ผมมีโอกาสได้ไปร่วมงาน ppantip.com แถลงข่าวครบรอบ 20 ปี เปิดตัวหนังสือ “เน็ตเมื่อวานซืน” ที่จัดขึ้น ณ เวทีเอเทรียม ภายในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 21 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยงานจัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา ในเวลา 14.00 – 15.00 น. ผมจึงนำรายละเอียดจากงานเสวนาดังกล่าวมาเรียบเรียงเพื่อเขียนเป็นกระทู้ สำหรับผู้ที่สนใจจะได้ทราบข่าวและรายละเอียดจากงานดังกล่าวนี้ครับ
(ถ้ามีข้อผิดพลาดหรือตกหล่นประการใด ผมต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
@คุณวันฉัตร ผดุงรัตน์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการเว็บไซต์ ppantip.com เล่าย้อนเรื่องราวของวงการอินเทอร์เน็ตให้ฟังว่า ในยุคเริ่มแรกนั้นมีการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับธุรกิจเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นห้างร้านและบริษัทใหญ่ ๆ ใช้กัน ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการใช้คอมพิวเตอร์ก็คือเป็นเครื่องใช้ในสำนักงานเป็นหลัก พอถึงยุคต่อมาก็เริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบันเทิงมากขึ้น คือใช้สำหรับการดูหนัง ฟังเพลงและเล่นเกมเป็นหลัก จนล่วงเลยมาถึงยุคปัจจุบันที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นได้
@คุณวันฉัตร ยอมรับว่าชื่อของเว็บไซต์ ppantip.com นั้นมีแรงบันดาลใจมากจากสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์อันที่รู้จักของคนทั่วไป ซึ่งก็คือห้างพันทิพย์พลาซ่า ที่ประตูน้ำนั้นเอง
@ในช่วงแรกของเว็บไซต์ ppantip.com นั้นตั้งใจที่จะสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นการสื่อสารกันเกี่ยวกับเรื่องคอมพิวเตอร์และการซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นหลัก จนกระทั่งเริ่มมีผู้ใช้บริการเข้ามาพูดคุยถึงเรื่องอื่นมากขึ้น โดยช่วงแรกจะเป็นการพูดคุยถึงเรื่องการเมืองเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผู้ใช้บริการเดิมที่อยากจะพูดคุยเฉพาะเรื่องคอมพิวเตอร์เกิดความรำคาญมากขึ้น ทางคุณวันฉัตรจึงได้ขยายเว็บบอร์ดเพื่อเป็นการเพิ่มเวทีการสนทนาให้มากขึ้น จึงทำเป็นเว็บบอร์ด 2 กลุ่มคือ 1.) กลุ่มไอทีที่คุยกันเรื่องคอมพิวเตอร์ และ 2.) สภากาแฟที่คุยกันเรื่องการเมืองและเรื่องทั่วไป
@หลังจากนั้นประมาณปี 2540 ppantip.com ก็ขยายเพิ่มเว็บบอร์ดให้มากขึ้น โดยพยายามแตกกลุ่มออกมารองรับความต้องการของผู้ใช้บริการเป็นหลัก เช่นเว็บบอร์ดสำหรับคุยเรื่องดารา เรื่องภาพยนตร์ เรื่องกีฬา เรื่องการเมือง ฯลฯ ซึ่งเป็นการสะดวกสำหรับผู้ใช้บริการ และทำให้มีความถี่ในการเข้าเว็บบอร์ดมากขึ้นตามไปด้วย
