เหมือนมองเห็นความสัมพันธ์ของตัวเองบนจอหนังใหญ่ยักษ์ ในขณะที่เราเชื่อมั่นว่าความรักของเรามันมั่นคง ไม่มีอะไรสามารถมาสั่นคลอนมันได้ หลายครั้งหลายหนในช่วงเวลา 10 ปีของความสัมพันธ์ ความรักมันก็แสดงความอ่อนแอ เปราะบาง และน่าหวาดหวั่นออกมาให้เห็นแบบกระจ่างชัดอย่างไม่น่าเชื่อ และมันก็ท้าทายทุกครั้งว่า เราจะสามารถผ่านพ้นปัญหา ให้อภัย และประสานรอยร้าวได้ใหม่หรือไม่
เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ของ Andreas และ Stefan คู่รักหนุ่มใหญ่ที่ใช้ชีวิตอย่างสงบสุข ท่ามกลางบ้านหลังใหญ่ในสวนร่มรื่น ได้ทำงานที่ตัวเองรัก มีความสุขในความสัมพันธ์ และมีเจ้าแมวเหมียว Moses เป็นสมาชิกในครอบครัว แต่แล้วเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ก็แตกร้าวจนยากจะประสาน ราวกับว่า เวลาหลายปีที่ผ่านมา เราไม่เคยได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของกันและกันมาก่อนเลย ในขณะที่ฝ่ายหนึ่งเฝ้าเพียรตั้งกำแพง และลงโทษอีกฝ่ายด้วยความเย็นชา อีกฝ่ายหนึ่งก็เฝ้าวิงวอนและลงโทษตัวเองด้วยเช่นกัน
เห็นด้วยกับหลายๆ เสียงวิจารณ์ว่า Tomcat ถ่ายทอดความสัมพันธ์ออกมาได้ละเอียดละออมาก และมันก็เหมือนเรากำลังเฝ้ามองดูความสัมพันธ์ที่โคตรจะจริง ชอบที่ครึ่งเรื่องแรกมันคือความหวานชื่นน่าหมั่นไส้ เอะอะเอากัน เอะอะเอากัน ครึ่งเรื่องหลังมันกลับกลายเป็นหนังสุดระทึก ที่เราไม่สามารถคาดเดาทิศทางของตัวละครได้เลย หายใจไม่ทั่วท้อง ไม่รู้ว่า ตัวละครมันจะคลุ้มคลั่งขึ้นมาเมื่อไหร่ และจะลงเอยอย่างไร
ชอบการไต่ระดับความสัมพันธ์ในเรื่องมาก โดยเฉพาะครึ่งหลัง ที่ทำเรานั่งน้ำตาไหลไม่หยุด ชอบ Lukas Turtur ที่เล่นเป็น Stefan ตอนร้องไห้มาก โอ๊ย ใจจะขาด และชอบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับตัวละครมาก มันก็ทำให้ความแปลกหน้าแปลกแยกมันโคตรจะจริง การนั่งดูหนังที่เล่าความสัมพันธ์ลึกๆ ร้าวๆ แบบนี้ มันทำให้เราย้อนกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองได้เสมอว่า หากเป็นเราล่ะ จะเลือกทำเช่นไร?
