คนส่วนมากในโลกนี้ หรือดวงจิตส่วนมากในวัฏสงสารนี้ มักจะเป็นผู้ที่มีกำลังใจต่ำ มีปัญญาน้อย แต่มีกิเลสมาก
เพราะฉนั้น บาทฐานรากของวัฏสงสารย่อมเป็นผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิมากเป็นคนส่วนมากเสมอ (คนที่มีปัญญามาก จะมีน้อย เปรียบเสมือนยอดของปิรามิด)
เพราะฉนั้นคุณจะเห็นคนไหว้ของแปลกๆอยู่เสมอ เช่น ไหว้วัวตาเดียว, ไหว้หมู 5 ขา, ไหว้ปลาสีทอง เพราะฉนั้นควรจะมองให้มันเป็นเรื่องปกติไปเสีย
เฉกเช่นเดียวกัน ทาน, ศีล, ภาวนา นั้น ชาวบ้านที่มีจริตชอบในการทำบุญแบบใด เขาย่อมทำแบบนั้น
อาจจะตามความสะดวกในชีวิต เพราะงานมาก
การไปคาดหวังว่าคนทุกคน จะต้องมีจริตในการปฏิบัติเหมือนๆกันหมดทุกคนย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะคนในวัฏสงสารย่อมมีความต่างกันเป็นปกติเสมอ
มีสติปัญญาไม่เท่ากัน, มีกำลังใจไม่เท่ากัน, มีจริตความชอบในการปฏิบัติไม่เหมือนกัน, มีบุญที่ติดตัวมาไม่เท่ากัน ย่อมทำให้คนแตกต่างกัน
เพราะฉนั้น การสร้างพระใหญ่, วัดใหญ่ นั้นมีเหตุผลซ่อนอยู่ เพราะต้องการจะช่วยคนหมู่มากในวัฏสงสารเป็นอันดับแรก
วัฏสงสารนั้นยาวนานมาก
ยาวนานเสียจนแม้แต่พระพุทธเจ้า ท่านใช้พุทธญานไปดูต้นทางของวัฏสงสารก็ยังไม่เห็น
ดวงจิต-ดวงวิญญาณดวงนึง นั้น เวียนว่ายตายเกิดมานับอสงไขยไม่ถ้วน
ถ้าพลาดจากความเป็นคน ล่วงหล่นลงไปยังอบายภูมิ ก็จะต้องไปเกิดในแดนนรก
เป็นสัตว์นรก แล้วก็ไปเกิดเป็นเปรต แล้วก็ไปเกิดเป็นอสุรกาย แล้วก็ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
แค่ด่านสุดท้ายด่านเดรัจฉาน คุณก็ต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ให้ครบตามจำนวนสัตว์ที่คุณเคยฆ่าไป
เป็นความทุกข์ทรมานอันแสนยาวนานเหลือเกิน
กว่าจะได้มาเกิดเป็นคนอีกครั้ง มันแสนยากและยาวนานเสียเหลือเกิน
อานิสงส์ผลบุญนั้นเกิดจาก "ทาน" , "ศีล" , "ภาวนา"
ในโลกของความเป็นจริงนั้น "คนทั่วไปที่เป็นคนส่วนมาก" นั้น มักจะเป็นผู้ที่มีศีล 5 ไม่ครบ
เพราะฉนั้น การจะช่วยเหลือคน ที่เป็นคนส่วนมากบนโลกนี้ ให้รอดพ้นจากการตกอบายภูมิอันแสนยาวนานและทุกข์ทรมานนั้น
จะอาศัยอานิสงส์ผลบุญจากการให้ "
ทาน" ซึ่งทำได้ง่าย เป็นอันดับแรก
(
ชาวบ้านชอบทำอะไรที่สะดวก แค่หยอดเงินใส่ตู้ ก็ได้บุญวิหารทานแล้ว ไม่ต้องประคองการกระทำนั้นๆนาน เหมือนการถือศีล และภาวนา)
เพราะฉนั้นสาเหตุที่ต้องสร้างวัดวาอารามให้ใหญ่โต ก็เพราะว่า....
