[ขออนุญาตินำมาเผยแพร่ที่นี่บ้างนะครับ] ฟรัง-นรีกุล กับการเป็น Speaker บนเวที #tedxchula พร้อมคลิปย้อนหลัง



Photo source : Twitter https://twitter.com/TEDxChula


ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าที่ทำมาแชร์เพราะผมไปฟังในงานมาด้วยนะครับ แต่ว่ามีคนสรุปมาจึงขอนำมาแชร์กันโดยให้เครดิตนะครับ

น้องฟรัง นรีกุล นิสิตแพทยศาสตร์ ปีหนึ่ง ได้มาพูดในงานนี้ เชื่อว่าหลายคนอยากรู้ว่าฟรังพูดเรื่องอะไร ขอสรุปคร่าวๆมาให้อ่าน

โลกสวย

ถ้าต้องหันไปคุยกันคนข้างๆ ที่ไม่รู้จัก จะมีใครที่คุยกันได้อย่างสบายใจมั้ย?
ตอนเด็กๆ ฟรังเป็นคนขี้อาย ไม่กล้าเข้าไปพูดกับใครก่อน บางทีก็มีคนมาชวนคุยก่อน แต่ถ้าไม่มีก็ต้องรวบรวมความกล้าเข้าไปคุยกับเค้า คุยไปคุยมา ก็ไม่รู้จะคุยอะไรกันต่อ ดังนั้นต้องชวนคุยเรื่องของคนอื่น บางทีการเม้าท์มอยคนอื่นกลายเป็นเรื่องสนุก เป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน อ่าว คนนั้นเป็นไง ไหน อัพเดตซิ จนเราไม่รู้สึกว่าการพูดเรื่องคนอื่นเป็นเรื่องแปลก


ภาพนี้ผมถ่ายในงานเองครับ


ในสมัยเรียน อาจมีการแบนกัน อย่างที่ฟรังเคยเจอ บางคนถูกแบนเพราะอยากเป็นนักร้อง เหตุผลแค่นี้เอง บางทีเราไม่รู้ว่าเราเกลียดเค้าทำไม เพราะเพื่อนไม่ชอบเค้า เราก็เลยไม่ชอบเค้าไปด้วยเพราะเรากลัวจะเป็นส่วนเกินงั้นเหรอ เราก็โตมาเรื่อยๆ ด้วยวิธีนี้ จนทำให้รู้สึกว่าเราอยู่ได้ในสังคมได้ด้วยวิธีพวกนี้แหละ

พอมาเล่นฮอร์โมน ออยคล้ายฟรังตรงที่เป็นคนไม่ค่อยเปิดหรือไม่ค่อยกล้าเข้าหาคนอื่น กลัวคนอื่นไม่รัก แต่ออยเป็นฟรังเวอร์ชั่นรุนแรงกว่าและพ่อแม่ไม่ค่อยสนใจ จนทำให้ออยเป็นคนแบบนี้ ออยมีเพื่อนคือขนมปังที่นิสัยต่างจากออยมากทุกอย่าง

หลายคนคงไม่ชอบออยเพราะเรียกร้องความสนใจ เอาเพื่อนไปด่า ใส่ร้ายเพื่อน แต่จะมีกี่คนที่รู้สึกว่าออยรู้สึกยังไง ทั้งๆที่ออยก็ไม่ต่างจากเด็กทั่วไปที่รู้สึกว่าไม่มีใครรักเค้า บางทีก็ถูกเพื่อนทิ้งให้อยู่คนเดียว บางทีก็ถูกเปรียบเทียบ ทั้งๆที่อยากจะเป็นแบบคนอื่น แต่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมตัวเราไม่เหมือนคนอื่น ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ตัวของออยเองไม่มีความสุข ไม่ชอบตัวเอง จนถึงขั้นคิดว่าถ้าไม่มีตัวเอง คนอื่นอาจจะมีความสุขมากขึ้น

คนอื่นฟังแบบนี้ อาจจะคิดว่าโลกสวยไปมั้ย แต่ถ้าทุกคนคิดจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง โลกของทุกคนก็จะสวยขึ้นจริงๆ