@คุณอภิศิลป์ ตรุงการนนท์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีเว็บไซต์ ppantip.com หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อคุณบอย เล่าให้ฟังว่า จริง ๆ แล้วเว็บไซต์ ppantip.com ของเรามีมาก่อนกูเกิ้ลเสียอีก และเราก็ก่อตั้งมาก่อนที่จะมีคำว่า “โซเซียลเน็ตเวิร์ค” เกิดขึ้นมา โดยคำว่าโซเซียลเน็ตเวิร์คนี้มาจากทางประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีความหมายถึงยุคที่คนใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับการติดต่อสื่อสาร โดยผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตมีอำนาจที่จะกลายเป็นสื่อได้ เนื่องจากทุกคนสามารถโพสหรือเขียนเรื่องราวใด ๆ ลงไปในอินเทอร์เน็ตก็ได้ จึงทำให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตกลายเป็นสื่อมวลชนกลาย ๆ
@คุณบอย อภิศิลป์ เล่าให้ฟังถึงการที่ได้เข้ามาร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ ppantip.com ว่าในช่วงแรกที่ ppantip.com ก่อตั้งนั้น คุณบอยยังเป็นนิสิตเรียนอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตอนนั้นได้รู้จักและเข้ามาใช้บริการในเว็บพันทิปแล้ว จนกระทั่งวันหนึ่งมีตัวป่วนเข้ามาในเว็บบอร์ด ตัวป่วนที่ว่านี้ก็คือคนที่เข้ามาใช้บริการแล้วพยายามจะกลั่นแกล้งเว็บไซต์นั้นๆ โดยมีการเข้ามาตั้งกระทู้ซ้ำๆ เพื่อดันให้กระทู้ของคนอื่นที่ตั้งไว้ก่อนแล้วตกขอบหน้าไป ทำให้คุณบอยไม่พอใจอย่างมาก คุณบอยจึงได้ทำการเขียนโปรแกรรมที่ป้องกันการป่วนเว็บบอร์ดในลักษณะดังกล่าวขึ้นมา แล้วส่งโปรแกรมนี้ให้แก่คุณวันฉัตร จึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ ppantip.com ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
@คุณวันฉัตร เล่าเสริมให้ฟังต่อมา ในสมัยยุคแรกเริ่มนั้นคอมพิวเตอร์ไม่มีเสียง จนกระทั่งมีคนคิดประดิษฐ์ซาวน์การ์ดขึ้นมา เมื่อนำซาวน์การ์ดมาเสียบในเครื่องจึงทำให้คอมพิวเตอร์มีเสียงได้ นอกจากนั้นในยุคแรกที่เริ่มมีอินเทอร์เน็ตนั้นคนส่วนใหญ่ที่ใช้บริการหรือรู้จักอินเทอร์เน็ตคือพวกนักศึกษา จึงทำให้ผู้ที่ใช้บริการยังไม่บูมมากเท่าทุกวันนี้ และคุณวันฉัตรยังเล่าต่อว่าตัวเขาเองไม่ได้เรียนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาโดยตรง อาศัยว่าเรียนรู้และศึกษาเพิ่มเติมด้วยตัวเอง จนพอที่จะเขียนโปรแกรมที่ความซับซ้อนไม่มากนักได้ ทำให้จดทะเบียนโดเมนเพื่อก่อตั้งเว็บไซต์ ppantip.com ได้
ซ้ายมือคือคุณอภิศิลป์ ตรุงการนนท์ ขวามือคือคุณวันฉัตร ผดุงรัตน์
บรรยากาศการสนทนา