ต้องการจะให้คนจำนวนมากเหล่านั้น ได้เกาะบุญจาก บุญวิหารทาน
และระลึกถึงบุญกุศลที่ตัวเองเคยทำเอาไว้ได้โดยง่าย (
กันตกอบายภูมิไว้ก่อนเป็นอันดับแรก)
เพราะการถือศีลและภาวนา เป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่า เพราะต้องมีการประคองการกระทำ (แค่ให้ถือศีล5อย่างเคร่งครัดทุกคน ก็เป็นไปได้ยากแล้ว)
เพราะฉนั้น การหยอดเงินลงตู้ เพื่อให้ได้บุญจากวิหารทาน จึงง่ายและสะดวกกว่าวิธีอื่น สำหรับชาวบ้านทั่วไปส่วนมากที่ศีล5ก็ยังไม่ค่อยจะครบ
เช่น ร่วมสร้างโบสถ์ที่ใหญ่โตและสวยงาม, ร่วมสร้างวิหารแก้วที่ใหญ่โตและสวยงาม
ร่วมสร้างกำแพงวัดที่สวยงาม, ร่วมหล่อพระประธาน, ร่วมสร้างกุฏิสงฆ์ ฯลฯ
เมื่อคนเหล่านั้นได้มีส่วนร่วมในการทำบุญสร้างถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา
เมื่อถึงเวลาใกล้ตาย ใกล้จะหมดลม จิตย่อมระลึกถึงบุญกุศลที่ตัวเองเคยทำเอาไว้ได้โดยง่าย (ง่ายกว่าคนที่ไม่เคยทำแน่นอน)
ดวงจิตจึงเกาะบุญจากวิหารทาน ไปสู่สุคติภูมิ
เพราะฉนั้น การสร้างพระใหญ่ วัดใหญ่ ก็เพื่อช่วยให้คนส่วนมากในวัฏสงสารเหล่านี้ระลึกถึงบุญได้ง่าย ภาพติดตาง่าย ไม่ตกอบายภูมิได้ง่าย นั่นเอง
เพราะฉนั้นการสร้างพระใหญ่,วัดใหญ่,วัดสวยงาม
ไม่ใช่เป็นการสร้างเพื่อการตลาด เพื่อดึงคนให้เข้าวัดเหมือนดึงคนให้เข้าห้างสรรพสินค้า
แต่จุดประสงค์ที่ต้องสร้างให้ใหญ่โต ให้สวยงาม ก็เพื่อช่วยคนหมู่มากเป็นหลัก
(เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ภาพพระใหญ่ติดตาได้ง่าย จำได้ง่าย ระลึกถึงได้ง่าย ทำให้ก่อนตายจิตเกาะบุญได้ง่าย ไม่ตกอบายภูมิ)
************************************************************************
ส่วนเรื่องที่ว่า ทำไมถึงไม่เอาเงินนั้นไปช่วยคนในด้านอื่นบ้าง?
************************************************************************
ก็ต้องตอบว่า.......
ความทุกข์ทั้งหมดตลอดชีวิตของคนๆนึงในขณะที่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้นั้น ยังถือว่าเป็นความทุกข์เพียงแค่เล็กน้อย และเป็นทุกข์อันแสนสั้น (100ปี)
เมื่อเอาไปเปรียบเทียบกับความทุกข์อันแสนสาหัสยาวนานมหาศาล เมื่อต้องตกลงไปเกิดในแดนนรก ในแดนอบายภูมิ
การช่วยให้คนหมู่มาก ไม่ให้ตกนรกที่แสนทรมานอันยาวนานนั้นจึงสำคัญกว่า
และการได้เกิดเป็นคนเป็นเรื่องยากมากๆ และโอกาสที่จะได้เกิดมาพบเจอพระพุทธศาสนา ยิ่งเป็นเรื่องยากดับเบื้ลสองต่อ
เพราะฉนั้นการมีวัด มีที่ทาง มีอาคารเรียน มีการสอนให้คนพ้นทุกข์ออกจากวัฏสงสารได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะโอกาสนี้หายากเหลือเกิน
และการนำเงินของวัดไปใช้โดยผิดวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค ไม่สามารถกระทำได้ (เป็นกรรมหนักชนิดหนึ่ง)
