81 เรื่องของ “ในหลวง” ที่คนไทยควรรู้
โดย ผู้จัดการรายวัน
4 ธันวาคม 2551 23:57 น.
81 เรื่องของ “ในหลวง” ที่คนไทยควรรู้
ตลอดเวลา 60 ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ “ในหลวง” ของปวงชนชาวไทยทรงครองสิริราชสมบัตินั้น พระองค์ทรงตรากตรำพระวรกาย ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขแห่งพสกนิกรไทยกว่า 64 ล้านคน
พระกรุณาธิคุณนี้ได้ประจักษ์ต่อทุกดวงใจมิเพียงแต่ชาวไทยเท่านั้น แม้แต่ชาวต่างชาติก็รู้จักในหลวงของเราว่า... ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดและเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยทุกคน
ในฐานะคนไทยแล้ว คุณคิดว่า คุณรู้ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับพระองค์ดีหรือยัง หากว่ายังลองเข้าไปอ่าน 81 เรื่องราวของในหลวง ซึ่งบางเรื่องคุณอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อนก็เป็นได้....
**เมื่อทรงพระเยาว์
1. ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45น.(เวลาท้องถิ่น สหรัฐฯ)
2. นายแพทย์ผู้ถวายการคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ มีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์
3. พระนาม "ภูมิพล" ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
4. พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช
5. ทรงมีชื่อเล่นว่า “เล็ก” หรือ “พระองค์เล็ก”
6. เสด็จนิวัตสู่ประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อพระชนม์ 2 พรรษา พร้อมด้วยสมเด็จพระชนกและสมเด็จพระชนนี
7. ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือสมเด็จย่า อย่างสามัญชนว่า "แม่"
8. สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนม อาทิตย์ละครั้ง
9. แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม
10. สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต
11. สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยพระเยาว์เป็นสุนัขไทย ทรงตั้งชื่อให้ว่า "บ๊อบบี้"
12. ทรงฉลองพระเนตร(แว่นสายตา)ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกตเห็นว่าเวลาจะทรงจดอะไรจากกระดานดำจะต้องลุกขึ้นบ่อยๆ
13. สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที่ ในหลวงจะทรงต่อรองว่าทีเดียวก็พอ
14. ระหว่างประทับอยู่สวิส จะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศสกับสมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระพระเจ้าพี่นางเธอฯ แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ
16.ในหลวงทรงเชี่ยวชาญในภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมันและลาติน
15. ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก "การให้" โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า "กระป๋องคนจน" หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก "เก็บภาษี" หยอดใส่กระปุกนี้ 10% ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุมเพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
16. ครั้งหนึ่ง ในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆเขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าตอบว่า "ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อจักรยาน"
17. กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา
18. ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง
ทรงศึกษาวิชาการต่าง ๆ
19. ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษา ทรงเคยเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า "H.H Bhummibol Mahidol" หมายเลขประจำตัว 449
20. ทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโลซานน์ แผนกวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
21. หลังจากที่เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศสวิสอีกครั้งเพื่อทรงศึกษาวิชาใหม่ คือกฎหมาย และการปกครอง เนื่องจากต้องรับพระราชภาระเป็นพระมหากษัตริย์ ในด้านวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ทรงศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ เกี่ยวกับพื้นฐานและวัฒนธรรมของแต่ละชาติ เพื่อเป็นแนวปรับปรุงแก้ไขประเทศไทยให้เจริญขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชปรารภอยู่เสมอว่า ประเทศไทยของพระองค์ยังล้าหลังประเทศอื่นอยู่มาก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ และการศึกษา ฯลฯ
22.ในหลวงทรงเชี่ยวชาญในภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมันและละติน
**พระอัจฉริยภาพ
23. พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก “การเล่น” สมัยทรงพระเยาว์ เพราะหากทรงอยากได้ของเล่นอะไร ต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อเอง หรือ ทรงประดิษฐ์เอง ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับสมเด็จพระเชษฐา เพื่อซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วทรงนำมาประกอบเองเป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง
24. สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และแผนภูมิประเทศของไทย โดยโปรดเกล้าฯให้โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทยเป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆเพื่อให้ทรงเล่นเป็น จิ๊กซอว์
25. ในหลวงทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด แต่ทรงโปรดแคลริเนท , แซกโซโพนและทรัมเป็ตมากที่สุดแต่เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่นคือ หีบเพลง (แอกคอร์เดียน)
26. ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา 300 ฟรังก์มาทรงหัดเล่น โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้
27. ครูสอนดนตรีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส
28. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ “แสงเทียน” จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง
29. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซองจดหมายตีเส้น 5 เส้นแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง “เราสู้”
30.วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2506 เสด็จทรงปลูกต้นนนทรี 9 ต้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน พร้อมทั้งทรงดนตรีเป็นครั้งแรกร่วมกับวง "อ.ส.วันศุกร์" ซึ่งมีอาจารย์และศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมด้วย คือ ศ.ดร.ระพี สาคริก และนายอวบ เหมะรัชตะ
31. ทรงมีพระอัจฉริยภาพทางด้านการช่าง ซึ่งทรงโปรดหุ่นจำลองต่าง ๆ เช่นเรือใบเรือรบเป็นต้น ในคราวเสด็จนิวัตเมืองไทย ตอนก่อนสงครามโลก ได้ทรงจำลองเรือรบหลวงศรีอยุธยาจนเป็นผลสำเร็จ ครั้นแล้วเจ้าพระยารามราฆพก็ได้ทูลขอพระราชทานไปสำหรับให้พ่อค้าประชาชนได้ประมูลราคากันเพื่อเก็บเงินบำรุงโรงพยาบาลปราบวัณโรค ทรงถ่ายรูปไว้แล้วพระราชทานให้ไปตามประสงค์ ปรากฏว่า น.ส.เลอลักษณ์ เศรษฐบุตร ได้ประมูลซื้อไปเป็นเงินถึง 20,000 บาท อนึ่ง แม้แต่รูปเรือลำนั้นที่ทรงถ่ายโดยฝีพระหัตถ์ นายสหัส มหาคุณ เป็นผู้ประมูลซื้อไปถึงรูปละ 3,000 บาท
32. นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉาย เพื่อนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่ รพ.จุฬาฯ โรงพยาบาลภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย
33. พระราชนิพนธ์เรื่อง ”นายอินทร์” และ “ติโต” ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์ แต่เรื่องพระมหาชนกทรงพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
34. ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกี และเรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ”กีฬาซีเกมส์”) ครั้งที่ 4 ปี 2510
35. ครั้งหนึ่งในหลวงทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่งและตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าว่า เสด็จกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน
36. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ “กังหันชัยพัฒนา” เมื่อปี 2536
37. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว
38. องค์การสหประชาชาติ ได้ถวาย รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ในหลวงเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย โดยมี นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง
**เรื่องส่วนพระองค์
39. ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 ณ พระตำหนัก “วิลลาวัฒนา” และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493
40.ในพระราชพิธีอภิเษกสมรส ในหลวงทรงพระราชทานของที่ระลึกแก่พระบรมวงศานุวงศ์และพระญาติ คือ หีบเงินขนาดเล็กมีพระปรมาภิไธยคู่ปรากฏบนหีบนั้น
41. หลังอภิเษกสมรส ทรงเสด็จ “ฮันนีมูน” ที่หัวหิน
42. ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 พระนามเต็มของในหลวงคือ... พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
43.พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”
44. ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน
45. ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาและพระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า(หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ฉายา สุจิตฺโต ป.๗) วัดบวรนิเวศวิหาร
46. ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้น นาฬิกา
47. พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ
48. หลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ
81 เรื่องของ “ในหลวง” ที่คนไทยควรรู้
โดย ผู้จัดการรายวัน
4 ธันวาคม 2551 23:57 น.
81 เรื่องของ “ในหลวง” ที่คนไทยควรรู้
ตลอดเวลา 60 ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ “ในหลวง” ของปวงชนชาวไทยทรงครองสิริราชสมบัตินั้น พระองค์ทรงตรากตรำพระวรกาย ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขแห่งพสกนิกรไทยกว่า 64 ล้านคน
พระกรุณาธิคุณนี้ได้ประจักษ์ต่อทุกดวงใจมิเพียงแต่ชาวไทยเท่านั้น แม้แต่ชาวต่างชาติก็รู้จักในหลวงของเราว่า... ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดและเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยทุกคน
ในฐานะคนไทยแล้ว คุณคิดว่า คุณรู้ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับพระองค์ดีหรือยัง หากว่ายังลองเข้าไปอ่าน 81 เรื่องราวของในหลวง ซึ่งบางเรื่องคุณอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อนก็เป็นได้....
