(โปรดอภัยชื่อกระทู้ลอก Frozen มาทั้งท่อน
)
**ขอออกตัวก่อนว่าผมเองก็เพิ่งหันมาสนใจเรื่องของเรือตัดน้ำแข็งของรัสเซีย ข้อมูลทางวิชาการหลายๆอย่างจึงไม่สามารถอธิบายให้ละเอียดได้ ถือว่ากระทู้นี้เป็นการแนะนำเรื่องของเรือเหล่านี้คร่าวๆ เผื่อจะจุดประกายให้ใครสนใจศึกษาค้นคว้าต่อได้ครับ
**ส่วนหนึ่งที่ตั้งกระทู้เพราะหวังว่าอาจเป็นแรงบันดาลใจให้ใครในการไปเที่ยวรัสเซียในรูปแบบที่แปลกใหม่ได้
เรือตัดน้ำแข็ง(icebreaker) คือเรือชนิดพิเศษซึ่งจะมีโครงสร้างด้านหัวเรือหนาเป็นพิเศษและติดใบมีดไว้ สำหรับชนทะลวงแผ่นน้ำแข็งให้แตกออกเป็นช่องทางสามารถแล่นเรือผ่านได้ ประเทศต่างๆที่อยู่ในเขตภูมิอากาศเย็นจนผิวน้ำทะเลกลายเป็นน้ำแข็งในยามนาวก็มีเรือประเภทนี้ใช้งานทั้งสิ้น ไม่ว่า แคนาดา ญี่ปุ่น อเมริกา รัสเซีย ฯลฯ
ทว่า มีเพียงรัสเซียเท่านั้นที่ปัจจุบันนี้มีเรือตัดน้ำแข็งพลังงานนิวเคลียร์ไว้ใช้งาน ส่วนชาติอื่นๆจะเป็นเรือตัดน้ำแข็งซึ่งให้พลังงานจากน้ำมันดีเซลเป็นหลัก
ประสบการณ์จากการผ่านความเป็นความตายโดยต้องพึ่งเรือตัดน้ำแข็ง
...ถ้าถามว่าด้วยเหตุผลอะไรที่ทำให้โซเวียตเล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีเรือตัดน้ำแข็งพลังงานนิวเคลียร์ ก็คงต้องย้อนไปถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเรือตัดน้ำแข็งในยามนั้นเป็นตัวแทนความเป็นความตายของคนนับล้าน ใช่ครับ เรากำลังพูดถึง
Arctic convoys(
https://en.wikipedia.org/wiki/Arctic_convoys_of_World_War_II) หรือขบวนเรือขนทรัพยากรจากชาติพันธมิตรอื่นมาส่งให้กับโซเวียตซึ่งถูกนาซีปิดเส้นทางติดต่อกับยุโรปทางอื่นหมดสิ้น
เรือตัดน้ำแข็งของโซเวียตในยุคนั้นยังเป็นพลังงานไอน้ำอยู่ ซึ่งนอกจากต้องเปิดเส้นทางให้กับขบวนเรือขนทรัพยากรแล้ว ยังต้องติดอาวุธเพื่อปกป้องตัวเองจากฝูงบินและกองเรือของนาซีที่ค่อยไล่ล่า convoy เหล่านี้ไม่ให้เข้าฝั่งโซเวียตได้ด้วย เรือลำนึงซึ่งผ่านประสบการณ์ตรงนั้นมาและปัจจุบันได้กลายเป็นเรือพิพิธภัณฑ์อยู่ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กคือ
Krassin (Красин -
https://en.wikipedia.org/wiki/Krassin_(1917_icebreaker) )
เรือตัดน้ำแข็ง Krassin
[credit:: Wikicommons]
อย่างไรก็ตาม เรือตัดน้ำแข็งที่ใช้พลังไอน้ำและดีเซลก็ยังไม่สามารถจัดการกับแผ่นน้ำแข็งหนาของขั้วโลกได้ ในที่สุดทางโซเวียตจึงได้ลงมือสร้างเรือตัดน้ำแข็งที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ลำแรกของโลกคือ