ถ้าชาวบ้านตั้งใจเอาเงินใส่กล่องทำบุญวิหารทาน เงินนั้นก็จะสามารถนำเอาไปใช้ได้แค่กิจกรรมในการสร้างวิหารทานเท่านั้น เอาไปใช้ในเรื่องอื่นไม่ได้
จะต้องเป็นเงินทำบุญกับวัดแบบจิปาถะทั่วไปทุกอย่าง ถึงจะเอาไปใช้กับเรื่องจิปาถะได้
และวัดที่ถูกต้องแท้จริงนั้น ทุกอย่างเป็นสมบัติในพุทธศาสนา พระสงฆ์เป็นเพียงผู้ขออยู่อาศัยเท่านั้น
ไม่มีใครเป็นเจ้าของวัดคนเดียวเหมือนเจ้าของบริษัทเอกชน ถึงจะได้กำหนดทิศทางการบริหารวัดได้ตามใจชอบ หรือจะกำหนดการใช้เงินได้ตามใจชอบ
วัดจึงต้องระมัดระวังการใช้เงินผิดประเภท ผิดเจตนาของผู้บริจาค เป็นกรรมหนักชนิดหนึ่ง
ไม่ใช่มีเงินนอนอยู่ แล้วจะนึกเอาไปใช้ทำอะไรก็ได้ตามใจเจ้าอาวาส
เพราะฉนั้นเมื่อไม่มีใครเป็นเจ้าของวัด และก็ไม่มีใครสามารถที่จะใช้เงินของวัดได้ตามอำเภอใจ
เพราะฉนั้นการประเมินภาพรวมของการเฉลี่ยความช่วยเหลือเงินไปยังส่วนต่างๆของตำบลนั้น หรือพื้นที่นั้น จึงไม่ใช่เรื่องของวัดๆนั้นโดยตรง
แต่เป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบในท้องที่นั้นๆ เพราะเป็นเงินภาษี ซึ่งเป็นเงินของคนไทยทุกคนอยู่แล้ว
ส่วนเรื่องที่จะมาขอความร่วมมือจากวัดในการระดมทุนช่วยเหลือชาวบ้านเป็นเรื่องๆไปนั้น นั่นมันอีกเรื่องนึง
เพราะฉนั้น ถ้าเห็นวัดๆนึงมีทรัพย์สินมากมายมหาศาล แต่นอกเขตวัดจนมาก ก็อย่าเพิ่งนึกตำหนิวัด ว่าทำไม ไม่ช่วยชาวบ้านรอบๆข้างให้สบายกว่านี้
เพราะมีเรื่องกรรมที่ผูกติดกับเงินก้อนนั้นๆที่ชาวบ้านทำบุญมา จะต้องใช้ให้ถูกประเภท จึงไม่สามารถที่จะใช้เงินได้ตามใจชอบ
และการมีวัดใหญ่ วัดโต วัดสวย ก็มีส่วนที่ทำให้คนอยากมาวัด อยากมาทำบุญกันมากขึ้น
โอกาสที่จะมีคนได้บุญจากการทำทาน , ถือศีล , ภาวนา ก็จะมากขึ้นตามมาด้วย
(และโอกาสที่จะมีคนหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ก็จะมีมากขึ้นด้วย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุดยิ่งกว่าเรื่องอื่น เพราะหมดทุกข์ตลอดกาล)
ส่วนเรื่องที่ว่า เงินทำบุญทั้งหมดนั้น จะไปเข้ากระเป๋าใครบ้าง นั่นมันอีกเรื่องนึง
หรือว่า วัดนั้นสอนตรงทางหรือไ่ม่ นั่นมันก็อีกเรื่องนึง
หรือว่า วัดๆนั้น จงใจสร้างวัดให้ใหญ่โต แต่มีเจตนาแอบแฝงหวังอยากจะได้เงินทำบุญจากชาวบ้านโดยเฉพาะ นั่นมันก็อีกเรื่องนึง
อย่าสรุปว่าวัดใหญ่ วัดโต วัดสวย จะต้องเป็นวัดพุทธพาณิชย์เสมอไป จะต้องดูเป็นวัดๆไป
เพราะฉนั้นควรจะวางอารมณ์ให้ถูกเมื่อเวลาได้ยินเรื่อง พุทธพาณิชย์ หรืออะไรแนวนี้ เพราะว่ามันไม่เสมอไปทุกที่-ทุกวัด (
เผลอไปปรามาสจะเป็นโทษ)
การสนใจเพ่งโทษผู้อื่นในเรื่องนี้ จะทำให้การปฏิบัติธรรมของคุณก้าวหน้าได้ยาก เพราะมีวิจิกิจฉามาก
ควรจะวางอารมณ์เพ่งโทษผู้อื่นลง และมองเรื่องเหล่านี้ว่าเป็นแค่เรื่องปกติธรรมดาของวัฏสงสาร
ตราบใดที่เรายังไม่หลุดพ้นจากวัฏสงสาร เราจะต้องคลุกเคล้ากับเรื่องเหล่านี้เป็นปกติธรรมดา
ทำไมต้องสร้างวัดใหญ่ พระพุทธรูปขนาดใหญ่?