@คุณบอย อภิศิลป์ พูดถึงการที่เว็บไซต์ ppantip.com ได้ครบรอบ 20 ปีที่ก่อตั้งมา ทางทีมงานพันทิปได้ร่วมกันคิดว่าอยากจะทำอะไรสักอย่างเพื่อเป็นที่ระลึกแก่วงการอินเทอร์เน็ต จึงได้ข้อสรุปว่าจัดทำหนังสือขึ้นมาสัก 1 เล่ม เพราะว่าหนังสือมันมีความคลาสคิคและเป็นสิ่งที่จับต้องได้ จึงเป็นที่มาของหนังสือ “เน็ตเมื่อวานซืน” ที่เล่าถึงเรื่องราวของอินเทอร์เน็ตและความเป็นมาตั้งแต่ยุคแรก ๆ จนถึงปัจจุบัน
@สำหรับหนังสือ “เน็ตเมื่อวานซืน” นี้จัดทำเป็นการ์ตูน เพื่อต้องการให้เข้าถึงเด็กและเยาวชนได้ง่าย โดยให้นักวาดการ์ตูนที่มีนามปากกาว่า “ไอ้แอน” (iannnnn) ที่มีชื่อจริงว่าปรัชญา สิงโต เป็นผู้วาดการ์ตูนทั้งเล่มนี้ โดยคุณปรัชญา สิงโต เป็นนักวาดการ์ตูนลายเส้นจอมยียวนชื่อดังจากสำนักพิมพ์แซลมอน นอกจากนั้นคุณปรัชญา สิงโต ที่เรียนมาทางสถาปัตย์ฯ ยังเป็นนักออกแบบฟอนต์ตัวหนังสือในคอมพิวเตอร์หลากหลายรูปแบบ และเป็นเจ้าของเว็บไซต์ f0nt.com ด้วย
@คุณบอย อภิศิลป์ พูดถึงฟังก์ชันใหม่ล่าสุดของ ppantip.com ที่มีขึ้นมาเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และร่วมไว้อาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ โดยให้มี Tap “คิดถึงพ่อ”
http://ppantip.com/#ourlove ที่ทีมงานพันทิปได้คัดสรร รวบรวมเอากระทู้เก่า ๆ ที่พูดถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 เอามาให้ทุกท่านได้อ่านได้ชมกันอีกครั้งหนึ่ง ท่านใดที่สนใจเข้าไปคลิก Tap “คิดถึงพ่อ” ได้ที่หน้าหลักของเว็บไซต์พันทิป
@ในช่วงท้ายสุดของงาน คุณวันฉัตร ผดุงรัตน์ และคุณอภิศิลป์ ตรุงการนนท์ เป็นตัวแทนของเว็บไซต์ ppantip.com ได้มอบหนังสือพร้อมค่าใช้จ่ายในการจัดส่งมูลค่า 100,000 บาท ให้กับตัวแทนของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อส่งมอบหนังสือ “เน็ตเมื่อวานซืน” ให้แก่ห้องสมุดทั่วประเทศจำนวน 102 แห่ง
ppantip.com ครบรอบ 20 ปี จัดทำหนังสือดีเล่าถึง “เน็ตเมื่อวานซืน”
(ถ้ามีข้อผิดพลาดหรือตกหล่นประการใด ผมต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
@คุณวันฉัตร ผดุงรัตน์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการเว็บไซต์ ppantip.com เล่าย้อนเรื่องราวของวงการอินเทอร์เน็ตให้ฟังว่า ในยุคเริ่มแรกนั้นมีการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับธุรกิจเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นห้างร้านและบริษัทใหญ่ ๆ ใช้กัน ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการใช้คอมพิวเตอร์ก็คือเป็นเครื่องใช้ในสำนักงานเป็นหลัก พอถึงยุคต่อมาก็เริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบันเทิงมากขึ้น คือใช้สำหรับการดูหนัง ฟังเพลงและเล่นเกมเป็นหลัก จนล่วงเลยมาถึงยุคปัจจุบันที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นได้
@คุณวันฉัตร ยอมรับว่าชื่อของเว็บไซต์ ppantip.com นั้นมีแรงบันดาลใจมากจากสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์อันที่รู้จักของคนทั่วไป ซึ่งก็คือห้างพันทิพย์พลาซ่า ที่ประตูน้ำนั้นเอง