เลนิน และปล่อยลงน้ำในปี ค.ศ. 1957 ก่อนจะเริ่มใช้งานจริงได้ในปี 1959 เลนินผ่านอุบัติเหตุเตาปฏิกรณ์มา 2 ครั้งจนในที่สุดก็ถูกปลดประจำการในปี 1989 ในทุกวันนี้เลนินได้กลายเป็นเรือพิพิธภัณฑ์อยู่ที่เมืองมูร์มานส์ก(Murmansk / Мурманск) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัสเซียอันเป็นท่าเทียบเรือหลักของบริษัทรัสอะตอม (Rosatom / Росатом) ที่ดูแลจัดการกองเรือตัดน้ำแข็งพลังงานนิวเคลียร์กองเดียวของโลก
แผนที่เมืองมูร์มานส์ก
หลังจากเลนินปลดประจำการไป ยามนี้กำลังหลักของกองเรือตัดน้ำแข็งของรัสเซียอยู่ในความรับผิดชอบของเรือ 2 คลาส คือ Arktika-class nuclear powered icebreakers กับ Taymyr-class nuclear powered icebreakers
หน้าที่ของเรือตัดน้ำแข็งนิวเคลียร์ของรัสเซีย
▬ เปิดเส้นทาง shipping เลาะไปตามทะเลทางเหนือของรัสเซีย (จากตะวันตกมาตะวันออก - ทะเล Barents, ทะเลขาว(White Sea), Pechora, Kara, Laptaev, East Siberian และ Chukchi) ซึ่งมีระยะทางสั้นกว่าการ shipping จากทางตะวันตกของรัสเซียมาทางฝั่งตะวันออกโดยผ่านคลองสุเอซ โดยเป็นงานหลักที่เรือเหล่านี้ออกไปปฏิบัติภารกิจทั้งปี บางครั้งออกไปนานหลายเดือนกว่าจะกลับเข้าเทียบท่าอีกครั้ง
▬ ให้ความช่วยเหลือเรือสินค้าซึ่งประสบปัญาระว่างเส้นทาง shipping ทางเหนือ ที่อาจจะถูกก้อนน้ำแข็งซึ่งแตกออกมาจากแผ่นน้ำแข็งใหญ่ลอยมาขวางในระยะที่อาจเป็นอันตรายกับเรือได้ หรือ มีปัญหาเครื่องยนตร์ โดยเรือตัดน้ำแข็งก็จะเข้ามาช่วยลากจูงไปยังน่านน้ำที่ปลอดภัยสามารถเข้าเทียบท่าได้
▬ พากองเรือของทัพเรือรัสเซียไปปฏิบัติภารกิจในทะเลแถบขั้วโลก
▬ พาคณะนักวิทยาศาสตร์ไปศึกษาเกี่ยวกับขั้วโลกเหนือ
▬ พานักท่องเที่ยวฝ่าแผ่นน้ำแข็ง เพื่อไปยังจุดขั้วโลกเหนือ (90 องศาเหนือ 0 องศาตะวันออก) - ช่วงท้ายกระทู้จะแปะคลิปวิดิโอของนักท่องเที่ยวที่ขึ้นเรือไปยังขั้วโลกเหนือให้ดูประกอบครับ
เกริ่นมาเสียยืดยาว ถึงเวลาเปิดตัวพระเอก(?)ประจำกระทู้ของเรากันแล้วครับ
Taymyr-class nuclear powered icebreakers
▬
ไทมีร์ (Taymyr / Таймыр - เปํนชื่อคาบสมุทรที่อยู่เหนือสุดของแผ่นดิน Eurasia คั่นระหว่างทะเล Kara กับทะเล Laptaev)
[credit:: Wikicommons]
▬
ไวกาช (Vaygach / Вайгач - เป็นชื่อเกาะที่อยู่ระหว่างทะเล Pechora กับทะเล Kara)
[credit:: Wikicommons]
