 18 และตัวแทนของพันธมิตรในกลุ่ม PSTC ได้ยื่นเสนอ 2 โครงการ ขนาดโครงการละ 2.5 MW ได้ลำดับยื่นเอกสารอันดับ 4 และอันดับ 20 และทาง BWG ได้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอเช่นเดียวกัน แต่ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียด
ทั้งนี้ การยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าจากโครงการการรับซื้อไฟฟ้าพิเศษจากขยะอุตสาหกรรมในรูปแบบ FiT เริ่มเปิดรับข้อเสนอมาตั้งแต่วันที่ 22–28 ก.ย.59 มียอดผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 26 ราย คิดเป็นปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งกว่าทั้งสิ้น 200 MW
โดยกำหนดประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกภายในวันที่ 28 ต.ค.59 ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. (www.erc.or.th) ซึ่งภายหลังจากการประกาศผลการคัดเลือกแล้ว ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกห้ามเปลี่ยนแปลงจุดรับซื้อไฟฟ้าหรือจุดเชื่อมโยงไฟฟ้า (Feeder) ประเภทเชื้อเพลิง และขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง และภายใน 120 วัน นับจากวันที่ กกพ.ออกประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือก ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกต้องดำเนินกระบวนการยื่นขออนุญาตต่างๆ เพื่อที่จะสามารถลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้ภายในวันที่ 25 ก.พ.60 และสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ได้ภายในวันที่ 31 ธ.ค.62
:โรงไฟฟ้าขยะผลตอบแทนสูง
ด้านบทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ขณะนี้ได้แนะนำ “Switch” การลงทุนไปยังกลุ่มผู้ประกอบการพลังงานทดแทนที่เน้นการลงทุนในพลังงานชีวมวลและพลังงานขยะในระยะยาว เพราะจะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มโซลาร์ฟาร์ม
โดยเป็นผลมาล่าสุดเมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติปรับลดอัตรารับซื้อไฟฟ้าจาก โซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากหรือ VSPP (กำลังการผลิตน้อยกว่า 10 MW) ในรูปแบบ FIT ลดลง 27.2% สู่ระดับ 4.12 บาทต่อหน่วย จากเดิมที่ราคาขายไฟ 5.66 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 25 ปี เพื่อสะท้อนต้นทุนการลงทุนที่ลดลงจากเฉลี่ย 100 ล้านบาท เป็นสู่ระดับราว 50 ล้านบาท
ดังนั้น จึงให้ “Switch” ไปสู่กลุ่มลงทุนพลังงานชีวมวลและพลังงานขยะ ซึ่งให้ผลตอบแทนรายโครงการสูงกว่า ได้แก่ พลังงานขยะอุตสาหกรรม 50 MW ที่รอประกาศผลผู้ชนะ 28 ต.ค.59 เช่น หุ้น BWG ราคาเป้าหมาย 3.14 บาท พลังงานไฟฟ้าขยะชุมชุน 100 MW เช่น หุ้น PSTC ราคาเป้าหมาย 0.98 บาท พลังงานชีวมวล 300-400 MW เช่น หุ้น TPCH ราคาเป้าหมาย 24.80 บาท หุ้น GUNKUL ราคาเป้าหมาย 6.45 บาท และหุ้น PSTC
: CWT ลุ้นคว้าผลิตไฟฟ้าขยะ
นายวีระพล ไชยธีรัตต์ กรรมการผู้จัดการ CWT เปิดเผยว่า บริษัทมีความพร้อมที่จะพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม ภายหลังจากที่ได้เข้าร่วมกับพันธมิตร เข้ายื่นขอรับใบอนุญาตขายไฟฟ้าแล้ว โดยบริษัทได้ลำดับยื่นเอกสารในลำดับที่ 3 ในนามบริษัท ชัยวัฒนา กรีน พาวเวอร์ 1 จำกัด ซึ่งยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้า กำลังการผลิต 8 MW โดยโรงไฟฟ้าตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จ.พระนครศรีอยุธยา
ขณะเดียวกันบริษัทได้เตรียมความพร้อมที่จะเข้าร่วมขอรับใบอนุญาตซื้อขายไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอสัญญารับบริหารกำจัดขยะระยะเวลา 25 ปี จากเทศบาลที่จังหวัดทางภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งคาดว่าภายในวันที่ 27 ต.ค.59 จะมีการประกาศสัญญาดังกล่าวจากเทศบาล และคาดไม่เกินปี 2560 สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานจะประกาศรับซื้อไฟฟ้า