@ในช่วงแรกของเว็บไซต์ ppantip.com นั้นตั้งใจที่จะสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นการสื่อสารกันเกี่ยวกับเรื่องคอมพิวเตอร์และการซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นหลัก จนกระทั่งเริ่มมีผู้ใช้บริการเข้ามาพูดคุยถึงเรื่องอื่นมากขึ้น โดยช่วงแรกจะเป็นการพูดคุยถึงเรื่องการเมืองเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผู้ใช้บริการเดิมที่อยากจะพูดคุยเฉพาะเรื่องคอมพิวเตอร์เกิดความรำคาญมากขึ้น ทางคุณวันฉัตรจึงได้ขยายเว็บบอร์ดเพื่อเป็นการเพิ่มเวทีการสนทนาให้มากขึ้น จึงทำเป็นเว็บบอร์ด 2 กลุ่มคือ 1.) กลุ่มไอทีที่คุยกันเรื่องคอมพิวเตอร์ และ 2.) สภากาแฟที่คุยกันเรื่องการเมืองและเรื่องทั่วไป
@หลังจากนั้นประมาณปี 2540 ppantip.com ก็ขยายเพิ่มเว็บบอร์ดให้มากขึ้น โดยพยายามแตกกลุ่มออกมารองรับความต้องการของผู้ใช้บริการเป็นหลัก เช่นเว็บบอร์ดสำหรับคุยเรื่องดารา เรื่องภาพยนตร์ เรื่องกีฬา เรื่องการเมือง ฯลฯ ซึ่งเป็นการสะดวกสำหรับผู้ใช้บริการ และทำให้มีความถี่ในการเข้าเว็บบอร์ดมากขึ้นตามไปด้วย
@คุณอภิศิลป์ ตรุงการนนท์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีเว็บไซต์ ppantip.com หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อคุณบอย เล่าให้ฟังว่า จริง ๆ แล้วเว็บไซต์ ppantip.com ของเรามีมาก่อนกูเกิ้ลเสียอีก และเราก็ก่อตั้งมาก่อนที่จะมีคำว่า “โซเซียลเน็ตเวิร์ค” เกิดขึ้นมา โดยคำว่าโซเซียลเน็ตเวิร์คนี้มาจากทางประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีความหมายถึงยุคที่คนใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับการติดต่อสื่อสาร โดยผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตมีอำนาจที่จะกลายเป็นสื่อได้ เนื่องจากทุกคนสามารถโพสหรือเขียนเรื่องราวใด ๆ ลงไปในอินเทอร์เน็ตก็ได้ จึงทำให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตกลายเป็นสื่อมวลชนกลาย ๆ
@คุณบอย อภิศิลป์ เล่าให้ฟังถึงการที่ได้เข้ามาร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ ppantip.com ว่าในช่วงแรกที่ ppantip.com ก่อตั้งนั้น คุณบอยยังเป็นนิสิตเรียนอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตอนนั้นได้รู้จักและเข้ามาใช้บริการในเว็บพันทิปแล้ว จนกระทั่งวันหนึ่งมีตัวป่วนเข้ามาในเว็บบอร์ด ตัวป่วนที่ว่านี้ก็คือคนที่เข้ามาใช้บริการแล้วพยายามจะกลั่นแกล้งเว็บไซต์นั้นๆ โดยมีการเข้ามาตั้งกระทู้ซ้ำๆ เพื่อดันให้กระทู้ของคนอื่นที่ตั้งไว้ก่อนแล้วตกขอบหน้าไป ทำให้คุณบอยไม่พอใจอย่างมาก คุณบอยจึงได้ทำการเขียนโปรแกรรมที่ป้องกันการป่วนเว็บบอร์ดในลักษณะดังกล่าวขึ้นมา แล้วส่งโปรแกรมนี้ให้แก่คุณวันฉัตร จึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ ppantip.com ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
