คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
เรียน สมาชิกคุณNamtao08
ขออนุญาตชี้แจงตามนี้นะค่ะ สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายนั้นสามารถทำงานได้เฉพาะงานที่ใช้
แรงงาน จึงไม่สามารถเป็นเจ้าของกิจการของตัวเองได้ สามารถเป็นแค่ผู้ใช้แรงงานเท่านั้นและเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ
ของแรงงานต่างด้าว ในกรณีที่ทำการค้าขาย สามารถทำได้แต่เป็นได้เพียงลูกจ้างในร้าน ไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของกิจการเอง
และไม่มีสิทธิที่จะเป็นผู้เก็บ ทอนเงินให้กับทางลูกค้าเองค่ะ
แรงงานต่างด้าวที่มีการขึ้นทะเบียนถูกต้องนั้นสามารถทำงานได้ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่ง อาชีพที่สามารถจะออกใบ
อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวได้ คือ งานกรรมกรและงานผู้รับใช้ในบ้านใน 6 ประเภทกิจการ ดังนี้
1.กิจการประมง
2.กิจการเกษตรและปศุสัตว์
3.กิจการก่อสร้าง
4.กิจการต่อเนื่องประมงทะเล
5.ผู้รับใช้ในบ้าน
6.กิจการอื่น ในตำแหน่งกรรมกร จำนวน 19 กิจการได้แก่
-กิจการต่อเนื่องการเกษตร เช่น การแปรรูปพืชผลทางการเกษตร การรับซื้อพืชไร่ พืชสวน ลานมัน ลานตากข้าว โรงสีข้าว นาเกลือ ฯลฯ
-กิจการต่อเนื่องปศุสัตว์ เช่น โรงฆ่าสัตว์ ชำแหละเนื้อสัตว์ ฯลฯ
-กิจการรีไซเคิล รับซื้อของเก่า คัดแยกขยะ คัดแยกของเก่า
-กิจการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน เช่น โรงโม่หิน โรงแต่งหิน บ่อดิน บ่อทราย ฯลฯ
-กิจการผลิต/จำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับโลหะ เช่น โรงกลึง โรงหล่อ โรงชุบ เชื่อมโลหะ หลอม รีด ขัดโลหะ ฯลฯ
-กิจการผลิต/จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม
-กิจการผลิต/จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากดิน เช่น การทำอิฐ การผลิตเครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ และเซรามิค ฯลฯ
-กิจการผลิต/จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง
-กิจการแปรรูปหิน
-กิจการผลิต/จำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป/เครื่องแต่งกาย/สิ่งทอ/เครื่องประดับ/ชิ้นส่วนรองเท้า
-กิจการผลิต/จำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติก/เคมีภัณฑ์/ผลิตปุ๋ย/ของเล่นเด็ก ฯลฯ
-กิจการผลิต/จำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษ
-กิจการผลิต/จำหน่ายสินค้าอีเล็คทรอนิคส์ ไฟฟ้า แบตเตอรี่ และ ยานยนต์
-กิจการขนถ่ายสินค้าทางบก/ทางน้ำ/คลังสินค้า
-กิจการค้าส่ง/ค้าปลีก/แผงลอยในตลาดและร้านค้าทั่วไป
-กิจการอู่ซ่อมรถ/ล้าง/อัดฉีด
-กิจการปั๊มน้ำมัน/แก๊ส/เชื้อเพลิง
-กิจการสถานศึกษา/มูลนิธิ/สมาคม/สถานพยาบาล
-กิจการการให้บริการต่างๆ เช่น การซักอบรีด การบริการที่พัก ฯลฯ
กรรมกร หมายถึง ผู้ที่ใช้กำลังกายในการทำงานมากกว่ากำลังความคิดและฝีมือโดยมีลักษณะการทำงานที่สำคัญคือ
-ทำงานโดยใช้มือหรือกำลังกายเป็นหลัก
-เป็นคนงานประเภทไม่มีฝีมือหรือมีความรู้ก็ไม่ได้ใช้ในการปฏิบัติงาน
-ไม่มีผู้ใต้บังคับบัญชา
ผู้รับใช้ในบ้าน หมายถึง คนงานทำความสะอาดในบ้านเรือนส่วนบุคคล ปรุงอาหารและเสริฟอาหาร ล้างจานชาม และทำงานอื่นๆ ในบ้านเรือนส่วนบุคคล
ในส่วนของแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีการขึ้นทะเบียนกับนายจ้างตามกฎหมายนั้น ไม่สามารถพำนักอยู่ในประเทศได้ ถือเป็นแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองค่ะ