คนส่วนมากในโลกนี้ หรือดวงจิตส่วนมากในวัฏสงสารนี้ มักจะเป็นผู้ที่มีกำลังใจต่ำ มีปัญญาน้อย แต่มีกิเลสมาก
เพราะฉนั้น บาทฐานรากของวัฏสงสารย่อมเป็นผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิมากเป็นคนส่วนมากเสมอ (คนที่มีปัญญามาก จะมีน้อย เปรียบเสมือนยอดของปิรามิด)
เพราะฉนั้นคุณจะเห็นคนไหว้ของแปลกๆอยู่เสมอ เช่น ไหว้วัวตาเดียว, ไหว้หมู 5 ขา, ไหว้ปลาสีทอง เพราะฉนั้นควรจะมองให้มันเป็นเรื่องปกติไปเสีย
เฉกเช่นเดียวกัน ทาน, ศีล, ภาวนา นั้น ชาวบ้านที่มีจริตชอบในการทำบุญแบบใด เขาย่อมทำแบบนั้น อาจจะตามความสะดวกในชีวิต เพราะงานมาก
การไปคาดหวังว่าคนทุกคน จะต้องมีจริตในการปฏิบัติเหมือนๆกันหมดทุกคนย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะคนในวัฏสงสารย่อมมีความต่างกันเป็นปกติเสมอ
มีสติปัญญาไม่เท่ากัน, มีกำลังใจไม่เท่ากัน, มีจริตความชอบในการปฏิบัติไม่เหมือนกัน, มีบุญที่ติดตัวมาไม่เท่ากัน ย่อมทำให้คนแตกต่างกัน
เพราะฉนั้น การสร้างพระใหญ่, วัดใหญ่ นั้นมีเหตุผลซ่อนอยู่ เพราะต้องการจะช่วยคนหมู่มากในวัฏสงสารเป็นอันดับแรก
วัฏสงสารนั้นยาวนานมาก
ยาวนานเสียจนแม้แต่พระพุทธเจ้า ท่านใช้พุทธญานไปดูต้นทางของวัฏสงสารก็ยังไม่เห็น
ดวงจิต-ดวงวิญญาณดวงนึง นั้น เวียนว่ายตายเกิดมานับอสงไขยไม่ถ้วน
ถ้าพลาดจากความเป็นคน ล่วงหล่นลงไปยังอบายภูมิ ก็จะต้องไปเกิดในแดนนรก
เป็นสัตว์นรก แล้วก็ไปเกิดเป็นเปรต แล้วก็ไปเกิดเป็นอสุรกาย แล้วก็ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
แค่ด่านสุดท้ายด่านเดรัจฉาน คุณก็ต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ให้ครบตามจำนวนสัตว์ที่คุณเคยฆ่าไป
เป็นความทุกข์ทรมานอันแสนยาวนานเหลือเกิน
กว่าจะได้มาเกิดเป็นคนอีกครั้ง มันแสนยากและยาวนานเสียเหลือเกิน
อานิสงส์ผลบุญนั้นเกิดจาก "ทาน" , "ศีล" , "ภาวนา"
ในโลกของความเป็นจริงนั้น "คนทั่วไปที่เป็นคนส่วนมาก" นั้น มักจะเป็นผู้ที่มีศีล 5 ไม่ครบ
เพราะฉนั้น การจะช่วยเหลือคน ที่เป็นคนส่วนมากบนโลกนี้ ให้รอดพ้นจากการตกอบายภูมิอันแสนยาวนานและทุกข์ทรมานนั้น
จะอาศัยอานิสงส์ผลบุญจากการให้ "ทาน" ซึ่งทำได้ง่าย เป็นอันดับแรก
(ชาวบ้านชอบทำอะไรที่สะดวก แค่หยอดเงินใส่ตู้ ก็ได้บุญวิหารทานแล้ว ไม่ต้องประคองการกระทำนั้นๆนาน เหมือนการถือศีล และภาวนา)
เพราะฉนั้นสาเหตุที่ต้องสร้างวัดวาอารามให้ใหญ่โต ก็เพราะว่า....
