ผมเป็นนักสะสมเหรียญมือสมัครเล่น ซึ่งก่อนหน้านี้ผมเอง ไม่เคยคิดเก็บเหรียญของ ร.๙ อย่างจริงจัง เพราะผมคิดว่าพระองค์ท่าน จะยังอยู่กับพวกเราชาวไทย ไปอีกนานแสนนาน แต่ใดๆในโลกล้วนเป็นอนิจจัง สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ ครั้งใหญ่มากจริงๆ สำหรับประเทศไทยและคนไทย วันนี้มีเวลาว่างจึงอยากนำเอาเกร็ดความรู้เล็กๆ ของเหรียญของพ่อ เหรียญหนึ่ง ฝากไว้เผื่อท่านเจอ ท่านจะได้เก็บไว้ระลึกถึงพระองค์ท่าน
เหรียญที่กำลังจะกล่าวถึงคือ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ๒๐ บาท พระชนมายุครบ ๓ รอบ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เหรียญนี้ยังถือเป็นเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกที่ทำจากโลหะเงิน เหรียญแรกในรัชสมัยพระองค์ท่านอีกด้วย และถือว่าเป็นจุดด่างพร้อยเหรียญเดียวในบรรดาเหรียญทั้งหมดในรัชสมัยของพระองค์ท่าน คือเหรียญนี้ไม่ได้ระบุปี พุทธศักราช ลงบนเหรียญ
เหรียญนี้ไม่ได้มีราคาค่างวดสูงสักเท่าไร อาจจะด้อยค่าในด้านราคา แต่มีคุณค่าทางจิตใจอย่างมหาศาล เหรียญนี้ยังถือเป็นหนึ่งในเหรียญมงคลของ ร.๙ อีกด้วย ลองมาดูรายละเอียด เหรียญนี้กันครับ ข้อมูลเกี่ยวกับเหรียญ มีที่มาจาก กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ หน่วยงานที่ผลิตเหรียญนี้ขึ้นมา
ด้านหน้า: เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์เบื้องซ้าย รอบริมขอบมีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช พระชนมายุครบ ๓ รอบ"
ด้านหลัง: เป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ มีพระมหาพิชัยมงกุฎอยู่เหนือพระราชสัญลักษณ์จักรกับตรี และพระแสงขรรค์ชัยศรี พัดโบกไขว้กับธารพระกรและพระแส้จามรี กระนาบด้วยฉลองพระบาท มีพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรอยู่เบื้องหลัง เบื้องบนมีอักษร "รัฐบาลไทย" เบื้องซ้ายเป็นเลขไทยบอกราคา " ๒๐" เบื้องขวาเป็นเลขอารบิค "20" เบื้องล่างมีคำว่า "บาท"
น้ำหนัก : ๒๐ กรัม
ราคา ณ วันประกาศใช้ : ๒๐ บาท
วันที่ประกาศใช้ : ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๖
เส้นผ่าศูนย์กลาง : ๓๕ มิลลิเมตร
ชนิด : เงิน
ราคาหน้าเหรียญ : ๒๐ บาท
ประเภท : ธรรมดา
ลักษณะ : เหรียญกลม ขอบเฟือง
ส่วนผสม : ชื่อส่วนผสม เงินร้อยละ ๗๕ ทองแดงร้อยละ ๒๕
จำนวนการผลิต : ปีที่ผลิต ๒๕๐๖ จำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายพินิจ สุวรรณะบุณย์ กรมศิลปากร
ผู้ออกแบบ (หลัง) : นายพินิจ สุวรรณะบุณย์ กรมศิลปากร
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ กรมศิลปากร
ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ กรมศิลปากร
เหรียญของพ่อ เหรียญ ๒๐ บาท เหรียญแรก ในรัชสมัย รัชกาลที่ ๙
เหรียญที่กำลังจะกล่าวถึงคือ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ๒๐ บาท พระชนมายุครบ ๓ รอบ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เหรียญนี้ยังถือเป็นเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกที่ทำจากโลหะเงิน เหรียญแรกในรัชสมัยพระองค์ท่านอีกด้วย และถือว่าเป็นจุดด่างพร้อยเหรียญเดียวในบรรดาเหรียญทั้งหมดในรัชสมัยของพระองค์ท่าน คือเหรียญนี้ไม่ได้ระบุปี พุทธศักราช ลงบนเหรียญ
เหรียญนี้ไม่ได้มีราคาค่างวดสูงสักเท่าไร อาจจะด้อยค่าในด้านราคา แต่มีคุณค่าทางจิตใจอย่างมหาศาล เหรียญนี้ยังถือเป็นหนึ่งในเหรียญมงคลของ ร.๙ อีกด้วย ลองมาดูรายละเอียด เหรียญนี้กันครับ ข้อมูลเกี่ยวกับเหรียญ มีที่มาจาก กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ หน่วยงานที่ผลิตเหรียญนี้ขึ้นมา
ด้านหน้า: เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์เบื้องซ้าย รอบริมขอบมีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช พระชนมายุครบ ๓ รอบ"
ด้านหลัง: เป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ มีพระมหาพิชัยมงกุฎอยู่เหนือพระราชสัญลักษณ์จักรกับตรี และพระแสงขรรค์ชัยศรี พัดโบกไขว้กับธารพระกรและพระแส้จามรี กระนาบด้วยฉลองพระบาท มีพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรอยู่เบื้องหลัง เบื้องบนมีอักษร "รัฐบาลไทย" เบื้องซ้ายเป็นเลขไทยบอกราคา " ๒๐" เบื้องขวาเป็นเลขอารบิค "20" เบื้องล่างมีคำว่า "บาท"
น้ำหนัก : ๒๐ กรัม
ราคา ณ วันประกาศใช้ : ๒๐ บาท
วันที่ประกาศใช้ : ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๖
เส้นผ่าศูนย์กลาง : ๓๕ มิลลิเมตร
ชนิด : เงิน
ราคาหน้าเหรียญ : ๒๐ บาท
ประเภท : ธรรมดา
ลักษณะ : เหรียญกลม ขอบเฟือง
ส่วนผสม : ชื่อส่วนผสม เงินร้อยละ ๗๕ ทองแดงร้อยละ ๒๕
จำนวนการผลิต : ปีที่ผลิต ๒๕๐๖ จำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายพินิจ สุวรรณะบุณย์ กรมศิลปากร
ผู้ออกแบบ (หลัง) : นายพินิจ สุวรรณะบุณย์ กรมศิลปากร
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ กรมศิลปากร
ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ กรมศิลปากร