“ของคู่กัน”
เพราะในชีวิตของเราในแต่ละวัน จะต้องเจอกับเรื่องราวต่างๆมากมาย ทั้งดีและไม่ดี ถ้าดีก็ไม่เป็นปัญหาอะไร เพราะไม่สร้างความทุกข์ให้กับจิตใจ ถ้าไม่ดีก็จะสร้างความทุกข์ให้กับจิตใจ แต่เราไม่สามารถเลือกเอาแต่สิ่งที่ดีอย่างเดียว ไม่สามารถกีดกันสิ่งที่ไม่ดีไม่ให้มากระทบ เพราะสิ่งที่ไม่ดีและดีเป็นของคู่กัน เหมือนกับเหรียญที่มี ๒ ด้าน มีหัวมีก้อย ถ้าจะเอาหัวก็ต้องเอาก้อยด้วย ได้ทั้งหัวและก้อย ถ้าไม่อยากได้หัวหรือก้อย ก็ต้องไม่เอาเลย ฉันใดสุขทุกข์ที่มีอยู่ในโลกนี้ก็เป็นของคู่กัน เป็นโลกของความสุขและความทุกข์ ถ้าไม่ต้องการความทุกข์ก็ต้องไม่ต้องเอาความสุขทางโลก ที่ออกบวชกันเพราะเห็นความสุขทางโลกมีความทุกข์ติดมาด้วย เป็นของคู่กัน จึงสละความสุขทางโลก ไม่เอาเลยเพราะไม่ต้องการความทุกข์ที่ตามมาด้วย
ความสุขทางโลกก็คือการเจริญในลาภยศสรรเสริญกามสุข แต่อยู่ภายใต้กฎของอนิจจังไม่เที่ยง มีเจริญมีเสื่อมเป็นธรรมดา เวลาเจริญเราก็ชอบ ดีอกดีใจ เวลาเสื่อมเราก็เสียใจ เพราะหลงไปยึดไปติด ไม่รู้ว่าเป็นอย่างนี้ มีทั้งสุขและมีทั้งทุกข์ มีทั้งเจริญมีทั้งเสื่อม เพราะไม่มีกุศลคือความฉลาด ไม่มีบุญคือความสุขใจไว้คอยป้องกัน พอเกิดความเสื่อมขึ้นมาใจก็รุ่มร้อนด้วยความทุกข์ อาลัยอาวรณ์ เสียดาย เศร้าโศกเสียใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับ เพราะไม่มีบุญกุศลมากพอที่จะกั้นไม่ให้ความทุกข์ร้อนเข้ามาในใจ พระพุทธเจ้าทรงเห็นความสำคัญในการสร้างบุญกุศลอย่างสม่ำเสมอ จึงทรงสอนให้พุทธศาสนิกชนเข้าวัดกัน อย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นเหมือนกับการติดเครื่องปรับอากาศนั่นเอง เมื่อติดแล้วจะร่มเย็นเป็นสุขตลอดเวลา ไม่ว่าจะพบกับสภาพอะไรในโลกนี้ เจริญหรือเสื่อม จะไม่สร้างความรุ่มร้อนความทุกข์ให้กับใจได้
นี้คือบุญและกุศลที่พวกเราได้มาทำกันอย่างสม่ำเสมอ เกิดจากการให้ทาน รักษาศีล ภาวนา นั่งสมาธิ เจริญปัญญา เป็นการสร้างบุญและกุศลความร่มเย็นให้กับจิตใจ การให้ทานก็สร้างความร่มเย็น เป็นสุขได้ระดับหนึ่ง การรักษาศีลก็ให้มากขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง การภาวนาก็ให้อย่างเต็มที่เลย เหมือนกับเครื่องปรับอากาศที่มีปุ่มปรับความเย็นได้ มีตั้งแต่เลข ๑ ถึงเลข ๕ หรือเลข ๑๐ ถ้าหมุนไปที่เลขต่ำความเย็นก็น้อย