เรือคลาสนี้ทางโซเวียตได้ไปสั่งต่อตัวเรือจากอู่เรือในฟินแลนด์ ก่อนจะนำมาติดตั้งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เอง ความแตกต่างกับเรือตัดน้ำแข็ง Arktika-class คือ Taymyr-class สามารถเข้าไปเปิดเส้นทาง shipping ในแม่น้ำได้ในขณะที่ Arktika-class ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นเรือจึงล่องเข้าไปเปิดเส้นทางในแม่น้ำทางเหนือของรัสเซีย เช่น แม่น้ำ Ob และ แม่น้ำ Yenisey ในไซบีเรียอยู่บ่อยๆ
ระวางขับน้ำ: 21,100 ตัน
ความยาว: 149.70 เมตร
ความกว้างตัวเรือ: 28.87 เมตร
ความสูงของหัวเรือ: 7.5–9.0 เมตร
กินน้ำลึก: 15.68 เมตร
----+------+------+------+----
Arktika-class nuclear powered icebreakers
▬
Arktika / Арутика (retired)
โมเดลเรือที่สามารถเห็นความลึกของท้องเรือด้วย
[credit:: Wikicommons]
เรือลำแรกของคลาสนี้ ถูกปล่อยลงน้ำในปลายเดือนธันวา ปี 1972 ก่อนทำสถิติเป็นเรือผิวน้ำลำแรกของโลกที่สามารถเดินทางไปถึงจุดพิกัด 90 องศาเหนือ 0 องศาตะวันออก(ขั้วโลกเหนือ)ได้ในวันที่ 17 สิงหาคม ปี 1977 อาร์คติก้ารีไทร์จากการใช้งานไปในปี 2008 หลังจากได้รับการยืดอายุการใช้งานเตาปฏิกรณ์มา 8 ปี ปัจจุบันนี้กำลังรอการแยกชิ้นส่วนโดยเทียบท่าอยู่ใกล้ๆกับสำนักงานใหญ่ของ Rosatom ในมูร์มานส์ก
ระวางขับน้ำ: 23,460 ตัน
ความยาว: 147.9 เมตร
ความกว้างตัวเรือ: 29.9 เมตร
ความสูงของหัวเรือ: 11 เมตร
Arktika ที่กำลังรอวันถูกแยกชิ้นส่วน
[credit:: Wikicommons]
▬
Sibir / Сибирь (retired)
[credit:: Wikicommons]
ถูกปล่อยลงน้ำในปี 1977 ซีบีร์เป็นเรือลำเดียวของคลาสนี้ที่ไม่ได้มีสีแดง และยังมีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนทำให้ถูกรีไทร์จากการใช้งานเพียงในปี 1992 ปัจจุบันนี้ก็เช่นเดียวกับอาร์คติก้า ซีบีร์ยังคงจอดอย่างสงบใกล้ๆมูร์มานส์กรอวันที่จะถูกแยกชิ้นส่วน
ระวางขับน้ำ: 21,120 ตัน
ความยาว: 147.9 เมตร
ความกว้างตัวเรือ: 29.9 เมตร
ความสูงของหัวเรือ: 11 เมตร
Sibir ที่กำลังรอวันถูกแยกชิ้นส่วน
[credit:: Wikicommons]
▬
Rossiya / Россия (semi-retired?)
[credit:: Wikicommons]
รัสซีย่าถูกปล่อยลงน้ำในปี 1985 ปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะถูกปรับปรุงเพื่อนำกลับมาใช้งานหรือจะถูกรีไทร์ หากยังใช้งานอยู่จะเป็นเรือตัดน้ำแข็งนิวเคลียร์ลำที่อายุเก่าสุดที่ยังใช้งานอยู่ อย่างไรก็ตาม รัสซีย่าถูกจอดไว้ที่ท่าเรือหลักของ Rosatom
ระวางขับน้ำ: 23,625 ตัน
ความยาว: 150 เมตร
ความกว้างตัวเรือ: 30 เมตร
ความสูงของหัวเรือ: 11 เมตร
กินน้ำลึก: 17.2 เมตร
▬
Sovetskiy Soyuz / Советский Союз (active?)