นอกจากนี้ บริษัทได้ดำเนินการให้บริษัทชัยวัฒนา กรีน เพาเวอร์ จำกัด เข้าซื้อหุ้นโรงไฟฟ้าชีวมวล ขนาดกำลังผลิต 9.5 MW และมีสัญญาขายไฟฟ้าในรูปแบบเชิงพาณิชย์ จำนวน 8 MW โดยคาดว่าเดือน พ.ย.59 จะสามารถเริ่มการก่อสร้าง ขณะเดียวกันภายหลังจากการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวแล้ว บริษัทจะหาพันธมิตรเพื่อเข้ามาร่วมถือหุ้นในสัดส่วน 25% ซึ่งบริษัทวางงบลงทุนในโครงการดังกล่าว จำนวน 800 ล้านบาท
สำหรับกรณีที่บริษัท ชัยวัฒนา กรีน เพาเวอร์ จำกัด หรือ CWTG เข้าลงนามบันทึกข้อตกลงเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนบริษัท บลู โซลาร์ฟาร์ม 3 จำกัด หรือ BSF3 ซึ่งบริษัทดังกล่าวดำเนินธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์ม ขนาดกำลังผลิต 5 MW ซึ่งมีกำหนดขายไฟฟ้าภายในเดือน ธ.ค.59 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการด้านแผนการเงินกู้ หลังจากที่อยู่ระหว่างการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว
โดยก่อนหน้านี้บริษัท ชัยวัฒนา กรีน เพาเวอร์ จำกัด หรือ CWTG เข้าลงนามบันทึกข้อตกลงเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน BSF3 ซึ่งจะเข้าลงทุนด้วยวิธีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง (PP) ในสัดส่วน 49% ของทุนจดทะเบียนหลังเพิ่มทุนของ BSF3 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างเข้าทำการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ (Due Diligence) จะสามารถเข้าซื้อหุ้นของ BSF3 ได้ภายในเดือน ต.ค.59 มูลค่าการเข้าทำรายการประมาณ 70 ล้านบาท
นายวีระพล กล่าวอีกว่า บริษัทอยู่ระหว่างเตรียมการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล จำนวน 1 โครงการ ขนาดกำลังผลิต 9.5 MW และมีใบอนุญาตขายไฟฟ้าจำนวน 8 MW โดยโรงไฟฟ้าดังกล่าวหยุดดำเนินการผลิตไปแล้ว 1-2 ปี ทั้งนี้ หลังจากที่บริษัทเข้าซื้อจะทำการปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อป้อนวัตถุดิบผลิตไฟฟ้ารูปแบบใหม่ เบื้องต้นคาดปี 2560 จะสามารถเปิดดำเนินการจ่ายไฟฟ้าในรูปแบบเชิงพาณิชย์ได้
GENCO กับ SUPER จะแบ่งเค้กโรงไฟฟ้าขยะ ที่จะประกาศผลพรุ่งนี้ยังไงครับ
กกพ.ประกาศผล28ต.ค.นี้
8 หุ้น “GENCO-SUPER-CWT-WHA-GLOW-SCC-BWG-PSTC” ชิงดำไฟฟ้าขยะอุตสาหรรมกรรม 50 MW จับตา “กกพ.” ประกาศผลผู้ชนะเป็นทางการ 28 ต.ค.นี้ โบรกฯแนะโยกลงทุนหุ้นโรงไฟฟ้าขยะ ชี้ผลตอบแทนสูงกว่ากลุ่มโซลาร์ฟาร์ม
จากกรณีภายในช่วงวันที่ 28 ต.ค.นี้ ทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะมีกำหนดประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินโครงการการรับซื้อไฟฟ้าพิเศษจากขยะอุตสาหกรรมในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) จำนวนไม่เกิน 50 MW โดยจากการสำรวจพบว่า มีอยู่ทั้งหมด 8 หลักทรัพย์ที่จะมีโอกาสได้เข้าลงทุนในโครงการนี้
สำหรับกลุ่มหุ้นที่มีลุ้นเข้าลงทุนโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม ได้แก่ 1.บริษัทบริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) หรือ GENCO, 2.บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) หรือ SUPER, 3.บริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CWT
4.บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA ร่วมกับกลุ่มบริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW, 5.บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC, 6.บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) หรือ BWG และ 7.พันธมิตรของบริษัท เพาเวอร์ โซลูชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ PSTC
