ถ้าไทยยังคงมีดินแดน ตรังกานู ปลิศ กลันตัน ไทรบุรี คิดว่าดินแดนเหล่านี้จะมีปัญหาเหมือน 3 จังหวัดชายแดนใต้ไหม อย่างไร?

ถ้าปัจจุบันพื้นที่เหล่านี้ยังเป็นของไทย คิดว่าจะเป็นอย่างไรในปัจจุบัน แตกต่างกับตอนนี้อย่างไรบ้าง?
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
มีความแตกต่างกับสยามมากครับ

ผู้ครองเมือง มองไปที่ดินแดนของเขา ก็เห็นพลเมืองของเขา ญาติมิตรพี่น้องวงศ์ตระกูลของเขาทั้งนั้น
พลเมือง มองไปที่ผู้ปกครองของเขา ก็เห็นญาติผู้ใหญ่ในสายตระกูลของเขา ญาติมิตรพี่น้องวงศ์ตระกูลของเขาทั้งนั้น
และมีอัตลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม ต่างไปจากสยามทั้งสิ้นครับ

ในยุคแรกๆ สยามเหนือกว่าในส่วนที่เมืองมลายูเหล่านั้นเขายอมรับคืออำนาจทางทหาร
และฝรั่งอังกฤษเห็นว่าสยามคุ้มครองเมืองเหล่านั้นในฐานะอาณานิคม คือนับเป็นดินแดนของสยามไปด้วยเลย
ไม่ได้เข้าใจว่าเป็นระบบลูกพี่ใหญ่ ผิดใจกันเมื่อไรคุยกันได้บ้าง ต่อยตีกันบ้าง (และเขามีดินแดนปกปครองของเขาเอง )แบบที่ประเทศราชมองสยาม
และไม่ใช่เป็นแบบเมืองที่เกี่ยวพันกับผู้มีอำนาจบริหารของสยามอยู่บ้าง
   แบบที่สยามผูกมิตรผ่านทางเครือญาติกับเชียงใหม่หรือนครศรีธรรมราช

ในทางการเมือง ประเทศราชเหล่านั้นเขาจัดการกันเองในหลายๆด้าน สยามไม่มีอำนาจไปจัดการบ้านเมืองเขา
จะการค้า การต่างประเทศ เก็บภาษี การศาสนา การยุติธรรม เขาทำกันเอง จัดแจงบ้างเมือง บังคับกะเกณฑ์พลเมืองกันเอง
คือจะให้ทำอะไรอย่างไรพูดคุยกันได้ แต่ถ้าเขาไม่เอาด้วยก็เพราะเกรงอำนาจทางทหาร
หรือ กรณีเมืองคอน เชียงใหม่ก็มาเข้าด้วยเพราะอาศัยเป็นเครือญาติกัน

พ้นสงขลาลงไปทางแหลมมลายู ผู้คนเริ่มเป็นมุสลิม คนไทยพุทธน้อยลง ทั้งเป็นดินแดนห่างไกลบางกอกมาก
เมื่อถึงคราวเปลี่ยนสมัย ราชาคนใหม่เขาก็ต้องการการยอมรับจากสยามด้วยเพื่อความมั่นคงในอำนาจของเขาเอง
ตามลักษณะของรัฐเล็กๆก็ต้องการความมั่นใจจากรัฐใหญ่ว่าจะไม่ถูกรุกรานก่อน

บางช่วงจึงไปเข้ากับฝ่ายอื่น บางช่วงก็หันมาคบค้ากับสยาม แต่ไม่ยอมรับอำนาจทางทหารของสยาม
บางช่วงก็ตกอยู่ใต้อำนาจทางทหารจากสยาม คือเมื่ออยู่ในอำนาจทางทหารของสยาม
ก็มีลักษณะเป็นรัฐกันชนกลายๆ จึงเป็นปกติที่สยามจะระแวงว่าเมืองเหล่านั้นจะเปลี่ยนข้าง

มาสบโอกาสได้ช่องเอาก็ตอนตกลงกับอังกฤษได้นี่หละครับ
เมื่อแบ่งกันแล้ว เท่ากับอังกฤษยอมรับว่าสยามมีอำนาจปกครองเหนือดินแดนเหล่านั้นไปแล้ว
เจ้าเมืองเดิมแม้มีพลเมืองญาติพี่น้องภักดีมากมายก็ต้านสยามไม่ได้แน่ และจะไปขอความช่วยเหลือจากอังกฤษก็ไม่ได้ด้วย

สยามจึงถือโอกาสยึดอำนาจบริหารดินแดนจากผู้ครองเมืองประเทศราชมาด้วย
ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ ที่ตระกูลเจ้าเมือง ราชาในดินแดนนั้นต้องต่อต้าน ทางหนึ่งเพื่อรักษาอำนาจของตนใว้
อีกทางหนึ่งคือจะใว้วางใจคนต่างเชื้อชาติต่างภาษาต่างศาสนา ต่างประเพณีวัฒนธรรม
ให้มาใช้อำนาจปกครองดูแลลูกหลานญาติพี่น้องวงศ์ตระกูลของตนเองได้อย่างไร

(ในกรณี ประเทศราชอื่นๆ ตั้งแต่สงขลาขึ้นมา แม้ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมไปบ้าง ส่วนใหญ่ตัวภาษาก็ยังอยู่ในตระกูลเดียวกัน
แถมยังถือศาสนาเดียวกันมาแต่เก่าก่อนด้วย คุยกันง่ายกว่าเยอะ ก็ยังไม่ค่อยยอมกันเลย)

ตามหลักสูตรหนังสือเรียนจึงมีเรื่องประเทศราชแข็งข้อในสมัยรัชกาลที่ 5 ต้องปราบปรามอยู่นาน
เพราะสยามถือว่าไม่เคารพคำสั่งจากบางกอกคือเป็นกบฏ ส่วนเมืองประเทศราชก็ถือว่าสยามใช้อำนาจบาตรใหญ่รังแก

ดังนั้น ต่อให้เมืองเหล่านั้นยังอยู่กับไทย ในฐานะจังหวัดของไทย
อาศัยกรณีที่เชื้อสายเจ้าผู้ครองเมืองประเทศราชเดิมก็ยังมีฐานอำนาจด้วยฐานะตระกูลใหญ่ในพื้นที่
ยังได้รับความเคารพนับถือมาก พลเมืองเดิมๆเขาก็ไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนไทยหนึ่งเดียวกับสยาม
กลับรู้สึกว่าตัวเขาเป็นคนมลายูหนึ่งเดียวกับเมืองอื่นๆที่ถืออิสลามด้วยกัน
ความแตกแยกเกิดขึ้นง่ายมากๆครับ

การจะสลายค่านิยมเหล่านั้นลงได้ คงต้องใช้เวลานานมากๆ และต้องใช้กลยุทธ์ด้านเศรษฐกิจเป็นหลักครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่