Rossiya(ลำซ้าย) และ Sovetskiy Soyuz(ขวา)
[credit:: Wikicommons]
ชื่อเรือลำนี้แปลว่า "สหภาพโซเวียต" ถูกปล่อยลงน้ำปี 1986 และเริ่มใช้งานจริงปี 1989 ปัจจุบันนี้ถูกจอดไว้เพื่อประเมินว่าควรจะนำกลับมาใช้งานอีกหรือไม่เช่นกันกับรัสซีย่า
ระวางขับน้ำ: 22,920 ตัน
ความยาว: 150 เมตร
ความกว้างตัวเรือ: 30 เมตร
ความสูงของหัวเรือ: 11 เมตร
กินน้ำลึก: 17.2 เมตร
▬
Yamal / Ямал (active)
[credit:: Wikicommons]
ยามัลเป็นเรือขวัญใจนักท่องเที่ยวจากจุดเด่นคือการเพ้นท์ลายรูปปากฉลามลงบนหัวเรือ ซึ่งลายปากฉลามนี้มาที่มาจากครั้งหนึ่งซึ่งยามัลเคยเป็นเรือพาเด็กๆไปทัวร์ทางทะเล จึงได้เพ้นท์ลายต้อนรับเด็กๆเป็นกรณีพิเศษ แต่เมื่อกลายเป็นที่สนใจทำให้เรือต้องเพ้นท์ลายไว้ที่หัวเรือมาตลอดจนถึงทุกวันนี้ ยามัลเริ่มเข้าประจำการในปี 1992 และเป็นเรือที่บุกเบิกด้านการท่องเที่ยวโดยการนำนักท่องเที่ยวไปยังขั้วโลกเหนือ นอกจากนั้นยังเคยพากลุ่มนักวิทยาศาสตร์ไปทำการสำรวจวิจัยที่ขั้วโลกเหนือหลายครั้งด้วยก่อนในปัจจุบันนี้จะเสียหน้าที่การพานักท่องเที่ยวไปทัวร์ขั้วโลกเหนือให้กับ 50 years of Victory(50 let Pobedy)
ระวางขับน้ำ: 23,455 tons
ความยาว: 150 เมตร; 136 เมตรที่ระดับน้ำ
ความกว้างตัวเรือ: 30 เมตร; 28 เมตรที่ระดับน้ำ
ความสูงทั้งหมด: 55 จากกระดูกงูเรือถึงยอดด้านบน
ความสูงของหัวเรือ: 11.08 เมตร
แฮ่นะจ๊ะ //ผิด //ยามัลผู้แยกเขี้ยวอยู่ข้างหลัง 50 let Pobedy
[credit:: Wikicommons]
และน้องเล็กลำสุดท้ายของคลาส ผู้ซึ่งปัจจุบันครองตำแหน่งเรือตัดน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก
▬
50 let Pobedy / 50 лет Победы (active)
[credit:: Wikicommons]
เดิมทีนั้น 50 let Pobedy ถูกวางให้ชื่อ Ural ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเพื่อหวังว่าเรือเสร็จสมบูรณ์พร้อมฉลองวาระ 50 ปีที่โซเวียตชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ในปี 1995 ทว่าสภาพที่แท้จริงแล้วในปีนั้น 50 let Pobedy ถูกปล่อยทิ้งในสภาพไม่สมบูรณ์ในอู่เรือที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กด้วยความที่รัสเซียประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างเลวร้ายหลังการล่มสลายของโซเวียต กว่าการก่อสร้าง 50 let Pobedy จะกลับมาดำเนินงานต่อก็หลังจากขึ้นปี 2000 แล้ว ในท้ายที่สุด 50 let Pobedy ก็เข้าประจำการในปี 2007 ห่างจากยามัล 15 ปี และการมาถึงของ 50 let Pobedy ก็เป็นการสิ้นสุดการใช้งาน Arktika เรือลำแรกของคลาสด้วย