ต้องการจะให้คนจำนวนมากเหล่านั้น ได้เกาะบุญจาก บุญวิหารทาน
และระลึกถึงบุญกุศลที่ตัวเองเคยทำเอาไว้ได้โดยง่าย (กันตกอบายภูมิไว้ก่อนเป็นอันดับแรก)
เพราะการถือศีลและภาวนา เป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่า เพราะต้องมีการประคองการกระทำ (แค่ให้ถือศีล5อย่างเคร่งครัดทุกคน ก็เป็นไปได้ยากแล้ว)
เพราะฉนั้น การหยอดเงินลงตู้ เพื่อให้ได้บุญจากวิหารทาน จึงง่ายและสะดวกกว่าวิธีอื่น สำหรับชาวบ้านทั่วไปส่วนมากที่ศีล5ก็ยังไม่ค่อยจะครบ
เช่น ร่วมสร้างโบสถ์ที่ใหญ่โตและสวยงาม, ร่วมสร้างวิหารแก้วที่ใหญ่โตและสวยงาม
ร่วมสร้างกำแพงวัดที่สวยงาม, ร่วมหล่อพระประธาน, ร่วมสร้างกุฏิสงฆ์ ฯลฯ
เมื่อคนเหล่านั้นได้มีส่วนร่วมในการทำบุญสร้างถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา
เมื่อถึงเวลาใกล้ตาย ใกล้จะหมดลม จิตย่อมระลึกถึงบุญกุศลที่ตัวเองเคยทำเอาไว้ได้โดยง่าย (ง่ายกว่าคนที่ไม่เคยทำแน่นอน)
ดวงจิตจึงเกาะบุญจากวิหารทาน ไปสู่สุคติภูมิ
เพราะฉนั้น การสร้างพระใหญ่ วัดใหญ่ ก็เพื่อช่วยให้คนส่วนมากในวัฏสงสารเหล่านี้ระลึกถึงบุญได้ง่าย ภาพติดตาง่าย ไม่ตกอบายภูมิได้ง่าย นั่นเอง
เพราะฉนั้นการสร้างพระใหญ่,วัดใหญ่,วัดสวยงาม
ไม่ใช่เป็นการสร้างเพื่อการตลาด เพื่อดึงคนให้เข้าวัดเหมือนดึงคนให้เข้าห้างสรรพสินค้า
แต่จุดประสงค์ที่ต้องสร้างให้ใหญ่โต ให้สวยงาม ก็เพื่อช่วยคนหมู่มากเป็นหลัก
(เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ภาพพระใหญ่ติดตาได้ง่าย จำได้ง่าย ระลึกถึงได้ง่าย ทำให้ก่อนตายจิตเกาะบุญได้ง่าย ไม่ตกอบายภูมิ)
************************************************************************
ส่วนเรื่องที่ว่า ทำไมถึงไม่เอาเงินนั้นไปช่วยคนในด้านอื่นบ้าง?
************************************************************************
ก็ต้องตอบว่า.......
ความทุกข์ทั้งหมดตลอดชีวิตของคนๆนึงในขณะที่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้นั้น ยังถือว่าเป็นความทุกข์เพียงแค่เล็กน้อย และเป็นทุกข์อันแสนสั้น (100ปี)
เมื่อเอาไปเปรียบเทียบกับความทุกข์อันแสนสาหัสยาวนานมหาศาล เมื่อต้องตกลงไปเกิดในแดนนรก ในแดนอบายภูมิ
การช่วยให้คนหมู่มาก ไม่ให้ตกนรกที่แสนทรมานอันยาวนานนั้นจึงสำคัญกว่า
และการได้เกิดเป็นคนเป็นเรื่องยากมากๆ และโอกาสที่จะได้เกิดมาพบเจอพระพุทธศาสนา ยิ่งเป็นเรื่องยากดับเบื้ลสองต่อ
เพราะฉนั้นการมีวัด มีที่ทาง มีอาคารเรียน มีการสอนให้คนพ้นทุกข์ออกจากวัฏสงสารได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะโอกาสนี้หายากเหลือเกิน
และการนำเงินของวัดไปใช้โดยผิดวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค ไม่สามารถกระทำได้ (เป็นกรรมหนักชนิดหนึ่ง)