Tomcat หนังสัญชาติออสเตรียของผู้กำกับ Händl Klaus ซึ่งคว้ารางวัล Best Feature Film จาก Teddy Award (รางวัลที่มอบให้กับหนังที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับ LGBT ในเทศกาลหนังเบอร์ลิน) เคยฉายในเมืองไทยมาแล้วครั้งหนึ่ง กับการเป็นหนังเปิด Bangkok Gay & Lesbian Film Festival 2016 เทศกาลภาพยนตร์เพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศ ครั้งที่ 2 ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และเข้าฉายอย่างเป็นทางการอีกครั้งในเดือนนี้ โดยเป็นการฉายแบบจำกัดโรง ตามประสาหนังเล็กๆ
[SR] [Review] Tomcat (2016) คู่รักเกย์ แมวเหมียว และความรักที่พังทลาย
เหมือนมองเห็นความสัมพันธ์ของตัวเองบนจอหนังใหญ่ยักษ์ ในขณะที่เราเชื่อมั่นว่าความรักของเรามันมั่นคง ไม่มีอะไรสามารถมาสั่นคลอนมันได้ หลายครั้งหลายหนในช่วงเวลา 10 ปีของความสัมพันธ์ ความรักมันก็แสดงความอ่อนแอ เปราะบาง และน่าหวาดหวั่นออกมาให้เห็นแบบกระจ่างชัดอย่างไม่น่าเชื่อ และมันก็ท้าทายทุกครั้งว่า เราจะสามารถผ่านพ้นปัญหา ให้อภัย และประสานรอยร้าวได้ใหม่หรือไม่
เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ของ Andreas และ Stefan คู่รักหนุ่มใหญ่ที่ใช้ชีวิตอย่างสงบสุข ท่ามกลางบ้านหลังใหญ่ในสวนร่มรื่น ได้ทำงานที่ตัวเองรัก มีความสุขในความสัมพันธ์ และมีเจ้าแมวเหมียว Moses เป็นสมาชิกในครอบครัว แต่แล้วเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ก็แตกร้าวจนยากจะประสาน ราวกับว่า เวลาหลายปีที่ผ่านมา เราไม่เคยได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของกันและกันมาก่อนเลย ในขณะที่ฝ่ายหนึ่งเฝ้าเพียรตั้งกำแพง และลงโทษอีกฝ่ายด้วยความเย็นชา อีกฝ่ายหนึ่งก็เฝ้าวิงวอนและลงโทษตัวเองด้วยเช่นกัน
เห็นด้วยกับหลายๆ เสียงวิจารณ์ว่า Tomcat ถ่ายทอดความสัมพันธ์ออกมาได้ละเอียดละออมาก และมันก็เหมือนเรากำลังเฝ้ามองดูความสัมพันธ์ที่โคตรจะจริง ชอบที่ครึ่งเรื่องแรกมันคือความหวานชื่นน่าหมั่นไส้ เอะอะเอากัน เอะอะเอากัน ครึ่งเรื่องหลังมันกลับกลายเป็นหนังสุดระทึก ที่เราไม่สามารถคาดเดาทิศทางของตัวละครได้เลย หายใจไม่ทั่วท้อง ไม่รู้ว่า ตัวละครมันจะคลุ้มคลั่งขึ้นมาเมื่อไหร่ และจะลงเอยอย่างไร
ชอบการไต่ระดับความสัมพันธ์ในเรื่องมาก โดยเฉพาะครึ่งหลัง ที่ทำเรานั่งน้ำตาไหลไม่หยุด ชอบ Lukas Turtur ที่เล่นเป็น Stefan ตอนร้องไห้มาก โอ๊ย ใจจะขาด และชอบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับตัวละครมาก มันก็ทำให้ความแปลกหน้าแปลกแยกมันโคตรจะจริง การนั่งดูหนังที่เล่าความสัมพันธ์ลึกๆ ร้าวๆ แบบนี้ มันทำให้เราย้อนกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองได้เสมอว่า หากเป็นเราล่ะ จะเลือกทำเช่นไร?
Tomcat หนังสัญชาติออสเตรียของผู้กำกับ Händl Klaus ซึ่งคว้ารางวัล Best Feature Film จาก Teddy Award (รางวัลที่มอบให้กับหนังที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับ LGBT ในเทศกาลหนังเบอร์ลิน) เคยฉายในเมืองไทยมาแล้วครั้งหนึ่ง กับการเป็นหนังเปิด Bangkok Gay & Lesbian Film Festival 2016 เทศกาลภาพยนตร์เพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศ ครั้งที่ 2 ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และเข้าฉายอย่างเป็นทางการอีกครั้งในเดือนนี้ โดยเป็นการฉายแบบจำกัดโรง ตามประสาหนังเล็กๆ