ระวางขับน้ำ: 25,840 ตัน
ความยาว: 159.60 เมตร
ความกว้างตัวเรือ: 30 เมตร / 28 เมตรที่ระดับผิวน้ำ
ความสูงของหัวเรือ: 11.08 เมตร
กินน้ำลึก: 17.2 เมตร
เดี๋ยวข้อมูลที่เหลือรวมถึงคลิปวิดิโอที่จะแปะเสริมขอย้ายลงไปที่ความเห็นที่ 1 นะครับ ใกล้จะเต็มลิมิตแล้ว
Arktika & Taymyr :: The cold never bothered me anyway
**ขอออกตัวก่อนว่าผมเองก็เพิ่งหันมาสนใจเรื่องของเรือตัดน้ำแข็งของรัสเซีย ข้อมูลทางวิชาการหลายๆอย่างจึงไม่สามารถอธิบายให้ละเอียดได้ ถือว่ากระทู้นี้เป็นการแนะนำเรื่องของเรือเหล่านี้คร่าวๆ เผื่อจะจุดประกายให้ใครสนใจศึกษาค้นคว้าต่อได้ครับ
**ส่วนหนึ่งที่ตั้งกระทู้เพราะหวังว่าอาจเป็นแรงบันดาลใจให้ใครในการไปเที่ยวรัสเซียในรูปแบบที่แปลกใหม่ได้
เรือตัดน้ำแข็ง(icebreaker) คือเรือชนิดพิเศษซึ่งจะมีโครงสร้างด้านหัวเรือหนาเป็นพิเศษและติดใบมีดไว้ สำหรับชนทะลวงแผ่นน้ำแข็งให้แตกออกเป็นช่องทางสามารถแล่นเรือผ่านได้ ประเทศต่างๆที่อยู่ในเขตภูมิอากาศเย็นจนผิวน้ำทะเลกลายเป็นน้ำแข็งในยามนาวก็มีเรือประเภทนี้ใช้งานทั้งสิ้น ไม่ว่า แคนาดา ญี่ปุ่น อเมริกา รัสเซีย ฯลฯ
ทว่า มีเพียงรัสเซียเท่านั้นที่ปัจจุบันนี้มีเรือตัดน้ำแข็งพลังงานนิวเคลียร์ไว้ใช้งาน ส่วนชาติอื่นๆจะเป็นเรือตัดน้ำแข็งซึ่งให้พลังงานจากน้ำมันดีเซลเป็นหลัก
...ถ้าถามว่าด้วยเหตุผลอะไรที่ทำให้โซเวียตเล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีเรือตัดน้ำแข็งพลังงานนิวเคลียร์ ก็คงต้องย้อนไปถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเรือตัดน้ำแข็งในยามนั้นเป็นตัวแทนความเป็นความตายของคนนับล้าน ใช่ครับ เรากำลังพูดถึง Arctic convoys(https://en.wikipedia.org/wiki/Arctic_convoys_of_World_War_II) หรือขบวนเรือขนทรัพยากรจากชาติพันธมิตรอื่นมาส่งให้กับโซเวียตซึ่งถูกนาซีปิดเส้นทางติดต่อกับยุโรปทางอื่นหมดสิ้น
เรือตัดน้ำแข็งของโซเวียตในยุคนั้นยังเป็นพลังงานไอน้ำอยู่ ซึ่งนอกจากต้องเปิดเส้นทางให้กับขบวนเรือขนทรัพยากรแล้ว ยังต้องติดอาวุธเพื่อปกป้องตัวเองจากฝูงบินและกองเรือของนาซีที่ค่อยไล่ล่า convoy เหล่านี้ไม่ให้เข้าฝั่งโซเวียตได้ด้วย เรือลำนึงซึ่งผ่านประสบการณ์ตรงนั้นมาและปัจจุบันได้กลายเป็นเรือพิพิธภัณฑ์อยู่ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กคือ Krassin (Красин - https://en.wikipedia.org/wiki/Krassin_(1917_icebreaker) )
[credit:: Wikicommons]