นึกถึงคำพูดของอาจารย์ท่านนึงว่า ไม่มีคนมีความสุขคนไหนที่นินทาคนอื่นหรอก ถ้าเราพอใจตัวเอง เราคงไม่ไปตัดสินคนอื่นว่า ดำ อ้วน เตี้ย ที่เราพูดไปก็พูดเพื่อให้ตัวเองดูดีขึ้นซะมากกว่า



ดังนั้นเราควรลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า
เราเคยทำแบบนี้หรือเปล่า
เรารู้อะไรจริงๆ เกี่ยวกับเค้าบ้าง
เรากำลังมีความสุขจริงๆ หรอ

ในขณะที่เราแชร์เรื่องนั้นนี้ไปกับเพื่อน ขณะที่เรากำลังหลับฝันดี คนที่เค้าโดนอาจนอนร้องไห้ก็ได้นะ

บางทีเราอาจจะลองคิดแบบโลกสวยและคิดว่า คนๆนั้น เค้ามีเหตุผลของเค้าล่ะมั้ง ทุกคนก็อยากจะเป็นที่รักของคนอื่นทั้งนั้นแหละ เค้าถึงได้ทำแบบนั้น

อย่างฟรังพอเข้าวงการ เวลาอ่านหนังสือจะชอบออกไปอ่านนอกบ้าน ซึ่งเพื่อนผู้หญิงบางคนกลับบ้านดึกไม่ได้ บางทีก็เหลือฟรังกับเพื่อนผู้ชาย พอคนอื่นเห็น เค้าก็ถ่ายรูป เอาไปเม้าท์ในทางไม่ดี ทำให้ฟรังเสียหาย แต่ฟรังคิดว่า คนที่ทำแบบนี้เค้าไม่ได้เสียหายอะไร ไม่ได้ลงทุนอะไร แค่พิมพ์อยู่หน้าคอม ไม่มีใครรู้ว่าเค้าเป็นใคร แต่คนที่เสียคือเรา เราเลยเลือกที่จะไม่สนใจดีกว่า และพอมองย้อนกลับมาฟรังก็รู้สึกว่า เราก็เคยตัดสินคนอื่นแบบนี้เหมือนกัน

คนที่ดูบทออย ตอนแรกก็คงเกลียด พอมาดูอีกสัปดาห์กลับกลายเป็นสงสาร แต่ในชีวิตจริง เราไม่ได้ไปรู้ทุกฉากทุกตอนเหมือนในละคร เราก็ตัดสินเค้าไปแล้วว่าเค้าไม่ดี โดยไม่ทันได้เห็นอีกมุมของเค้า

บทความโดย :
[ PaY ~ เป้ ] (@kpay) at [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

สรุปโดยผมเอง : ผมชอบ Ted อันนี้มากเพราะว่า "น้องฟรัง" ก็พูดได้ตรงใจผมมาก ผมเองก็เคยเจอเหตุการณ์แบบน้องฟรังมานับไม่ถ้วนจนท้อมากๆ ผมเคยโดนเพื่อนแบนเพราะเหตุผลพวกนี้แหละจนผมเครียดมาก พอมาได้ฟังแล้ว ทำให้ผมมีกำลังใจในการสู้ต่อมากๆ และอีกสิ่งที่ผมต้องชมคือ "เรียนหมอ แต่ว่ายังรับงานได้" แบ่งเวลาได้เก่งมากครับ สมกับเป็น idol ในวงการศึกษาไทยเลยครับ

สำหรับใครที่อยากดูย้อนหลัง มีให้ดูแล้วนะครับ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


นอกจากนี้ผมยังนำข้อมูลเพิ่มเติมมาให้อ่านด้วยนะครับ

โลกออนไลน์แห่ชื่นชม “ฟรัง” แชร์แนวคิดหัวข้อ “โลกสวย...” ใน “TEDxChula” [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

INTERVIEW ฟรัง นรีกุล ในบทบาทชีวิตที่หลากหลาย [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ขอบคุณครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่