@คุณวันฉัตร เล่าเสริมให้ฟังต่อมา ในสมัยยุคแรกเริ่มนั้นคอมพิวเตอร์ไม่มีเสียง จนกระทั่งมีคนคิดประดิษฐ์ซาวน์การ์ดขึ้นมา เมื่อนำซาวน์การ์ดมาเสียบในเครื่องจึงทำให้คอมพิวเตอร์มีเสียงได้ นอกจากนั้นในยุคแรกที่เริ่มมีอินเทอร์เน็ตนั้นคนส่วนใหญ่ที่ใช้บริการหรือรู้จักอินเทอร์เน็ตคือพวกนักศึกษา จึงทำให้ผู้ที่ใช้บริการยังไม่บูมมากเท่าทุกวันนี้ และคุณวันฉัตรยังเล่าต่อว่าตัวเขาเองไม่ได้เรียนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาโดยตรง อาศัยว่าเรียนรู้และศึกษาเพิ่มเติมด้วยตัวเอง จนพอที่จะเขียนโปรแกรมที่ความซับซ้อนไม่มากนักได้ ทำให้จดทะเบียนโดเมนเพื่อก่อตั้งเว็บไซต์ ppantip.com ได้
@คุณบอย อภิศิลป์ พูดถึงการที่เว็บไซต์ ppantip.com ได้ครบรอบ 20 ปีที่ก่อตั้งมา ทางทีมงานพันทิปได้ร่วมกันคิดว่าอยากจะทำอะไรสักอย่างเพื่อเป็นที่ระลึกแก่วงการอินเทอร์เน็ต จึงได้ข้อสรุปว่าจัดทำหนังสือขึ้นมาสัก 1 เล่ม เพราะว่าหนังสือมันมีความคลาสคิคและเป็นสิ่งที่จับต้องได้ จึงเป็นที่มาของหนังสือ “เน็ตเมื่อวานซืน” ที่เล่าถึงเรื่องราวของอินเทอร์เน็ตและความเป็นมาตั้งแต่ยุคแรก ๆ จนถึงปัจจุบัน
@สำหรับหนังสือ “เน็ตเมื่อวานซืน” นี้จัดทำเป็นการ์ตูน เพื่อต้องการให้เข้าถึงเด็กและเยาวชนได้ง่าย โดยให้นักวาดการ์ตูนที่มีนามปากกาว่า “ไอ้แอน” (iannnnn) ที่มีชื่อจริงว่าปรัชญา สิงโต เป็นผู้วาดการ์ตูนทั้งเล่มนี้ โดยคุณปรัชญา สิงโต เป็นนักวาดการ์ตูนลายเส้นจอมยียวนชื่อดังจากสำนักพิมพ์แซลมอน นอกจากนั้นคุณปรัชญา สิงโต ที่เรียนมาทางสถาปัตย์ฯ ยังเป็นนักออกแบบฟอนต์ตัวหนังสือในคอมพิวเตอร์หลากหลายรูปแบบ และเป็นเจ้าของเว็บไซต์ f0nt.com ด้วย
@คุณบอย อภิศิลป์ พูดถึงฟังก์ชันใหม่ล่าสุดของ ppantip.com ที่มีขึ้นมาเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และร่วมไว้อาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ โดยให้มี Tap “คิดถึงพ่อ” http://ppantip.com/#ourlove ที่ทีมงานพันทิปได้คัดสรร รวบรวมเอากระทู้เก่า ๆ ที่พูดถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 เอามาให้ทุกท่านได้อ่านได้ชมกันอีกครั้งหนึ่ง ท่านใดที่สนใจเข้าไปคลิก Tap “คิดถึงพ่อ” ได้ที่หน้าหลักของเว็บไซต์พันทิป
@ในช่วงท้ายสุดของงาน คุณวันฉัตร ผดุงรัตน์ และคุณอภิศิลป์ ตรุงการนนท์ เป็นตัวแทนของเว็บไซต์ ppantip.com ได้มอบหนังสือพร้อมค่าใช้จ่ายในการจัดส่งมูลค่า 100,000 บาท ให้กับตัวแทนของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อส่งมอบหนังสือ “เน็ตเมื่อวานซืน” ให้แก่ห้องสมุดทั่วประเทศจำนวน 102 แห่ง