อย่างไรก็ตาม เรือตัดน้ำแข็งที่ใช้พลังไอน้ำและดีเซลก็ยังไม่สามารถจัดการกับแผ่นน้ำแข็งหนาของขั้วโลกได้ ในที่สุดทางโซเวียตจึงได้ลงมือสร้างเรือตัดน้ำแข็งที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ลำแรกของโลกคือ เลนิน และปล่อยลงน้ำในปี ค.ศ. 1957 ก่อนจะเริ่มใช้งานจริงได้ในปี 1959 เลนินผ่านอุบัติเหตุเตาปฏิกรณ์มา 2 ครั้งจนในที่สุดก็ถูกปลดประจำการในปี 1989 ในทุกวันนี้เลนินได้กลายเป็นเรือพิพิธภัณฑ์อยู่ที่เมืองมูร์มานส์ก(Murmansk / Мурманск) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัสเซียอันเป็นท่าเทียบเรือหลักของบริษัทรัสอะตอม (Rosatom / Росатом) ที่ดูแลจัดการกองเรือตัดน้ำแข็งพลังงานนิวเคลียร์กองเดียวของโลก
หลังจากเลนินปลดประจำการไป ยามนี้กำลังหลักของกองเรือตัดน้ำแข็งของรัสเซียอยู่ในความรับผิดชอบของเรือ 2 คลาส คือ Arktika-class nuclear powered icebreakers กับ Taymyr-class nuclear powered icebreakers
หน้าที่ของเรือตัดน้ำแข็งนิวเคลียร์ของรัสเซีย
▬ เปิดเส้นทาง shipping เลาะไปตามทะเลทางเหนือของรัสเซีย (จากตะวันตกมาตะวันออก - ทะเล Barents, ทะเลขาว(White Sea), Pechora, Kara, Laptaev, East Siberian และ Chukchi) ซึ่งมีระยะทางสั้นกว่าการ shipping จากทางตะวันตกของรัสเซียมาทางฝั่งตะวันออกโดยผ่านคลองสุเอซ โดยเป็นงานหลักที่เรือเหล่านี้ออกไปปฏิบัติภารกิจทั้งปี บางครั้งออกไปนานหลายเดือนกว่าจะกลับเข้าเทียบท่าอีกครั้ง
▬ ให้ความช่วยเหลือเรือสินค้าซึ่งประสบปัญาระว่างเส้นทาง shipping ทางเหนือ ที่อาจจะถูกก้อนน้ำแข็งซึ่งแตกออกมาจากแผ่นน้ำแข็งใหญ่ลอยมาขวางในระยะที่อาจเป็นอันตรายกับเรือได้ หรือ มีปัญหาเครื่องยนตร์ โดยเรือตัดน้ำแข็งก็จะเข้ามาช่วยลากจูงไปยังน่านน้ำที่ปลอดภัยสามารถเข้าเทียบท่าได้
▬ พากองเรือของทัพเรือรัสเซียไปปฏิบัติภารกิจในทะเลแถบขั้วโลก
▬ พาคณะนักวิทยาศาสตร์ไปศึกษาเกี่ยวกับขั้วโลกเหนือ
▬ พานักท่องเที่ยวฝ่าแผ่นน้ำแข็ง เพื่อไปยังจุดขั้วโลกเหนือ (90 องศาเหนือ 0 องศาตะวันออก) - ช่วงท้ายกระทู้จะแปะคลิปวิดิโอของนักท่องเที่ยวที่ขึ้นเรือไปยังขั้วโลกเหนือให้ดูประกอบครับ
เกริ่นมาเสียยืดยาว ถึงเวลาเปิดตัวพระเอก(?)ประจำกระทู้ของเรากันแล้วครับ
Taymyr-class nuclear powered icebreakers
▬ ไทมีร์ (Taymyr / Таймыр - เปํนชื่อคาบสมุทรที่อยู่เหนือสุดของแผ่นดิน Eurasia คั่นระหว่างทะเล Kara กับทะเล Laptaev)
[credit:: Wikicommons]
▬ ไวกาช (Vaygach / Вайгач - เป็นชื่อเกาะที่อยู่ระหว่างทะเล Pechora กับทะเล Kara)