ทั้งนี้ ผู้ที่ได้ลำดับการยื่นเอกสารเป็นลำดับที่ 1 คือ โครงการของกลุ่ม GENCO ซึ่งจะได้รับการพิจารณาก่อนเป็นลำดับแรก ปริมาณขายไฟฟ้า 8 เมกะวัตต์ (MW) ในนามบริษัท เจนโก้ พลังงานสะอาด จำกัด กำลังการผลิต 9.9 MW และปริมาณขายไฟฟ้า 8 MW และยังยื่นเอกสารลำดับที่ 11 ในนามบริษัท เจนโก้ พลังงานสะอาด จำกัด กำลังการผลิต 9.9 MW และปริมาณขายไฟฟ้า 8 MW ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง
ขณะที่ SUPER ยื่นข้อเสนอทั้งหมด 5 โครงการ ล่าสุดได้มายื่นแล้วทั้งสิ้น 4 โครงการ โดยได้ลำดับยื่นเอกสารที่ 2, 19, 24 และ 25 โดยลำดับที่ 2 ยื่นในนามบริษัท เอ็นเนอร์จี รีพับบลิค จำกัด กำลังการผลิต 4.8 MW ส่วน CWT ได้ลำดับยื่นเอกสารลำดับที่ 3 ในนามบริษัท ชัยวัฒนา กรีน พาวเวอร์ 1 จำกัด ยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้า กำลังการผลิต 8 MW
ด้านบริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) หรือ HEMRAJ ในกลุ่ม WHA ได้ร่วมดำเนินการกับ GLOW ยื่นข้อเสนอทั้งหมด 3 โครงการ รวมทั้งสิ้น 21.8 MW ได้แก่ บริษัท ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ปริมาณขายไฟ 6.9 MW บริษัท โกลว์ เหมราชวินด์ จำกัด ปริมาณขายไฟ 6.9 MW และบริษัท ระยอง คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ปริมาณขายไฟ 8 MW
ส่วนกลุ่ม SCC ยื่นข้อเสนอ 1 โครงการในนามบริษัท อนุรักษ์พลังงานซิเมนต์ไทย จำกัด ได้ลำดับยื่นเอกสารลำดับที่ 18 และตัวแทนของพันธมิตรในกลุ่ม PSTC ได้ยื่นเสนอ 2 โครงการ ขนาดโครงการละ 2.5 MW ได้ลำดับยื่นเอกสารอันดับ 4 และอันดับ 20 และทาง BWG ได้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอเช่นเดียวกัน แต่ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียด
ทั้งนี้ การยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าจากโครงการการรับซื้อไฟฟ้าพิเศษจากขยะอุตสาหกรรมในรูปแบบ FiT เริ่มเปิดรับข้อเสนอมาตั้งแต่วันที่ 22–28 ก.ย.59 มียอดผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 26 ราย คิดเป็นปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งกว่าทั้งสิ้น 200 MW
โดยกำหนดประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกภายในวันที่ 28 ต.ค.59 ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. (www.erc.or.th) ซึ่งภายหลังจากการประกาศผลการคัดเลือกแล้ว ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกห้ามเปลี่ยนแปลงจุดรับซื้อไฟฟ้าหรือจุดเชื่อมโยงไฟฟ้า (Feeder) ประเภทเชื้อเพลิง และขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง และภายใน 120 วัน นับจากวันที่ กกพ.ออกประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือก ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกต้องดำเนินกระบวนการยื่นขออนุญาตต่างๆ เพื่อที่จะสามารถลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้ภายในวันที่ 25 ก.พ.60 และสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ได้ภายในวันที่ 31 ธ.ค.62
:โรงไฟฟ้าขยะผลตอบแทนสูง
ด้านบทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ขณะนี้ได้แนะนำ “Switch” การลงทุนไปยังกลุ่มผู้ประกอบการพลังงานทดแทนที่เน้นการลงทุนในพลังงานชีวมวลและพลังงานขยะในระยะยาว เพราะจะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มโซลาร์ฟาร์ม
โดยเป็นผลมาล่าสุดเมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติปรับลดอัตรารับซื้อไฟฟ้าจาก โซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากหรือ VSPP (กำลังการผลิตน้อยกว่า 10 MW) ในรูปแบบ FIT ลดลง 27.2% สู่ระดับ 4.12 บาทต่อหน่วย จากเดิมที่ราคาขายไฟ 5.66 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 25 ปี เพื่อสะท้อนต้นทุนการลงทุนที่ลดลงจากเฉลี่ย 100 ล้านบาท เป็นสู่ระดับราว 50 ล้านบาท