pattama
ขออนุญาตชี้แจงตามนี้นะค่ะ สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายนั้นสามารถทำงานได้เฉพาะงานที่ใช้
แรงงาน จึงไม่สามารถเป็นเจ้าของกิจการของตัวเองได้ สามารถเป็นแค่ผู้ใช้แรงงานเท่านั้นและเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ
ของแรงงานต่างด้าว ในกรณีที่ทำการค้าขาย สามารถทำได้แต่เป็นได้เพียงลูกจ้างในร้าน ไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของกิจการเอง
และไม่มีสิทธิที่จะเป็นผู้เก็บ ทอนเงินให้กับทางลูกค้าเองค่ะ
แรงงานต่างด้าวที่มีการขึ้นทะเบียนถูกต้องนั้นสามารถทำงานได้ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่ง อาชีพที่สามารถจะออกใบ
อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวได้ คือ งานกรรมกรและงานผู้รับใช้ในบ้านใน 6 ประเภทกิจการ ดังนี้
1.กิจการประมง
2.กิจการเกษตรและปศุสัตว์
3.กิจการก่อสร้าง
4.กิจการต่อเนื่องประมงทะเล
5.ผู้รับใช้ในบ้าน
6.กิจการอื่น ในตำแหน่งกรรมกร จำนวน 19 กิจการได้แก่
-กิจการต่อเนื่องการเกษตร เช่น การแปรรูปพืชผลทางการเกษตร การรับซื้อพืชไร่ พืชสวน ลานมัน ลานตากข้าว โรงสีข้าว นาเกลือ ฯลฯ
-กิจการต่อเนื่องปศุสัตว์ เช่น โรงฆ่าสัตว์ ชำแหละเนื้อสัตว์ ฯลฯ
-กิจการรีไซเคิล รับซื้อของเก่า คัดแยกขยะ คัดแยกของเก่า
-กิจการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน เช่น โรงโม่หิน โรงแต่งหิน บ่อดิน บ่อทราย ฯลฯ
-กิจการผลิต/จำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับโลหะ เช่น โรงกลึง โรงหล่อ โรงชุบ เชื่อมโลหะ หลอม รีด ขัดโลหะ ฯลฯ
-กิจการผลิต/จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม
-กิจการผลิต/จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากดิน เช่น การทำอิฐ การผลิตเครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ และเซรามิค ฯลฯ
-กิจการผลิต/จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง
-กิจการแปรรูปหิน
-กิจการผลิต/จำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป/เครื่องแต่งกาย/สิ่งทอ/เครื่องประดับ/ชิ้นส่วนรองเท้า
-กิจการผลิต/จำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติก/เคมีภัณฑ์/ผลิตปุ๋ย/ของเล่นเด็ก ฯลฯ
-กิจการผลิต/จำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษ
-กิจการผลิต/จำหน่ายสินค้าอีเล็คทรอนิคส์ ไฟฟ้า แบตเตอรี่ และ ยานยนต์
-กิจการขนถ่ายสินค้าทางบก/ทางน้ำ/คลังสินค้า
-กิจการค้าส่ง/ค้าปลีก/แผงลอยในตลาดและร้านค้าทั่วไป
-กิจการอู่ซ่อมรถ/ล้าง/อัดฉีด
-กิจการปั๊มน้ำมัน/แก๊ส/เชื้อเพลิง
-กิจการสถานศึกษา/มูลนิธิ/สมาคม/สถานพยาบาล
-กิจการการให้บริการต่างๆ เช่น การซักอบรีด การบริการที่พัก ฯลฯ
กรรมกร หมายถึง ผู้ที่ใช้กำลังกายในการทำงานมากกว่ากำลังความคิดและฝีมือโดยมีลักษณะการทำงานที่สำคัญคือ
-ทำงานโดยใช้มือหรือกำลังกายเป็นหลัก
-เป็นคนงานประเภทไม่มีฝีมือหรือมีความรู้ก็ไม่ได้ใช้ในการปฏิบัติงาน
-ไม่มีผู้ใต้บังคับบัญชา
ผู้รับใช้ในบ้าน หมายถึง คนงานทำความสะอาดในบ้านเรือนส่วนบุคคล ปรุงอาหารและเสริฟอาหาร ล้างจานชาม และทำงานอื่นๆ ในบ้านเรือนส่วนบุคคล
ในส่วนของแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีการขึ้นทะเบียนกับนายจ้างตามกฎหมายนั้น ไม่สามารถพำนักอยู่ในประเทศได้ ถือเป็นแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองค่ะ
pattama
แสดงความคิดเห็น
แรงงานต่างชาติสามารถทำกิจการค้าขายแทนรับจ้างได้หรือไม่