ถ้าหมุนไปที่เลขสูงๆ ความเย็นก็จะมาก ฉันใดการทำบุญให้ทาน การรักษาศีล การภาวนา ก็เป็นเหมือนกับปุ่มควบคุมความเย็นของจิตใจ ถ้าต้องการความเย็นมาก ให้ได้เต็มร้อย ก็ต้องภาวนาไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ เจริญปัญญา ถ้าทำทานอย่างเดียว ไม่รักษาศีลหรือภาวนา ก็จะได้ความเย็นน้อย ถ้าร้อนมากๆก็จะไม่ทำให้จิตใจร่มเย็นได้
วิธีที่ง่ายที่สุด ก็คือการสวดมนต์ด้วยสติ สวดบทไหนก็ได้ไม่สำคัญ บทต่างๆเป็นอุบาย เป็นเครื่องมือที่จะทำให้จิตสงบ จะสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกก็ได้ อิติปิโสก็ได้ แผ่เมตตาก็ได้ ธรรมจักรก็ได้ แล้วแต่จะจำบทไหนได้ก็สวดบทนั้นไป ไม่เปิดหนังสือดูได้จะดีกว่า เพราะจะได้ไม่ต้องเพ่งดูตัวอักษร สวดบทที่จำได้
ถ้าจำบทไหนไม่ได้เลย ก็สวดแต่พุทโธๆไปเรื่อยๆก็ได้ พุทโธธัมโมสังโฆไปเรื่อยๆก็ได้ ข้อสำคัญอยู่ที่เวลาสวด ไม่ให้ไปคิดเรื่องอื่น จะสวดบทไหนก็ได้ สวดอะไรก็ได้ แต่ต้องไม่ไปคิดเรื่องอื่น คืออยู่กับบทสวดอย่างเดียว ต้องมีสติ ต้องรู้อยู่ทุกขณะว่าขณะนี้กำลังอยู่กับการสวดมนต์ หรือกำลังคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่ ถ้าปล่อยให้ไปคิดแล้วสวดไปพร้อมๆกัน สวดไปนานสักเท่าไร ใจก็จะไม่สงบ เพราะใจยังแกว่งไปแกว่งมา กับเรื่องนั้นเรื่องนี้ ถ้าไม่อยู่กับบทสวดมนต์ ก็จะไม่นิ่งไม่สงบ ต้องจ่ออยู่กับบทสวดมนต์อย่างเดียว สวดไปเรื่อยๆ แต่อย่าไปคิดไปคาดคะเน ว่าสวดแล้วจะได้ผลอย่างไรเมื่อไหร่ อย่าไปคิดเป็นอันขาด เพราะคิดแล้วก็จะไม่เป็น ต้องไม่คิดเรื่องอะไรทั้งสิ้น อยู่กับบทสวดมนต์ไปเรื่อยๆ รับรองได้ว่าไม่ช้าก็เร็วจิตก็จะรวมตัวเข้าสู่ความสงบ จะเป็นเหมือนกับตกหลุมตกบ่อตกเหว วูบลงไป แล้วก็นิ่งเบาสบาย มหัศจรรย์ใจ ถ้าลงลึกๆร่างกายจะหายไปจากความรู้สึก เหลือแต่ความรู้ เหลือแต่ผู้รู้อยู่ตัวเดียว ที่เรียกว่าสักแต่ว่ารู้ เป็นผลที่เกิดจากการสวดมนต์ จากการบริกรรมพุทโธธัมโมสังโฆ เมื่อจิตรวมลงแล้ว จะพบกับความสุขที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์ ที่ไม่เคยพบมาก่อน ไม่มีความทุกข์ ไม่มีอะไรอยู่ในใจเลย ไม่มีเรื่องราววุ่นวายต่างๆไม่มีอะไรทั้งสิ้น เหมือนกับลอยอยู่ในอวกาศคนเดียว แสนจะสุขแสนจะสบาย
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ของคู่กัน