ดังนั้น จึงให้ “Switch” ไปสู่กลุ่มลงทุนพลังงานชีวมวลและพลังงานขยะ ซึ่งให้ผลตอบแทนรายโครงการสูงกว่า ได้แก่ พลังงานขยะอุตสาหกรรม 50 MW ที่รอประกาศผลผู้ชนะ 28 ต.ค.59 เช่น หุ้น BWG ราคาเป้าหมาย 3.14 บาท พลังงานไฟฟ้าขยะชุมชุน 100 MW เช่น หุ้น PSTC ราคาเป้าหมาย 0.98 บาท พลังงานชีวมวล 300-400 MW เช่น หุ้น TPCH ราคาเป้าหมาย 24.80 บาท หุ้น GUNKUL ราคาเป้าหมาย 6.45 บาท และหุ้น PSTC
: CWT ลุ้นคว้าผลิตไฟฟ้าขยะ
นายวีระพล ไชยธีรัตต์ กรรมการผู้จัดการ CWT เปิดเผยว่า บริษัทมีความพร้อมที่จะพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม ภายหลังจากที่ได้เข้าร่วมกับพันธมิตร เข้ายื่นขอรับใบอนุญาตขายไฟฟ้าแล้ว โดยบริษัทได้ลำดับยื่นเอกสารในลำดับที่ 3 ในนามบริษัท ชัยวัฒนา กรีน พาวเวอร์ 1 จำกัด ซึ่งยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้า กำลังการผลิต 8 MW โดยโรงไฟฟ้าตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จ.พระนครศรีอยุธยา
ขณะเดียวกันบริษัทได้เตรียมความพร้อมที่จะเข้าร่วมขอรับใบอนุญาตซื้อขายไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอสัญญารับบริหารกำจัดขยะระยะเวลา 25 ปี จากเทศบาลที่จังหวัดทางภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งคาดว่าภายในวันที่ 27 ต.ค.59 จะมีการประกาศสัญญาดังกล่าวจากเทศบาล และคาดไม่เกินปี 2560 สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานจะประกาศรับซื้อไฟฟ้า
นอกจากนี้ บริษัทได้ดำเนินการให้บริษัทชัยวัฒนา กรีน เพาเวอร์ จำกัด เข้าซื้อหุ้นโรงไฟฟ้าชีวมวล ขนาดกำลังผลิต 9.5 MW และมีสัญญาขายไฟฟ้าในรูปแบบเชิงพาณิชย์ จำนวน 8 MW โดยคาดว่าเดือน พ.ย.59 จะสามารถเริ่มการก่อสร้าง ขณะเดียวกันภายหลังจากการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวแล้ว บริษัทจะหาพันธมิตรเพื่อเข้ามาร่วมถือหุ้นในสัดส่วน 25% ซึ่งบริษัทวางงบลงทุนในโครงการดังกล่าว จำนวน 800 ล้านบาท
สำหรับกรณีที่บริษัท ชัยวัฒนา กรีน เพาเวอร์ จำกัด หรือ CWTG เข้าลงนามบันทึกข้อตกลงเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนบริษัท บลู โซลาร์ฟาร์ม 3 จำกัด หรือ BSF3 ซึ่งบริษัทดังกล่าวดำเนินธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์ม ขนาดกำลังผลิต 5 MW ซึ่งมีกำหนดขายไฟฟ้าภายในเดือน ธ.ค.59 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการด้านแผนการเงินกู้ หลังจากที่อยู่ระหว่างการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว
โดยก่อนหน้านี้บริษัท ชัยวัฒนา กรีน เพาเวอร์ จำกัด หรือ CWTG เข้าลงนามบันทึกข้อตกลงเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน BSF3 ซึ่งจะเข้าลงทุนด้วยวิธีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง (PP) ในสัดส่วน 49% ของทุนจดทะเบียนหลังเพิ่มทุนของ BSF3 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างเข้าทำการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ (Due Diligence) จะสามารถเข้าซื้อหุ้นของ BSF3 ได้ภายในเดือน ต.ค.59 มูลค่าการเข้าทำรายการประมาณ 70 ล้านบาท
นายวีระพล กล่าวอีกว่า บริษัทอยู่ระหว่างเตรียมการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล จำนวน 1 โครงการ ขนาดกำลังผลิต 9.5 MW และมีใบอนุญาตขายไฟฟ้าจำนวน 8 MW โดยโรงไฟฟ้าดังกล่าวหยุดดำเนินการผลิตไปแล้ว 1-2 ปี ทั้งนี้ หลังจากที่บริษัทเข้าซื้อจะทำการปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อป้อนวัตถุดิบผลิตไฟฟ้ารูปแบบใหม่ เบื้องต้นคาดปี 2560 จะสามารถเปิดดำเนินการจ่ายไฟฟ้าในรูปแบบเชิงพาณิชย์ได้