**เมื่อทรงพระเยาว์
1. ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45น.(เวลาท้องถิ่น สหรัฐฯ)
2. นายแพทย์ผู้ถวายการคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ มีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์
3. พระนาม "ภูมิพล" ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
4. พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช
5. ทรงมีชื่อเล่นว่า “เล็ก” หรือ “พระองค์เล็ก”
6. เสด็จนิวัตสู่ประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อพระชนม์ 2 พรรษา พร้อมด้วยสมเด็จพระชนกและสมเด็จพระชนนี
7. ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือสมเด็จย่า อย่างสามัญชนว่า "แม่"
8. สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนม อาทิตย์ละครั้ง
9. แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม
10. สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต
11. สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยพระเยาว์เป็นสุนัขไทย ทรงตั้งชื่อให้ว่า "บ๊อบบี้"
12. ทรงฉลองพระเนตร(แว่นสายตา)ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกตเห็นว่าเวลาจะทรงจดอะไรจากกระดานดำจะต้องลุกขึ้นบ่อยๆ
13. สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที่ ในหลวงจะทรงต่อรองว่าทีเดียวก็พอ
14. ระหว่างประทับอยู่สวิส จะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศสกับสมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระพระเจ้าพี่นางเธอฯ แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ
16.ในหลวงทรงเชี่ยวชาญในภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมันและลาติน
15. ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก "การให้" โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า "กระป๋องคนจน" หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก "เก็บภาษี" หยอดใส่กระปุกนี้ 10% ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุมเพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
16. ครั้งหนึ่ง ในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆเขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าตอบว่า "ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อจักรยาน"
17. กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา
18. ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง
ทรงศึกษาวิชาการต่าง ๆ
19. ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษา ทรงเคยเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า "H.H Bhummibol Mahidol" หมายเลขประจำตัว 449
20. ทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโลซานน์ แผนกวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
21. หลังจากที่เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศสวิสอีกครั้งเพื่อทรงศึกษาวิชาใหม่ คือกฎหมาย และการปกครอง เนื่องจากต้องรับพระราชภาระเป็นพระมหากษัตริย์ ในด้านวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ทรงศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ เกี่ยวกับพื้นฐานและวัฒนธรรมของแต่ละชาติ เพื่อเป็นแนวปรับปรุงแก้ไขประเทศไทยให้เจริญขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชปรารภอยู่เสมอว่า ประเทศไทยของพระองค์ยังล้าหลังประเทศอื่นอยู่มาก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ และการศึกษา ฯลฯ
22.ในหลวงทรงเชี่ยวชาญในภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมันและละติน
**พระอัจฉริยภาพ
23. พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก “การเล่น” สมัยทรงพระเยาว์ เพราะหากทรงอยากได้ของเล่นอะไร ต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อเอง หรือ ทรงประดิษฐ์เอง ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับสมเด็จพระเชษฐา เพื่อซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วทรงนำมาประกอบเองเป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง
24. สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และแผนภูมิประเทศของไทย โดยโปรดเกล้าฯให้โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทยเป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆเพื่อให้ทรงเล่นเป็น จิ๊กซอว์
25. ในหลวงทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด แต่ทรงโปรดแคลริเนท , แซกโซโพนและทรัมเป็ตมากที่สุดแต่เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่นคือ หีบเพลง (แอกคอร์เดียน)
26. ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา 300 ฟรังก์มาทรงหัดเล่น โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้
27. ครูสอนดนตรีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส
28. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ “แสงเทียน” จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง
29. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซองจดหมายตีเส้น 5 เส้นแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง “เราสู้”
30.วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2506 เสด็จทรงปลูกต้นนนทรี 9 ต้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน พร้อมทั้งทรงดนตรีเป็นครั้งแรกร่วมกับวง "อ.ส.วันศุกร์" ซึ่งมีอาจารย์และศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมด้วย คือ ศ.ดร.ระพี สาคริก และนายอวบ เหมะรัชตะ
31. ทรงมีพระอัจฉริยภาพทางด้านการช่าง ซึ่งทรงโปรดหุ่นจำลองต่าง ๆ เช่นเรือใบเรือรบเป็นต้น ในคราวเสด็จนิวัตเมืองไทย ตอนก่อนสงครามโลก ได้ทรงจำลองเรือรบหลวงศรีอยุธยาจนเป็นผลสำเร็จ ครั้นแล้วเจ้าพระยารามราฆพก็ได้ทูลขอพระราชทานไปสำหรับให้พ่อค้าประชาชนได้ประมูลราคากันเพื่อเก็บเงินบำรุงโรงพยาบาลปราบวัณโรค ทรงถ่ายรูปไว้แล้วพระราชทานให้ไปตามประสงค์ ปรากฏว่า น.ส.เลอลักษณ์ เศรษฐบุตร ได้ประมูลซื้อไปเป็นเงินถึง 20,000 บาท อนึ่ง แม้แต่รูปเรือลำนั้นที่ทรงถ่ายโดยฝีพระหัตถ์ นายสหัส มหาคุณ เป็นผู้ประมูลซื้อไปถึงรูปละ 3,000 บาท
32. นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉาย เพื่อนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่ รพ.จุฬาฯ โรงพยาบาลภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย
33. พระราชนิพนธ์เรื่อง ”นายอินทร์” และ “ติโต” ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์ แต่เรื่องพระมหาชนกทรงพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
34. ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกี และเรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ”กีฬาซีเกมส์”) ครั้งที่ 4 ปี 2510
35. ครั้งหนึ่งในหลวงทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่งและตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าว่า เสด็จกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน
36. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ “กังหันชัยพัฒนา” เมื่อปี 2536
37. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว
38. องค์การสหประชาชาติ ได้ถวาย รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ในหลวงเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย โดยมี นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง
**เรื่องส่วนพระองค์
39. ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 ณ พระตำหนัก “วิลลาวัฒนา” และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493
40.ในพระราชพิธีอภิเษกสมรส ในหลวงทรงพระราชทานของที่ระลึกแก่พระบรมวงศานุวงศ์และพระญาติ คือ หีบเงินขนาดเล็กมีพระปรมาภิไธยคู่ปรากฏบนหีบนั้น
41. หลังอภิเษกสมรส ทรงเสด็จ “ฮันนีมูน” ที่หัวหิน
42. ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 พระนามเต็มของในหลวงคือ... พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
43.พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”
44. ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน
45. ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาและพระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า(หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ฉายา สุจิตฺโต ป.๗) วัดบวรนิเวศวิหาร
46. ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้น นาฬิกา
47. พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ
48. หลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