“ของคู่กัน”
เพราะในชีวิตของเราในแต่ละวัน จะต้องเจอกับเรื่องราวต่างๆมากมาย ทั้งดีและไม่ดี ถ้าดีก็ไม่เป็นปัญหาอะไร เพราะไม่สร้างความทุกข์ให้กับจิตใจ ถ้าไม่ดีก็จะสร้างความทุกข์ให้กับจิตใจ แต่เราไม่สามารถเลือกเอาแต่สิ่งที่ดีอย่างเดียว ไม่สามารถกีดกันสิ่งที่ไม่ดีไม่ให้มากระทบ เพราะสิ่งที่ไม่ดีและดีเป็นของคู่กัน เหมือนกับเหรียญที่มี ๒ ด้าน มีหัวมีก้อย ถ้าจะเอาหัวก็ต้องเอาก้อยด้วย ได้ทั้งหัวและก้อย ถ้าไม่อยากได้หัวหรือก้อย ก็ต้องไม่เอาเลย ฉันใดสุขทุกข์ที่มีอยู่ในโลกนี้ก็เป็นของคู่กัน เป็นโลกของความสุขและความทุกข์ ถ้าไม่ต้องการความทุกข์ก็ต้องไม่ต้องเอาความสุขทางโลก ที่ออกบวชกันเพราะเห็นความสุขทางโลกมีความทุกข์ติดมาด้วย เป็นของคู่กัน จึงสละความสุขทางโลก ไม่เอาเลยเพราะไม่ต้องการความทุกข์ที่ตามมาด้วย
ความสุขทางโลกก็คือการเจริญในลาภยศสรรเสริญกามสุข แต่อยู่ภายใต้กฎของอนิจจังไม่เที่ยง มีเจริญมีเสื่อมเป็นธรรมดา เวลาเจริญเราก็ชอบ ดีอกดีใจ เวลาเสื่อมเราก็เสียใจ เพราะหลงไปยึดไปติด ไม่รู้ว่าเป็นอย่างนี้ มีทั้งสุขและมีทั้งทุกข์ มีทั้งเจริญมีทั้งเสื่อม เพราะไม่มีกุศลคือความฉลาด ไม่มีบุญคือความสุขใจไว้คอยป้องกัน พอเกิดความเสื่อมขึ้นมาใจก็รุ่มร้อนด้วยความทุกข์ อาลัยอาวรณ์ เสียดาย เศร้าโศกเสียใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับ เพราะไม่มีบุญกุศลมากพอที่จะกั้นไม่ให้ความทุกข์ร้อนเข้ามาในใจ พระพุทธเจ้าทรงเห็นความสำคัญในการสร้างบุญกุศลอย่างสม่ำเสมอ จึงทรงสอนให้พุทธศาสนิกชนเข้าวัดกัน อย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นเหมือนกับการติดเครื่องปรับอากาศนั่นเอง เมื่อติดแล้วจะร่มเย็นเป็นสุขตลอดเวลา ไม่ว่าจะพบกับสภาพอะไรในโลกนี้ เจริญหรือเสื่อม จะไม่สร้างความรุ่มร้อนความทุกข์ให้กับใจได้
นี้คือบุญและกุศลที่พวกเราได้มาทำกันอย่างสม่ำเสมอ เกิดจากการให้ทาน รักษาศีล ภาวนา นั่งสมาธิ เจริญปัญญา เป็นการสร้างบุญและกุศลความร่มเย็นให้กับจิตใจ การให้ทานก็สร้างความร่มเย็น เป็นสุขได้ระดับหนึ่ง การรักษาศีลก็ให้มากขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง การภาวนาก็ให้อย่างเต็มที่เลย เหมือนกับเครื่องปรับอากาศที่มีปุ่มปรับความเย็นได้ มีตั้งแต่เลข ๑ ถึงเลข ๕ หรือเลข ๑๐ ถ้าหมุนไปที่เลขต่ำความเย็นก็น้อย