ถ้าชาวบ้านตั้งใจเอาเงินใส่กล่องทำบุญวิหารทาน เงินนั้นก็จะสามารถนำเอาไปใช้ได้แค่กิจกรรมในการสร้างวิหารทานเท่านั้น เอาไปใช้ในเรื่องอื่นไม่ได้
จะต้องเป็นเงินทำบุญกับวัดแบบจิปาถะทั่วไปทุกอย่าง ถึงจะเอาไปใช้กับเรื่องจิปาถะได้
และวัดที่ถูกต้องแท้จริงนั้น ทุกอย่างเป็นสมบัติในพุทธศาสนา พระสงฆ์เป็นเพียงผู้ขออยู่อาศัยเท่านั้น
ไม่มีใครเป็นเจ้าของวัดคนเดียวเหมือนเจ้าของบริษัทเอกชน ถึงจะได้กำหนดทิศทางการบริหารวัดได้ตามใจชอบ หรือจะกำหนดการใช้เงินได้ตามใจชอบ
วัดจึงต้องระมัดระวังการใช้เงินผิดประเภท ผิดเจตนาของผู้บริจาค เป็นกรรมหนักชนิดหนึ่ง
ไม่ใช่มีเงินนอนอยู่ แล้วจะนึกเอาไปใช้ทำอะไรก็ได้ตามใจเจ้าอาวาส
เพราะฉนั้นเมื่อไม่มีใครเป็นเจ้าของวัด และก็ไม่มีใครสามารถที่จะใช้เงินของวัดได้ตามอำเภอใจ
เพราะฉนั้นการประเมินภาพรวมของการเฉลี่ยความช่วยเหลือเงินไปยังส่วนต่างๆของตำบลนั้น หรือพื้นที่นั้น จึงไม่ใช่เรื่องของวัดๆนั้นโดยตรง
แต่เป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบในท้องที่นั้นๆ เพราะเป็นเงินภาษี ซึ่งเป็นเงินของคนไทยทุกคนอยู่แล้ว
ส่วนเรื่องที่จะมาขอความร่วมมือจากวัดในการระดมทุนช่วยเหลือชาวบ้านเป็นเรื่องๆไปนั้น นั่นมันอีกเรื่องนึง
เพราะฉนั้น ถ้าเห็นวัดๆนึงมีทรัพย์สินมากมายมหาศาล แต่นอกเขตวัดจนมาก ก็อย่าเพิ่งนึกตำหนิวัด ว่าทำไม ไม่ช่วยชาวบ้านรอบๆข้างให้สบายกว่านี้
เพราะมีเรื่องกรรมที่ผูกติดกับเงินก้อนนั้นๆที่ชาวบ้านทำบุญมา จะต้องใช้ให้ถูกประเภท จึงไม่สามารถที่จะใช้เงินได้ตามใจชอบ
และการมีวัดใหญ่ วัดโต วัดสวย ก็มีส่วนที่ทำให้คนอยากมาวัด อยากมาทำบุญกันมากขึ้น
โอกาสที่จะมีคนได้บุญจากการทำทาน , ถือศีล , ภาวนา ก็จะมากขึ้นตามมาด้วย
(และโอกาสที่จะมีคนหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ก็จะมีมากขึ้นด้วย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุดยิ่งกว่าเรื่องอื่น เพราะหมดทุกข์ตลอดกาล)
ส่วนเรื่องที่ว่า เงินทำบุญทั้งหมดนั้น จะไปเข้ากระเป๋าใครบ้าง นั่นมันอีกเรื่องนึง
หรือว่า วัดนั้นสอนตรงทางหรือไ่ม่ นั่นมันก็อีกเรื่องนึง
หรือว่า วัดๆนั้น จงใจสร้างวัดให้ใหญ่โต แต่มีเจตนาแอบแฝงหวังอยากจะได้เงินทำบุญจากชาวบ้านโดยเฉพาะ นั่นมันก็อีกเรื่องนึง
อย่าสรุปว่าวัดใหญ่ วัดโต วัดสวย จะต้องเป็นวัดพุทธพาณิชย์เสมอไป จะต้องดูเป็นวัดๆไป
เพราะฉนั้นควรจะวางอารมณ์ให้ถูกเมื่อเวลาได้ยินเรื่อง พุทธพาณิชย์ หรืออะไรแนวนี้ เพราะว่ามันไม่เสมอไปทุกที่-ทุกวัด (เผลอไปปรามาสจะเป็นโทษ)
การสนใจเพ่งโทษผู้อื่นในเรื่องนี้ จะทำให้การปฏิบัติธรรมของคุณก้าวหน้าได้ยาก เพราะมีวิจิกิจฉามาก
ควรจะวางอารมณ์เพ่งโทษผู้อื่นลง และมองเรื่องเหล่านี้ว่าเป็นแค่เรื่องปกติธรรมดาของวัฏสงสาร
ตราบใดที่เรายังไม่หลุดพ้นจากวัฏสงสาร เราจะต้องคลุกเคล้ากับเรื่องเหล่านี้เป็นปกติธรรมดา