[credit:: Wikicommons]
เรือคลาสนี้ทางโซเวียตได้ไปสั่งต่อตัวเรือจากอู่เรือในฟินแลนด์ ก่อนจะนำมาติดตั้งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เอง ความแตกต่างกับเรือตัดน้ำแข็ง Arktika-class คือ Taymyr-class สามารถเข้าไปเปิดเส้นทาง shipping ในแม่น้ำได้ในขณะที่ Arktika-class ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นเรือจึงล่องเข้าไปเปิดเส้นทางในแม่น้ำทางเหนือของรัสเซีย เช่น แม่น้ำ Ob และ แม่น้ำ Yenisey ในไซบีเรียอยู่บ่อยๆ
ความยาว: 149.70 เมตร
ความกว้างตัวเรือ: 28.87 เมตร
ความสูงของหัวเรือ: 7.5–9.0 เมตร
กินน้ำลึก: 15.68 เมตร
Arktika-class nuclear powered icebreakers
▬ Arktika / Арутика (retired)
[credit:: Wikicommons]
เรือลำแรกของคลาสนี้ ถูกปล่อยลงน้ำในปลายเดือนธันวา ปี 1972 ก่อนทำสถิติเป็นเรือผิวน้ำลำแรกของโลกที่สามารถเดินทางไปถึงจุดพิกัด 90 องศาเหนือ 0 องศาตะวันออก(ขั้วโลกเหนือ)ได้ในวันที่ 17 สิงหาคม ปี 1977 อาร์คติก้ารีไทร์จากการใช้งานไปในปี 2008 หลังจากได้รับการยืดอายุการใช้งานเตาปฏิกรณ์มา 8 ปี ปัจจุบันนี้กำลังรอการแยกชิ้นส่วนโดยเทียบท่าอยู่ใกล้ๆกับสำนักงานใหญ่ของ Rosatom ในมูร์มานส์ก
ความยาว: 147.9 เมตร
ความกว้างตัวเรือ: 29.9 เมตร
ความสูงของหัวเรือ: 11 เมตร
Arktika ที่กำลังรอวันถูกแยกชิ้นส่วน
[credit:: Wikicommons]
▬ Sibir / Сибирь (retired)
[credit:: Wikicommons]
ถูกปล่อยลงน้ำในปี 1977 ซีบีร์เป็นเรือลำเดียวของคลาสนี้ที่ไม่ได้มีสีแดง และยังมีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนทำให้ถูกรีไทร์จากการใช้งานเพียงในปี 1992 ปัจจุบันนี้ก็เช่นเดียวกับอาร์คติก้า ซีบีร์ยังคงจอดอย่างสงบใกล้ๆมูร์มานส์กรอวันที่จะถูกแยกชิ้นส่วน
ความยาว: 147.9 เมตร
ความกว้างตัวเรือ: 29.9 เมตร
ความสูงของหัวเรือ: 11 เมตร
Sibir ที่กำลังรอวันถูกแยกชิ้นส่วน
[credit:: Wikicommons]
▬ Rossiya / Россия (semi-retired?)
[credit:: Wikicommons]
รัสซีย่าถูกปล่อยลงน้ำในปี 1985 ปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะถูกปรับปรุงเพื่อนำกลับมาใช้งานหรือจะถูกรีไทร์ หากยังใช้งานอยู่จะเป็นเรือตัดน้ำแข็งนิวเคลียร์ลำที่อายุเก่าสุดที่ยังใช้งานอยู่ อย่างไรก็ตาม รัสซีย่าถูกจอดไว้ที่ท่าเรือหลักของ Rosatom
ความยาว: 150 เมตร
ความกว้างตัวเรือ: 30 เมตร
ความสูงของหัวเรือ: 11 เมตร
กินน้ำลึก: 17.2 เมตร
▬ Sovetskiy Soyuz / Советский Союз (active?)
[credit:: Wikicommons]
ชื่อเรือลำนี้แปลว่า "สหภาพโซเวียต" ถูกปล่อยลงน้ำปี 1986 และเริ่มใช้งานจริงปี 1989 ปัจจุบันนี้ถูกจอดไว้เพื่อประเมินว่าควรจะนำกลับมาใช้งานอีกหรือไม่เช่นกันกับรัสซีย่า
ความยาว: 150 เมตร
ความกว้างตัวเรือ: 30 เมตร
ความสูงของหัวเรือ: 11 เมตร
กินน้ำลึก: 17.2 เมตร
▬ Yamal / Ямал (active)
[credit:: Wikicommons]
ยามัลเป็นเรือขวัญใจนักท่องเที่ยวจากจุดเด่นคือการเพ้นท์ลายรูปปากฉลามลงบนหัวเรือ ซึ่งลายปากฉลามนี้มาที่มาจากครั้งหนึ่งซึ่งยามัลเคยเป็นเรือพาเด็กๆไปทัวร์ทางทะเล จึงได้เพ้นท์ลายต้อนรับเด็กๆเป็นกรณีพิเศษ แต่เมื่อกลายเป็นที่สนใจทำให้เรือต้องเพ้นท์ลายไว้ที่หัวเรือมาตลอดจนถึงทุกวันนี้ ยามัลเริ่มเข้าประจำการในปี 1992 และเป็นเรือที่บุกเบิกด้านการท่องเที่ยวโดยการนำนักท่องเที่ยวไปยังขั้วโลกเหนือ นอกจากนั้นยังเคยพากลุ่มนักวิทยาศาสตร์ไปทำการสำรวจวิจัยที่ขั้วโลกเหนือหลายครั้งด้วยก่อนในปัจจุบันนี้จะเสียหน้าที่การพานักท่องเที่ยวไปทัวร์ขั้วโลกเหนือให้กับ 50 years of Victory(50 let Pobedy)
ความยาว: 150 เมตร; 136 เมตรที่ระดับน้ำ
ความกว้างตัวเรือ: 30 เมตร; 28 เมตรที่ระดับน้ำ
ความสูงทั้งหมด: 55 จากกระดูกงูเรือถึงยอดด้านบน
ความสูงของหัวเรือ: 11.08 เมตร
[credit:: Wikicommons]
และน้องเล็กลำสุดท้ายของคลาส ผู้ซึ่งปัจจุบันครองตำแหน่งเรือตัดน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก
▬ 50 let Pobedy / 50 лет Победы (active)
[credit:: Wikicommons]
เดิมทีนั้น 50 let Pobedy ถูกวางให้ชื่อ Ural ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเพื่อหวังว่าเรือเสร็จสมบูรณ์พร้อมฉลองวาระ 50 ปีที่โซเวียตชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ในปี 1995 ทว่าสภาพที่แท้จริงแล้วในปีนั้น 50 let Pobedy ถูกปล่อยทิ้งในสภาพไม่สมบูรณ์ในอู่เรือที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กด้วยความที่รัสเซียประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างเลวร้ายหลังการล่มสลายของโซเวียต กว่าการก่อสร้าง 50 let Pobedy จะกลับมาดำเนินงานต่อก็หลังจากขึ้นปี 2000 แล้ว ในท้ายที่สุด 50 let Pobedy ก็เข้าประจำการในปี 2007 ห่างจากยามัล 15 ปี และการมาถึงของ 50 let Pobedy ก็เป็นการสิ้นสุดการใช้งาน Arktika เรือลำแรกของคลาสด้วย
ความยาว: 159.60 เมตร
ความกว้างตัวเรือ: 30 เมตร / 28 เมตรที่ระดับผิวน้ำ
ความสูงของหัวเรือ: 11.08 เมตร
กินน้ำลึก: 17.2 เมตร
เดี๋ยวข้อมูลที่เหลือรวมถึงคลิปวิดิโอที่จะแปะเสริมขอย้ายลงไปที่ความเห็นที่ 1 นะครับ ใกล้จะเต็มลิมิตแล้ว