ถ้าหมุนไปที่เลขสูงๆ ความเย็นก็จะมาก ฉันใดการทำบุญให้ทาน การรักษาศีล การภาวนา ก็เป็นเหมือนกับปุ่มควบคุมความเย็นของจิตใจ ถ้าต้องการความเย็นมาก ให้ได้เต็มร้อย ก็ต้องภาวนาไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ เจริญปัญญา ถ้าทำทานอย่างเดียว ไม่รักษาศีลหรือภาวนา ก็จะได้ความเย็นน้อย ถ้าร้อนมากๆก็จะไม่ทำให้จิตใจร่มเย็นได้
วิธีที่ง่ายที่สุด ก็คือการสวดมนต์ด้วยสติ สวดบทไหนก็ได้ไม่สำคัญ บทต่างๆเป็นอุบาย เป็นเครื่องมือที่จะทำให้จิตสงบ จะสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกก็ได้ อิติปิโสก็ได้ แผ่เมตตาก็ได้ ธรรมจักรก็ได้ แล้วแต่จะจำบทไหนได้ก็สวดบทนั้นไป ไม่เปิดหนังสือดูได้จะดีกว่า เพราะจะได้ไม่ต้องเพ่งดูตัวอักษร สวดบทที่จำได้
ถ้าจำบทไหนไม่ได้เลย ก็สวดแต่พุทโธๆไปเรื่อยๆก็ได้ พุทโธธัมโมสังโฆไปเรื่อยๆก็ได้ ข้อสำคัญอยู่ที่เวลาสวด ไม่ให้ไปคิดเรื่องอื่น จะสวดบทไหนก็ได้ สวดอะไรก็ได้ แต่ต้องไม่ไปคิดเรื่องอื่น คืออยู่กับบทสวดอย่างเดียว ต้องมีสติ ต้องรู้อยู่ทุกขณะว่าขณะนี้กำลังอยู่กับการสวดมนต์ หรือกำลังคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่ ถ้าปล่อยให้ไปคิดแล้วสวดไปพร้อมๆกัน สวดไปนานสักเท่าไร ใจก็จะไม่สงบ เพราะใจยังแกว่งไปแกว่งมา กับเรื่องนั้นเรื่องนี้ ถ้าไม่อยู่กับบทสวดมนต์ ก็จะไม่นิ่งไม่สงบ ต้องจ่ออยู่กับบทสวดมนต์อย่างเดียว สวดไปเรื่อยๆ แต่อย่าไปคิดไปคาดคะเน ว่าสวดแล้วจะได้ผลอย่างไรเมื่อไหร่ อย่าไปคิดเป็นอันขาด เพราะคิดแล้วก็จะไม่เป็น ต้องไม่คิดเรื่องอะไรทั้งสิ้น อยู่กับบทสวดมนต์ไปเรื่อยๆ รับรองได้ว่าไม่ช้าก็เร็วจิตก็จะรวมตัวเข้าสู่ความสงบ จะเป็นเหมือนกับตกหลุมตกบ่อตกเหว วูบลงไป แล้วก็นิ่งเบาสบาย มหัศจรรย์ใจ ถ้าลงลึกๆร่างกายจะหายไปจากความรู้สึก เหลือแต่ความรู้ เหลือแต่ผู้รู้อยู่ตัวเดียว ที่เรียกว่าสักแต่ว่ารู้ เป็นผลที่เกิดจากการสวดมนต์ จากการบริกรรมพุทโธธัมโมสังโฆ เมื่อจิตรวมลงแล้ว จะพบกับความสุขที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์ ที่ไม่เคยพบมาก่อน ไม่มีความทุกข์ ไม่มีอะไรอยู่ในใจเลย ไม่มีเรื่องราววุ่นวายต่างๆไม่มีอะไรทั้งสิ้น เหมือนกับลอยอยู่ในอวกาศคนเดียว แสนจะสุขแสนจะสบาย
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต